Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน9 มีนาคม 2550
ชี้"ชินคอร์ป-แม้ว" จุดจบ ITV             
 


   
www resources

โฮมเพจ สถานีโทรทัศน์ไอทีวี

   
search resources

ไอทีวี, บมจ.
TV




วงสัมมนาลากไส้ชินคอร์ปต้นเหตุจุดจบสถานี บริหารเหลวสัญญาสัมปทานปมมืด "รสนา" ชี้เพราะแม้ว ระบุอำนาจทุนน่ากลัวกว่ารัฐ แนะถอดรหัสย้อนรอยอภิมหาคอรัปชั่นยุคทักษิณเรืองอำนาจ พิสูจน์จิตวิญญาณคนข่าวมืออาชีพ "สมเกียรติ" ชี้วิกฤตระยะเสี่ยงอื้อ หวั่นวัฒนธรรมองค์กร กปส.ครอบงำ ไร้เสรีเป็นกระบอกเสียงรัฐต่อ

วานนี้ (8 มี.ค.) สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยและสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย จัดเวทีเสวนา “ทางออก...ไอทีวี ทีวีเสรี?” โดยมีวิทยากรผู้เข้าร่วม ได้แก่ ดร.สมเกีรติ ตั้งกิจวานิชย์ นักวิชาการทีดีอาร์ไอ ดร.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ นายจอน อึ้งภากรณ์ อดีต สมาชิกวุฒิสภา นายจอม เพชรประดับ รองผู้อำนวยการฝ่ายข่าว สถานีโทรทัศน์ไอทีวี และนางรสนา โตสิตระกูล เลขาธิการมูลนิธิสุขภาพไทย

นายจอม กล่าวว่า หลังเกิดเหตุพนักงานทำงานอยู่ในภาวะกดดันจำนวนมาก หลายคนบอกว่าได้ชัยชนะ แต่ตนมองว่านี่ไม่ใช่ชนะ เพราะมองไม่เห็นว่ามีผู้แพ้ แต่นี่คือบทเริ่มต้นของการเป็นทีวีเสรีและโทรทัศน์สาธารณะ สิ่งที่ต้องพิจารณาคือการให้กำลังใจไอทีวีของประชาชน มีนัยสำคัญที่ต้องการแสดงออก ต้องการสื่อสารไปยังรัฐ เพราะดูประหนึ่งว่า โอกาสที่จะแสดงความต้องการของประชาชนไม่มีช่องทางมากนัก เมื่อเกิดวิกฤตกับไอทีวีก็คือช่องทางหนึ่งที่ประชาชนต้องการสะท้อนความต้องการดังกล่าว

"ความต้องการที่ต้องการทีวีเสรีเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นชัดเจน ผมเชื่อมั่นว่าประชาชนพร้อมที่จะจ่ายเงินให้กับทีวีสาธารณะ โดยมีหลักประกันว่าจะไม่ถูกแทรกแซง เพราะเห็นว่ามีคนบริจาคให้เราเกือบล้านบาทในเวลาเพียง 2 วัน มันเป็นความหวังว่าพวกเขาต้องการจริงๆ ทั้งนี้คนไอทีวีไม่กล้ายืนยันว่าเราคือสื่อที่เสรีที่สุด เพราะมรสุมที่ผ่านมา เราก็ไม่กล้าพูดได้ว่าเรามีเสรีอย่างเข้มข้น บางครั้งก็จางไป แต่ปรากฎการณ์ไอทีวีทำให้เป็นข้อพิสูจน์ว่าเขาพร้อมที่จะจ่ายเงินเพื่อให้มีทีวีสาธารณะ สังคมไทยน่าจะพร้อมแล้วสำหรับการมีทีวีสาธารณะ" นายจอมกล่าว

