Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์12 มีนาคม 2550
จับตาทัพหลัง "RS" เมื่อเฮียสั่งลุย!!             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน)

   
search resources

อาร์เอส, บมจ.
สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์
Entertainment and Leisure




*ขุนพลอาร์เอสเตรียมพร้อม เปิดปฏิบัติการHR หลังรีแบรนด์ หลังบ้านจัดทัพและอยู่กันอย่างไร?

*มือโปร-อินเตอร์-อินเทรนด์-เป็นมิตรและสร้างสรรค์ 5 Brand's character ที่คนอาร์เอสต้องมี

*แก้ปัญหาอย่างเร็ว เมื่อBuild ไม่ทัน จำเป็นต้อง Buy คัดหัวกะทิระดับผู้นำสร้างทีมเข้มแข็ง

*เป้าหมายเพื่อเป็นหนึ่ง "CEO" ต้องเข้าใจ จูงใจ และสื่อสาร เปิดกว้างพร้อมเรียนรู้

เมื่อทัพหน้าอย่าง "เฮียฮ้อ" สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ประกาศอย่างชัดเจนว่ากระบวนการรีแบรนดิ้งของบริษัทอาร์เอส โปรโมชั่น จำกัด (มหาชน) จะต้องปรับไปในทุกองคาพยพขององค์กร มิเพียงแต่โลโก้ที่จะสดใสขึ้นเท่านั้น กระบวนการคิดและการทำงานของขุนพลคนอาร์เอสก็จะต้องเปลี่ยนไปด้วย

จากการอยู่อย่างเรียบง่ายของครอบครัวเล็กๆ กลายเป็นจะต้องปรับการทำงานหลายกระบวนท่า ยิ่งเมื่อย้ายบ้านเข้าตลาดหลักทรัพย์ คนในจึงต้องมีระบบระเบียบมากตาม

5 Brand's character
แนวคิดปรับทัพหลัง


พรพรรณ เตชรุ่งชัยกุล รองกรรมการผู้จัดการ สำนักประธาน บริษัท อาร์เอส โปรโมชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวกับ "ผู้จัดการรายสัปดาห์" ถึงกระบวนการปรับงานหลังบ้านของบริษัท หลังจากทัพหน้าประกาศรีแบรนดิ้งว่า เมื่อเป้าหมายขององค์กรชัดเจนแล้วคนภายในก็ต้องมีเป้าหมายเดียวกัน กล่าวคือ ขณะนี้เรื่องรีแบรนดิ้งของอาร์เอสเป็นเรื่องที่สำคัญ ดังนั้นก่อนที่จะทำการสื่อสารให้คนภายนอกรู้ พนักงานทุกคนจะต้องเข้าใจก่อนว่ารีแบรนด์คืออะไร มีเหตุผลใดที่ต้องทำ และลักษณะของแบรนด์ใหม่คืออะไร?

โดยทำความเข้าใจว่าการทำงานเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจในเป้าหมายใหม่นั้น ในแต่ละหน้าที่ต้องทำอย่างไรบ้าง แน่นอนว่าพนักงานแต่ละคนมีพื้นฐานและประสบการณ์ที่แตกต่างกัน แต่สิ่งที่จะหล่อหลอมให้พวกเขาไปสู่เป้าหมายเดียวกับบริษัทได้นั้น จะต้องสร้างวัฒนธรรมในแบบเดียวกันให้ได้ ภายใต้ลักษณะแบรนด์ใหม่ของอาร์เอสเป็นอย่างไร? คนอาร์เอสก็ต้องมีลักษณะเช่นนั้น

"คาแรคเตอร์ลักษณะของคนมีทั้งหมด 3 เรื่อง และลักษณะของงานมี 2 เรื่อง"

สำหรับเรื่องงานของคนอาร์เอสจะต้องเป็นมืออาชีพ(Professional) และมีความเป็นสากล(Inrernational) ด้วยเหตุผลของโลกที่ไร้พรมแดนการทำงานจะต้องเป็นระบบ มีความเป็นมืออาชีพ รู้จริง พร้อมเรียนรู้ และค้นคว้าหาข้อมูล

