|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
"รัฐ-เอกชน" ผนึกกำลังดึงทุกองคาพยพดันส่งออกไทยให้ได้ตามเป้า 12.5% ขณะที่นักวิชาการชี้ปัจจัย 4 เสี่ยงกระทบส่งออกไม่โตตามเป้า แนะจับตาพิเศษสงครามตะวันออกกลาง "สหรัฐ-อิหร่าน" เตือนผู้ประกอบการหาทางป้องกันความเสี่ยงล่วงหน้า ส่วน GDP ของประเทศอาจโตแค่ 4 % ส่วนมาตรการกันสำรอง 30% หากยกเลิกจะไม่กระทบ มั่นใจมั่นธปท.ดูแลได้ เชื่อค่าเงินจะไม่ผันผวนหากมีการเก็งกำไรอีกรอบ!
แม้นักลงทุนในตลาดทุนไทยจะเรียกร้องให้ยกเลิกมาตรกันสำรอง30%มาตั้งแต่ก่อนปีใหม่ก็ตามแต่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็ไม่มีทีท่าจะว่ายกเลิกง่ายๆ แต่ก็ได้มีการผ่อนคลายมาตรการต่างเรื่อยมา จนถึง ม.ร.ว.ปริดิยาธร เทวกุล ได้ตัดสินใจลาออกจากรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เสียงเรียกร้องดังกล่าวกลับดังขึ้นมาอีกครั้ง ขณะที่ผู้ประกอบการด้านส่งออกยังต้องการให้มีการคงมาตรการดังกล่าว เนื่องจากส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงซึ่งเป็นผลดีต่อภาคส่งออก
อย่างไรก็ดีภาครัฐและภาคเอกชนได้ร่วมมือกันหามาตรการขับเคลื่อนให้ยอดการส่งออกโตตามเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์วางไว้ หากมีการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30 % จะได้รับมือได้ทัน
'อาหาร-สิ่งทอ'รับอานิสงค์กัน 30%
เมื่อย้อนไปดูดูผลกระทบค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงเดือนพ.ย.-ธ.ค. 2549ที่ผ่านมาส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ ทำให้ไทยส่งออกสินค้าไปต่างประเทศได้ลดลง และเมื่อแยกพิจารณาผลกระทบเป็นรายอุตสาหกรรมที่สำคัญของไทย 9 อุตสาหกรรมเพื่อดูระดับของผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้ว พบว่าอุตสาหกรรมอาหารและสิ่งทอได้รับผลกระทบในระดับมาก , อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์ยางพาราได้รับผลกระทบในระดับปานกลาง , ส่วนอุตสาหกรรมเหล็ก เคมีภัณฑ์ ไฟฟ้า เครื่องหนัง และชิ้นส่วนยานยนต์ได้รับผลกระทบในระดับน้อย
โดยมาตรการกันสำรอง 30% ที่ผ่านมาผู้ประกอบการที่ได้รับประโยชน์โดยตรงคือ กลุ่มอุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นมาตรการรักษาเสถียรภาพของค่าเงิน ได้แก่ อาหาร ยางพารา สิ่งทอ เครื่องหนัง เคมีภัณฑ์ และ อุปกรณ์และชิ้นส่วนยานยนต์ ขณะที่อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ จะให้ความสำคัญต่อมาตรการป้องกันไม่ให้เงินแข็งค่ามากขึ้น อุตสาหกรรมไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ และ เหล็ก เน้นมาตรการเงินทุนหมุนเวียน
เลิกกันสำรอง 30%ไม่กระทบส่งออก
ด้าน ไพบูลย์ พลสุวรรณา รองประธานสภาอุตสาหกรรม กล่าวถึงมาตรการกันสำรอง 30% ที่อาจจะถูกยกเลิกไปหากได้รมว.คลังคนใหม่เข้ามารับตำแหน่งว่า สำหรับมาตรการกันสำรอง 30%นั้นเสียงเรียกร้องให้ยกเลิกจะมาจากตลาดทุนเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ผู้ประกอบการส่งออกยังไม่ได้แสดงความห่วงใยมากนัก แต่จะเฝ้าติดตามดูอย่างใกล้ชิดต่อไป ซึ่งระยะเวลากว่า 1เดือนที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าทุกฝ่ายมั่นใจได้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สามารถรับมือกับพวกเข้ามาเก็งกำไรในตลาดหลักทรัพย์ได้ หากมีการยกเลิกมาตรการ30%ขึ้นมากจริงๆ
