Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์12 มีนาคม 2550
"ผู้ถือหุ้นใหญ่-บอร์ด" ต้นเหตุหลักปิดไอทีวีปล่อยสถานการณ์วุ่นลากเชื่อมการเมือง             
 


   
www resources

โฮมเพจ สถานีโทรทัศน์ไอทีวี

   
search resources

ไอทีวี, บมจ.
TV




ย้อนรอยปัญหาไอทีวี "ผู้บริหาร-ผู้ถือหุ้นใหญ่" เป็นต้นเหตุ ปล่อยพนักงานรับกรรม โบรกเกอร์เผยรายย่อยติดหุ้นเพียบ ยิ่งงดออกอากาศยิ่งเจ็บหนักแถมถูกห้ามซื้อขาย หวั่นปัญหาบานปลายเข้าทางกลุ่มอำนาจเดิม

จากปัญหาการผิดสัญญาสัมปทานของบริษัท ไอทีวี จำกัด(มหาชน) หรือ ITV ได้ข้อยุติหลังจากคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อ 6 มีนาคม 2550 มีมติให้สถานีโทรทัศน์ไอทีวียุติการออกอากาศตั้งแต่ 7 มีนาคม 2550 ด้วยเหตุที่ ITV เป็นบริษัทมหาชน จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผลกระทบที่จะตามมานั่นคือสถานะความเป็นบริษัทจดทะเบียนเข้าข่ายถูกเพิกถอน เนื่องจากภาระหนี้มหาศาลที่เกิดขึ้นจากการผิดสัญญาสัมปทาน

มีทางออกหากพร้อม

บริษัทหลักทรัพย์ยูโอบี เคย์ เฮียน(ประเทศไทย) จำกัด(มหาชน) ได้วิเคราะห์ผลกระทบของไอทีวีหลังการบอกเลิกสัญญาสัมปทานไว้อย่างน่าสนใจว่า หากมีการยึดคลื่นสัญญาณโทรทัศน์กลับคืนไปยังภาครัฐ ในขณะที่ไอทีวียังคงต้องชำระหนี้ดังกล่าวต่อไป จะทำให้ไอทีวีไม่สามารถประกอบธุรกิจสถานีโทรทัศน์ได้อีกต่อไป ขณะที่ภาระหนี้ 100,486.3 ล้านบาท หากต้องจ่ายหนี้ทั้งจำนวน โดยไม่มีการประนีประนอมหรือผ่อนผันก็ยังไม่มีแนวทางว่าบริษัทจะสามารถหาเงินมาชำระหนี้ได้อย่างไร

เมื่อสำนักปลัดนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการยึดคลื่นคืน ย่อมทำให้งบการเงินของไอทีวีในไตรมาส 1 ปี 2550 มีส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบเกือบแสนล้านบาท ทำไปสู่การเพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์

ขั้นตอนจากนี้บริษัทจะถูกขึ้นเครื่องหมาย NC(Non-compliance) และ SP โดยจะห้ามซื้อขายหลักทรัพย์เป็นเวลา 30 วัน ในช่วงเวลาดังกล่าวผู้บริหารจะต้องเลือกว่าจะดำเนินขั้นตอนใดต่อไป คือ การทำแผนฟื้นฟูกิจการ ยื่นคำร้องต่อศาลเสนอแผนฟื้นฟูตามพระราชบัญญัติล้มละลาย หรือขอเพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์โดยสมัครใจ

จากนั้นต้องแจ้งผลการตัดสินใจต่อตลาดลหักทรัพย์ หากเลือกการฟื้นฟูกิจการตลาดหลักทรัพย์จะอนุญาตให้ซื้อขายเป็นเวลา 30 วัน หลังจากนั้นจะขึ้น SP จนกว่าจะสามารถแก้ไขเหตุแห่งการเพิกถอนได้สำเร็จ ซึ่งจะให้เวลาในการฟื้นฟูกิจการ 2 ปี นับจากเข้าข่ายถูกเพิกถอน

หากบริษัทสามารถแก้ไขส่วนของผู้ถือหุ้นให้มากกว่า 0 ได้ ในระยะเวลา 2 ปี บริษัทจึงจะพ้นการเพิกถอน อย่างไรก็ตามในส่วนของการฟื้นฟูกิจการ หากบริษัทยังคงมีภาระหนี้ 100,486.3 ล้านบาทคงเป็นไปได้ยาก ในช่องทางการหาธุรกิจใหม่ที่จะสามารถสร้างผลประกอบการเพื่อมาชำระคืนหนี้จำนวนมากได้

ในกรณีที่บริษัทไม่สามารถจัดทำแผนฟื้นฟูได้ และเข้าสู่ภาวะล้มละลายบริษัทจะทำการชำระบัญชีและตีมูลค่าสินทรัพย์เพื่อชำระคืนภาระหนี้ โดยผู้ถือหุ้นจะได้รับผลตอบแทนส่วนที่เหลือจากการตีมูลค่าสินทรัพย์ หลังหักทรัพย์สินภายใต้สัญญาสัมปทาน ชำระหนี้สิน รวมทั้งค่าปรับผังรายการและค่าสัมปทานค้างจ่าย ซึ่งจะไม่เหลือมูลค่าตกถึงผู้ถือหุ้น

