Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน15 มีนาคม 2550
ธาริษาทุบบาทเหลือ34อ้างผ่อนกฎ30%โยนบาปผู้ส่งออก             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
ธาริษา วัฒนเกส
Currency Exchange Rates




ช่วงบ่ายวานนี้ (14 มี.ค.) นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้สัมภาษณ์ว่า ในวันนี้ (15 มี.ค.) ค่าเงินบาทมีแนวโน้มหลุด 34 บาทต่อดอลลาร์ เนื่องจากเป็นวันเริ่มต้นของการเพิ่มทางเลือกในเงินทุนนำเข้าจากต่างประเทศ ทำประกันความเสี่ยงเต็มจำนวนแทนการสำรองเงินทุนนำเข้า 30% นางธาริษากล่าวว่า วันนี้ ธปท.ก็คงเข้าไปดูแลตลาดตามสมควร เพื่อไม่ให้เกิดความผันผวนมากเกินไป

“ การแข็งค่าขึ้นของเงินบาท จะเกี่ยวกับข่าวที่ออกมาว่าธปท.จะมีการยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ30 หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความเข้าใจของผู้ส่งออก แต่ในวันที่ 15 มี.ค.นี้ เป็นการเพิ่มทางเลือกเท่านั้น มาตรการร้อยละ 30 ยังคงมีอยู่ และการเตรียมการยกเลิกมาตรการร้อยละ 30 ก็ไม่ได้เกิดขึ้นในช่วงนี้ แต่เป็นความคิดที่เกิดขึ้นนานแล้ว ”

ส่วนค่าเงินบาทวานนี้ที่เคลื่อนไหวแข็งค่าต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงเช้านั้น นางธาริษาระบุว่า เกิดจากผู้ส่งออกยังคงเทขายเงินดอลลาร์สหรัฐที่มีในมืออย่างต่อเนื่อง เพราะผู้ส่งออกคาดว่าค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นไปอีก เมื่อการเทขายเงินดอลลาร์เป็นการเทขายของผู้ส่งออกคนไทย ที่ยังมีเงินดอลลาร์สหรัฐจากการส่งออกอยู่ ไม่ใช่เงินที่ต่างชาติเทเข้ามาเพื่อเก็งกำไรค่าเงินบาท ธปท.จึงเห็นว่าไม่ใช่เงินเก็งกำไรจากต่างชาติ ธปท.ก็คงไม่เข้าไปทำอะไรเป็นพิเศษ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่นางธาริษาให้สัมภาษณ์นั้น ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 35.06-35.07 บาทต่อดอลลาร์

ต่อมาเวลา 17.00น. ผู้สื่อข่าวสอบถามไปยังนักบริหารเงินพบว่า ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลังจากนางธาริษาให้สัมภาษณ์ชี้นำ โดยปิดตลาดที่ 35.00 บาทต่ออดอลลาร์

นักบริหารเงินเปิดเผยการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทวานนี้ว่า เปิดตลาดช่วงเช้า 35.12 บาทต่อดอลลาร์ ระหว่างวันเคลื่อนไหวแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงบ่าย จนช่วงเย็นมาปิดตลาดที่ระดับ 35.00 บาทต่อดอลลาร์

นักบริหารเงินเปิดเผยค่าเงินบาทในตลาดต่างประเทศ (ออฟชอร์) ว่า ยังคงแข็งค่าต่อเนื่อง ล่าสุดวันที่ 13 มี.ค.เคลื่อนไหวอยู่ที่ 32.90-33.20 บาทต่อดอลลาร์ ส่วนต่างประเทศในช่วงนี้ เงินเยนเคลื่อนไหวแข็งค่ามาอยู่ที่ระดับ 116.00/10 เยน/ดอลลาร์ เงินยูโรแข็งค่ามาที่ 1.3190 ดอลลาร์/ยูโร ปัจจัยต่างประเทศขณะนี้ ตลาดรอตัวเลขต่างๆ เช่น CPI, PPI ของสหรัฐฯ ที่จะประกาศในวันพฤหัสบดีและวันศุกร์นี้, การประชุม BOJ วันที่ 19-20 มี.ค. และการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) วันที่ 20-21 มี.ค.นี้

นายแบงก์เชื่อบาทแข็งค่าต่อ

นายอภิศักด์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย มองว่า ค่าเงินบาทในระยะยาวยังมีแนวโน้มแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง แต่ในระดับที่ไม่สูงมาก ซึ่งเป็นไปตามทิศทางค่าเงินสกุลภูมิภาค ดังนั้นผู้ส่งออกต้องป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน แม้จะมีต้นทุนในการทำธุรกรรมบ้างแต่ไม่มาก ทั้งนี้ลูกค้าธนาคารกรุงไทยในสัดส่วน 70% ได้มีการป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน ขณะที่บางส่วนเริ่มใช้สกุลเงินต่างประเทศแทนดอลลาร์สหรัฐ

"ผู้ประกอบการส่งออก อยากเห็นค่าเงินบาทนิ่ง เพราะสามารถที่จะปรับตัวและวางแผนการรองรับได้”

สอดคล้องกับความเห็นนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ที่กล่าวว่า ค่าเงินบาทในปีนี้ยังมีทิศทางที่แข็งค่าขึ้น เนื่องจากไทยยังคงเกินดุลบัญชีเดินสะพัด แต่เป้าหมายไม่ได้มองว่าค่าเงินบาทควรจะอยู่ในระดับที่อ่อนหรือแข็งค่า แต่ควรเคลื่อนไหวตามค่าเงินในภูมิภาคและนิ่ง

"มองทิศทางค่าเงินบาทในช่วงนี้ได้ยากมาก เพราะมีหลายปัจจัยมากระทบ เช่น ทางการก็น่าจะมีมาตรการเข้ามาดูแล ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศก็เป็นประเด็นสำคัญสำคัญโดยเฉพาะเศรษฐกิจโลกที่แนวโน้มชะลอลง แต่แนวโน้มค่าเงินบาทยังคงแข็งค่า” นายประสารกล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us