Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2536
"ไทยอินดัสเตรียล แก๊ส พัฒนาจนเป็นหนึ่งในเอเชีย"             
 


   
search resources

ไทยอินดัสเตรียล แก๊ส
คริส ลีออน
Oil and gas




ไทยอินดัสเตรียล แก๊สหรือทีไอจีเป็นผู้ผลิตก๊าซเหลวและก๊าซอัดท่อที่ใช้ในอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุด ด้วยการร่วมทุนของกลุ่มบีโอซีแห่งตระกูลบรินส์จากอังกฤษ ผู้ตั้งโรงแยกก๊าซและผลิตก๊าซออกซิเจนแห่งแรกของโลกซึ่งถือหุ้น 45% สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และธนาคารไทยพาณิชย์ถือหุ้นฝ่ายละ 15% ผู้ถือหุ้นรายย่อยอีก 25% และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อปี 2522 หลังจากที่ก่อตั้งมาได้ 9 ปี

ทีไอจีพัฒนาโดยใช้ฐานเดียวกับบีโอซี คืออาศัยหลัก "TQM" หรือ 'TOTAL QUALITY MANAGEMENT" เป็นการจัดการควบคุมคุณภาพครบวงจรตั้งแต่การเลือกวัสดุที่ใช้ การออกแบบ ระบบการผลิตและการขนส่งตลอดจนบริการหลังการขาย

"จากยอดขายปี 2526 แค่ 70 ล้านบาทเพิ่มเป็น 745 ล้านบาทในปี 2536" คริส ลีออนกรรมการผู้จัดการของทีไอจี กล่าว

เป็นอัตราการเติบโตที่สูงขึ้นถึง 10 เท่าตัวในรอบระยะเวลา 10 ปี !

กระบวนการการผลิตก๊าซเหลวของทีไอจี นั้นคือการจับเอาอากาศที่มนุษย์หายใจเข้าไปนี่แหละมากแยกออกเป็นก๊าซแต่ละชนิด ที่สำคัญได้แก่ ก๊าซไนโตรเจนซึ่งมีอยู่ในอากาศ 78% ก๊าซออกซิเจน 21% และก๊าซอาร์กอน 0.9% ที่เหลือเป็นก๊าซอื่น ๆ

โดยเฉพาะก๊าซไนโตรเจนเป็นที่ต้องการของตลาดในวงการอุตสาหกรรมมากในขณะนี้ ไนโตรเจนเป็นก๊าซเฉื่อยใช้ในการควบคุมบรรยากาศ และเป็นประโยชน์มากในอุตสาหกรรมอาหารแช่แข็ง เพราะใช้ฟรีซได้ทันที ปกติจุดเยือกแข็งอยู่ที่ -196 องศาเซลเซียส ขนาดที่ทำให้ลูกเทนนิสแตกได้

นอกจากนี้ ยังใช้ก๊าซไนโตรเนในอุตสาหกรรมโลหะโดยการลดอุณหภูมิเพื่อให้ชิ้นส่วนนั้นๆ หดตัวเพื่อสะดวกในการประกอบ ใช้ในอุตสาหกรรมอิเลคทรอนิคส์ และป้องกันการติดไฟของสารประกอบทางเคมีต่าง ๆ

สำหรับก๊าซออกซิเจนใช้ในการตัดเหล็ก อุตสาหกรรมแก้ว ปรับปรุงคุณภาพน้ำให้ดีขึ้น หรือใช้ช่วยชีวิตผู้ป่วยซึ่งล้วนแต่เป็นกิจกรรมที่มีการขยายตัวสูงขึ้น

ถ้ารวมตลาดก๊าซเหลวทั้งหมดแล้ว ขณะนี้ทีไอจีครองอยู่ถึง 45% ของตลาดมูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาท มีกำลังการผลิตขนาด 1,000 ตันต่อวันจากเดิมที่มีเพียง 500 ตันต่อวัน

ทีไอจีเป็นรายแรกที่ตั้งโรงแยกก๊าซจากอากาศมาเก็บในรูปของก๊าซเหลว ในขณะที่ผู้ผลิตรายอื่น ๆ เมื่อแยกก๊าซออกมาได้แล้วจะอัดเข้าท่อหรือถังในรูปของอากาศ ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้ทีไอจีก้าวล้ำหน้าคู่แข่งในตลาดไปได้อย่างชัดเจนเพราะก๊าซเหลวเมี่อแปรมาเป็นอากาศจะขยายได้อีก 800 เท่าส่งผลให้ลูกค้านิยมมากขึ้น เนื่องจากช่วยลดต้นทุนการเก็บรักษาได้มหาศาล

ยิ่งกว่านั้น ก็คือ ทีไอจีมีระบบการขนส่งที่ได้มาตรฐานสากล ทำให้ลูกค้ายอมรับอย่างรวดเร็ว…!

