Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์12 มีนาคม 2550
ปฏิบัติการรีแบนด์ดิ้ง “สวนสยาม”ขึ้นแท่นสวนสนุกครบวงจร             
 


   
www resources

โฮมเพจ สวนสยาม

   
search resources

อมรพันธุ์นคร-สวนสยาม, บจก.
ไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ
Amusement Park




ภาพรวมของธุรกิจสวนสนุกของทุกปี โดยเฉพาะช่วงซัมเมอร์นี้ พบว่ามีการแข่งขันค่อนข้างสูง โดยธุรกิจต่างๆทั้งสวนสนุกภายนอกและในศูนย์การค้าต่างมีการจัดกิจกรรมแข่งขันดึงลูกค้ากันมากมาย อีกทั้งยังมีเอกชนที่จัดอีเว้นท์ดึงเอาเครื่องเล่นต่างๆเข้ามาเป็นครั้งคราว สร้างแรงกดดันให้กับธุรกิจสวนสนุกที่เปิดให้บริการทุกวันอย่างสวนสยาม และดรีมเวิล์ด ไม่น้อย

ล่าสุดบริษัท อาร์เอส ไอ-ดรีม เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด บริษัทในเครืออาร์เอสเตรียมงบฯลงทุน 120-140 ล้านบาท สำหรับงานอีเวนต์ใหญ่ต่อเนื่องตลอดทั้งปี รวม 4-5 อีเวนต์ใหญ่ และเตรียมแผนจัดอีเวนต์ประจำปี (annual event) ที่บริษัทเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เองเข้ามาเสริมด้วย ขณะเดียวกันอาร์เอสยังได้รับเป็นผู้บริหารจัดการทั้งด้านโอเปอเรชั่นและการตลาดให้กับสวนสนุกเคลื่อนที่รายใหญ่ในช่วงปลายปี และส่งท้าย ปีด้วยอีเวนต์ของทีวีซีรีส์ อุลตร้าแมน

แม้ว่าธุรกิจสวนสนุกต่างออกมาปฏิเสธว่าไม่ส่งผลกระทบก็ตาม แต่การปรับตัวครั้งใหญ่ของ “สวนสยาม”ครั้งนี้ โดยเฉพาะการรีแบนด์ดิ้งตัวเองใหม่ทั้งหมดน่าจึงเป็นคำตอบสุดท้ายของสวนสยามที่พร้อมจะรุกธุรกิจสวนสนุกแบบครบวงจรเสียที

ความเคลื่อนไหวของ “สวนสยาม”ในปีหมู ดูจะคึกคักเป็นพิเศษ เพราะนอกจากจะใช้หนี้ธนาคารกรุงเทพหมดแล้วแถมยังได้นายทุนใหม่อย่าง ไทยธนาคารเข้ามาให้ความช่วยเหลือด้านงบประมาณอีก ส่งผลให้ ไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ ประธานคณะกรรมการ บริษัท อมรพันธ์นคร-สวนสยาม จำกัด ผู้บริหารสวนน้ำและสวนสนุก “สวนสยาม” ยอมที่จะวางมือในการบริหารมากว่า 26 ปีเต็ม ขณะเดียวกันก็ดันคนในครอบครัวเข้ามาบริหารแทน

การบริหารจัดการครั้งนี้ไม่เหมือนที่ผ่านมา เนื่องจากแผนงานที่วางไว้สูงสุดคือการเป็นผู้นำทางด้านสวนสนุกครบวงจรและมีเครื่องเล่นที่ทันสมัยพร้อมดึงผู้มีประสบการณ์ด้านการจัดอีเว้นท์และการประชาสัมพันธ์เข้ามาช่วยส่งเสริมการทำตลาด

นั่นจึงเป็นที่มาของแผนธุรกิจของสวนสยาม ตั้งแต่ปีนี้ ไปถึงปี 2551 สวนสยาม ยอมทุ่มทุนกว่า 3,000 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงสวนสยาม ทะเล-กรุงเทพฯ ให้เป็นสวนสนุกแบบครบวงจร พร้อมปรับโครงสร้างภายในองค์กร ให้เป็นมืออาชีพอย่างเต็มรูปแบบ สลัดภาพความเป็นบริษัทแบบครอบครัว

