Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2536
"ประกันสังคม 2 ปี การเริ่มต้นเพื่อวันหน้า"             
 


   
search resources

สำนักงานประกันสังคม
ชุมศักดิ์ พฤกษาพงษ์
สุเทพ วงศ์แพทย์
Insurance




ถึงวันนี้ คนไทยจำนวนหนึ่งเริ่มมีความคุ้นเคยกับการมีกฎหมายประกันสังคม ที่มีอายุครบ 2 ปีเมื่อต้นเดือนมิถุนายน แม้ว่าระยะเวลา 2 ปีของการใช้กฎหมายฉบับนี้ดูเหมือนว่าจะเป็น 2 ปีแห่งความไม่เข้าใจในรายละเอียดของกฎหมายฉบับนี้ก็ตาม

สำหรับหลายๆ คนสภาพของบัตรประกันสังคมในตอนแรก ไม่ต่างไปจากบัตรมรณะแต่อย่างใด เพราะเป็นบัตรที่ทำให้โรงพยาบาลต่างๆ ปฏิเสธที่จะรักษาตัวคนไข้ได้แม้จะอยู่ใกล้กับที่เกิดเหตุ โดยอ้างว่าไม่ใช่โรงพยาบาลที่ระบุในบัตรประกันสังคมจนกระทั่งเสียชีวิตเพราะการรักษาที่ไม่ทันกับเวลา

"เรายอมรับว่าที่ผ่านมา อาจจะมีบ้างที่กฎหมายประกันสังคมเป็นกฎหมายที่สร้างความเจ็บปวดให้หลายคน อย่างกรณีคนป่วยเป็นโรคไตแล้วถูกโรงพยาบาลแห่งหนึ่งปฏิเสธที่จะผ่าตัดเพราะค่าใช้จ่ายสูง แต่วันนี้เราคงมองเห็นแล้วว่าการมีกฎหมายฉบับนี้เป็นเรื่องสร้างความมั่นคงให้สังคม" นายแพทย์ชุมศักดิ์ พฤกษาพงษ์ รองประธานอนุกรรมการประกันสังคมฝ่ายวิชาการและประชาสัมพันธ์ สำนักงานประกันสังคม กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

หมอชุมศักดิ์อธิบายถึงการที่เขากล่าวว่า การมีกฎหมายประกันสังคม เป็นเรื่องที่สร้างความมั่นคงให้กับสังคม ว่าเพราะเป็นเรื่องที่ทำให้ผู้อยู่ในข้อกำหนด (คือสถานประกอบการที่มีคนงานมากกว่า 10 คน) สามารถที่จะเข้ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลได้ ต่างจากในอดีตที่คนงานจำนวนมาก เมื่อต้องการที่จะรักษาพยาบาลจะต้องมีการกู้หนี้ยืมสินและหากไม่สามารถกู้ได้ ก็ไม่สามารถที่จะเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลต่างๆ ได้

อย่างน้อย การคุ้มครองที่ครอบคลุมถึง 4 อย่างในวันนี้ อันได้แก่ การคลอดบุตร การเจ็บป่วย การทุพพลภาพจนถึงการเสียชีวิต ดูจะเป็นหลักประกันได้บ้างสำหรับคนไทยโดยเฉพาะคนด้อยโอกาสหรือผู้ใช้แรงงาน

สำหรับสถานพยาบาลได้ค่ารักษาเพียงคนละ 700 บาทต่อปี ดูจะไม่คุ้มแน่ หากมีผู้ป่วยเข้ามารักษาเป็นจำนวนมาก

"ผมกล้าที่จะพูดได้เลยว่ายังไงก็ไม่คุ้ม.." นายแพทย์สุเทพ วงศ์แพทย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีโรงงานมากที่สุดจังหวัดหนึ่งของประเทศ และมีสถานประกอบการหลายแห่ง ใช้บริการประกันสังคม กล่าวเรื่องนี้กับ "ผู้จัดการ" พร้อมทั้งชี้ว่า รัฐควรจะมีการพิจารณาตัวเลขใหม่