ส่วนในเชิงของคน คือ 1.Friendly คนอาร์เอสจะต้องเป็นมิตรซึ่งเป็นคุณลักษณะที่จะต้องมีตั้งแต่ระดับสตาฟกระทั่งผู้บริหาร จุดประสงค์ของบริษัทคือต้องการเติบโตแต่เป็นกันเอง ทั้งในภาพของผู้บริหาร พนักงาน และองค์กร

2. Trendy เพราะสินค้าของอาร์เอสใช้เสพทางอารมณ์ ดังนั้นคนของบริษัทต้องนำสมัย

3. Creativity ความคิดสร้างสรรค์ จำเป็นมาก เพราะสินค้าดีๆ จะต้องเกิดด้วยความคิดสร้างสรรค์

พรพรรณ ยอมรับว่า ในวันนี้คนของอาร์เอสยังเป็นอย่างที่แบรนด์ต้องการไม่ได้ 100% อันเนื่องจากลักษณะเปลี่ยนถ่ายของคนในรุ่นเก่ามาสู่ยุคใหม่ยังมีช่องว่าง เพราะเดิมอาร์เอสเป็นองค์กรเล็กๆ ที่ไม่มีแบบแผนเท่าใดนัก แต่จากปี 2546 ที่เริ่มเข้าตลาดหลักทรัพย์ก็เร่งเสริมกำลังทัพ และเมื่อปลายปี 2548 ที่เริ่มคิดการรีแบรนด์ก็ก่อกระบวนการพัฒนาเรื่อยมา ซึ่งวันนี้จัดว่าลงตัวแล้ว ในส่วนขอบเขตของการทำงานที่สามารถตอบโจทย์ขององค์กรได้เป็นที่พอใจ 80%

"ต้องยอมรับว่าอาร์เอสมีทั้งคนรุ่นใหม่และรุ่นเก่า เพราะคนรุ่นใหม่เองตอนที่เราเลือกเข้ามาก็คิดว่าเขาน่าจะมี 5 ประการที่ต้องการ แต่เมื่อมาทำงานจริงๆ แล้ว เขาอาจจะนำมาใช้ได้ไม่ทั้งหมด เนื่องจากมีอุปสรรคในการทำงานบางอย่าง จนทำให้บางครั้งคุณสมบัติบางส่วนมีน้อย แต่อาร์เอสพยายามทำความเข้าใจพนักงานว่า ที่มีเป้าหมายการทำงานชัดเจน และมีระบบการจ่ายผลตอบแทนและการให้รางวัลที่ชัดเจนด้วย ใครที่รู้ว่าบริษัทไม่ใช่ทางที่เขาอยากเดินก็จากกันด้วยดี จะไม่สร้างบรรยากาศที่เป็นลบในองค์กร ทุกคนอยู่อย่างมีเป้าหมาย"

ผลัดกำลังคน
ปรับขบวนทำงาน


พรพรรณ อธิบายว่า นับจากอาร์เอสเป็นองค์กรมหาชน ทุกอย่างมีระบบมากขึ้น การวัดผลงานของพนักงานจากความรู้สึก ชอบ-ไม่ชอบ เห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนจากตัวเลข ดังนั้นเมื่อผ่านจุดที่คนมีการเปลี่ยนแปลงก็มีการ คิก-ออฟ คนออกบางส่วน

แต่สิ่งที่ดีก็คือผู้นำองค์กรลงมาสื่อสารทำความเข้าใจด้วยตัวเองหลายครั้ง จนพนักงานรู้สึกว่าวิธีการทำงานได้เปลี่ยนไป ความใกล้ชิดแนบแน่นกับนายจะมีน้อยลง และแต่ละคนจะมีหัวหน้าในสายงาน

"คนที่เขาปรับตัวได้ก็พยายามปรับ แต่ถ้าใครปรับไม่ได้ก็เปลี่ยนที่ทำงาน ซึ่งจริงๆ เราก็ให้โอกาส โดยในปลายปี 47 ก็มีความระส่ำระสาย มีความเคลื่อนไหวในองค์กรเยอะ เหมือนคนยังช็อค เพราะว่ามีการบริหารแบบใหม่เข้ามาที่คนรู้สึกว่า เขาถูกคุกคาม จากที่รู้สึกว่าเคยใกล้ชิดกับนาย แต่ตอนนี้ไม่มีแล้ว"

