Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน11 มีนาคม 2546
ธุรกิจบนเน็ตโตก้าวกระโดดยาก B2Bต้องใช้ความอดทนและอึด             
 


   
search resources

ป๊อป เน็ตเวิร์ค
กนกวรรณ ว่องวัฒนะสิน
สุภรัฐ เอื้อวัฒนะสกุล
E-Market Place




ธุรกิจเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตโอกาสโตแบบก้าวกระโดดยาก หลัง e-Procurement นโยบายภาครัฐที่หวังใช้กระตุ้นอี-คอมเมิร์ซให้เกิดเจ้า ของตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ถอด ใจ เพราะมูลค่าโครงการต่ำ กำไรน้อย ซึ่งจะส่งถึง B2B ที่ยังต้องร้อง เพลงรอ ขณะที่คนไอทีเชื่อ B2B เกิดแน่แต่ต้องใช้เวลาและอดทน

นายสุภรัฐ เอื้อวัฒนะสกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ป๊อป เน็ตเวิร์ค จำกัด ผู้ให้บริการเกี่ยวกับตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Marketplace และเป็นอีกหนึ่งรายที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีของกรมบัญชีกลาง ในการได้สิทธิ์เป็นผู้ให้บริการระบบจัดซื้ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Procurement) ของภาครัฐเปิดเผยถึงการดำเนินกิจการ เกี่ยวกับการทำ B2B หรือ Business to Business ว่า B2B เป็น การผสมผสานหลายอย่างเข้าด้วยกัน และเชื่อว่าธุรกิจนี้จะต้องทำแบบ ค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากเป็นเรื่อง ใหญ่ ที่สำคัญธุรกิจเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตจะไม่โตเร็ว แต่ก็เชื่อว่าจะเติบโตแบบต่อเนื่อง

"ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเน็ตจะไม่โตแบบก้าวกระโดด แต่ก็เชื่อว่าจะโตแบบสม่ำเสมอ"

ส่วนนโยบายของภาครัฐที่ต้องการให้เอกชนเข้ามาให้บริการ e-Procurement เพื่อกระตุ้นอี-คอมเมิร์ซ เพราะยังไม่ตื่นตัวนั้น นายสุภรัฐกล่าวว่า การที่ภาครัฐมี นโยบายออกมากระตุ้นเป็นเรื่องที่ดี หากเรื่องดังกล่าวเกิดหรือประสบผลสำเร็จจะส่งผลดีกับผู้ประกอบการทุกราย

"e-Procurement เป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้น B2B แต่ e-Procurement ขณะนี้เริ่มมีการแข่งขันกันสูง และผิดคอนเซ็ปต์ไป"

สำหรับการทำ e-Procurement ซึ่งมีผู้ให้บริการ 6 ราย เริ่มถอดใจ เพราะเห็นว่าทำแล้วไม่คุ้มค้า เนื่องจากมูลค่าโครงการน้อย รายได้ต่ำ และมีการแข่งขันกันสูง

ด้านนางสาวกนกวรรณ ว่องวัฒนะสิน อดีตกรรมการผู้จัดการ อินเตอร์เนต เคเอสซี ในฐานะคนวงการอินเทอร์เน็ต ให้ความเห็นเกี่ยวกับอี-คอมเมิร์ซแบบ B2B ว่า ที่ให้ผู้ซื้อและผู้ขาย ซื้อขายกันได้โดยตรงโดยผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดระหว่างผู้ซื้อที่เป็นบริษัท ห้างร้าน องค์กร หรือหน่วยงานรัฐ ว่าจะสามารถซื้อของได้ถูกกว่าวิธีการจัดซื้อแบบปรกติ เพราะจะเปรียบเทียบราคาของผู้ขายหลายๆ เจ้าได้พร้อมกัน และจะได้ราคาพิเศษเนื่องจากการที่ผู้ขายจะต้องแข่งขันกันอย่างโปร่ง ใสผ่านระบบออนไลน์ โดยไม่รู้ว่าคู่แข่งจะเสนอราคาขายที่เท่าไร

ขณะเดียวกันผู้ขายจะได้ประโยชน์จาก B2B Marketplace ที่สามารถจะขยายตลาดไปสู่กลุ่มผู้ซื้อใหม่ๆ ได้โดยไม่ต้องลงทุนในด้านการตลาด หาลูกค้าเหมือนแบบ การค้าปรกติ และสามารถจะเปลี่ยน ราคาและเสนอราคาขายได้บ่อยแค่ไหนก็ได้ ทำให้มีความคล่องตัวต่อระบบการจัดการและลดต้นทุนประกอบการได้ในที่สุด

