Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2536
"เวนดี้ส์…ขอพิสูจน์รสชาติในฐานะน้องใหม่ฟาสต์ฟู้ดเมืองไทย"             
 


   
search resources

วินดี้ อินเตอร์เนชั่นแนล
พิทักษ์ ศรีสกลกิจ
Fastfood




เวนดี้ส์ คือแฟรนไชส์แฮมเบอร์เกอร์น้องใหม่ล่าสุดจากอเมริกา ที่อยู่ภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า "เวนดี้ส์" พร้อมจะบุกตลาดฟาสต์ฟู้ดเมืองไทย ด้วยได้เปิดสาขาในเมืองไทยขึ้นแล้ว 1 สาขา ที่ชั้นใต้ดินเดอะมอลล์ธนบุรีเมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

ด้วยพัฒนาการของธุรกิจฟ้าสต์ฟู้ดในช่วงหลังๆ นี้เกิดขึ้นเร็วมาก และไม่เฉพาะแต่เมืองไทย แทบจะทุกประเทศในเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน จีน ฟิลิปปินส์ อินโด แนวโน้มมันขยายตัวอย่างรวดเร็ว เป็นเช่นเดียวกันทั้งหมด

จากตัวเลขที่ได้รับการยืนยันว่า ในปัจจุบันมูลค่าตลาดของอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ดทั้ง 5 ประเภท คือพิซซ่า, แฮมเบอร์เกอร์, ไก่ทอด, โดนัท และไอศกรีม มีกว่า 3 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับ 5 ปีก่อน ที่มีมูลค่าเพียง 5 ร้อยล้านบาทเท่านั้น เฉพาะในกลุ่มแฮมเบอร์เกอร์ซึ่งถือเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุด มีแมคโดนัลด์ มาเป็นอันดับหนึ่ง และตามมาด้วยเบอร์เกอร์คิงส์ มีมูลค่าตลาดรวมเกือบ 600 ล้านบาทในปัจจุบัน

เป็นจุดที่ทำให้นักธุรกิจกลุ่มของเวนดี้ส์ไทย ตัดสินใจนำแฟรนไชส์ เวนดี้ส์ จากอเมริกาเข้ามาสู่เมืองไทยอย่างไม่ต้องลังเล เพราะการขยายตัวของตลาดที่เขามองว่ายังขยายได้อีกมหาศาล

โดยมี กรรณิการ์ สุขเสรี, วารี วนาสัตกุล, กมลชัย ผดุงกิจ ที่เป็นเพื่อนนักเรียนนอกจากฟอร์ริดา สหรัฐอเมริกา ด้วยกันแต่อยู่กันคนละมหาวิทยาลัย เป็นผู้ร่วมกันก่อตั้งบริษัทเวนดี้ส์ ไทยขึ้นมา

สมัยเรียนพวกเขาเหล่านี้คุ้นเคย และเดินเข้าออกในร้านเวนดี้ส์มานาน จนเกิดความชอบขึ้นมาเหมือนๆ กัน หลังจากกลับมาเมืองไทยได้แยกย้ายกันไปทำงานที่ต่างคนต่างร่ำเรียนมา

จนเมื่อ 3 ปีที่แล้วจึงคิดรวมตัวกัน และได้แจ้งความประสงค์ไปยังเวนดี้ส์ อินเตอร์เนชั่นแนล เพื่อขอแฟรนไชส์ มาทำในเมืองไทย

แต่ทางเดินไม่ได้ราบเรียบเหมือนเดินบนพรม จำต้องแข่งขันกับกลุ่มคนไทยอีกหลายๆ กลุ่มที่มองหาธุรกิจฟาสต์ฟู้ดที่นับวันจะบูมขึ้น !!! มาเปิดในเมืองไทย อยู่เกือบ 3 ปี ในที่สุดทางเวนดี้ส์มองเห็นความตั้งใจจริงของกลุ่มนี้เลยได้รับเลือกให้เป็นผู้ชนะ

