Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์19 มีนาคม 2550
เศรษฐกิจพอเพียง             
โดย ไพศาล สุริยะวงศ์ไพศาล
 


   
search resources

Economics




ประเทศที่นำระบบเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นประเทศแรกคือ ประเทศเล็ก ๆ อย่างภูฏานในแถบเทือกเขาหิมาลัย โดยใช้ GDH (Gross Domestic Happiness) หรือใช้ดัชนีความสุขมาวัดความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ ไม่ใช้ GDP (Gross Domestic Product) อย่างประเทศส่วนใหญ่ที่ใช้ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมที่ส่งเสริมให้คนเราแข่งขันกันบริโภค และสะสมความมั่งคั่ง วัดความเจริญรุ่งเรืองของประเทศด้วยวัตถุ เงินทองซึ่งสามารถดลบันดาลให้ความสุขชั่วคราวแต่ความทุกข์มหาศาล

ยกตัวอย่างเช่นประเทศสหรัฐฯ หรือญี่ปุ่น หรือเยอรมันซึ่งจัดว่าเป็นประเทศที่เจริญก้าวหน้าที่สุดทางด้านวัตถุตามระบบเศรษฐกิจทุนนิยม แต่ประชาชนของประเทศเหล่านี้หาได้มีความสุขที่แท้จริง เพราะสภาพจิตใจของประชาชนย่ำแย่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีอัตราคนฆ่าตัวตายสูงที่สุดในโลก ผมเองเคยไปเที่ยวญี่ปุ่น 3 ครั้งรวมเป็นเวลาหนึ่งเดือน ผมสังเกตเห็นคนญี่ปุ่นโดยเฉพาะผู้สูงอายุ คนเหล่านี้ไม่ได้มีความสุข ผู้สูงอายุในญี่ปุ่นส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอยู่ในร้านเกมส์ นั่งเล่นเกมส์ตั้งแต่เช้าจดกลางคืน

ปัญหาอาชญากรรมโดยเฉพาะความรุนแรงในครอบครัวของ 3 ประเทศนี้ก็เพิ่มสูงขึ้นทุกปี นี่แสดงให้เห็นว่า จิตใจของประชาชนมีปัญหา และวัตถุ หรือเงินทองไม่สามารถจะแก้ไขปัญหาได้

นี่คือข้อพิสูจน์ว่า ระบบเศรษฐกิจทุนนิยม แม้ว่าจะทำให้ประเทศเจริญรุ่งเรืองในแง่วัตถุ สภาพจิตใจของประชาชนกลับเสื่อมทรามซึ่งตรงกับที่เหลาจื่อ อริยะบุคคลของจีนได้สอนไว้เมื่อกว่า 2,5000 ปีที่แล้วว่า หากสังคมมนุษย์มีความเจริญทางวัตถุมาก สภาวะจิตใจย่อมเสื่อมทราม

ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเน้นแต่เรื่องการพัฒนาทางด้านวัตถุโดยอาศัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีซึ่งที่จริงสร้างปัญหามากกว่าแก้ปัญหา ผู้คนในสังคมต่างแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกันเพื่อสร้างร่ำรวย ซื้อบ้านใหญ่โต หรือซื้อรถหลาย ๆ คัน แข่งขันกันบริโภค อวดมั่งอวดมีโดยใช้สินค้าที่มียี่ห้อดัง ๆ ราคาแพง ๆ จากยุโรป วัดความสุขด้วยความร่ำรวย หรือเงินทอง หรือทรัพย์สินที่มีอยู่ ผู้คนไม่รู้จักคำว่า "พอ"

ตัวอย่างเช่นอดีตนายกทักษิณของไทยแม้ว่า ตอนที่ท่านมาเป็นนายกฯ ท่านและครอบครัวก็มีทรัพย์สินเงินทองในหลักหมื่นล้านบาท แต่ท่านก็ยังไม่รู้จัก "พอ" ท่านยังใช้ตำแหน่งผู้นำของประเทศแสวงหาผลประโยชน์ให้กับธุรกิจของครอบครัวของท่านจนได้รับฉายานามว่า "นายกพ่อค้า" เพราะท่านเป็นนายกแต่คิดแบบพ่อค้าตลอดเวลา

แม้ว่าท่านจะประสบความสำเร็จในการแสวงหาความร่ำรวยมาให้กับครอบครัวของท่านจนมีทรัพย์สินเงินทองในหลักแสนล้านบาท ท่านก็ไม่มีความสุข เพราะความร่ำรวยกับความสุขไม่ใช่สิ่งเดียวกัน

ประเทศภูฏาน ประชาชนของเขารู้จักคำว่า "พอ" รวมทั้งกษัตริย์ และรัฐบาล ประเทศเขาแม้ว่าไม่ใช่ประเทศที่ร่ำรวยด้วยเงินทอง แต่ประชาชนของเขาก็มีความสุข ผมเคยคุยกับชาวภูฏาน และเขาก็เล่าให้ผมฟังว่า ชาวนาของประเทศเขาทำนาปีละครั้งเดียวแทนที่จะทำนาสองครั้งเพื่อหาเงินหาทอง (ไม่ใช่ว่าพวกเขาขี้เกียจ แต่เพราะว่า พวกเขารู้จัก "พอ" ) หรือรัฐบาลภูฏานก็จำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวที่อนุญาตเข้าประเทศในแต่ละปี แทนที่จะพยายามรณรงค์หานักท่องเที่ยวมาเที่ยวในประเทศของเขามาก ๆ อย่างที่รัฐบาลไทย หรือรัฐบาลอื่น ๆ พยายามทำ เหตุผลก็เพราะรัฐบาลของเขาต้องการรักษาประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามของชาวภูฏาน และไม่ต้องการให้ประชาชนร่ำรวย เพราะความร่ำรวยจะส่งเสริมให้คนบริโภคมากขึ้น และสะสมทรัพย์สินดังประชาชนของชาติร่ำรวยอื่น ๆ