B2B ดูแล้วเหมือนจะดี แต่ในความเป็นจริงขณะนี้มีปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้อีคอมเมิร์ซแบบ B2B ไม่ประสบความสำเร็จเหมือนประเมินสถานการณ์กันไว้ในปี 2000 ที่บรรดานัดลงทุนและประเภทกองทุนทั้งหลายต่างจัดเงิน ลงทุนในธุรกิจ B2B มากถึง 3.5 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณหนึ่งแสนห้าหมื่นล้านบาท ทั้งหมดลงทุนไปในบริษัทที่ผลิตซอฟต์แวร์ B2B, บริษัทที่เป็น B2B เว็บท่า ที่เป็นตัวกลางจัดระบบแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าให้แก่ผู้ซื้อและผู้ขายรวมกันมีจำนวนถึง 142 บริษัท

แต่พอเริ่มดำเนินการจริงต้อง ประสบกับปัญหาคือ ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายไม่อยากจะที่เปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบการซื้อขายแบบออนไลน์ ที่ต่างไปจากการจัดซื้อแบบเดิมที่รู้จักทั้งผู้ซื้อและผู้ขายดีอยู่แล้ว ความสัมพันธ์ที่มีกันมายาวนานระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ตลอดจนความเชื่อที่ว่าการใช้โทรศัพท์ แฟกซ์ส่งราคา และจัดการประมูล แบบใส่ ซองปิดผนึกก็มีประสิทธิภาพเพียงพอแล้ว ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ที่สำคัญในการได้พูดคุยเห็นหน้าเห็นตากัน จะสามารถต่อรองราคาตกลงทำธุรกิจกันได้ดีกว่า

อุปสรรคอีกข้อหนึ่ง คือ ทัศนคติของผู้ประกอบการ เจ้าของกิจการ แตกต่างไปจากผู้บริหารระดับกลาง หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติโดยทั่วไป ที่ผู้บริหารต้องการเข้าสู่ระบบการจัดการสมัยใหม่จาก Industrial age เข้าสู่ Information age โดยพยายามผลัก ดันนำระบบใหม่มาใช้ แต่อาจจะไม่ ได้ฝึกในแง่ของการเปลี่ยนแปลงทัศนคติคน การเรียนรู้ของคน จะช้ากว่าการเปลี่ยนเปลงในเทคโนโลยีเสมอ โดยเฉพาะทางด้านคอมพิวเตอร์และไอที

รอยต่อในการเปลี่ยนแปลงจากยุคปฏิวัตอุตสาหกรรมไปยังยุคอุตสาหกรรมข่าวสารสารสนเทศ ยังคงต้องใช้เวลาให้ผู้คนทั่วไปยอม รับ และที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือต้นทุน ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการนำระบบใหม่มาใช้ เช่น ต้นทุนอุปกรณ์ฮาร์ด แวร์ ซอฟต์แวร์ ค่าฝึกอบรมพนักงาน ตลอดจนต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการลองผิดลองถูก ทั้งหมดจะเกิดก่อนที่จะสามารถประหยัดต้นทุนได้จริงจากการใช้ระบบ B2B

เรื่องของเปอร์เซ็นต์ที่ผู้ขายต้องจ่าย ให้แก่บริษัทกลางที่เป็นผู้จัดทำระบบและบริหาร B2B ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้ B2B ไม่เกิด เพราะผู้ขายมองว่าทำไมจึงต้อง มาจ่ายให้แก่คนกลาง สู้นำเปอร์ เซ็นต์ตัวนี้ไปลดให้ผู้ซื้อโดยตรงดีกว่า แต่ก็ยังไม่สำคัญเท่าผู้ขายส่วน ใหญ่ยังพอใจที่จะติดต่อกับผู้ซื้อโดยตรงแบบเห็นหน้าค่าตา เพื่อรักษาสัมพันธภาพอันดีไว้ในระยะยาว มากกว่าที่จะต้องผ่านอินเทอร์เน็ต

"ผู้ที่ทำธุรกิจ B2B ขณะนี้คงต้องใช้ความอดทน ทำความเข้า ใจ และต้องช่วยฝึกอบรมผู้ซื้อและผู้ขายให้เข้าใจถึงประโยชน์ในอนาคต พร้อมกับสร้างสัมพันธภาพ ที่ดีระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายควบคู่กับไปด้วย ยังไงๆ B2B ก็เกิดแน่ แต่ต้องใช้ระยะเวลา ผู้ที่ทำธุรกิจนี้ต้องอดทนจนกว่าเวลานั้นจะมาถึง" นางสาวกนกวรรณกล่าว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us