|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
สภาพตลาดของสินค้าในปัจจุบันไม่ค่อยเคลื่อนไหวมากนัก เนื่องจากตัวแปรที่สำคัญคงหนีไม่พ้นภาวะเศรษฐกิจที่ยังมีปัญหายังไม่ลงตัวมากนัก โดยเฉพาะปัญหาทางการเมืองที่มีความไม่แน่นอนทำให้นักลงทุนขาดความมั่นใจในการลงทุนหรือขยายกิจการ ธุรกิจขายสินค้าหรือธุรกิจให้บริการจึงมีการแข่งขันกันค่อนข้างหนักที่จะแย่งชิงลูกค้ามาเป็นของตนเอง
การแย่งชิงลูกค้านอกจากจะส่งผลให้สินค้าหรือบริการมีคุณภาพมากขึ้น ทำให้สินค้าหรือบริการเป็นที่ต้องการของลูกค้ามากขึ้นยังไม่เพียงพอต้องมีการกระตุ้นตลาดให้เกิดความจำเป็นและต้องการมากกว่าปกติ การส่งเสริมการขายจึงถูกนำมาใช้เพื่อเพิ่มยอดขายให้สูงขึ้น การนำวิธีการต่าง ๆ มาใช้กับการส่งเสริมการขายโดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญในการส่งเสริมการขาย คือ
1. กระตุ้นให้ลูกค้าซื้อสินค้ามากขึ้น เช่น มีการลดราคาสินค้า หรือซื้อ 1 แถม 1 หรือมีของแถมเมื่อลูกค้าซื้อสินค้าตามกำหนด
2. กระตุ้นให้ลูกค้าใช้สินค้ามากกว่าเดิม เช่น ให้ใช้บ่อยครั้งขึ้น
3. ช่วยเร่งเร้าอยากทดลองใช้สินค้า เช่นการทดสอบสินค้า นำไปแนะนำให้ใช้ถึงบ้าน
4. ช่วยให้ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่นในตัวสินค้า เช่น การรับประกันการใช้งาน หรือเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน
5. ช่วยให้ลูกค้ามีความต้องการสินค้ามากกว่าเดิม เช่น การสร้างคุณภาพของสินค้า สร้างความจำเป็นที่จะต้องมีสินค้าของกิจการ
6. ช่วยในการเพิ่มลูกค้ารายใหม่ๆ ให้กับสินค้า เช่น การเสนอรางวัลให้กับลูกค้าเดิมที่แนะนำลูกค้ารายใหม่ หรือลูกค้ารายใหม่มีสิทธิซื้อหรือได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น
7. กระตุ้นการขายสินค้านอกฤดูกาล เช่น การให้ส่วนลด การให้ลูกค้าซื้อโดยเงินผ่อนอัตราดอกเบี้ยศูนย์เปอร์เซ็นต์
เมื่อกิจการมีการส่งเสริมการขายสิ่งที่ลืมไม่ได้ก็คือภาระภาษีที่มีผลกระทบต่อการส่งเสริมการขายไม่ว่าจะเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่มักจะเกิดขึ้นจากการส่งเสริมการขาย ผู้ประกอบการ ผู้ทำบัญชี และฝ่ายการตลาดควรจะมีการปรึกษาหารือกันเมื่อกิจการมีนโยบายที่จะจัดให้มีการส่งเสริมการขายว่ามีผลกระทบต่อการดำเนินกิจการอย่างไรหรือไม่
โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบัญชีและภาษีอากร เพราะการส่งเสริมการขายจะมีผลกระทบโดยตรงกับกฎหมายภาษีอากรซึ่งจะหลีกเลี่ยงไม่พ้นเลยก็คือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่ผู้วางแผนการตลาดเพื่อการส่งเสริมการขายจะต้องระมัดระวังและคำนึงถึงไม่ว่าจะเป็นต้นทุนที่ใช้ในการส่งเสริมการขาย และค่าใช้จ่ายแฝงที่อาจจะเกิดขึ้นในการส่งเสริมการขาย
