หากย้อนดูประวัติผู้บริหารระดับสูงของธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงก์ชาติ) ในหลายยุคที่ผ่านมา
ปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา จัดได้ว่ามีเส้นทางการเติบโต ที่แตกต่างจากคนส่วนใหญ่ค่อนข้างมาก
เพราะความ ที่ไม่ใช่นักเรียนทุนแบงก์ชาติ ทำให้ปกรณ์คิดเสมอว่าโอกาส ก้าวหน้าในการทำงานในองค์กรรัฐแห่งนี้
จะต้องลำบากกว่าผู้ที่เป็นนักเรียนทุน
โดยเฉพาะแบงก์ชาติยุคเมื่อประมาณ 10 ปีก่อน ที่โครงสร้างองค์กรถูก กำหนดให้ตำแหน่งผู้ว่าการ และรองผู้ว่าการ
ต้องมาจากฝ่ายการเมือง ตำแหน่งบริหารสูงสุดของพนักงานแบงก์ชาติ จึงจำกัดอยู่แค่ผู้ช่วยผู้ว่าการ
ทำให้โอกาสของพนักงาน ที่ไม่ใช่นักเรียนทุนจะก้าวขึ้นไปถึงตำแหน่งดังกล่าว
มีค่อนข้างน้อย
แต่ปกรณ์ก็สามารถก้าวขึ้นไปได้
โดยมีผลงานชิ้นสำคัญ คือ การแฝงตัวเข้าไปทำงานในธนาคารมหานคร
อย่างลับๆ คอยเป็นหูเป็นตาให้แบงก์ชาติ จนสามารถแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้นใน
ธนาคารแห่งนี้สำเร็จ เมื่อปี 2529 เป็นตัวผลักดัน
ปกรณ์เริ่มเข้าทำงานในแบงก์ชาติเมื่อปี 2511 และค่อยๆ ไต่เต้า
ตำแหน่งงานขึ้นตามลำดับ โดยตำแหน่งสุดท้ายในปี 2528 ก่อน ที่จะถูกส่งเข้าไป
อยู่ในธนาคารมหานคร เป็นผู้อำนวยการสาขาภาคเหนือ
เมื่อกลับมาหลังเสร็จภารกิจ ที่ธนาคารมหานคร ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้
อำนวยการฝ่ายการพนักงาน และจัดองค์งาน และผู้อำนวยการฝ่ายการธนาคาร
ก่อน ที่จะได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยผู้ว่าการในปี 2533 ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุด
สำหรับพนักงาน ที่เป็นลูกหม้อของแบงก์ชาติยุคนั้น สามารถรับได้
ปกรณ์เป็นผู้ช่วยผู้ว่าการแบงก์ชาติอยู่เพียง 5 ปี ก็ถูกเสนอให้ไปเป็นเลขาธิการสำนักงาน
คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แทนเอกกมล คีรีวัฒน์
ที่ถูกบีบให้ออกเพราะการเมืองเมื่อปลายปี 2538
ตลอด 4 ปี ปกรณ์เป็นเลขาธิการก.ล.ต. กล่าวกันว่าเป็นช่วง ที่หน่วยงานต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน สามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องไม่สะดุด เนื่องจากบุคลิก ที่เป็นคนประนีประนอมของปกรณ์
ช่วยให้การประสานงานระหว่างก.ล.ต. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และฝ่ายโบรกเกอร์
เป็นไปได้โดยราบรื่น
แต่ขณะเดียวกัน กลับเป็นช่วง ที่แบงก์ชาติถูกกดดันอย่างหนัก โดย เฉพาะภายหลังมีการประกาศลอยตัวค่าเงินบาทส่งผลให้ผู้บริหารหลายคนของ
แบงก์ชาติต้องทยอยลาออก
เมื่อม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล เข้ามาเป็นผู้ว่าการแบงก์ชาติ ในปลายปี 2540
มีการนำคนนอกจำนวนหนึ่งเข้ามารับตำแหน่งบริหาร คนนอกบางคน มาจากสถาบันการเงิน ที่เคยมีปัญหาในช่วงก่อนหน้า
จึงเกิดการไม่ยอมรับจากพนักงานเดิมของแบงก์ชาติขึ้น
ปกรณ์ ซึ่งเพิ่งหมดวาระ ที่ก.ล.ต. เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2542 จึงถูก มองว่าเป็นบุคคล ที่เหมาะสม ที่จะเข้ามาอุดช่องว่างนี้
เพราะด้วยบุคลิก ที่ ประนีประนอม ประกอบกับความ ที่เป็นลูกหม้อแบงก์ชาติมานาน
น่าจะช่วย ประสานสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหาร ซึ่งเป็นพนักงานเดิมของแบงก์ชาติกับคนที่
ม.ร.ว.จัตุมงคลนำเข้าไปใหม่ได้อย่างดี
ชื่อของปกรณ์จึงถูกนำเข้าสู่ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11
มกราคม ที่ผ่านมา เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯเสนอให้เป็นรองผู้ว่าการแบงก์ชาติคนใหม่
คนใกล้ชิดปกรณ์เล่าให้ฟังว่า ปกรณ์เคยมีความภูมิใจมาก เมื่อครั้งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยผู้ว่าการแบงก์ชาติ
และคิดว่าตนเองคงจะเกษียณในตำแหน่งนี้ เพราะเป็นตำแหน่งสูงที่สุด ที่น่าจะได้รับแล้ว
แต่มาถึง ณ วันนี้ ปกรณ์ ซึ่งยังมีอายุราชการเหลืออีกถึง 3 ปี ได้ก้าวเดินไปไกลเกินกว่าเป้าหมาย ที่เคยตั้งไว้เรียบร้อยแล้ว