|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ก.พ.ร.ตั้ง SDU อุ้ม "ไอทีวี" โยนกรมกร๊วกหาวิธีกระเตงก่อนเสนอครม.วันที่ 20 นี้ ทิพาวดีเผยหน่วยงานใหม่นี้ ไม่ใช่ข้าราชการ ไม่แสวงหากำไร ด้าน"ชัยอนันต์" ลั่น SDU บริหารจัดการ "ทักษิณทีวี" ไม่ใช่องค์กรที่มาขอให้ ก.พ.ร.ตั้งกันขึ้นมาดื้อๆ สปน.พบตัวเลขทรัพย์สินไม่ตรงกัน เตรียมเร่งหาข้อมูลส่งอสส.ฟ้องเร็วๆ นี้
นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ(ก.พ.ร.) แถลงผลการประชุมคณะกรรมการ ก.พ.ร. ที่มีนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานว่า ที่ประชุมได้มีการพิจารณาองค์กรที่จะจัดตั้งขึ้นมาดูแลบริหารคลื่นความถี่คลื่นโทรทัศน์ ทีไอทีวี (ไอทีวีเดิม)โดยมีมติที่จะจัดตั้งหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ (Service Delivery Unit)หรือ SDU โดยจะมีคณะกรรมการบริหารงานในลักษณะคณะบริหาร หรือบอร์ด มีอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เป็นผู้ควบคุมดูแล โดยหน่วยบริการรูปแบบพิเศษนี้ จะมีรายได้จากค่าธรรมเนียม และค่าบริการมาใช้ในการดำเนินงาน และบริหารงาน ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้เงินจากงบประมาณแผ่นดิน เพราะจะไม่ดำเนินการในรูปแบบธุรกิจ ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร จะเน้นการให้บริการสาธารณะ
"สำหรับการจ้างพนักงาน โดยหลักผู้บริหาร SDU ต้องจัดทำระเบียบทางด้านการบริหารงานบุคลว่า หน่วยงาน SDU จะมีการสรรหาบุคลากรมาจากไหน ค่าใช้จ่ายเงินเดือนจะเป็นอย่างไร ตรงนี้เป็นเรื่องของผู้บริหาร SDU ที่จะตั้งขึ้นมา ทั้งนี้บุคคลที่เข้ามาทำงานจะไม่ใช่ข้าราชการ จะเป็นพนักงานของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ"
ทั้งนี้ขั้นตอนตามกฏหมายต้องกำหนดภาระกิจของ SDU ที่ตั้งขึ้นให้ชัดเจน ดังนั้น ที่ประชุมจึงให้กรมประชาสัมพันธ์ไปจัดทำภาระกิจให้ชัดเจนก่อนเสนอที่ประชุม ก.พ.ร.อีกครั้ง ในวันที่ 19 มี.ค.นี้ และจะนำเสนอต่อที่ประชุม ครม.ในวันที่ 20 มี.ค.นี้ หลังจากนั้น ครม.จะมีมติอย่างไรจะพิจารณาอีกที
ด้านคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า SDU ไม่ใช่เป็นข้าราชการ และไม่ได้แสวงหากำไร แต่มีเจตนาเพื่อดำเนินกิจการสาธารณะ โดยมีความยืดหยุ่นที่สามารถเก็บค่าธรรมเนียมมีรายได้จากการดำเนินการ โดยให้สามารถนำรายได้จากค่าธรรมเนียมมาใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
"ชัดเจนว่าSDUที่จะตั้งขึ้น ไม่จำเป็นต้องใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน แต่สามารถใช้เงินรายได้ที่เกิดขึ้นเพื่อมาเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินงาน ประเด็นที่สำคัญคือ ไม่แสวงหากำไร และไม่ดำเนินการในเชิงธุรกิจ แต่เพื่อบริการสาธารณะที่สามารถเลี้ยงตนเองได้ ขั้นตอนต่อไปรอให้ครม.มีมติตั้ง SDU"
