Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์12 มีนาคม 2550
แกะรอย "วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์"อนาคตขุดทองตลาดต่างประเทศ             
 


   
www resources

โฮมเพจ กลุ่มบริษัทสามารถ

   
search resources

สามารถคอร์ปอเรชั่น, บมจ.
Telecommunications
วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์




จับความเคลื่อนไหวกลุ่มสามารถ ภายใต้บอสใหญ่ "วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์" วินาทีสำคัญกับจุดเปลี่ยนทางธุรกิจที่กำลังสร้างโอกาสทองกับธุรกิจที่มีความมั่นคง มีอนาคต สามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ โดยเฉพาะทิศทางที่กลุ่มสามารถกำลังโฟกัสกับการเดินทางไปขุดทองในตลาดต่างประเทศ

หลังจากที่มีข่าวลือว่า บริษัท สามารถ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) สนใจเข้าซื้อกิจการดาวเทียมจากกองทุนเทมาเส็กนั้น ภาพการลงทุนใหม่ของกลุ่มสามารถเริ่มที่จะเห็นเค้าลางว่าจะมีทิศทางไปสู่ตลาดต่างประเทศมากยิ่งขึ้น เนื่องจากตลาดต่างประเทศจะเป็นตลาดที่สร้างรายได้ให้กับกลุ่มสามารถในอนาคต

คำยืนยันของ วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวต่อเรื่องนี้ว่า กำลังศึกษารายละเอียดการเข้าซื้อหุ้นบริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) จากกองทุนเทมาเส็ก ประเทศสิงคโปร์ในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการดำเนินธุรกิจ ผลกำไร และรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มั่นใจว่าหากบริษัทเข้าไปซื้อหุ้นชินแซทฯ จะคุ้มค่ากับการลงทุน "ผมยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะซื้อหุ้นหรือไม่"

แต่เขาก็ยอมรับว่าสนใจ และอยู่ระหว่างศึกษาร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าวบางรายถึงรายละเอียดต่างๆ ทั้งในแง่ของกฎหมาย การเป็นนอมินี เพราะสามารถมีบริษัท เทเลคอมมาเลเซียถือหุ้นอยู่ประมาณ 18.9% และความเป็นไปได้ในเชิงธุรกิจ รวมทั้งภาระหนี้สินของชินแซทฯ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าจะไม่มีปัญหา และสามารถสร้างรายได้ให้บริษัท

"การเติบโตของบริษัทเริ่มต้นจากธุรกิจที่เกี่ยวกับดาวเทียมอยู่แล้ว แม้จะเป็นเรื่องของภาคพื้นดินก็ตาม ดังนั้นเมื่อมีดาวเทียมที่ลอยอยู่บนฟ้า ก็สนใจ แต่ต้องพิจารณาความเป็นไปได้ในหลายๆ ด้านก่อน"

วัฒน์ชัยยังบอกเป็นนัยว่า หากบริษัทตัดสินใจซื้อหุ้นคงจะเป็นโครงการใหญ่ที่สุดที่บริษัทได้ดำเนินการมาเพราะเป็นโครงการที่ต้องใช้เงินลงทุนหลายพันล้านบาท แต่หากไม่ซื้อหุ้นชินแซทฯ ก็คงเช่าใช้ดาวเทียมของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งคุ้มค่าต่อการลงทุนมากกว่าจะยิงดาวเทียมสู่วงโครจรเอง

สำหรับผลประกอบการของกลุ่มสามารถนั้น วัฒน์ชัยเปิดเผยว่า ปี 49 ถือเป็นอีกหนึ่งปีทองของกลุ่มสามารถ โดยมีผลประกอบการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 ติดต่อกันนับจากช่วงวิฤตเศรษฐกิจจากเป้าหมายรายได้ที่ตั้งไว้จำนวน 25,000 ล้านบาท ปรากฎว่าเมื่อสิ้นปี 49 บริษัทฯ มีรายได้รวมทั้งสิ้น 31,001 ล้านบาท เติบโตขึ้นจากปี 48 ถึง 64% คิดเป็นกำไรสุทธิ 1,990 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 200% ขณะที่ปี 2548 ทำรายได้เพียง 18,858 ล้านบาท

ส่วนที่มาของรายได้ซึ่งถือว่า "ดีเกินคาด" มาจากกลุ่มไอซีที โซลูชั่น ภายใต้การนำของบริษัท สามารถเทลคอม จำกัด (มหาชน) ที่ทำรายได้ในปีที่ผ่านมารวม 2,880 ล้านบาท เพิ่มจากปี 2548 กว่า 34% โดยรายได้ส่วนใหญ่มาจากการติดตั้งระบบและการให้บริการด้านไอที และเครือข่ายการสื่อสารจากโครงการต่างๆ เช่น โครงการ AIMS ในสนามบินสุวรรณภูมิ โครงการสกูลเน็ต ในพื้นที่ห่างไกล เป็นต้น รายได้ของสายธุรกิจนี้ส่วนใหญ่มาจากการติดตั้งระบบและการให้บริการทางด้านไอทีและเครือข่ายการสื่อสารแก่โครงการสำคัญต่างๆ อาทิ โครงการ AIMS ในสนามบินสุวรรณภูมิโครงการติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษาในพื้นที่ห่างไกล โดยในปีที่ผ่านมา สามารถเทลคอมเพิ่มรายได้จากการขายได้ถึง 47%และเพิ่มรายได้จากงานบริการถึง 20%