ขณะเดียวกันสิ่งที่ผู้ประกอบการด้านส่งออกกังวลไม่ใช่เรื่องกันสำรอง 30%แต่จะห่วงเรื่องค่าเงินบาทที่ผันผวนขึ้นลงไม่นิ่ง เพราะไม่สามารถรู้ค่าเงินล่วงหน้าในการค้าขายได้ แต่ภาวะในปัจจุบันค่าเงินนิ่งมากขึ้นจึงมั่นว่าผู้ประกอบการส่งออกจะไม่ได้รับผลกระทบจากการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% แต่ก็ต้องติดตามดูกันต่อไป โดยยอดส่งออกในไตรมาสแรกของปีนี้ยังต่ำกว่าเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์ที่วางไว้ ภาคเอกชนไทยทั้งจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย , สภาหอการค้าไทย ,กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง จึงได้ร่วมผลักดันยุทธศาสตร์ร่วมกันเพื่อให้ยอดส่งออกโตได้ตามเป้าหมาย 12.5%
รัฐ-เอกชนจัดทำยุทธศาตร์สู่เป้า12.5%
รองประธานสภาอุตสาหกรรม ระบุว่ายุทธศาสตร์ที่มุ่งผลักดันยอดส่งออกโต12.5 % จะลงลึกไปถึงสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ พาณิชย์จังหวัด การค้าภายในจังหวัด มาร่วมกันจัดทำยุทธศาสตร์การบุกตลาดต่างประเทศ เพราะปีนี้เป็นปีแห่งการเร่งบุกตลาดต่างประเทศให้มากขึ้น เพื่อให้ได้ตามเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์ได้ร่วมกับเอกชนในการกำหนดตัวเลขการส่งออกปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 10-12.5 หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 140,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
"สิ่งที่สภาอุตสาหกรรมพยายามจะทำคือ มีการประสานพาณิชย์จังหวัดให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการส่งออก มีการประสานการค้าชายแดนเข้ามาในระบบมากขึ้น เพราะเราต้องการให้สินค้าที่ส่งออกไปนอกประเทศมีคุณภาพ มีมาตรฐานที่ชาวต่างชาติมั่นใจได้"
มุ่งขยายส่งออกเพิ่มที่ "แอฟริกา"
สำหรับกลยุทธ์เพื่อเดินตามยุทธศาสตร์ดังกลาวคือ จะต้องรักษาตลาดเก่าให้ขยายตัวต่อเนื่อง และกลุ่มที่ทำข้อตกลงภายใต้กรอบเปิดเขตการค้าเสรี (FTA) เช่น กรณีญี่ปุ่น ที่คาดว่าจะมีการลงนามหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ต้นเดือนเมษายนนี้ รวมถึงตลาดเกาหลี ไต้หวัน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น และกลุ่มตลาดใหญ่ เช่น จีน อินเดีย ที่คาดว่ายังมีความต้องการสินค้าไทยอีกมาก เช่น จีนต้องการยางพารา มันสำปะหลัง รวมไปถึงตลาดแอฟริกา ยุโรปตะวันออก และกลุ่มประเทศละตินอเมริกา
ขณะที่กลยุทธ์ระยะยาวจะมีการตั้งคณะกรรมการชุดเล็ก ระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อดูแลแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อไม่ต้องรอคณะกรรมการชุดใหญ่ และสิ่งสำคัญทางกระทรวงพาณิชย์มองว่า ตลาดแอฟริกาซึ่งมีประเทศรวมกันกว่า 50 ประเทศ หากไทยสามารถคัดเลือกประเทศเหล่านี้ 20 ประเทศ และหาเอกชนรายเล็กของไทย โดยเข้าไปเจาะตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคในตลาดแอฟริกา เชื่อว่าน่าจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าไทยอย่างมากในอนาคต
" ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่าการส่งออกปีนี้ยังมีแนวโน้มเป็นบวก แม้จะมีความรู้สึกว่าการส่งออกจะชะลอตัวลงไปบ้างแต่ทุกฝ่ายยืนยันที่จะเดินหน้าผลักดันให้การส่งออกเป็นไปตามเป้าหมาย "รองประธานส.อ.ท.ระบุ
บาทยืนระยะ 35-36ส่งออกไม่กระทบ !
