Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์19 มีนาคม 2550
SHIN มีชัย ITV ทำสมานฉันท์ร้าว พวกเดียวกันแตกคอ-ฟ้องรัฐบาล บอร์ดชุดเก่ายกยวงหนีผู้ถือหุ้น             
 


   
www resources

โฮมเพจ สถานีโทรทัศน์ไอทีวี
โฮมเพจ บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ไอทีวี, บมจ.
ชินคอร์ปอเรชั่น, บมจ.
TV




หมากชิน คอร์ป เหนือชั้น แค่ทิ้งไอทีวี เล่นเอารัฐบาลเป๋ กลุ่มเคยหนุนกังขายื่นเรื่องฟ้อง ขณะที่บอร์ดไอทีวีชุดชิน คอร์ป ส่งมาคุม แสดงความรับผิดชอบ เผ่นยกยวง หนีประชุมผู้ถือหุ้น 20 มีนาคม สร้างปัญหาให้คนเล่นหุ้นอีกเพียบ โบรกแนะทำใจเตือนแล้วเตือนอีก

หลังจากสำนักปลัดนายกรัฐมนตรีได้ทำหนังสือบอกเลิกสัญญาการร่วมงานและดำเนินการสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ UHF กับบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) หรือ ITV เมื่อ 7 มีนาคม 2550 อันเนื่องมาจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 6 มีนาคม ที่ต้องยึดไอทีวี จากการที่บริษัทไอทีวีไม่สามารถหาเงินมาชำระค่าสัมปทานค้างจ่ายและค่าปรับได้ตามกำหนด

พนักงานไอทีวีได้ใช้เวลาของสถานีตลอด 2 วัน ดำเนินการเรียกร้องขอความเห็นใจจากรัฐบาล ในที่สุดก็สัมฤทธิ์ผล พลังกดดันจากไอทีวีทำให้สามารถออกอากาศได้ต่อเนื่อง โดยมีกรมประชาสัมพันธ์เป็นผู้ดูแล

ก่อนหน้านี้ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2550 ไอทีวีได้ส่งงบการเงินปี 2549 ให้ตลาดหลักทรัพย์ ปรากฏผลขาดทุนสุทธิ 1,782.69 ล้านบาท เนื่องจากค่าสัมปทานเพิ่มขึ้นจากปีก่อน เป็นไปตามผลของคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดที่ตัดสิน เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2549 ที่พิพากษายืนตามคำตัดสินของศาลปกครองชั้นต้นที่เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ลงวันที่ 30 มกราคม 2547 ทั้งฉบับ

พร้อมด้วยตัวงบการเงินเองที่ผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินของบริษัท ตลาดหลักทรัพย์จึงห้ามซื้อขายในรอบบ่ายของวันที่ 26 กุมภาพันธ์ และเปิดให้ซื้อขายได้อีกครั้งในการเปิดตลาดภาคเช้าในวันรุ่งขึ้น ราคาหุ้น ITV กลับมีแรงไล่ซื้อกันอย่างคึกคักจาก 0.93 บาท (23 ก.พ.) เป็น 1.05 บาท ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ก่อนที่จะถูกสั่งพักการซื้อขายในภาคบ่าย

ในวันเดียวกันที่ประชุมคณะกรรมการ ITV อนุมัติการลาออกของกรรมการบริษัท 2 ท่าน คือ บุญคลี ปลั่งศิริ จากตำแหน่งประธานกรรมการ และวีระวงค์ จิตต์มิตรภาพ จากตำแหน่งกรรมการและกรรมการตรวจสอบ และแต่งตั้งให้อนันต์ ลี้ตระกูล เป็นประธานกรรมการบริษัทและประธานกรรมการตรวจสอบ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2550

หลังจากได้รับหนังสือแจ้งบอกเลิกสัญญาจากสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีในวันที่ 7 มีนาคม 2550 ผู้บริหารของไอทีวี 6 ท่านได้ลาออกประกอบด้วย อัชฌา สุวรรณปากแพรก, บุญชาย ศิริโภคทรัพย์, นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล, ทรงศักดิ์ เปรมสุข, อนันต์ ลี้ตระกูล, ศุภรานันท์ ตันวิรัช โดย 2 รายหลังเป็นกรรมการเดิมที่ครบวาระและได้รับการเลือกกลับให้เข้ามาบริหารงานอีกครั้งเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

เท่ากับว่ากรรมการ 6 คนในสายชิน คอร์ป ได้ออกจากไอทีวีไปทั้งหมด กรรมการใหม่ที่เหลือ 5 คนล้วนแล้วเป็นหน้าใหม่ที่รับหน้าเสื่อเข้ามาบริหารงาน ที่จะต้องเผชิญกับผู้ถือหุ้นที่เดือดร้อนจากการถือหุ้น ITV ในวันที่ 20 มีนาคมนี้