"เวนดี้ส์เอง เขามีปรัชญาว่าต้องการให้คนที่ได้ลิขสิทธิ์ของเขายึดเวนดี้ส์เป็นธุรกิจหลัก มีบริษัทใหญ่ในเมืองไทยที่เข้ามาแข่งกับเรา แต่เวนดี้ส์บอกว่าถ้าหากให้บริษัทใหญ่ไปแล้ว เวนดี้ส์ก็คือหนึ่งในอาณาจักรของเขาเท่านั้น เพราะฉะนั้นเขาเองก็เกรงว่าจะไม่ได้รับการดูแลอย่างเต็มที่ นั่นจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่เลือกทางกลุ่ม เวนดี้ส์ ไทย" พิทักษ์ เล่าให้ฟังถึงที่มาของบริษัทเวนดี้ส์ในเมืองไทย

พิทักษ์ ศรีสกลกิจ ถูกดึงตัวเข้ามาร่วมงานกับเวนดี้ส์ในตำแหน่งผู้จัดการทั่วไปโดยมีดีกรี MBA มาจากสหรัฐอเมริกา

เวนดี้ส์ไทยจึงถือกำเนิดมา ด้วยทุนจดทะเบียน 40 ล้านบาทชำระเต็ม ด้วยความมุ่งมั่นที่ว่าการเข้ามาในอุตสาหกรรมฟาสต์ฟู้ดแล้วต้อง "GO BIG" ทำแค่สาขาหรือ 2 สาขาไม่ได้ ซึ่งเขาถือว่าเป็นธุรกิจหลัก จึงพร้อมที่จำทุ่มทุนเพื่อเปิดสาขาเพิ่มขึ้น

ในอเมริกา เวนดี้ส์ ซึ่งถือว่าเป็นกิจการแฟรนไชส์สาขาภัตตาคารฟาสต์ฟู้ดประเภทแฮมเบอร์เกอร์ วัดจากขนาด ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 3 รองจากแมคโดนัลด์ และเบอร์เกอร์คิงส์ ปัจจุบันมีสาขากว่า 4,000 แห่งทั่วโลก

อาร์ เดวิด โธมัส (เดฟ) คือผู้ที่ก่อตั้ง เวนดี้ส์ขึ้นมา เมื่อ 24 ปีที่แล้ว หรือในปี ค.ศ. 1969 ในมลรัฐโอไฮโอเป็นแห่งแรก จากแนวความคิดที่ต้องการทำแฮมเบอร์เกอร์ให้ดีกว่าที่มีขายอยู่ในขณะนั้น โดยเน้นไปในแนวของการทำอาหารแบบตำรับดั้งเดิม (OLD FASHIONED) และแบบที่ทำกันเองในบ้านโดยใช้ชื่อของลูกสาว คือเวนดี้ส์มาเรียกขานกันและเป็นเครื่องหมายการค้า

"ก่อนหน้าที่เวนดี้ส์จะกำเนิดแฟรนไชส์ขึ้นมา อาหารประเภทแฮมเบอร์เกอร์ เป็นวิถีชีวิตของคนอเมริกาที่มีมาก่อนแล้ว แต่เดฟเองต้องการที่จะย้อนยุคไปในสมัยที่เขายังเป็นเด็กๆ คือจะเน้นที่การให้ความสำคัญในเรื่องคุณภาพและรสชาติของอาหาร เนื้อที่จะนำมาใช้จะเป็นเนื้อสดไม่มีการแช่แข็ง เพราะต้องการให้เป็นธรรมชาติมากที่สุด เป็นความแตกต่างของเวนดี้ส์กับฟาสต์ฟู้ดตัวอื่นๆ ซึ่งเป็นจุดขายของเวนดี้ส์มาตลอด" พิทักษ์เล่าถึงความแตกต่างแนวคิดพื้นฐานของผู้ให้กำเนิดเวนดี้ส์

นอกจากคุณภาพของอาหารแล้ว จุดขายของเวนดี้ส์ยังเน้นเรื่องความหลากหลายของรายการอาหาร เพื่อให้บริการลูกค้าจะได้เลือกสั่งรองรับการมาเป็นกลุ่มใหญ่หรือเล็ก เวนดี้ส์มีรายการอาหารให้เลือกมากกว่า หรือเน้นที่ว่าลูกค้าประจำเลือกอาหารได้โดยไม่จำเจ