สำหรับเป้าหมายรายได้ในปีนี้ของสามารถ เทลคอมนั้นตั้งไว้ที่ประมาณ 5,000 ล้านบาท และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ว่าไว้จึงได้เพิ่มบทบาทธุรกิจไอที เอาต์ซอร์สซิ่งเพิ่มขึ้นโดยได้รับการอนุมัติจากบอร์ดให้ตั้งบริษัท สมาร์ทแวร์ด้วยทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท เพื่อให้บริการครบวงจรทางด้านซอฟต์แวร์

สายธุรกิจโมบาย มัลติมีเดีย นั้นทางบริษัท สามารถไอ-โมบาย จำกัด (มหาชน) มีรายได้ในปีที่ผ่านมา ทั้งสิ้น 24,600 ล้านบาทเพิ่มขึ้นเกือบ 90% มีกำไรสุทธิ 488 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30% ด้วยยอดจำหน่ายโทรศัพท์มือถือรวมทั้งสิ้นกว่า 4,000,000 เครื่อง คิดเป็นจำนวนที่จำหน่ายได้ในประเทศถึง 2,000,000 เครื่องและในจำนวนนี้เป็นเฮาส์แบรนด์ไอ-โมบายถึง 1,700,000 เครื่อง ยิ่งไปกว่านั้น จากความคืบหน้าในการขยายธุรกิจสู่ต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ได้ส่งผลให้ยอดจำหน่ายมือถือของไอ-โมบายอินเตอร์พุ่งขึ้นกว่า 400% โดยสามารถจำหน่ายมือถือในต่างประเทศได้ทั้งสิ้นกว่า 2,000,000 เครื่องในปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ เพื่อสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งให้กับธุรกิจของไอ-โมบายในต่างประเทศ บริษัทฯจึงมีเป้าหมายในการสร้างเครือข่ายการจัดจำหน่ายโทรศัพท์มือถือและให้บริการที่ใหญ่ที่สุดในระดับภูมิภาคล่าสุด ไอ-โมบายอินเตอร์ได้ร่วมลงทุนกับบริษัทในเครือ Celcom ของ Telekom Malaysia จัดตั้งบริษัท C-mobile เพื่อจัดจำหน่ายโทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์เสริมและบัตรเติมเงินรวมทั้งให้บริการรับชำระเงินในประเทศมาเลเซีย ภายใต้ชื่อ Blue cube ซึ่งคาดว่าในปีนี้จะเปิดได้ทั้งสิ้น 130 สาขาและจะขยายเป็น 250 สาขาในปีต่อไป โดยบริษัทฯ มีแผนที่จะขยายช่องทางการจำหน่ายสินค้าในรูปแบบเดียวกันนี้ให้ครอบคลุมทั่วทั้งภูมิภาค เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย 1,000 สาขาในปี 2553

"ต่อไปรายได้จากต่างประเทศต้องมากกว่าในประเทศ จึงจะทำให้เราเติบโตได้ เราจึงพยายามขยายไปในต่างประเทศมากขึ้นอย่างมือถือ" ในปี 2550 สามารถ ไอ-โมบาย ตั้งเป้ารายได้ไว้ที่ 27,000 ล้านบาท พร้อมรุกธุรกิจครบวงจรทั้งโทรศัพท์มือถือและสื่ออินเตอร์แอกทีฟ โดยไตรมาสแรกจะเปิดตัวโทรศัพท์จำนวน 7 รุ่น ด้วยคุณสมบัติที่พิเศษโดดเด่นไม่เหมือนใคร ผ่านแบรนด์ แอมบาสเดอร์r"ทาทา ยัง"ภายใต้ Concept"Everywhere we can go"

สำหรับสายธุรกิจเทคโนโลยี Related (ช่วยเขียนเป็นคำไทยให้ด้วย) วัฒน์ชัยขยายความว่า รายได้รวมจากบริษัท สามารถวิศวกรรม บริษัท วันทูวันฯ และบริษัท วิชั่น แอนด์ ซิเคียวริตี้ ซิสเต็มส์ ซึ่งอยู่ในสายธุรกิจนี้ ก็มีการเติบโตเพิ่มขึ้นจากปี 48 ถึง 74% อีกทั้งบริษัท แคมโบเดีย แอร์ทราฟฟิก เซอร์วิสเซส จำกัด ซึ่งดำเนินธุรกิจให้บริการศูนย์ควบคุมการจราจรทางอากาศในประเทศกัมพูชา ก็มีรายได้เพิ่มขึ้นกว่า 10 % ทั้งหมดนี้จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้กลุ่มบริษัทสามารถสร้างรายได้และผลกำไรได้สูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้

ในปีนี้ นายวัฒน์ชัยกล่าวว่าบริษัทฯ ได้มีการเตรียมความพร้อมในหลายด้านเพื่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันโดยเน้นให้เป็นปีแห่งการเพิ่มมูลค่าหรือความคุ้มค่าในการใช้สินค้าและบริการของกลุ่มสามารถฯ ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ตั้งเป้ารายได้รวมไว้ทั้งสิ้น 35,000 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นประมาณ 21% โดยนอกจากจะเน้นการขยายตลาดให้กับธุรกิจในปัจจุบันทั้งในและต่างประเทศแล้ว บริษัทฯ ยังคงมองหาโอกาสในการขยายธุรกิจทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อสร้างรากฐานที่มั่นคง

"กลุ่มบริษัทสามารถ" มุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์ และบริการด้านเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าอย่างครบวงจรภายใต้บริษัทในเครือกว่า 20 บริษัทและมี 3 บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยแบ่งออกเป็น 3 สายธุรกิจ คือ สายธุรกิจสื่อสารไอทีและโทรคมนาคมครบวงจร สายธุรกิจการสื่อสารข้อมูลและอุปกรณ์สื่อสารไอที สายธุรกิจเทคโนโลยีอื่นๆ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us