|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ปัจจุบันตลาดทันตกรรมในประเทศมีสถานประกอบการมากกว่า 3,500 แห่ง สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนแต่ละปีไม่ต่ำกว่า 6,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนของมูลค่าตลาดคลินิกทันตกรรมเอกชนร้อยละ 75 ส่วนที่เหลืออีก 25% จะเป็นในส่วนของโรงพยาบาล ขณะเดียวกันในทุกๆ เดือนจะมีคลินิกทันตกรรมเปิดใหม่ประมาณ 10 แห่ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงสภาพการแข่งขันที่เริ่มจะรุนแรงมากขึ้น
นับย้อนหลังไปเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจทันตกรรมเปรียบเสมือนเสือหลับ ที่ไม่เคยมีกิจกรรมทางการตลาดใดๆออกมาเลย ขณะที่ความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่ใช้บริการด้านทันตกรรมกลับสวนกระแสเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากธุรกิจทันตกรรมไม่เร่งปรับตัวก็อาจจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจในอนาคตอันใกล้
ด้วยข้อจำกัดห้ามโฆษณาประชาสัมพันธ์ส่งผลให้ธุรกิจทันตกรรมซึ่งเป็นธุรกิจบริการประเภทหนึ่งที่ต้องหายุทธวิธีในการสร้างตลาดขึ้นมาเอง ขณะเดียวกันการแข่งขันทางธุรกิจก็มีเพิ่มขึ้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเครื่องมือที่มีเทคโนโลยีทันสมัยและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นก็ส่งผลให้ธุรกิจทันตกรรมเป็นขุมทรัพย์ที่กลุ่มผู้ประกอบการพร้อมจะกระโดดเข้ามาร่วมวงไพบูลย์ด้วย
ก่อนที่ทุกอย่างจะกลายเป็นปัญหา ทันตแพทย์ สุนทร อัศวานันท์ ผู้อำนวยการคลินิก อัศวานันท์ ซึ่งเปิดให้บริการด้านทันตกรรมมากว่า 18 ปี ถึงแม้ว่าจะปฏิเสธว่าไม่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจก็ตาม แต่ก็ยอมรับว่า มีการเตรียมแผนปรับและสร้างภาพลักษณ์ของคลินิกใหม่ หรือที่เข้าใจกันคือเรื่องของการสร้างแบรนด์ใหม่ขึ้นมาจริง ภายใต้ชื่อ “อัศวานันท์”ที่เปลี่ยนทั้งโลโก้และปรับโลเคชั่นให้มีพื้นที่เพิ่มมากขึ้น
“เริ่มดำเนินการแล้วใน 2007 รวมถึงการปรับกลยุทธ์ใหม่เพื่อสร้างโอกาสในการสร้างสิ่งใหม่ๆ ไปพร้อมกับการรุกสร้างแบรนด์ด้วย”ทันตแพทย์ สุนทร กล่าว
ขณะเดียวกันความสำคัญในการสร้างแบรนด์เพื่อให้เป็นที่จดจำของกลุ่มลูกค้าเป็นหน้าที่ของ พรประภา อัศวานันท์ ผู้จัดการทั่วไปคลินิกอัศวานันท์ ที่บอกว่าจะใช้ยุทธวิธีที่เรียกว่า ไวรัล มาร์เก็ตติ้ง (Viral Marketing) หรือการตลาดแบบไวรัสมาเป็นหัวหอกสำคัญในการเข้าถึงและสร้างการรับรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมาย
ด้วยฐานข้อมูลจำนวนลูกค้ากว่า 10,000 คน ที่เคยเข้าใช้บริการคือเป็นเป้าหมายในการเสริมสร้างกลยุทธ์แบบไวรัสได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ พรประภา บอกว่าได้นำอินเทอร์เน็ตมาใช้เป็นสื่อกลางเพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวในวงการทันตกรรมอาทิ เครื่องมือที่มีเทคโนโลยีทันสมัยและกระบวนการขั้นตอนของการรักษา
“ปัจจุบันสัดส่วนลูกค้าของทางคลินิก โดยเฉพาะในส่วนของลูกค้าชาวต่างชาติมีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี 2549 ที่ผ่านมามีสัดส่วนใกล้เคียงกับลูกค้าชาวไทย ซึ่งส่วนใหญ่ชาวต่างชาติจะเป็น ยุโรป สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่นและไต้หวันเป็นหลัก”พรประภา กล่าว
ขณะเดียวกันกลุ่มลูกค้าคนไทยที่เข้าใช้บริการผู้จัดการทั่วไปของคลินิกอัศวานันท์ กล่าวว่า ลูกค้าคนไทยส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มคนทำงานหรือไม่ก็จะอยู่ในระดับ B+ ขึ้นไป ซึ่งนั่นหมายความว่าการให้บริการรวมไปถึงเครื่องไม้เครื่องมือจะต้องมีเทคโนโลยีทันสมัยและอัพเดทอยู่ตลอดเวลา
“แม้ว่าจะเปิดให้บริการมายาวนานกว่า 18 ปีก็ตาม ด้วยชื่อเสียงและมาตรฐานของการให้บริการต่างเป็นที่ยอมรับ แต่หากมองถึงอนาคตอันใกล้การแข่งขันที่เริ่มทวีความรุนแรงอีกทั้งกลยุทธ์ในการนำเครื่องมือใหม่ๆ เข้ามาใช้ต่างก็มีเพิ่มขึ้น การสร้างแบรนด์ครั้งนี้คาดว่าจะสร้างการเติบโตของธุรกิจในระยะยาวได้เป็นอย่างดี”พรประภา กล่าวพร้อมกับเสริมว่า
และภายในสิ้นปีนี้ คลินิก อัศวานันท์ จะเปิดอาคารใหม่ให้บริการ ซึ่งมีพื้นที่กว่า 300 ตาราวา แบ่งเป็นพื้นที่ใช้สอย 2 พันตาราเมตร ซึ่งจะมีห้องตรวจเพิ่มขึ้นถึง 20 ห้อง นับว่าเป็นศูนย์ทันตกรรมที่มีความสมบูรณ์แบบในการรักษาและเชื่อว่าจะสามารถครอบคลุมการรักษาได้และเชื่อว่าจะรองรับจำนวนลูกค้าเข้าไปใช้บริการเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 20%
กระแสของการรุกตลาดในกลุ่มธุรกิจทันตกรรมที่เริ่มมีออกมาอย่างต่อเนื่องและร้อนแรงช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาส่งผลให้ผู้ประกอบการทั้งเจ้าเก่าและเจ้าใหม่ต้องเร่งหากลยุทธ์เพื่อสร้างแรงจูงใจในเรื่องของการให้บริการและเทคโนโลยีทันสมัยของเครื่องมือ การออกมาสร้างแบรนด์ใหม่ครั้งนี้ของกลุ่มคลินิกอัศวานันท์ที่มีประสบการณ์ผ่านร้อนผ่านหนาวมากว่า 18 ปีจึงน่าจะเป็นบทพิสูจน์ได้ว่า สงครามทันตกรรมได้เริ่มขึ้นแล้ว
หากแต่ผู้ประกอบการธุรกิจทันตกรรมรายใดที่เปิดธุรกิจเพียงแค่บูมตามกระแส...แต่ยังขาดศักยภาพความพร้อมไม่ว่าจะเป็นบริการด้านเครื่องมือหรือจำนวนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ....เส้นทางนี้อาจจะไม่สร้างความสำเร็จแถมยังต้องมาเหนื่อยต่อการทำตลาดธุรกิจ “ฟ.ฟัน” ก็ได้
|
|
|
|
|