ซึ่งมีทั้ง แฮมเบอร์เกอร์ เบอร์เกอร์ไก่ เบอร์เกอร์ปลา ไก่ทอด หัวมันฝรั่งอบ ชิลลี่ สปาเกตตี้ สลัด ฟรอสตี้ แอปเปิลพาย

จนเวนดี้ส์ได้รับเลือกให้เป็นภัตตาคารยอดนิยมในประเภท แฮมเบอร์เกอร์ติดต่อกัน 14 ปี โดยนิตยสาร RESTAURANT & INSTITUTION แห่งสหรัฐอเมริกา

"เราไม่ได้คิดมาแข่งขันกับใคร เพราะตอนนี้ส่วนแบ่งในตลาดมันขยายตัวขึ้นมามาก ทุกคนยังให้บริการรองรับตรงนี้ไม่เพียงพอ เราจึงเห็นว่ายังมีพื้นที่ที่พอจะเสริม ให้ตลาดมันขยายตัวเพิ่มขึ้นไปอีก" พิทักษ์ ในฐานะผู้จัดการทั่วไปที่เข้ามาร่วมงานกับ เวนดี้ส์เมื่อประมาณ ต้นปี 2536 ที่ผ่านมาอธิบายให้ฟัง

ในความเป็นจริงแล้ว ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดในไทยถึงแม้จะมีมากมาย แต่มีเจ้าใหญ่ที่ครองตลาดอยู่เพียงไม่กี่เจ้าอย่าง แมคโดนัลด์ เคเอฟซี เบอร์เกอร์คิงส์ พิซซ่า ฯลฯ คนเหล่านี้เขาทำเต็มกำลังแล้วก็ยังให้บริการไม่เพียงพอ

เพราะคำว่าฟาสต์ฟู้ดนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดมาเป็นอันดับหนึ่งก็คือ ความสะดวก รองลงไปคือคุณภาพ และความสะอาด คือต้องบริการลูกค้าที่ความสะดวกสบายเป็นหลัก อย่างช่วงการเดินทางออกจากบ้าน หรือก่อนกลับบ้าน ถ้าอยากจะรับประทานจะต้องแวะเข้าไปได้ง่าย แต่ในเมืองไทยยังไม่สามารถมารองรับบริการได้ทั้งหมด

ทั้งนี้และทั้งนั้นก็ต้องมาดูที่รสชาติด้วยว่าเป็นอย่างไรถูกใจคนไทยหรือไม่ ?

"เวนดี้ส์เราเริ่มมาจากแฮมเบอร์เกอร์ เราก็คงยืนอยู่ที่แฮม แต่สิ่งที่เรามีเหนือกว่าคู่แข่ง คือเรามีสปาเก็ตตี้ ไก่ทอด และอาหารสไตล์เม็กซิกัน อย่างชิลลี่ และหัวมันฝรั่งอบ และมีจุดที่สำคัญคือ ของทุกอย่างจะถูกปรุงขึ้นหลังจากมีออร์เดอร์ลูกค้า โดยคีย์ผ่านจอคอมพิวเตอร์ไปยังระบบครัวของเรา ที่เรียกว่า เซ็นทรัลกิลล์ ซึ่งเป็นคอนเซปท์ใหม่ของเวนดี้ส์" พิทักษ์ กล่าวถึงการให้บริการของเวนดี้ส์

เวนดี้ส์ไทยถูกกำหนดจากมาตรฐานจากต่างประเทศทุกกระเบียดนิ้ว ตั้งแต่ขั้นตอนของการเลือกสถานที่ ออกแบบสถานที่ การประกอบอาหาร และการบริการ

ขนาดของพื้นที่จะถูกกำหนดไว้ว่าจะต้องมีขนาดไม่ต่ำกว่า 250 ตารางเมตร การออกแบบและวัสดุตกแต่งภายในร้านส่วนใหญ่นำเข้ามาจากต่างประเทศเกือบทั้งหมด เพื่อต้องการรักษาภาพพจน์ที่ต้องเป็น "ยูเอส สแตนดาร์ด"