นายจอมกล่าวต่อว่า สาเหตุของจุดจบไอทีวีพนักงานเองก็ไม่ได้สรุปอย่างเป็นรูปธรรม แต่ส่วนตัวคิดว่าน่าจะมาจากการบริหารของชินคอร์ปมากกว่า นอกจากนี้ยังมาจากสัญญาสัมปทาน การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในอดีต ซึ่งรัฐบาลปัจจุบันไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ เหล่านี้เป็นปัจจัยทำให้ไอทีวีต้องเดินทางมาสู่จุดจบทุกวันนี้

นายจอมระบุว่า ตอนนี้เรายังไม่ได้เป็นทีวีสาธารณะ เรายังถูกควบคุมโดยทุน การพูดถึงภารกิจต่างๆ ที่ถูกคาดหวังจากประชาชน ยังเป็นเพียงแค่ลมปาก แต่ถ้าสังคมและรัฐบาลวางกรอบให้เป็นไปตามความคาดหวัง ตอนนี้เรายังไม่รู้ว่าอนาคตเป็นอย่างไร เพราะยังไม่รู้นโยบายของกรมประชาสัมพันธ์

นายจอม กล่าวด้วยว่า ปัญหาเรื่องสื่อสาธารณะที่ต้องไม่ละเลยคือความพร้อมของบุคลลากร เพราะอย่างกรณีไอทีวีเองการพูดเรื่องเกี่ยวกับปัญหาของมวลชนในกอง บก. ก็มักจะไม่ค่อยได้รับการยอมรับ แต่ติดอยู่ที่ทุนของเงินและทุนของบุญคุณ การเพาะคนที่จะต้องต่อสู้เพื่อให้เกิดความถูกต้อง ถ้าจะสร้างคนกลุ่มนี้ได้จะต้องทำอย่างไร จะเอาจากที่ไหน

ด้านนางรสนา กล่าวว่า ต้องยอมรับว่าอำนาจไม่ได้มาจากปืน แต่อำนาจที่สำคัญคือมาจากทุนด้วย ที่ผ่านมาคนไทยสามารถทนต่ออำนาจจากปืนได้สั้น ดังกรณีการทำรัฐประหารปี 2534 ประชาชนทนได้แค่ 1 ปี แต่เราจะทนต่ออำนาจจากทุนได้นานกว่า เหมือนในกรณีของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งประชาชนทนมา 5-6 ปี จนเกิดกรณีดีลชินคอร์ป ไอทีวีไม่ได้พูดในประเด็นนี้ใน 2 วันที่ผ่านมา แต่ยังถกเถียงกันในประเด็นสื่อเสรีและการช่วยเหลือพนักงานเท่านั้น

"คิดว่ามีปัญหาอีกหลายเรื่องที่ไมได้มาพูด สิ่งที่พนักงานทีไอทีวีน่าจะทำในฐานะที่เป็นคนใน น่าจะนำข้อมูลมาถอดรหัสย้อนรอยอภิมหาคอรับชั่นเชิงนโยบายเกี่ยวกับดีลชินคอร์ปเพื่อเปิดเผยให้ประชาชนรับรู้” นางรสนาระบุ พร้อมกล่าวว่า เทมาเซ็กซึ่งเป็นบริษัทระดับโลกจะไม่รู้กฎหมายก็ไม่น่าจะเป็นไปได้ การซื้อหุ้นชินคอร์ปซึ่งรวมทั้งไอทีวีด้วยนั้น ก็น่าจะรู้ว่าว่าผิดกฏหมาย เพราะไม่สามารถถือหุ้นเกิน 25 % ได้ อาจเข้าใจได้ว่า สปน.ขณะนั้น ไม่สามารถทำอะไรได้เพราะอยู่ภายใต้การบริหารของทักษิณ แต่ต้องทวงถามถึงพนักงานไอทีวีที่จะต้องย้อนรอยกรณีนี้

