Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์12 มีนาคม 2550
ศึก Community Mallสมรภูมิ ต่อยอดธุรกิจ             
 


   
www resources

โฮมเพจ เมเจอร์ซินีเพล็กซ์
โฮมเพจ สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์
โฮมเพจ ระยองเพียวริฟายเออร์

   
search resources

เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป, บมจ.
สยามฟิวเจอร์ดีเวลอปเมนท์, บมจ.
ระยองเพียวริฟายเออร์, บมจ.
Marketing




* สงคราม Community Mall พลิกโฉมเมื่อผู้เล่นจากอุตสาหกรรมอื่นโดดแจมหวังต่อยอดธุรกิจ เพิ่มมูลค่าการตลาด

* งัดจุดแข็งในธุรกิจเดิม ซอยย่อยเซกเมนต์ สร้างความต่างให้กับศูนย์การค้าชุมชน

Community Mall เป็นรูปแบบหนึ่งของศูนย์การค้าที่ไม่ต้องใช้พื้นที่มากมายเหมือนดิสเคาน์สโตร์หรือห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆที่เน้นความหลากหลายและครบครันของสินค้าเพื่อดึงดูดผู้บริโภคจากทั่วสารทิศ แต่ Community Mall เน้นการตอบสนองไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภครวมถึงการวางโพสิชันนิ่งให้เป็นแหล่งนัดพบและใช้ชีวิตของผู้บริโภคจึงมีรูปแบบสินค้าและบริการที่แตกต่างจากศูนย์การค้าทั่วไป บางแห่งที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นและไม่มีใครเหมือนก็จะสามารถดึงดูดผู้บริโภคจากที่อื่นๆได้ แต่บางแห่งเน้นการตอบสนองชุมชนนั้นๆเป็นหลัก เนื่องจากไม่ต้องใช้พื้นที่มากจึงสามารถแทรกซึมสู่ย่านชุมชนต่างๆได้สะดวกกว่าห้างสรรพสินค้าหรือดิสเคาน์สโตร์ ดังนั้น Community Mall จึงไม่ต้องใช้งบลงทุนมากเท่าศูนย์การค้าใหญ่ส่งผลให้คืนทุนได้เร็วกว่า เพียงแต่จะต้องหาวิธีที่จะทำให้ Community Mall อยู่รอดและเติบโตต่อไปได้ท่ามกลางการแข่งขันในธุรกิจค้าปลีกที่เข้มข้นขึ้นเรื่อย ซึ่งการวางโพสิชันนิ่งของ Community Mall และการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนจะเป็นตัวผลักดันให้ Community Mall เหล่านั้นประสบความสำเร็จ

จากความได้เปรียบดังกล่าวของ Community Mall จึงถือเป็นช่องว่างทางการตลาดที่ทำให้ผู้ประกอบการศูนย์การค้าสามารถผุดศูนย์ฯขนาดเล็กได้ แม้พื้นที่ในเมืองจะถูกศูนย์การค้าขนาดใหญ่ยึดไปหมดแล้วไม่ว่าจะเป็น สยาม พารากอน และเซ็นทรัล เวิลด์ นอกจากนี้ยังมีธุรกิจอื่นๆที่ให้ความสำคัญกับ Community Mall โดยมีการร่วมมือกับธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อต่อยอดธุรกิจของตัวเอง ทำให้ Community Mall แต่ละแห่งมีจุดขายที่แตกต่างกันไปตามพันธมิตรหลักที่มาร่วมพัฒนาศูนย์การค้า