อาร์เอสจึงให้ความสำคัญกับผู้บริหารระดับกลางค่อนข้างมาก เพราะคนกลุ่มนี้จะทำหน้าที่รับสารจากส่วนบนและสื่อสารให้กับลูกน้องในองค์กรได้ดี การขับเคลื่อนไปข้างหน้าก็ดีตามไปด้วย

เมื่อแตกกิ่งธุรกิจบันเทิงออกมากว่า 8 สาขา งานของ HR จึงมากตาม แต่นั่นก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะบทบาทเพื่อนคู่คิดของผู้บริหารที่มีเป้าหมายชัดเจนทำให้งานหลังบ้านง่ายขึ้น

"HR ทำงานมากขึ้นแน่ๆ แต่ว่าชัดเจนและลึกมากขึ้น เวลาลิงค์กับแต่ละธุรกิจ ก็ไม่เหมือนกัน คนในแต่ละธุรกิจก็ต้องหามาไม่เหมือนกัน เพราะจะต้องหาให้ตอบโจทย์ธุรกิจต่างกันในหลายส่วนเราเลือกใช้เอาท์ซอร์ส เข้ามาบริหารจัดการ ช่วยลดภาระเป็นสำคัญ การขยายธุรกิจออกไปจริงๆ แล้วช่วยลดจำนวนคนด้วยซ้ำ"

ถ้าเป็นเรื่องของทัพหน้าจะดูความจำเป็นทางธุรกิจจริง ๆ เท่านั้น เพราะถ้าจำเป็นจะต้องเพิ่มก็ต้องเพิ่ม แต่งานหลังบ้านต้องกระชับและเล็ก เพื่อประหยัดต้นทุนด้านคน และค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จะตามมาอันเกิดเนื่องจากคน

"อาร์เอสเลือกจะบริหารคนน้อยๆ และคัดคนที่มีกำลังและศักยภาพที่จะสูงเพื่อทำงานได้รอบตัวมากขึ้น ทำงานได้หลายอย่างเพราะประหยัดหลายๆ อย่างได้ด้วย"

เลือดใหม่อาร์เอส
ปลุกปั้นทุกวิธี


พรพรรณ กล่าวว่า กระบวนการสร้างคนของบริษัทต้องใช้เวลา แต่ด้วยว่าธุรกิจบันเทิงมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเร็ว ในบางครั้งต้องใช้ทางลัด เพราะสร้างคนไม่ทัน จึงจำเป็นต้องซื้อตัวหัวเรือใหญ่ เมื่อปี 2548 อาร์เอสซื้อตัวคนกว่า 80% ปี 2549 50% และปี 2549 เริ่มอยู่ตัวและคาดว่าจะน้อยลง

"ส่วนใหญ่บริษัทดึงคนระดับผู้บริหาร ซื้อหัวเพื่อมาสร้างทีมที่แข็งแรง ส่วนข้างล่างก็ต้องสร้างคนเพื่อพัฒนาให้เป็นทายาทต่อไป"

ดังนั้นคนที่จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาร์เอสจะต้องมีทัศนคติที่เปิดกว้าง มีความคิดเชิงบวก พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ซึ่งมักเป็นคุณสมบัติที่หาได้ยากในคนรุ่นเก่าที่สั่งสมประสบการณ์และมีแนวทางและอีโก้พร้อมทั้งปิดตัวเอง อย่างไรก็ตามหากจะหาประโยชน์จากคนรุ่นเก่าก็ยังมีอยู่หากดึงมาใช้ให้ถูกที่ถูกเวลา

"ทัศนคติเปิดกว้างและพร้อมเรียนรู้สำคัญมาก เพราะองค์กรและธุรกิจในทุกวันนี้เคลื่อนไหวเร็วมาก ถ้าเป็นคนปิด โอกาสที่จะพลาดก็สูงมากตามไปด้วย เราอยากสร้างบรรยากาศที่เถียงได้ เห็นต่างกันได้ ไม่เป็นไร แต่ว่าสุดท้ายเมื่อได้มติออกมาแล้วทุกคนก็ต้องกลับไปทำหน้าที่ของตัวเอง"

วิธีคัดหาเลือดใหม่ๆ ของอาร์เอสจะรุกเข้าในสถาบันการศึกษาชั้นนำ เฟ้นหาครีเอทีฟไฟแรง ด้วยโครงการ Young Creative และ Campus Recruit ในสาขาอื่นๆ เพื่อเก็บข้อมูลเข้าฐานของบริษัท