เธอกล่าวต่อว่า กรณีการซื้อหุ้นดังกล่าวเหมือนกับการเล่นหมากรุกที่เล่นเอาประเทศกัน แต่รัฐบาลแทนที่จะตั้งวอร์รูม ยังหน่อมแน้มเล่นตามกระแสอยู่ รัฐบาลทำให้หลายสิ่งหลายอย่างสับสน คิดว่ากรณีไอทีวิ หนึ่ง ไอทีวีทำผิดสัญญาสัมปทาน แต่ไม่พูดถึงตรงนี้ แค่พูดว่าอนุญาโตตัดสินผิด ตอนนี้กลายเป็นว่าไอภายใต้เทมาเส็กไม่สามารถจ่ายได้ ทำให้รัฐต้องยกเลิกใบอนุญาต ซึ่งบริษัทต้องปิดทำการและต้องเริ่มต้นใหม่ แต่เนื่องจากไอทีวีซับซ้อนมาก และไม่ได้มองให้แง่กฎหมาย

ดร.สมเกียรติ ระบุว่า บทเรียนของไอทีวีคือโครงสร้างและการออกแบบแรงจูงใจ ซึ่งขึ้นอยู่กับภาววิสัยโดยรอบ โดยใช้วิธีให้สัมปทานรองรับทีวีเสรี ซึ่งผิดตั้งแต่แรก เพราะระบบสัมปทานมุ่งหวังกำไรในตัวของมันเอง นอกจากนี้การให้กลุ่มทุนถือหุ้นไม่เกิน 10% ก็ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ในขณะที่เรื่องจิตวิญญาณและวัฒนธรรมองค์กร ดังกรณีกบถไอทีวียุคแรกให้บรรทัดฐานว่าคนที่ยึดกับอุดมการณ์เสรีก็ไม่สามารถอยู่ได้

"พนักงานไอทีวีควรเรียกร้องผู้บริหารและผู้ถือหุ้นเดิมที่ผิดสัญญาและละเลยในการบริหาร อาจถึงขึ้นฟ้องร้องต่อคนเหล่านี้ อีกส่วนหนึ่งคือ เงินชดเชย ซึ่งต้องเรียกร้องจากผู้บริหารเดิม และเรียกร้องต่อรัฐบาลให้ชี้แจงอนาคตของทีไอทีวีว่าจะมีแนวทางใด"

นักวิชาการคนดังกล่าว ระบุว่า เมื่อประเมินกรณีไอทีวีในสถานการณ์ปัจจุบัน มีความเสี่ยงระยะสั้น 4 ประเด็น คือ 1. ความเสี่ยงเกี่ยวกับเงินรายได้ ก่อนหน้านี้มีสัญญาณว่าจะโดนปิด รายได้โฆษณาของไอทีวีก็โยกไปแล้ว ซึ่งเกิดจากความเสี่ยงจากธุรกิจ นอกจากนี้ ความเสี่ยงด้านบริษัทภิบาล คือ การบริหารหลังจากนี้ไม่สามารถป้องกันการรั่วไหลได้ รายได้อาจสูญได้ จัดซื้อจัดจ้างอาจไม่โปร่งใส ผู้บริหารแสวงหาผลประโยชน์ รวมไปถึงการแทรกแซงจากรัฐในกองบรรณาธิการ จะเป็นปัญหาในอนาคต

นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงบุคลากรหลักๆ อยางคนที่เป็นแบรนด์ของไอทีวีและฝ่ายมาเก็ตติ้ง ความเสี่ยงด้านภาพลักษณ์องค์กร ซึ่งทีผ่านมาถูกมองว่าใกล้ชิดกับกลุ่มทุน และล่าสุดมีภาพของการทำเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตัวเอง สิ่งเหล่านี้ต้องยุติลงทันที และสุดท้ายความเสี่ยงในด้านวัฒนธรรมองค์กรที่อาจมีปัญหาเมื่ออยู่ภายใต้การดูแลของกรมประชาสัมพันธ์