เป้าหมายของเวนดี้ส์ต้องการขยายให้มีสาขาครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของกรุงเทพฯ จากที่เดอะมอลล์ธนบุรี เป็นแห่งแรกนั้น แห่งที่ 2 ยังคงถูกปิดเป็นความลับเพราะผลในแง่ของธุรกิจและความเหมาะสมในเวลานั้น บอกแต่เพียงว่าอย่างน้อยภายในสิ้นปี 2536 จะต้องเปิดให้ได้อย่างน้อยอีก 1 สาขา โดยแต่ละสาขาจะใช้เงินทุนในการตกแต่งสถานที่ประมาณ 15 ล้านบาท ไม่รวมค่าพื้นที่

"เราเองยังไม่สรุปและกำหนดตัวเลขของการขยายสาขาไว้ เพราะจริงๆ แล้ว ก็อยากจะเปิดให้มากสาขาและเร็วที่สุด แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับจังหวะของการเจรจาในเรื่องของค่าเรียลเอสเตทด้วย ว่าจะเหมาะสมเพียงใด"

เวนดี้ส์ได้วางกลยุทธ์ไว้ 3 ขั้นตอน คือ 1 การกำหนดตำแหน่งสินค้า คือเป็นสินค้าคุณภาพ แล้วคุ้มต่อราคาและมีวาไรตี้ "จริงๆ แล้วทุกคนเขาก็วางสินค้าเช่นเดียวกันนี้คือเป็นสินค้าคุณภาพ แต่เราเชื่อในตัวสินค้า ที่ได้รับการทดสอบที่เราควบคุมทุกอย่างออกมาเหมือนในอเมริกาทุกอย่างคือเป็นยูเอส สแตนดาร์ด เพราะมีฝรั่งบินมาเช็คอยู่ตลอดเวลา" พิทักษ์ กล่าวอย่างมั่นใจ

2 ขั้นตอนของการตลาด คือจากที่ได้กำหนดตำแหน่งสินค้าว่าเป็นสินค้าคุณภาพและมีวาไรตี้นั้น ในช่วงแรกจำต้องให้ความรู้แก่ผู้บริโภคให้เข้าใจในสินค้าแต่ละตัวเป็นหลัก เพราะเวนดี้ส์ถือว่าเป็นของใหม่สำหรับแฟรนไชส์ในเมืองไทย ด้วยการพยายามทำให้คนมาลองชิม และแนะนำวิธีการกินให้เข้าใจ

"เพราะคนไทยหากว่าไม่มีความคุ้นเคย ไม่เข้าใจวิธีแล้ว เค้าจะไม่เลือกซื้อ มีความกลัวและอายสายตาคนอื่นๆ แล้วสิ่งที่เวนดี้ส์มีจุดที่ความหลากหลายก็เปล่าประโยชน์"

3 คือแผนการโปรโมทเป็นภาพรวมที่จะกำหนดการใช้สื่อ ซึ่งช่วงแรกนี้จะอยู่ที่การไดเร็กซ์ไปยังผู้บริโภคด้วยแผ่นพับ และคำแนะนำต่อลูกค้าที่เข้ามาในร้าน หลังจากที่มีสาขาเพิ่มมากขึ้นก็จะออกไปยังสื่ออื่น จนมีสาขามากพอที่จะใช้สื่อทีวีเป็นหลัก

"เราคิดว่าหากโหมในสื่อต่างๆ แล้วไม่มีสาขามารองรับมากพอให้ผู้บริโภคได้เข้ามาใช้บริการ จะเป็นการทำลายภาพพจน์เรามากกว่า" พิทักษ์ กล่าว

เวนดี้ส์ในเมืองนอกได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก สำหรับเมืองไทยยังต้องรอการพิสูจน์ว่าจะได้รับการต้อนรับหรือไม่ เพราะยังมีอะไรอีกหลายๆ อย่าง ที่เวนดี้ส์ไทยต้องให้ความรู้แก่ผู้บริโภค "เราเพิ่งเข้ามาเป็นคนล่าสุด คนอื่นๆ เขามาก่อนเรานานมาก 5 ปี 10 ปี ซึ่งเราก็ตระหนักดีว่าจำต้องเร่งฝีเท้ามากขึ้น แต่สิ่งที่จะวัดกันก็คือการพิสูจน์ถึงรสชาติของสินค้า เราเชื่อมั่นในสินค้าของเรามาก" พิทักษ์ กล่าวอย่างเชื่อมั่น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us