|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
"ไทยธนาคาร"ชี้แจงเหตุการเพิ่มทุนขั้นที่ 2 จากเงินกองทุนต่ำกว่าเกณฑ์ที่แบงก์ชาติกำหนดไว้ หลังต้องรับผลขาดทุนเงินชดเชยการบริหาร CAP ที่ต่ำกว่าคาดถึง 3,729 ล้าน และมีภาระตั้งสำรองตามเกณฑ์ IAS39 ถึง 1,900 ล้าน แต่ภายหลังจากการเพิ่มทุนในขั้นตอนที่สองแล้วจะทำให้มียอดเงินกองทุนเพิ่มขึ้นถึง 13-14% จากที่อยู่ในระดับ 6.14%
นายพีรศิลป์ ศุภผลศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงแผนการเพิ่มทุนของธนาคารว่า ไทยธนาคารได้มีแผนการเพิ่มทุน 2 ขั้นตอน โดยในขั้นแรกจะเป็นการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนของไทยธนาคารให้กับกองทุนทีพีจี นิวบริดจ์ (TPG Newbridge) จำนวนประมาณ 556 ล้านหุ้น และเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้กับนักลงทุนรายอื่นๆอีกจำนวน 175 ล้านหุ้น ซึ่งข้อเสนอการเพิ่มทุนในขั้นแรกนี้ได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นเรียบร้อยแล้ว และในขั้นตอนที่สองฝ่ายจัดการของธนาคารจะเสนอแผนในการขายหุ้นเพิ่มทุนให้กับผู้ถือหุ้นเดิม (Rights Offering) ในสัดส่วน 1 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่
ฝ่ายจัดการของธนาคารจะเสนอแผนเพิ่มทุนดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมความแข็งแกร่งของเงินกองทุนเพื่อรองรับการดำเนินธุรกิจตามแผนงานที่ได้วางไว้ ซึ่งแผนเพิ่มทุนนี้ได้มีการปรับเปลี่ยนจากแผนเพิ่มทุนเดิม เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้รับผลกระทบจากรายการพิเศษหลายประการ ทำให้ธนาคารมีสัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงต่ำกว่าเกณฑ์ของ ธปท. แต่ธนาคารมิได้มีเงินกองทุนติดลบตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด และหากธนาคารไม่ได้รับผลกระทบจากรายการพิเศษดังกล่าว ธนาคารจะมีสัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงอยู่ที่ประมาณร้อยละ 11-12
ทั้งนี้ ผลกระทบจากรายการพิเศษที่จำเป็นต้องรับรู้ทันที ได้แก่ ผลขาดทุนจากการได้รับเงินชดเชยจากการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ(CAP) ซึ่งน้อยกว่าที่ได้บันทึกไว้รวมประมาณ 3,729 ล้านบาทและภาระจากการทยอยตั้งสำรองตามเกณฑ์ IAS39 ทำให้สัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงของธนาคารลดลงไปอยู่ที่ระดับร้อยละ 7–8 อย่างไรก็ตาม เพื่อรองรับการเข้าถือหุ้นของนักลงทุน ซึ่งจำเป็นต้องมีการตั้งสำรองให้ครบถ้วน ธนาคารจึงได้ตั้งสำรองตามเกณฑ์ IAS39 จำนวน 1,900 ล้านบาทในครั้งเดียว และตั้งค่าเผื่อการซื้อคืนใบสำคัญแสดงสิทธิ (Warrant) จากกองทุนฟื้นฟูฯ จำนวนประมาณ 1,146 ล้านบาท ซึ่งผลกระทบดังกล่าวทำให้ปัจจุบันธนาคารมีสัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงอยู่ที่ประมาณร้อยละ 6.14 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนดที่ร้อยละ 8.5 ฝ่ายจัดการของธนาคารจึงได้เสนอปรับแผนเพิ่มทุนเพื่อรองรับผลกระทบดังกล่าว
นายพีรศิลป์กล่าวเสริมว่า ในส่วนของผลการดำเนินงานปกติของธนาคารในปีที่ผ่านมามีกำไรเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 97 ซึ่งสะท้อนถึงศักยภาพในการขยายธุรกิจของธนาคาร ดังนั้น การเพิ่มทุนดังกล่าวจะมีผลดีต่อธนาคารในด้านความแข็งแกร่งของเงินกองทุน โดยจะมีเงินกองทุนอยู่ที่ประมาณร้อยละ 13-14 ซึ่งสามารถรองรับการขยายตัวของธนาคารในระยะต่อไป อีกทั้งเป็นการตอบแทนผู้ถือหุ้นเดิมของธนาคาร โดยการให้สิทธิผู้ถือหุ้นเดิมจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนของธนาคารเพื่อโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนการลงทุนต่อไป
|
|
|
|
|