ปัญหาที่หมอสุเทพไม่เชื่อว่า การเพิ่มวงเงินให้สถานพยาบาลไม่ง่ายนั้นก็คือ การที่คณะกรรมการประกันสังคมไม่มีแพทย์รวมอยู่ด้วยเลย เกือบทั้งหมดเป็นคนในสังกัดกระทรวงมหาดไทย

ตัวเลขที่โรงพยาบาลได้รับคนละ 700 บาทต่อปีนั้น หมอชุมศักดิ์อธิบายถึงที่มาของตัวเลขว่า สำนักงานประกันสังคมคิดจากตัวเลขพื้นฐานของกระทรวงสาธารณสุข ที่มีการศึกษาพบว่า คนทั่วไปจะหาหมอปีละ 2 ครั้งเสียค่าใช้จ่ายครั้งละ 150 บาท รวมเป็นเงิน 300 บาท และมีอัตราเฉลี่ยนอนรักษาในโรงพยาบาลปีละ 0.3 วัน เมื่อคิดจากราคาที่กระทรวงคิดค่ารักษาพยาบาลวันละ 600 บาท ก็จะตกเป็นเงิน 200 บาท รวมเป็นเงินรักษาพยาบาลคนละ 500 บาทต่อปี แต่สำนักงานประกันสังคมให้โรงพยาบาลที่ร่วมในโครงการถึง 700 บาท

"เราถือหลักการกระจายความเสี่ยง เพราะไม่คิดว่าจะมีผู้ป่วยจากสถานประกอบการเข้ารักษาพยาบาลมาก" นายแพทย์ชุมศักดิ์กล่าวถึงกฎหมายที่เขาระบุว่า มีการศึกษานานนับสิบปีจึงจะมีการประกาศใช้

วันนี้ถึงแม้จะยังไม่สมบูรณ์ เพราะสำนักงานประกันสังคม วางแผนที่จะคุ้มครองถึง 7 อย่าง คือรวมทั้งการรักษาพยาบาลครอบครัว การว่างงานและเกษียณ แต่สำนักงานก็เชื่อว่าระยะเวลาแค่ 2 ปี สามารถที่จะมาถึงวันนี้ได้ต้องถือว่าประสบความสำเร็จพอสมควร

โดยเฉพาะกองทุนที่มีเงินสะสมถึงหลักพันล้านบาท !!!

ถึงขั้นที่พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เคยคิดที่จะนำเงินจากกองทุนประกันสังคมไปปล่อยกู้ให้หน่วยงานรัฐบางแห่ง

แต่เรื่องนี้ถูกคัดค้านเพราะหลายคนมุ่งหวังที่จะให้การประกันสังคม บรรลุเป้าหมายในการให้การคุ้มครองครบ 7 อย่างข้างต้น

นายแพทย์สุเทพ ให้ความเห็นกับ "ผู้จัดการ" ถึงเป้าหมายที่จะให้การคุ้มครองแรงงานครบทั้ง 7 อย่างว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ในอนาคตแต่หมายความว่า กองทุนจะต้องมีเงินสะสมนับหมื่นล้านเพราะไม่เช่นนั้น อาจจะมีปัญหาในหลายๆ การคุ้มครอง อย่างเช่น การว่างงาน ที่หากต้องมีการจ่ายทดแทนมาก เพราะเศรษฐกิจตกต่ำแล้วคนว่างงานมาก เงินกองทุนก็อาจจะไม่เพียงพอที่จะจ่ายชดเชยได้

"ตอนนี้ในอเมริกา ในเยอรมันก็มีปัญหา เพราะคนจำนวนมากสมัครใจที่จะว่างงาน จนเงินกองทุนลดลง" นายแพทย์สุเทพกล่าว พร้อมทั้งชี้ว่าสิ่งที่อาจจะเริ่มได้ก่อนก็คือการจ่ายทดแทนเมื่อชราภาพหรือเกษียณ เพราะรัฐมีข้อมูลว่าจะต้องใช้เงินมากน้อยแค่ไหนกับการเกษียณของแรงงานที่มีจำนวนที่ทราบแน่ชัด

วันนี้ของกฎหมายประกันสังคม จึงเป็นการเริ่มต้นที่ดีสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เพราะแรงงานเริ่มมีความมั่นใจในอนาคตมากขึ้น

แม้วันวาน อาจจะผ่านความเจ็บปวดมาบ้าง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us