ดังนั้นถ้ารัฐบาลของพลเอกสุรยุทธ์ต้องการนำระบบเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงมาใช้ สิ่งแรกที่จะต้องทำก็คือ ต้องเปลี่ยนค่านิยม หรือทัศนะคติของประชาชนเสียใหม่เพราะระบบเศรษฐกิจพอเพียงแตกต่างกับเศรษฐกิจทุนนิยมอย่างยิ่ง เนื่องจากระบบเศรษฐกิจพอเพียงเน้นเรื่องคำว่า "พอ" ส่วนระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเน้นเรื่องการแข่งขันกันบริโภค หรือ "ไม่พอ"หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เศรษฐกิจทุนนิยมปฏิเสธคำว่า "พอ"

ฉะนั้นรัฐบาลจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนค่านิยมของประชาชนใหม่เพราะตลอดระยะเวลาเกือบ 6 ปีที่รัฐบาลทักษิณปกครองประเทศ ได้สร้างค่านิยมของระบบเศรษฐกิจทุนนิยมให้แก่ประชาชน เช่น "เป็นหนี้ไม่เป็นไร ขอให้มีเงินใช้" "ความร่ำรวยคือความสำเร็จหรือความดีงาม"

ถ้าประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศยังมีค่านิยมตามระบบเศรษฐกิจทุนนิยม รับรองได้ว่ารัฐบาลจะประสบความล้มเหลวที่จะนำเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นพื้นฐานในการพัฒนาประเทศแทนที่ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมที่กำลังครอบงำโลกอยู่ มีแต่ภูฏาน และไทยเท่านั้นที่มีความพยายามจะนำระบบเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นหลักคิดของชาวเอเชียมาใช้เพื่อพัฒนาประเทศ

น่าเสียดายที่จีน และอินเดียซึ่งเป็นอู่อารยะธรรมที่เก่าแก่ของเอเชียก็ละทิ้งหลักคิดดังกล่าว "ระบบเศรษฐกิจพอเพียง" โดยหันไปยึดระบบเศรษฐกิจทุนนิยมซึ่งเป็นหลักคิดของชาวยุโรปมาพัฒนาประเทศ แม้ว่า สองยักษ์ใหญ่ของเอเชียกำลังประสบความสำเร็จในการสร้างความเจริญทางด้านวัตถุ สภาพจิตใจของประชาชนกำลังตกต่ำโดยเฉพาะในจีนเพราะมีการทำลายล้างวัฒนธรรมโบราณของชาติในสมัยประธานเหมาเจ๋อตงผู้บ้าคลั่งเป็นเวลาติดต่อกัน 10 ปี (1966-76) หรือที่เหมาฯ เรียกว่า ปฏิวัติทางวัฒนธรรมนี่เป็นความคิดที่งี่เง่าที่สุด หรือความผิดพลาดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติเช่นเดียวกับที่อดีตประธานาธิบดีเจียงเจ๋อหมิงได้สั่งการปราบปรามประชาชนของตนเองจำนวน 80 ล้านคนที่บำเพ็ญปฏิบัติธรรมตามหลักฝ่าหลุนกงซึ่งสอนให้ผู้คนลดละกิเลส ปล่อยวางผลประโยชน์ และชื่อเสียง

แม้ว่าประธานาธิบดีหูจิ่นเทา และนายกฯ เหวินเจียป่าวต้องการจะยกเลิกคำสั่งที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรมดังกล่าว ก็ยังไม่สามารถจะทำได้ เพราะเครือข่ายที่เจียงฯสร้างไว้ก่อนลงจากตำแหน่งยังมีอยู่มากมายตั้งแต่ระดับล่างสุดจนถึงสูงสุด

อย่างไรก็ดี ผมก็เชื่อว่า ผู้นำที่ใฝ่ในคุณธรรมทั้งสองท่านจะประสบชัยชนะเหนือเจียงฯ และพวก เพราะธรรมะย่อมชนะอธรรมเสมอ

ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รัฐบาลเฉพาะกาล และรัฐบาลหน้าที่มาจากการเลือกตั้งจะนำระบบเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์ท่านไปปฏิบัติให้เป็นจริง แน่นอนที่สุดว่า ของไทยย่อมยากกว่าของภูฏาน เพราะประเทศภูฏานปฏิเสธระบบเศรษฐกิจทุนนิยมตั้งแต่แรกแล้ว ระบบเศรษฐกิจพอเพียงคือทางรอดของมนุษยชาติ เพราะขณะนี้ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมกำลังนำหายนะใหญ่หลวงมาสู่โลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจีน และอินเดียซึ่งมีพลเมืองเกือบครึ่งหนึ่งของโลกยึดถือปฏิบัติ เมื่อพลเมืองของจีน และอินเดียร่ำรวย คนเหล่านี้ก็จะแข่งขันบริโภค และสะสมทรัพย์สินเงินทอง นั่นก็ย่อมหมายถึง ภาวะล่มสลายของระบบนิเวศน์ของโลกซึ่งจะทำให้มนุษยชาติล้มตายกันเป็นเบือ มนุษย์กำลังทำลายล้างโลกของตนเองด้วยระบบเศรษฐกิจทุนนิยมของชาวยุโรป   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us