เล่น ITV ต้องรับสภาพ

โบรกเกอร์กล่าวว่า วันนี้คงไม่ต้องพูดถึงธรรมาภิบาลของผู้บริหารชิน คอร์ปและบริษัทในเครือทั้งหมด กรณีของ ITV พิสูจน์ชัดเจนว่าเมื่อเกิดปัญหาขึ้นผู้ถือหุ้นและผู้บริหารพร้อมสละเรือเพื่อหนีปัญหาทันที เพราะการประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 20 มีนาคมคงดุเดือดแน่

"การเปลี่ยนทีมกรรมการทั้งหมดมาเป็นทีมใหม่ที่ไม่มีส่วนต่อการบริหารจัดการ ITV ในช่วงที่ผ่านมา คงไม่สามารถให้ความกระจ่างกับผู้ถือหุ้นที่เดือดร้อนได้ แน่นอนว่ามูลค่าของ ITV หลังจากที่รับภาระต่าง ๆ คงไม่เหลือพอที่จะมาเฉลี่ยคืนให้กับผู้ถือหุ้นรายย่อย"

เนื่องจากวันนี้บริษัท ITV ถือเป็นบริษัทเปล่าไม่มีกิจการใด ๆ เนื่องจากสถานีโทรทัศน์ถูกบอกเลิกสัญญา ทรัพย์สินต่าง ๆ ต้องคืนให้กับรัฐ เท่ากับเป็นบริษัทเปล่าไม่มีกิจการใด ๆ แต่ยังเหลือคือภาระหนี้สินมูลค่ากว่าแสนล้านบาท ให้รับผิดชอบ ลำพังการตีทรัพย์ชำระหนี้ก็ไม่น่าจะพอ คงไม่ต้องพูดถึงผู้ถือหุ้นที่ยังถือหุ้น ITV อยู่

"ผู้ถือหุ้นโดยเฉพาะรายย่อยคงต้องทำใจ เพราะการเข้ามาลงทุนก็ต้องพร้อมที่จะยอมรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น อีกทั้งก่อนหน้านี้บทวิเคราะห์ของบริษัทหลักทรัพย์ทุกแห่งต่างก็แนะนำให้หลีกเลี่ยงหุ้นตัวนี้ ผู้ที่ตัดสินใจเข้าไปซื้อในช่วงที่เกิดปัญหาขึ้นก็ต้องยอมรับสภาพ"
เชื่อว่าหลังจากการประชุมผู้ถือหุ้นผ่านไป คงมีการฟ้องร้องกันระหว่างผู้ถือหุ้นกับผู้บริหาร ITV แม้ว่าผู้บริหารชุดเดิมจะลาออกไปแล้ว แต่ความรับผิดชอบที่เกิดความเสียหายในระหว่างที่บริหารอยู่ยังเป็นหน้าที่ของผู้บริหารเดิมที่ต้องรับผิดชอบ แต่เรื่องนี้จะได้ผลสรุปออกมาอย่างไรคงต้องใช้เวลาอีกนาน

มีชัยในมิติการเมือง

ขณะเดียวกันนอกจากความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้ถือหุ้น ITV แล้ว ยังมีผลในด้านอื่นตามมา ซึ่งเป็นผลกระทบที่มีนัยยะสำคัญทางการเมืองไม่น้อย

เริ่มจากการปิดไอทีวีหรือไม่ปิดไอทีวี สุดท้ายรัฐบาลไม่ปิดไอทีวี แต่เปลี่ยนเป็นทีไอทีวีและโอนย้ายทีมงานจากบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) มาอยู่ภายใต้การดูแลของกรมประชาสัมพันธ์ ด้วยสถานะของไอทีวีที่เป็นเอกชน เมื่อบริษัททำผิดสัญญาต่อรัฐแต่รัฐกลับดำเนินการสานต่อให้กับพนักงานไอทีวี จนทำให้อดีตพนักงานองค์การขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) ได้ยื่นหนังสือเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้รัฐบาลช่วยเหลือพนักงานที่ถูกเลิกจ้าง เนื่องจากการยุบองค์กร เช่นเดียวกับกรณีที่รัฐบาลให้การช่วยเหลืออดีตพนักงานไอทีวีที่ถูกยกเลิกสัมปทาน

รวมถึงภาคประชาชนได้ยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) เพื่อกล่าวหาและกล่าวโทษ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จุลยุทธ หิรัญยะวสิต ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) และปราโมช รัฐวินิจ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ อันเป็นการเอื้อประโยชน์กับบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ถือเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

นับได้ว่าแค่ ITV เพียงแค่บริษัทเดียวที่เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ ยอมสูญเงิน แต่กลับสร้างความคุ้มค่าที่สามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ไม่ดีให้กับรัฐบาลได้จากผู้ถือหุ้นรายย่อยที่เสียหาย จากข้อขัดแย้งกันถึงวิธีการบริหารจัดการกับ ITV ที่สร้างรอยร้าวให้คนที่เคยสนับสนุนรัฐบาลกับรัฐบาลต้องมีเรื่องขัดแย้งกัน งานนี้ถือว่าหมากที่ผู้มีอำนาจเดิมและเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ วางไว้ได้ผลเกิดคาด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us