ขณะเดียวกันก็จะเร่งพัฒนากระบวนการทำงาน และบุคลากร พร้อมทั้งจะจ้างทีมงานมืออาชีพทั้งสัญชาติไทยและต่างประเทศเข้ามายกระดับองค์กร เพื่อให้การบริหารจัดการได้มาตรฐานในระดับเดียวกับสวนน้ำสวนสนุกระดับสากล

นับเป็นการรีแบนด์ดิ้งครั้งสำคัญของ สวนสยาม เพราะที่ผ่านมาจุดขายของธุรกิจสวนสยามมักจะเป็นสวนน้ำ หรือทะเลกรุงเทพ เท่านั้น ขณะที่เครื่องเล่นที่มีอยู่ผ่านการใช้งานมานานจึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมของกลุ่มลูกค้าเท่าไรนัก

ด้วยเหตุนี้เอง สวนสยามจึงนำเงินหมุนเวียนของบริษัทที่มีอยู่หลังปรับโครงสร้างของบริษัทกว่า 1,000 ล้านบาทมาใช้ประโยชน์ พร้อมกับกู้เงินจากแหล่งเงินทุนใหม่อย่างไทยธนาคารอีก 2,000 ล้านบาท เพื่อปรับภาพลักษณ์ใหม่ของสวนสยามที่นอกเหนือจากสวนน้ำที่จะถูกปรับปรุงใหม่แล้วภายใน 2 ปีนี้ สวนสยามจะใช้งบประมาณกว่า 1,500 ล้านบาทเพื่อติดตั้งเครื่องเล่นใหม่ๆจำนวน 6 ตัว

สำหรับในปี 2551 จะใช้งบที่เหลืออีก 1,500 ล้านบาท ติดตั้งเครื่องเล่นอีก 10 ตัว ,ซ่อมแซมเครื่องเล่นเก่าที่มีอยู่ และปรับปรุงพื้นที่ทั้งหมดภายในสวนสนุกและสวนน้ำ เพื่อให้สวยงาม และปลอดภัย โดยเมื่อการลงทุนแล้วเสร็จจะทำให้สวนสยามมีเครื่องเล่นทั้งหมด เกือบ 40 ตัว และจะส่งผลให้สวนสยามขึ้นแท่นเป็นสวนสนุก-สวนน้ำที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ปฏิบัติการปรับโฉมใหม่ของสวนสยามครั้งนี้ น่าจะสร้างตลาดกลุ่มใหม่ๆเกิดขึ้นโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาพักผ่อนในประเทศไทย ขณะที่กลุ่มนักท่องเที่ยวคนไทยก็จะหันมาเล่นเครื่องเล่นตัวใหม่โดยไม่ต้องเดินทางไปต่างประเทศ สวนสยามจึงมีแผนการตลาดที่จะเปิดบริษัทนำเที่ยวเพื่อดึงนักท่องเที่ยวในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เข้ามาใช้บริการ อาทิ สิงคโปร์ มาเลเซีย จีน ลาว กัมพูชา เป็นต้น

จากเดิมที่ใช้สวนน้ำ-ทะเลกรุงเทพฯเป็นจุดขาย แต่ในอนาคตสวนสยามจึงหยิบเครื่องเล่นตัวใหม่จำนวน 6 ตัวที่กำลังติดตั้งให้เสร็จภายในเดือนตุลาคมของปีนี้ มาเป็นจุดขายใหม่ควบคู่ไปกับสวนน้ำที่มีอยู่ ซึ่งได้แก่ เกลียวเหาะมหาสนุก Suspended Looping Coaster รถไฟเหาะตีลังกา ที่ใหญ่ติดอันดับ 1 ใน 2 ของโลก มีความยาวถึง 765 เมตร สูง 33 เมตร ใช้พื้นที่ติดตั้ง 6 ไร่ ขณะที่ในประเทศอื่นมีความยาวเพียง 650 เมตรเท่านั้น บูมเมอแรง รถไฟเหาะตีลังกาถอยหลัง ,ไจแอ้นท์ ดร็อป ดิ่งพสุธา ,ไช-แอม ทาวเวอร์ หอคอยลอยฟ้าชมวิว ,เหยี่ยวเวหา และอลาดิน พรมเหาะมหาสนุก ซึ่งได้นำเข้ามาจากประเทศเนเธอร์แลนด์ สวิสเซอร์แลนด์ และเยอรมันนี