ดร.สมเกียรติ เสนอว่า คณะกรรมการชุดใหม่และรัฐบาลจะต้องวางกติกาว่าจะไม่แทรกแ.ซงกองบรรณาธิการ ในขณะคณะกรรมการชุดนี้ก็ไม่ควรจะอยู่นาน โดยมีการประกาศให้ชัดเจนว่าจะทำหน้าที่อยู่ไม่เกินหนึ่งเดือน หากแก้ไขจุดนี้ได้จะทำให้ตลาดและโฆษณาที่เป็นรายได้จะสามารถอยู่ต่อได้ แต่ที่สำคัญ ถ้าไอทีวีจะดำเนินงานต่อคงต้องปรับปรุงโครงสร้างการทำงานใหม่ ไม่อย่างนั้นวัฒนธรรมองค์กรของกรมประชาสัมพันธ์ครอบงำ

เขากล่าวอีกว่า หากการเปิดประมูลสัมปทานกันใหม่ โดยเปิดสัมปทานในนามของ สปน.หรือ กปส. อาจมีความเสี่ยงด้านกฎหมายว่าอาจทำไม่ได้เหมือนกรณีเคเบิลทีวีที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านี้ แต่ทางเลือกนี้จะไม่ได้เรียนรู้บทเรียนจากกรณีไอทีวีที่พบว่า ระบบสัมปทานล้มเหลว แต่อีกทางเลือกหนึ่ง คือ การทำเป็นทีวีสาธารณะ แม้ว่าวัฒนธรรมองค์กรอาจไม่ใช่สื่อสาธารณะเสียทีเดียว แต่ถือเป็นโอกาสและทางเลือกที่น่าจะเป็นไปได้ที่สุด เรื่องที่น่าจะเป็นปัญหาได้คือผู้ถือหุ้นเดิมฟ้องร้องว่าการยึดสัมปทานไม่ชอบ แต่ดูแล้วเขาไม่คิดจะสู้หรือรั้งไว้

นอกจากนี้ เขายังเสนอว่า น่าจะมีพระราชกฤษฏีกาสั้นๆ ระบุให้ชัดเจน ว่าไอทีวีเข้ามาอยู่ในกรมประชาสัมพันธ์เพื่อวางกติกาในการบริหารไอทีวีในช่วงระยะสั้นนี้ให้ชัดเจน เพราะศาลปกครองระบุว่าให้ทำแทนและทำในนาม สปน. รวมทั้งระบุระยะเวลาให้ชัดเจนด้วย

นางรสนายังกล่าวอีกว่า ตนเห็นใจพนักงานไอทีวีพอๆ กับพนักงานไทยเกรียงที่ถูกไล่ออกจากงาน และประท้วงเพื่อให้ได้งานเดิมทำอยู่ ถ้าไอทีวีเป็นสือเสรีจริง เป็นไปได้หรือไม่ที่จะนำเรื่องราวของชาวบ้านปากมูลที่คัดค้านเขื่อน ผู้หญิงที่เรียกร้องเรื่องหนี้สินเปลือยด้วยชุดชั้นใน ชาวบ้านบ่อนอกหินกรูด โปรแตส จ.อุดรธานีและคลองด่านที่คัดค้านโครงการพัฒนาของรัฐ โปรแตส ถ้าให้เวลา 2 วัน เราอยากให้เขาหลายนี้ได้เปิดเรื่องราวให้สังคมไทยรับรู้

"บทเรียนจากกรณีไอทีวีครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นว่าสื่อมีอิทธิพลมาก ถ้าสื่อเป็นอิสระจากรัฐและทุน ก็จะเป็นหัวหอกของประชาชนและเปลี่ยนแปลงสังคมต่อไป"

รสนา ระบุว่า เวลาที่ถูกกดด้วยอำนาจปืน แต่ถ้าถูกกดด้วยอำนาจทุน เราจะอ่อนเปลี้ย สื่อต้องเป็นหัวหอกที่จะปลุกประชาชนขึ้นมา ถ้าบอกว่าจิตวิญญาณเสรีกระทบกับการงานของเรา ถ้าเราปล่อยให้เกิดปัญหาโดยไม่ทำอะไร เราก็จะกลายเป็นส่วนหนี่งของปัญหา ดังกรณีกบถไอทีวียุคแรกตอนนี้ นักการเมืองหลายคนมักบอกว่าเราควรสงวนตัว เพื่อทำอะไรในตำแหน่งที่สูงขึ้น แต่เมื่อสูง มักไม่ไดทำอะไร เพราะงั้นต้องต่อสู้ตลอดเวลา