นายจุลยุทธ หิรัณยะวสิต ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี(สปน.) กล่าวว่า เงินที่เป็นกำไรจะต้องตัดมาเป็นของรัฐ โดยการเจรจาระบบเครดิตกับภาคเอกชนที่ทำรายการในสถานทีไอทีวี เท่าที่ดูจากการเช่าเวลามีค่าโฆษณาตกประมาณเดือนละ 100 ล้านบาท ซึ่งจะนำเงินตรงนี้มาใช้ในกิจการของทีไอทีวี โดยตัวเลขเหล่านี้เกิดขึ้นจากการเช่าเวลาที่ได้ดูทั้งหมด เบื้องต้นดูจากเดือนมีนาคม โดยเริ่มดูตั้งแต่วันที่ 8 มี.คงที่เป็นวันยกเลิกสัญญาก็รู้แล้วว่า มีตัวเลขเท่าใด ทั้งนี้หากจะแปลงเป็น SDU แล้วจะนำเงินไปลงทุนเบื้องต้นอย่างไรนั้น ยืนยันว่าจะไม่นำเงินงบประมาณไปลงทุนอะไร สำหรับค่าใช้จ่ายพนักงานนั้นก็จะให้ข้าราชการไปบริหารแบบผสมผสาน
สำหรับในช่วงที่เป็นสุญญากาศก่อนที่จะเกิด SDU การบริหารงานลักษณะเครดิตจะทำให้เกิดปัญหาหรือไม่ นายจุลยุทธ กล่าวว่า ไม่มีปัญหา เพราะเท่าที่ได้เจรจากับผู้แทนของพนักงาน ผู้ผลิตรายการต่าง ๆ เขาก็พร้อมใจให้ความร่วมมือ โดยกิจการที่เราทำความเข้าใจ อาทิ การเช่าออกอากาศ การโฆษณา บางทีมันต้องมีการจ่ายล่วงหน้า เงินส่วนนี้ก็สามารถนำมาทดรองจ่ายได้อยู่แล้ว ความจริงกระบวนการตรงนี้รัฐยังไม่เข้าไป เนื่องจากยังไม่ได้รับมอบทรัพย์สินต่าง ๆ
ปลัดสปน. ยังกล่าวถึงความคืบหน้าในการเรียกร้องค่าเสียหายต่อกรณีที่ไอทีวียกเลิกสัญญาเช่าตึก ทรัพย์สินอื่น ๆ ว่า ขณะนี้ได้ประสานกับสำนักงานอัยการสูงสุด(อสส.)ตลอด ซึ่งสำนักงานอัยการฯ ได้ขอคำยืนยันในเรื่องที่จะดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการหรือจะดำเนินการทางศาล โดยยืนยันแน่นอนว่าต้องดำเนินการส่งฟ้องศาล โดยจะทำหนังสือยืนยันในเร็ว ๆ นี้ ทั้งนี้ต้องเพิ่มข้อมูลในเรื่องทรัพย์สินที่จะฟ้องร้องไปให้ อสส.รับทราบด้วย สำหรับกระบวนการตรวจสอบทรัพย์สินนั้นได้มีการตรวจสอบประจำปีของคณะอนุกรรมการฯ ที่มีอยู่เดิม ซึ่งการตรวจล่าสุดเมื่อสิ้นเดือน ธ.ค.49 ก็พบว่า ตัวเลขของทรัพย์สินไม่ตรงกันโดยขาดไปประมาณ 500 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามยังมีคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินอีกชุดหนึ่ง ที่ประกอบด้วยกรมบัญชีกลาง กรมธนารักษ์ เจ้าหน้าที่ตำรวจ เข้าไปตรวจสอบทรัพย์สิน ซึ่งจะทำหนังสือแจ้งไปยังบริษัทไอทีวีอีกครั้ง สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากกรณีที่เอกชนยกเลิกสัญญาเช่าทรัพย์สินนั้นจะต้องมีการตรวจสอบอีกครั้งก่อนจึงจะสามารถสรุปได้
**ชัยอนันต์ลั่นไม่ใช่ตั้งเอสดียูง่ายๆ
นายชัยอนันต์ สมุทวณิช กรรมการ ก.พ.ร.กล่าวถึงกรณีที่คุณหญิงทิพาวดี ระบุว่า การดำเนินการบริหารจัดการสถานีโทรทัศน์ ทีไอทีวี จะทำตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบริหารงานของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ พ.ศ.2548 หรือระบบ SDU โดยจะให้คณะกรรมการก.พ.ร.นำไปพิจารณา ว่า ระบบ SDU ถือว่าเป็นการแปลงร่าง หน่วยงานเดิมที่มีอยู่แล้วให้เป็น SDU แต่ไม่ได้หมายความว่าให้มีตั้ง SDU ขึ้นมาดื้อๆ
"ไม่ใช่ให้ตั้ง SDU ขึ้นมาดื้อ ๆ การที่จะมี SDU ได้ จะต้องมีหน่วยงานเดิมอยู่แล้ว คราวนี้กรมประชาสัมพันธ์ แม้จะเป็นหน่วยงานของรัฐ ก็ยังไม่มีระบบ SDU นี้อยู่เลย"
เมื่อถามว่าการที่รัฐบาลเร่งนำมาพิจารณาใน ก.พ.ร.เพื่อให้กรมประชาสัมพันธ์ดำเนินการ เป็นการลักไก่หรือไม่ นายชัยอนันต์ กล่าวว่า คงไม่ใช่ เพราะกรมประชาสัมพันธ์ เขาไม่รู้ว่ามีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี จึงนำเสนอเรื่องนี้เข้ามา