“แผนการปรับปรุงสวนสยามครั้งนี้ นับเป็นครั้งยิ่งใหญ่ในช่วง 26 ปี นับจากเปิดให้บริการ แต่ทั้งนี้บริษัทจะเก็บค่าบริการในส่วนของเครื่องเล่น จากเดิมที่ซื้อบัตรเดียวเที่ยวได้ทั้งสวนน้ำและสวนสนุก ซึ่งจะเริ่มเก็บค่าบริการตั้งแต่เดือนมีนาคมนี้เป็นต้นไป พร้อมกับการเปิดตัวมหกรรม “บิ๊ก ฮอลลิเดย์ 2007” โดยเครื่องเล่นเก่าจะเก็บ 30-60 บาทต่อครั้งต่อเครื่อง ส่วนเครื่องเล่นใหม่อยู่ระหว่างการกำหนดราคา”ไชยวัฒน์ กล่าว

นอกจากนี้ บริษัทยังมีแนวคิดที่จะจัดตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมา เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว ที่เป็นกรุ๊ปทัวร์จากต่างประเทศ อาจจะเป็นบริษัทย่อย หรือบริษัทใหม่ เพราะจะเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารจัดการ ขณะนี้ได้จัดตั้งทีมงานขึ้นมาดูแลในธุรกิจดังกล่าวด้วย เพื่อมาดูแลเตรียมความพร้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆอาทิ โรงแรมที่พัก หรือรถยนต์ในการให้บริการ

ปัจจุบันสวนสยามยังคงทุ่มงบการตลาดสำหรับซัมเมอร์ปีนี้ ประมาณกว่า 40 ล้านบาท เพื่อจัดอีเว้นท์เป็นประจำทุกปีโดยแบ่งเป็นงาน “บิ๊ก ฮอลลิเดย์ 2007” จำนวน 10 ล้านบาท ควบคู่ไปกับการปรับโลโก้ให้ดูสดใสและทันสมัยมากขึ้น

ไชยวัฒน์ บอกถึงงบประมาณที่เหลืออีกกว่า 30 ล้านบาท จะถูกนำไปใช้สำหรับลงโฆษณาประสัมพันธ์ โดยตั้งเป้ากำไร 40 ล้านบาท เติบโตจากปีที่ผ่านมาสูงถึง 20% โดยเฉพาะเมื่อมีการปรับโฉมใหม่ของสวนสยามในปี 2551 คาดว่าน่าจะสร้างผลกำไรเติบโตเป็นเท่าตัว โดยมาจากการเก็บค่าบริการของเครื่องเล่นใหม่ ซึ่งหวังผลให้มีกำไรเพิ่มขึ้นกว่า 100 ล้านบาทในปี 2551 และเพิ่มขึ้นเป็น 150 ล้านบาท ในปี 2552

หากเป็นไปตามแผนงานที่กลุ่มคนรุ่นใหม่ของตระกูลเหลืองอมรเลิศวางไว้ รวมถึงผลกำไรที่สวนสยามได้รับตั้งแต่ปี 2547 ที่มีกว่า 12 ล้านบาท และในปี 2548 อีกจำนวนกว่า 27 ล้านบาท ขณะที่ผลกำไรในปี 2549 สูงถึง 38 ล้านบาท จะส่งผลให้ “สวนสยาม”เป็นธุรกิจสวนสนุกที่สร้างแรงจูงใจให้กับนักลงทุน ซึ่งหมายความว่าแผนการเดิมที่จะเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯก็คงไม่ไกลเกินเอื้อม   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us