แก้สัมปทานปมหลัก

อย่างไรก็ตามการยุติการออกอากาศของ ITV นับเป็นสถานการณ์ปลายเหตุ หากย้อนกลับไปถึงที่มาที่ไปก่อนมาถึงวันที่ต้องยุติการออกอากาศ พบว่าต้นตอทั้งหมดเกิดขึ้นจากทีมบริหารได้ยื่นเรื่องต่อคณะอนุญาโตตุลาการขอแก้ไขสัญญาสัมปทาน และขอลดค่าสัมปทาน ที่ต้องจ่ายให้รัฐ ปีละ 1,000 ล้านบาท โดยอ้างว่า เอกชนรายอื่นจ่ายต่ำกว่า

ดังนั้นคณะอนุญาโตตุลาการ ประกอบด้วย ประดิษฐ เอกมณี จุมพต สายสุนทร และชัยเกษม นิติสิริ มีคำวินิจฉัยเมื่อ 30 มกราคม 2547 ให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี(สปน.) ต้องปรับลดค่าตอบแทน ผลประโยชน์ที่ไอทีวีต้องจ่ายให้กับ สปน.เป็นรายปี จาก 1,000 ล้านบาท เหลือ 230 ล้านบาท และสามารถเพิ่มสัดส่วนการบันเทิงได้เป็น 50% จากเดิมเสนอได้เพียง 30%

รายย่อยเจ็บหนัก

โบรกเกอร์รายหนึ่งกล่าวว่า มีนักลงทุนรายย่อยจำนวนไม่น้อยที่ติดหุ้น ITV อยู่เนื่องจากหุ้นตัวนี้ถูกลากขึ้นไปสูงถึง 34 บาทเศษในช่วงที่มีการแก้สัญญาสัมปทานจาก 1,000 ล้านบาทเหลือ 230 ล้านบาท แถมสามารถเพิ่มรายการบันเทิงจากระดับ 30% เป็น 50% ยิ่งมีการประกาศพาร์เนอร์ใหม่ที่เข้ามา 2 รายอย่างไตรภพ ลิมปพัทธ์ และกันตนาที่จะเข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มทุน

ข่าวดีเหล่านี้สนับสนุนให้มีนักลงทุนเข้ามาไล่ซื้อหุ้น ITV จนราคาเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากก่อนหน้านี้ทางไอทีวีมีผลการดำเนินงานที่ขาดทุนมาโดยตลอด จนผู้ถือหุ้นใหญ่อย่างธนาคารไทยพาณิชย์ต้องขายหุ้นให้กับกลุ่มชิน คอร์ป

หุ้นตัวนี้ค่อย ๆ ปรับลดลงหลังจากที่พาร์เนอร์รายใหม่ทั้ง 2 รายไม่แสดงเจตนาที่จะเข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มทุน

จากนั้นในวันที่ 9 พฤษภาคม 2549 ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของอนุญาโตตุลาการ ที่ชี้ขาดให้ สปน. ลดค่าสัมปทาน เนื่องจากอยู่นอกเหนืออำนาจของอนุญาโตตุลาการ ดังนั้น ITV ต้องกลับมาปฎิบัติตามสัญญาเดิมคือจ่ายค่าสัมปทานปีละ 1,000 ล้านบาท เสนอรายการที่เป็นสาระ 70:30 เหมือนเดิม และต้องจ่ายค่าปรับจากการผิดสัญญาวันละ 100 ล้านบาท

แม้จะมีความพยายามในการต่อสู้ด้วยการยื่นอุทธรณ์ แต่ศาลปกครองสูงสุดได้พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น โดยต้องปฏิบัติตามสัญญาเดิมตั้งแต่ 14 ธันวาคม 2549

"เราเป็นห่วงว่ามีผู้ถือหุ้นจำนวนไม่น้อยยังคิดหุ้น ITV อยู่ เนื่องจากตลาดหลักทรัพย์ได้ห้ามการซื้อขายเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2550 หลังจากที่ผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินเนื่องจากได้มีการบันทึกค่าสัมปทานกลับไปที่ 1,000 ล้านบาทตามเดิม ยิ่งเมื่อทราบคำสั่งว่ายุติการออกอากาศ ยิ่งทำให้ภาระขาดทุนของรายย่อยย่อมมีมากขึ้น" โบรกเกอร์กล่าว

ขณะเดียวกันเมื่อมีการเปลี่ยนผู้ถือหุ้นรายใหญ่จากตระกูลชินวัตรมาเป็นเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์จากสิงคโปร์ แม้จะทราบว่ามีปัญหาในเรื่องการผิดสัมปทาน แต่ก็ไม่เดือดร้อนใจที่จะเร่งดำเนินการแก้เพื่อให้ถูกต้องทั้ง ๆ ที่ได้รับเงินปันผลจากธุรกิจโทรศัพท์มือถือไปนับหมื่นล้านบาท สุดท้ายปัญหาทั้งหมดจึงมาตกอยู่ที่พนักงาน ITV ที่ต้องเดินเรื่องต่อสู้

แหล่งข่าวกล่าวต่อไปว่า การให้ ITV ยุติการออกอากาศ เกรงว่าจะทำให้อาจจะกลายเป็นปมทางการเมือง เนื่องจากฐานผู้ชม ITV มีจำนวนไม่น้อย ที่ไม่พอใจ เพราะก่อนที่จะถึงวันที่ 6 มีนาคมทางไอทีวีได้เสนอข่าวหรือรายการในเรื่องนี้เป็นหลัก ย่อมได้ใจผู้ชมกลุ่มนี้ไม่น้อย การปิดในครั้งนี้อาจถูกตีความว่าเป็นการเช็กบิลกลุ่มอำนาจเก่า ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องหาทางออกในเรื่องนี้ให้ดี   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us