ทีไอจีจะขนส่งก๊าซเหลวด้วยระบบท่อตรงไปยังโรงงานของลูกค้า หรือโดยรถบรรทุกก๊าซ (แท้งเกอร์) และบรรจุในภาชนะพิเศษ

การขนส่งประมาณครึ่งหนึ่งจะเป็นท่อ ซึ่งต้นทุนจะถูกว่าระบบแท้งเกอร์ราว 50% ซึ่งเหมาะสำหรับลูกค้าที่ทีไอจีวางท่อไว้ถึงอย่างสะดวก

ส่วนต้นทุนโดยใช้แท้งเกอร์แม้จะแพงกว่า แต่ก็มีปริมาณการใช้ประมาณ 50% ซึ่งเหมาะสำหรับการขนส่งไปยังตลาดทั่วประเทศ

แท้งเกอร์เป็นเทคโนโลยีที่ทีไอจีลงทุนมากกว่าการขนส่งวิธีอื่น เพราะแค่แท้งเกอร์ 2 ชั้นเพียงคันเดียวเป็นมูลค่ากว่า 6 ล้านบาท "เป็นรถที่ได้มาตรฐาน ไม่ต้องกลัวระเบิดหรือการรั่วไหล" ณัฏฐวุฒิ จันทร์เทพ ผู้จัดการฝ่ายจัดส่งกล่าวยืนยันและอธิบายถึงจุดเด่นของแท้งเกอร์ที่หนุนเนื่องให้ทีไอจีกลายเป็นโรงงานก๊าซเหลวที่สมบูรณ์ในเอเชีย

"เวลานี้เรามีแท้งเกอร์อยู่ 15 คัน ปริมาณจุจะมากกว่ารถเล็กที่ใช้กันอยู่ถึง 3 เท่าค่าขนส่งส่วนนี้ไม่ถึง 10% ของการผลิต ที่สำคัญ การันตีความปลอดภัย เพราะภายในรถมีฉนวนซึ่งเป็นเทคโนโลยีชั้นสูงกั้นอยู่ เป็นรถความดันต่ำไม่เสี่ยงต่อแรงดันที่จะทำให้รถระเบิดมีเซฟตี้วาล์วเป็นตัวช่วยลดความดันในถังให้ลดลง เมื่อรถถูกชนแล้วเกิดความดันสูงและมีวาล์วฉุกเฉินจะปิดอัตโนมัติ และมีสวิทซ์ฉุกเฉินคอยปิดปั๊มทั้งระบบได้ถ้าบังเอิญก๊าซรั่วไหล"

ลีออน ยังเล่าถึงแผนงานอนาคตว่า "เรายังมีโครงการเปิดโรงงานอีกแห่งที่นิคมอุตสาหกรรมเวลโกร ถนนบางนาตราด โดยจะย้ายโรงงานเดิมที่สำโรงไปอยู่ที่นั่น กำหนดเปิดเดือนมีนาคม 2537 ซึ่งต่อไปจะกลายเป็นศูนย์ปฏิบัติการต่าง ๆ ของบริษัท เช่นการบรรจุการเก็บรักษา ระบบการจัดส่งก๊าซเป็นต้น ที่เราย้ายเพราะสะดวกกับกรุงเทพฯ มากกว่า โดยเฉพาะจะทำให้เราจัดส่งก๊าซให้ลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น"

นอกจากนี้ ทีไอจียังลงทุนที่มาบตาพุดเพิ่ม โดยใช้เงินอีก 27 ล้านบาทเพื่อผลิตอาร์กอนบริสุทธิ์และระบบจัดเก็บก๊าซ และลงทุนอีก 97 ล้านบาทเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตในขั้นแรก และจะลงทุนในปี 2539 อีกกว่า 1,000 ล้านบาทในการพัฒนาระบบการผลิตที่มาบตาพุดทั้งหมด ซึ่งจะทำให้สนองความต้องการตลาดที่ขยายตัวอีกปีละ 15% ได้อย่างเต็มที่

ลีออนเชื่อว่าจากการเตรียมแผนอย่างดีและให้ความสำคัญกับการจัดการที่สมบูรณ์จะทำให้ทีไอจีครองความเป็นหนึ่งในตลาดต่อไปได้…!

"เราพัฒนาจนเป็นหนึ่งในเอเชีย และยังจะพัฒนาต่อไปทั้งเรื่องบุคลากรและเทคโนโลยี" ลีออนกล่าวในที่สุด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us