ด้านนายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการ ก.พ.ร.กล่าวว่า การที่กรมประชาสัมพันธ์ เสนอเรื่องนี้เข้ามา เนื่องจากต้องการจะมีหน่วยงานในระบบ SDU เพราะจะสามารถบริหารได้ดีกว่า ซึ่ง ก.พ.ร.เห็นว่า น่าจะทำได้ แต่อย่างไรก็ตามทางกรมประชาสัมพันธ์จะต้องเร่งทำตามกฎหมายให้เรียบร้อยก่อน หลังจากที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย โดยจะต้องไปทำหลักฐานให้มีภารกิจว่า กรมประชาสัมพันธ์จะทำภารกิจอะไร
"แต่ SDU จะมีผลตั้งแต่ ครม.เห็นชอบ และประกาศในพระราชกฤษฎีกา ดังนั้นการที่สถานีโทรทัศน์ไอทีวีเดิม ได้ออกอากาศตั้งแต่เที่ยงคืนวันที่ 7 มีนาคม เป็นต้นมานั้น SDU จึงไม่มีผลที่จะเข้ามาดูย้อนหลัง"
**ขั้นตอนจัดตั้งเอสดียู
สำหรับ SDU นี้ถูกจัดตั้งเป็นแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ.2546-2550 และตามมาตรา 16 ของ พ.รบ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน(ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 ทำให้เกิดความจำเป็นในการออกแบบโครงสร้างองค์กรรูปแบบอื่นที่ไม่ใช่ส่วนราชการ โดยเฉพาะส่วนของภารกิจเกี่ยวกับการให้บริหารหรืองานสนับสนุน(non-core function) บางประการ ซึ่งยังไม่มีเหตุผลที่จะยุบเลิกและให้เอกชนเข้ามาดำเนินการแทน โดยระเบียบการจัดตั้ง SDU ได้ออกเป็นระเบียบสำนักนายกฯว่า ด้วยการบริหารงานของหน่วยบริหารรูปแบบพิเศษ พ.ศ.2548 แล้ว เมื่อวันที่ 20 ม.ค.2548 และประกาศในราชการกิจจานุเบกษา ตั้งแต่ 31 ม.ค.48 เล่มที่ 122 ตอนพิเศษ 9 ง
ส่วนหน่วยงานใดที่ต้องการจะบริหารงานในรูปแบบพิเศษแตกต่างจากระบบราชการ โดยแปลงสภาพหน่วยงานเดิมเป็นหน่วยงานบริการรูปแบบพิเศษตามระเบียบนี้ให้เสนอเรื่องต่อ ก.พ.ร.เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ หลักจากนั้น ก.พ.ร.จะพิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยมีหลักเกณฑ์ว่า หน่วยงานดังกล่าวต้องมีขีดความสามารถนอกจากการปฏิบัติหน้าที่ให้แก่ส่วนราชการของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์แล้วยังสามารถใช้วัสดุ อุปกรณ์ หรือทรัพยากอื่นใดของหน่วยงานตนเองให้บริการแก่ส่วนราชการหรือหน่วยงานหรือประชาชนได้
เมื่อแปลงสภาพเป็นหน่วยงานบริการรูปแบบพิเศษแล้วจะต้องก่อให้เกิดความคล่องตัว คุ้มค่า และลดค่าใช้จ่ายภาครัฐ จากนั้นต้องมีการปรับโครงสร้างของส่วนราชการให้สอดคล้องกับการแปลงสภาพหน่วยงานเป็นหน่วยงานเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ หากหน่วยงานที่ยื่นผ่านการพิจารณาแล้ว ก.พ.ร.จะนำเสนอต่อครม.เพื่อพิจารณาอนุมัติและประกาศการแปลงสภาพเป็นหน่วยงานบริการรูปแบบพิเศษในราชกิจจานุเบกษาต่อไป ทั้งนี้หน่วยงานที่จะเป็นองค์กรเอสดียูนี้จะต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการบริการภาครัฐเป็นสำคัญ ต้องมีวิธีควบคุมวางหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการบริการแก่ประชาชนเพื่อมิให้เป็นการแข่งขันกับภาคเอกชน
|
|
 |
|
|