ระยองเพียว ผุดปั๊มน้ำมันกลาง Community Mall

"เพียว เพลส" ถือเป็นการเปิดตัว Community Mall รายล่าสุดซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่างธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน คือ ระยองเพียวริฟายเออร์ ร่วมกับ สัมมากรซึ่งเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ก่อตั้งบริษัท เพียวสัมมากร ดีเวลลอปเม้นท์ ด้วยทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท เพื่อพัฒนา Community Mall โดยแห่งแรกตั้งอยู่หน้าหมู่บ้านสัมมากร รังสิต คลอง 2 บนพื้นที่ 6.73 ไร่ ภายใต้ชื่อ เพียว เพลส ใช้งบลงทุน 120 ล้านบาท โดยวางคอนเซ็ปต์ที่เน้น "ชีวิตพอเพียง ทันสมัย ใกล้บ้าน" และเป็นศูนย์การค้าประชาคมที่ให้บริการ 24 ชั่วโมง โดยมีจัสโก้ซูเปอร์มาร์เก็ต พร้อมด้วยร้านอาหาร ธนาคาร และบริการต่างๆ โดยมีปั๊มน้ำมันเพียวเป็นอีกแม่เหล็กหนึ่งในการดึงดูดลูกค้าในย่านดังกล่าว และยังดึงดูดผู้ใช้รถที่แวะเข้ามาเติมน้ำมันได้ใช้บริการในศูนย์ฯ รวมถึงการทำกังหันผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อใช้ในปั๊มน้ำมันเป็นการสะท้อนคอนเซ็ปต์พอเพียง การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งจะทำให้ปั๊มน้ำมันเพียวเป็นแลนด์มาร์คของ Community Mall ดังกล่าว โดยจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในเดือนเมษายนนี้ ซึ่งคาดว่าจะมีลูกค้ามาใช้บริการวันละ 4,000-5,000 คน

นอกจากนี้ เพียวสัมมากรยังตั้งเป้าที่จะขยาย Community Mall เพิ่มเป็น 5 สาขาใน 5 ปีภายใต้งบประมาณ 1,000 ล้านบาท โดยถือครองที่ดินเปล่าในมือ 7-8 แห่ง พร้อมที่จะนำมาพัฒนาได้ทันทีเพียงแต่ต้องดูศักยภาพของผู้บริโภคในพื้นที่นั้นๆก่อน โดยในปีนี้บริษัทมีแผนผุด Community Mall เพิ่มอีก 2 แห่งคือที่หมู่บ้านสัมมากร รามคำแหง และถนนราชพฤกษ์ ซึ่งคาดว่าจะเสร็จในปลายปีหน้า ส่วนชื่อโครงการอาจมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากเป็นตลาดระดับบนจึงต้องมีรายละเอียดที่แตกต่างจากโครงการแรก

เพียว เพลส ถือเป็น Community Mall ที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับโครงการหมู่บ้านของสัมมากรส่วนระยองเพียวริฟายเออร์ก็ได้ประโยชน์จากการขยายปั๊มน้ำมันเพียวเข้าสู่ตลาดกรุงเทพฯและปริมณฑล

เมเจอร์ จับมือสยามฟิวเจอร์ ผุด เอนเตอร์เทน มอลล์

ในอุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์แม้เครือเมเจอร์จะเป็นผู้นำตลาดแต่ก็ยังไม่หยุดที่จะขยายฐานลูกค้า โดยเน้นความสะดวกของลูกค้าเป็นหลัก จึงมีการขยายสาขาไปสู่พื้นที่ต่างๆโดยในปีที่ผ่านมาเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ มีการขยายสาขาไปตาม Community Mall ต่างๆของสยามฟิวเจอร์ ซึ่งเมเจอร์ทุ่มงบกว่า 179 ล้านบาทในการเข้าไปถือหุ้นกว่า 20% ตั้งแต่ปี 2546 สำหรับในปีนี้เมเจอร์ยังคงใช้ Community Mall ดังกล่าวในการต่อยอดธุรกิจด้วยการทำการตลาดแบบ Convergence คือการผนึกธุรกิจ 3 กลุ่มให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด คือ ธุรกิจโรงภาพยนตร์ เช่น เมเจอร์, ซีนีเพล็กซ์, อีจีวี, พารากอน เอสพลานาด ธุรกิจอื่นๆในเครือ เช่น เมเจอร์โบวล์ฮิต, บลู โอริทั่ม แอนด์ โบวล์, แคลิฟอร์เนีย ว้าว, คาราโอเกะ, ร้านแม็คโดนัลด์ กลุ่มสุดท้ายเป็นพันธมิตรจากภายนอก โดยเมเจอร์มีการเพิ่มงบการตลาดจาก 100 ล้านบาทเป็น 200 ล้านบาทเพื่อผสมผสานการตลาดร่วมกันเช่นการจัดกิจกรรมหรือทำแคมเปญร่วมกัน ตลอดจนการนำธุรกิจต่างๆมารวมกันใน Community Mall ที่เป็นโครงการของสยามฟิวเจอร์ ภายใต้คอนเซ็ปต์ โทเทิล ไลฟ์สไตล์ เอนเตอร์เทนเมนต์

สำหรับสยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ ถือเป็นผู้นำที่ทำให้ Community Mall เป็นที่รู้จักของตลาดเมืองไทย โดยนำแนวคิดดังกล่าวมาจากอเมริกา ส่วนในเอเชียมีญี่ปุ่นเป็นแบบฉบับในการตอบสนองการใช้ชีวิตของผู้บริโภครุ่นใหม่ สำหรับสยามฟิวเจอร์มีรูปแบบการขยายตัว 2 รูปแบบคือ การเทกโอเวอร์หรือโครงการเล็กที่มีอยู่แล้วทำให้ไม่ต้องลงทุนมากนักแต่สามารถรับรู้รายได้ได้รวดเร็ว เช่น การเทคโอเวอร์ ปิยรมณ์ พาร์ค สุขุมวิท 101 ส่วนอีกแบบเป็นการลงทุนก่อสร้างเองทั้งหมด โดยโฟกัสชุมชนจากในเมืองแล้วค่อยขยายออกไปรอบนอกที่เริ่มมีการก่อตัวของชุมชนซึ่งเจาะเน้นตลาดระดับ B+ และ B- ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าตลอดเส้นสุขุมวิทมีโครงการของสยามฟิวเจอร์หลายแห่งผุดขึ้นมา เช่น ปิยรมณ์ พาร์ค, เจ อเวนิว ทองหล่อ, มาร์เก็ตเพลส ทองหล่อ ส่วนชานเมืองก็มีหลายโครงการที่แทรกซึมเข้าสู่ชุมชนพร้อมกับธุรกิจต่างๆในเครือเมเจอร์ เช่น ที่ถนนเพชรเกษม แจ้งวัฒนะ โดยในปีนี้สยามฟิวเจอร์มีการใช้งบกว่า 2,000 ล้านบาทในการขยายสาขาใหม่ เช่น ดิ อะเวนิว รัชโยธิน ติดกับเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ และ ดิ อะเวนิว พัทยา

"ความสำเร็จประการสำคัญในการรุกตลาด Community Mallของสยามฟิวเจอร์คือการหาร้านค้าที่จะเป็นแม่เหล็กในการดึงดูดลูกค้ามาที่ศูนย์ฯ เช่น ซูเปอร์มาร์เก็ต เมเจอร์โบวล์ อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ โฮมเวิร์ค ร้านอาหารเกรย์ฮาวน์ ร้านบูทส์ ร้านกาแฟ 94 แต่เราก็เปิดโอกาสให้แบรนด์ใหม่ที่แข็งแกร่ง เพราะเราต้องการ Strong Connection Network" นพพร วิฑูรชาติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ กล่าว

นอกจากนี้ยังมีธุรกิจบันเทิงที่เกาะกระแส Community Mall คือ บ็อกซ์ แอสเซ็ท ในเครือบ็อกซ์ ออฟฟิศ ซึ่งเป็นผู้สร้างและจำหน่ายภาพยนตร์จากต่างประเทศ ที่ทุ่มงบกว่า 150 ล้านบาทผุด Community Mall ภายใต้ชื่อ บ็อกซ์ แอด รัชดา เพื่อต่อยอดธุรกิจจำหน่ายภาพยนตร์ โดยจะมีการใช้พื้นที่ลานกิจกรรมในการโปรโมตภาพยนตร์ นอกจากนี้ยังกันพื้นที่ 10% ให้ดาราศิลปินมาเปิดร้านในโครงการเพื่อสร้างสีสันให้กับศูนย์การค้า

ตลาดอสังหาฯรุก Community Mall สร้างมูลค่าเพิ่ม

Community Mall ถือเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับชุมชน โครงการอสังหาจึงเป็นตลาดที่เหมาะสมในการสร้าง Community Mall ทำให้ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หลายรายต่างพัฒนา Community Mall ด้วยตัวเองเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับโครงการ เช่น แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเม้นท์ ใช้บริษัทในเครือคือ พรสันติ ในการทำ Community Mall หน้าโครงการคอนโดมิเนียมต่างๆที่ได้ก่อสร้างไปก่อนหน้านี้ ในขณะที่ เค.อี.แลนด์ ก็มีการสร้าง Community Mall ภายใต้คอนเซ็ปต์ แฟมิลี่ ไลฟ์สไตล์ เซ็นเตอร์ โดยใช้ชื่อว่า เดอะ คริสตัล หน้าโครงการ คริสตัล พาร์ค   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us