ปัญหาในการส่งเสริมการขายกับภาษีมูลค่าเพิ่มมักจะเกิดขึ้นบ่อยๆ ครั้ง หากฝ่ายส่งเสริมการขายขาดการประสานงานกับฝ่ายบัญชี การจะส่งเสริมการขายให้ปลอดจากปัญหาของภาษีอากรได้นั้น ควรจะทราบถึงภาษีอากรที่เกี่ยวข้องหรือมีผลกระทบต่อการส่งเสริมการขาย
มีกรณีศึกษาที่น่าสนใจของบริษัทแห่งหนึ่งได้จัดรายการส่งเสริมการขายโดยให้มีสติกเกอร์ติดอยู่ที่สายรัดฝาถังผลิตภัณฑ์ (สีทาภายนอกและสีทาภายใน) ขนาด 5 U.S.GALLONS ของทุกถัง โดยสติ๊กเกอร์จะระบุมูลค่าในการแลกเป็นเงินสดจำนวน 70, 200, 300 และ 1,000 บาท หรือแลกฟรีผลิตภัณฑ์ของบริษัท 1 ถังมีมูลค่า 1,583 บาท หรือแลกรถจักรยานยนต์ 1 คัน มูลค่า 33,000 บาท
กรณีลูกค้านำสติกเกอร์สายรัดฝาถังมาแลกเป็นเงินสดกับตัวแทนจำหน่ายของบริษัทฯ ตัวแทนจำหน่ายเป็นผู้จ่ายเงินสดให้กับลูกค้าและนำสติกเกอร์สายรัดฝาถังมาแลกกับบริษัทฯ และกรณีที่ลูกค้านำสติกเกอร์สายรัดฝาถังมาแลกรถจักรยานยนต์กับตัวแทนรายใดของบริษัทฯ ตัวแทนจำหน่ายรายนั้นจะได้รับของสมนาคุณเป็นผลิตภัณฑ์จากบริษัทฯ เป็นสีขนาด 5 U.S.GALLONS จำนวน 4 ถัง ผลกระทบภาระภาษีกับวิธีการส่งเสริมการขาย คือ
1. ลูกค้าได้นำสติกเกอร์มาแลกเป็นเงินสดกับตัวแทนจำหน่ายของบริษัทฯ หรือแลกเป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท หรือแลกรถจักรยานยนต์ไม่เข้าลักษณะเป็นการให้รางวัลในการประกวด การแข่งขัน การชิงโชค หรือการอื่นใดในทำนองเดียวกัน ตัวแทนจำหน่ายของบริษัทหรือบริษัทไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย จากเงินรางวัลดังกล่าวแต่อย่างใด
2. บริษัทได้ให้รางวัลแก่ตัวแทนจำหน่ายเป็นสินค้าสีขนาด 5 U.S.GALLONS จำนวน 4 ถัง เนื่องจากลูกค้านำสายรัดฝาถังที่มีสติกเกอร์ติดอยู่มาแลกรถจักรยานยนต์จากตัวแทนจำหน่าย เข้าลักษณะเป็นการจ่ายรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3.0 ของมูลค่าสินค้าจำนวน 4 ถังดังกล่าว
3. การจัดเก็บสายรัดฝาถังที่มีสติกเกอร์ติดอยู่ควรเก็บรักษาไว้เพื่อการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ตามมาตรฐานการตรวจสอบทางบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป และบริษัทควรมีหลักฐานการจ่ายเงินรางวัลให้แก่ลูกค้า เพื่อเป็นหลักฐานให้เจ้าพนักงานสรรพากรตรวจสอบได้ด้วย
การนำเครื่องมือต่างๆ เพื่อจะส่งเสริมการขายให้ประสบความสำเร็จ สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งก็คือการกำหนดแผนการตลาด (Market Plan) ไม่ว่าจะเป็นแผนระยะสั้นหรือแผนระยะยาวซึ่งจะต้องมีการกำหนดเป้าหมายของกลุ่มลูกค้าที่จะส่งเสริมการขาย งบประมาณในการส่งเสริมการขาย ระยะเวลาในการส่งเสริมการขาย โดยจะต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อภาษีอากรอย่างระมัดระวังด้วย
|
|
|
|
|