ตอนนี้นายทุนทุกคนจ้องไอทีวีตาเป็นมัน รอเตรียมที่จะเข้าขย้ำ ถึงจุดนี้ถือว่าประชาชนแพ้ ถ้าหากว่าพนักงานคิดว่าชัยชนะของตัวเองแยกขาดจากชัยชนะของประชาชน จิตวิญญาณต้องต่อสู่เพื่อทีวีสาธารณะอย่างแท้จริงก็จะไม่เกิดขึ้น”

ด้านนายจอน กล่าวว่า จากกรณีไอทีวีพบว่าประเทศไทยไม่มีทีวีเสรี และไม่เคยมีทีวีเสรี นอกจากนี้ยังพบว่าเรากำลังมีวิกฤตเกี่ยวกับสื่อมวลชนที่ไม่สามารถจะรับรู้ข้อเท็จจริงอย่างรอบด้านผ่านสื่อได้ เพราะแต่ละสื่อต่างก็มีวาระของตัวเอง ในขณะที่สังคมไทยเองก็มีระบบอุปถัมป์ ดังกรณีเอเอสทีวีเองก็เป็นสื่อโฆษณาชวนเชื่อและมีวาระของตัวเอง ไม่ต่างกับกรณีไอทีวีที่วานนี้ก็เริ่มประจบเจ้านายใหม่ ไม่มีลักษณะการตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์ แม้ว่าช่วงหลังมีข้อดีตรงที่วิพากษ์วิจารณ์ คมช. แต่ในกรณีที่อยากรู้เบื้องลึกของการซื้อขายหุ้นชินฯ ก็ไม่สามารถดูจากไอทีวีได้

นายจอน เสนอว่า ต้องเปิดเสรีคลื่นความถี่ทั้งหมด ในทางปฏิบัติต้องมีสถานีโทรทัศน์พันสถานีก็ได้ เพราะรัฐกลัว เหมือนกับอินเตอเน็ต ถ้าเรามีสถานีทีวี 50 ทีวี อย่างน้อยเราก็น่าจะได้อะไรที่ดีกว่านี้ ที่กล้าเจาะลึกการคอร์รับชั่นของ คมช. เปิดเสรีไม่ใช่แค่ชาติแต่ระดับชุมชนด้วย มีโทรทัศน์เคเบิล ดาวเทียม นอกจากนี้ ยังเสนอให้มีสหภาพแรงงานของแต่ละสำนักและมีสหภาพในระดับชาติ ที่ผ่านมาไม่กล้าสู้เพราะกลัวตกงาน ในกรณีไอทีวีถ้ามีสหภาพผู้บริหารไม่สามารถจะถอดพนักงานได้ง่าย หรือสไตรค์ในกรณีที่ถูกแทรกแซงจากรัฐและทุน เชื่อว่าประชาชนจะสนับสนุน

นอกจากนี้ เขายังเสนอให้ผลักดันสื่อสาธารณะ โดยมีทุนจากการเก็บภาษีหักเปอร์เซ็นต์จากโฆษณาในทีวีทั่วไป อย่างไรก็ตาม การก่อเกิดก็ต้องขึ้นอยู่กับบรรยากาศทางการเมือง ตอนนี้เห็นว่าการเมืองไม่แน่นอน ตนเห็ฯว่ารัฐบาลเองก็ยังไม่เข้าใจว่าสื่อสาธารณะที่แท้จริงคืออะไร

นายจอน ระบุว่า ต้องมีการประกาศว่าไอทีวีเป็นสื่อสาธารณะ จะต้องมีการประชาพิจารณ์อย่างเป็นสาธารณะคือการถ่ายทอดผ่านทีไอทีวี ต้องมีการตั้งกรรมการประชาพิจารณ์ที่อิสระและน่าเชื่อถือและไม่ใช่คนของรัฐ.   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us