ขณะที่ อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยอธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าวว่า จริงๆแล้วมาตรการกันสำรอง 30% ขณะนี้มีชื่อแต่ในทางนโยบายเท่านั้นแต่มาตรการดังกล่าวธปท.กลับผ่อนคลายจนไม่เหลือมาตรการใดๆแล้ว แต่ต้องคงไว้ในทางจิตวิทยาเพื่อสกัดนักลงทุนที่จะเข้ามาเก็งกำไรอีกก็เป็นไปได้ ซึ่งหากมีการยกเลิกขึ้นจริงๆก็จะไม่มีผลใดๆต่อผู้ประกอบการด้านการส่งออกเพราะค่าเงินขณะนี้อยู่ที่ 35-36บาทต่อเหรียญสหรัฐซึ่งหากเปรียบเทียบกับเงินสกุลอื่นๆนั้นจะต้องไปแข่งขันด้วยความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการถือว่าไม่ด้อยไปกว่าประเทศอื่น อาทิ จีน เวียดนาม และอินเดีย
"เชื่อว่าแม้จะได้รมว.คลังคนใหม่เข้ามาก็จะไม่มีการประกาศยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% เพราะหากทำอย่างนั้นจะถูกมองว่าเป็นการขัดกันในนโยบายของรมว.คนใหม่กับคนเก่า ซึ่งย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อความน่าเชื่อของ ธปท.อีกด้วย" ดร.อัทธ์ ระบุ
อย่างไรก็ดีผู้ประกอบการของไทยจะมีปัญหาเรื่องต้นทุนการผลิตที่อาจจะสูงกว่าคู่แข่งทำให้ราคาสินค้าก็สูงตามไปด้วย ซึ่งทางที่ดีผู้ประกอบการต้องนำสินค้านั้นมาแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าของตัวเอง เช่น ส่งออกกุ้งจะสู้เวียดนามไม่ได้เพราะราคากุ้งเวียดนามจะถูกกว่า แต่หากนำมาแปรรูปโดยนำไปอบผสมกับแป้งแล้วส่งออกก็จะได้ราคาดีขึ้นกว่าเดิมอีก
ระวังสงคราม "อิหร่าน-สหรัฐ" ปะทุ
นอกจากนี้แล้วผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทต่อการส่งออกของไทยแข็งค่าขึ้นสูงถึงร้อยละ 14.49 ในช่วงระยะเวลา 16 เดือน ขณะที่ประเทศคู่แข่งทางการค้าที่สำคัญของไทยอย่างจีน อินโดนีเซีย แข็งค่าขึ้นเพียงร้อยละ 3.53 และร้อยละ 7.12 ตามลำดับ ส่งผลให้ไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขันด้านราคาลง ทั้งการที่ค่าเงินแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว และยังขาดเสถียรภาพยังส่งผลต่อการวางแผนการผลิต และการกำหนดราคาของผู้ส่งออกจะทำให้มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมของไทยปรับตัวลดลง (ดูตารางประกอบ)
สำหรับปี 2550 ยังมีปัจจัยเสี่ยงต่อภาคอุตสาหกรรมการส่งออกของไทยหลายตัวด้วยกันคือ 1.หากค่าเงินไม่คงที่ 35-36บาทความสามารถในการแข่งขันก็จะลำบาก 2. นับไป10เดือนจากนี้ไปทั่วโลกยังกังวลเรื่องสงครามในตะวันออกกลางซึ่งหากเกิดสงครามขึ้นมาจะมีผลทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโกลได้ 3.เศรษฐกิจทั่วโลกยังผูกมัดกับตลาดในประเทศสหรัฐซึ่งคาดว่าจะขยายตัวต่ำในปีนี้ และ4. ดอกเบี้ยที่จะปรับลงจะมากน้อยแค่ไหนในปีนี้
ส่วนประเด็นสงครามที่ตะวันออกกลางที่มีแนวโน้มจะปะทุขึ้นอีกครั้งนั้น " สันติ วิลาสศักดานนท์ " ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยมองว่า เป็นอีกปัจจัยเสี่ยงอีกอย่างหนึ่งในปีนี้ที่สร้างความกังวลให้ผู้ส่งออกไทย เพราะหากเกิดการต่อสู้ระหว่างสหรัฐฯและอิหร่านจะทำให้ค่าขนส่งเพิ่มขึ้นทันที เพราะราคาน้ำมันที่ขณะนี้ลดลงมาก็จะดีดตัวสูงขึ้นทันที ผู้ประกอบก็มีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากค่าขนส่ง ค่าประกันภัย ซึ่งเมื่อแบกรับภาระตรงนี้ไม่ไหว ก็จำเป็นที่ต้องเพิ่มราคาสิ้นค้าเพื่อความอยู่รอด
" สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องทำคือการประกันความเสี่ยงค่าเงิน (FORWARD) ไว้ล่วงหน้า ประกันภัยสินค้า ,การบริหารเวลาในการสั่งซื้อและส่งมอบสิน และหลีกเหลี่ยงสต๊อกสินค้าที่ยาวนาน"
เชื่อGDPโตต่ำกว่าแค่ 4%
อีกประเด็นที่หลายฝ่ายพูดถึงคือจีดีพีของประเทศจะเติบโตระหว่าง 4.5 - 5 % ในปีนี้หรือไม่? ดร.อัทธ์ มองว่า จากการติดตามสัญญาณเศรษฐกิจปัจจัยเสี่ยงหลายตัวซึ่งมีแนวโน้มชะลอตัวลง และเป็นไปได้ว่าจีดีพีของประเทศปี 2550 อาจจะต่ำกว่าร้อยละ4 แต่ต้องดูจากไปอีก10เดือนว่าจะมีปัจจัยบวกเข้ามาเพิ่มเติมหรือไม่ทำให้จีดีพีของประเทศอยู่ในระดับ 4.5 - 5% ได้หรือไม่
|
|
|
|
|