ดึงดูดคนโดยการให้ค่าตอบแทนที่เหมาะสม และไม่น้อยกว่าอุตสาหกรรม พร้อมทั้งวางแผนการเติบโตในสายอาชีพไว้อย่างมั่นคง พนักงานสามารถรู้ได้ว่าเขาอยู่ส่วนใดของบริษัท และสามารถถึงเป้าหมายได้อย่างไร

จึงไม่น่าแปลกใจว่าอาร์เอสเตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขันทางธุรกิจ และเก็บกวาดหลังบ้านด้วยการปรับโครงสร้างเงินเดือนขนานใหญ่ตั้งแต่ปี 2547 เป็นหนึ่งในเครื่องมือดึงกำลังคนให้อยู่ได้นานท่ามกลางสภาวะธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลง

กระนั้นอัตราเข้า-ออกบริษัทของพนักงานยังไม่คงที่ และจัดว่าอยู่ในสัดส่วนที่ยังสูงถือว่ายังไม่บรรลุ KPI ของ HRไม่เป็นอย่างที่คาดหวังเท่าที่ควร แต่ส่วนหนึ่งอาจจะเพราะธุรกิจปรับเปลี่ยน และเดินค่อนข้างเร็ว อย่างไรก็ตามสัดส่วนในระดับผู้บริหารระดับสูงและระดับกลางค่อนข้างอยู่ตัว และมีทิศทางการเดินที่ค่อนข้างชัดเจน

บริหารแผงบน
มุ่งเป็นที่หนึ่ง


เป้าหมายของการบริหารคนของอาร์เอสในวันนี้และทิศที่จะเดินต่อไป หัวหอกงานบริหารคนกล่าวว่า หากเอาหลักการรีแบรนด์มาจับ สิ่งที่มุ่งหวังจากคนอาร์เอสก็คือความเข้าใจในลักษณะแบรนด์ 5 ประการ และพยายามพัฒนาตัวเองไปในทิศทางของแบรนด์ โดยเฉพาะผู้บริหารแผงบนหรือผู้บริหารระดับสูง ต้องหล่อหลอมสร้างความเข้าใจ และทำให้องค์กรเดินไปในทิศทางเดียวกัน

สำหรับในฟากเป้าหมายของธุรกิจ อาร์เอสต้องการให้คนอยู่ในสถานะที่แข่งขันได้ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ซึ่งหมายถึงว่าพวกเขาต้องทำงานได้ตามเป้าหมายที่วางเอาไว้

ซึ่งเมื่อปีที่ผ่านมาอาร์เอสได้ผลประกอบการที่ได้กำไรเป็นปีแรกนับจากเข้าตลาด อย่างไรก็ตามการที่ทำดีได้แค่ปีเดียวบอกว่าเจ๋งไม่ได้

"เมื่อเป็นที่หนึ่งแล้ว ก็ต้องรักษาตำแหน่งที่หนึ่งด้วย และความเป็นผู้ชนะให้ต่อเนื่อง ปี 2549 ในแง่ของผลประกอบการมีผลกำไรเป็นครั้งแรก จ่ายปันผลได้และต้องมีอัตราเติบโตต่อเนื่องอย่างไรก็ตามต้องรอดูผลอีก 3-5 ปี"

พรพรรณ บอกว่า สิ่งที่ยากที่สุดคือทำให้ผู้บริหารระดับสูงทั้งแผงคิดในแนวทางเดียวกัน พูดเรื่องเดียวกัน มีวุฒิภาวะไปด้วยกัน แผงที่รองจากCEOทั้งหมดจะต้องสอดประสานไปด้วยกันในหน้าที่ของตัวเอง จึงจะจัดการต่อลงมาที่ลูกน้องทั้งหมด

และผู้บริหารทุกคนจะต้องเป็น HR Manager และเข้าใจบทบาทของการบริหารงานบุคคลด้วยเช่นกัน ขณะที่ตัวHR เป็นเพื่อนคู่คิด ให้คำแนะนำ ผู้บริหารเปิดกว้าง และยอมรับสิ่งใหม่ และให้ความร่วมมือ ต่างคนต่างทำหน้าที่ ทำให้ชีวิตของแต่ละคนง่ายขึ้น...   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us