Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน8 มีนาคม 2550
คอตตอนฯทุ่มงบ20ล.บุกคาดปีนี้ไลเซนซี่เพิ่ม100%             
 


   
search resources

Marketing
Garment, Textile and Fashion
คอตตอน เคาน์ซิล อินเตอร์เนชั่นแนล (ซีซีไอ) ประเทศไทย, บจก.




“คอตตอน ยูเอสเอ” เดินหน้าทำตลาด หวังนำเข้าฝ้ายจากสหรัฐอเมริกาสู่ไทยเป็นอันดับหนึ่ง ด้วยแชร์กว่า 35-40% ล่าสุด เตรียมจัดงานสัมมนา พร้อมจัดมินิเทรดโชว์ในเวียดนาม เสริมทัพอีก 20 ล้านบาท ทำตลาดในไทย มั่นใจสิ้นปีมีไลเซนซี่เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว หรือกว่า 26 ราย หรือมีการผลิตสินค้าที่ติดป้าย คอตตอน ยูเอสเอ เพิ่มขึ้น 30% จาก 5.2 ล้านชิ้นในปีที่ผ่านมา

นายไกรภพ แพ่งสภา ตัวแทนเครื่องหมายการค้า คอตตอน ยูเอสเอ ประเทศไทย จาก คอตตอน เคาน์ซิล อินเตอร์เนชั่นแนล (ซีซีไอ) ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่ง ของ เนชั่นแนล คอตตอน เคาน์ซิล จากประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีหน้าที่หลักในการเพิ่มการส่งออกฝ้าย เปิดเผยว่า ปีนี้จะเป็นปีที่สองที่ทางคอนตอนยูเอสเอประเทศไทย จะมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ พร้อมด้วยกิจกรรมทางการตลาดร่วมกับไลเซนซี่ และให้ความรู้แก่ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทราบถึงคุณภาพฝ้ายจากประเทศสหรัฐอเมริกาและให้ความรู้ทักษะเพื่อช่วยลดขั้นตอนการผลิตให้เกิดผลกำไรสูงขึ้น

ปีนี้บริษัทฯใช้งบประมาณกว่า 20 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 5 ล้านบาท เพื่อพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมสิ่งทอของไทย ในรูปแบบต่างๆ เช่น การสัมมนาในหัวข้อ “การลดต้นทุนการผลิต” สำหรับกลุ่มผู้ผลิต ในช่วงเดือนเม.ย.นี้ และการอมรมเทคนิคการขายสำหรับพนักงานขายในกลุ่มไลเซนซี

จากการวิจัยเรื่องการรับรู้ป้ายสัญลักษณ์ “คอตตอน ยูเอสเอ” พบว่า จากจำนวนผู้สำรวจกว่า 500 ราย เมื่อคำนวณจากบุคคลทั่วไป ว่ารู้จักป้ายสัญลักษณ์นี้หรือไม่ มีเพียง 2% ที่รู้จัก ขณะเดียวกันเมื่อคำนวณจากกลุ่มเป้าหมายหลักที่เป็นผู้หญิงอายุตั้งแต่ 18-34 ปี ว่ารู้จักป้ายสัญลักษณ์นี้หรือไม่ มีกว่า 37% ในอีกระยะ 5-10 ปี ทางบริษัทฯคาดว่าคนไทยจะสามารถรับรู้ป้ายสัญลักษณ์ “คอตตอน ยูเอสเอ”เป็น 50-70% ใกล้เคียงกับประเทศญี่ปุ่น

นอกจากนี้ทางบริษัทฯยังได้เตรียมจัดมินิเทรดโชว์ในกรุงโฮจิมินท์ ซิตี้ ประเทศเวียดนาม ในช่วงเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้ด้วย โดยจะนำกลุ่มผู้ผลิตในไทย เกาหลี ไต้หวัน และเวียดนาม ได้พบกับกลุ่มผู้ซื้อจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งที่ผ่านมาส่วนใหญ่ญี่ปุ่นจะนำเข้าสินค้าเหล่านี้จากจีนเป็นหลัก

รวมไปถึงโครงการ “คอตตอน ดีไซน์ ชาเล้นจ์ 2006” การประกวดออกแบบเสื้อผ้า สำหรับนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งจะช่วยให้ คอตตอน ยูเอสเอ เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น

ในช่วงปี 2549 จากเดิมที่บริษัทฯมีไลเซนซี่ประมาณ 13 ราย เพิ่มขึ้นกว่า 1 เท่าตัว เป็น 26 รายในปีนี้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มไลเซนซี่เดิม แต่เพิ่มแบรนด์ในการติดป้าย คอตตอน ยูเอสเอ อาทิ เช่น เสื้อผ้าจากกลุ่มซีเอ็มจี หรือเซ็นทรัลมาร์เก็ตติ้ง กรุ๊ป ปีนี้เพิ่มแบรนด์ในการติดป้ายคอตตอน ยูเอสเออีก 7 แบรนด์, เสื้อผ้าเด็กจากกลุ่ม ไอซีซี เดิมมี 6 แบรนด์ ปีนี้เพิ่มอีก 1 แบรนด์ นอกจากนี้ยังมีแบรนด์เสื้อผ้าจาก เอฟคิวแอนด์แอล ซึ่งเป็นเสื้อผ้าแฟชั่นสำหรับผู้หญิงอีก 1 แบรนด์ รวมไปถึงเสื้อผ้าแฟชั่นสำหรับผู้ชายอีก 2 แบรนด์ ที่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ขณะนี้

ขณะที่ในปีที่ผ่านมา พบว่า มีสินค้าที่ติดป้าย “คอตตอน ยูเอสเอ” ประมาณ 5.2 ล้านชิ้น จากทั้งหมด 13 ไลเซนซี่ ปีนี้คาดว่าจะมีการผลิตสินค้าที่ติดป้ายนี้เพิ่มขึ้นอีก 30% โดยส่วนใหญ่แบรนด์ที่ติดป้าย คอตตอน ยูเอสเอ จะเป็นแบรนด์ระดับพรีเมี่ยมเป็นส่วนใหญ่

เมื่อมองในภาพรวมอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย ในปีที่ผ่านมามีการนำเข้าวัตถุดิบเส้นใยผ้า คิดเป็นมูลค่ากว่า 695 ล้านดอลล่าสหรัฐ ลดลง 8.5% เทียบจากปี 2548 ที่มีการนำเข้าอยู่ที่ 760 ล้านดอลล่าสหรัฐ ส่วนในปีนี้คาดว่าจะมีการนำเข้าใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ขณะเดียวกันในส่วนของการนำเข้าเฉพาะฝ้ายนั้น ในรอบปี 2548-2549 มีการนำเข้ากว่า 412,000 เมตรติกตัน น้อยกว่าในรอบปี 2547-2548 ที่มีการนำเข้าสูงสุดในรอบ 5 ปี นับจากปี 2545 เป็นต้นมา โดยในรอบปี 2549-2550 นี้ คาดว่าจะมีการนำเข้าฝ้ายเพิ่มขึ้นเป็น 435,000 เมตรติกตัน

โดยฝ้ายที่มีการนำเข้าเป็นอันดับหนึ่งยังคงมาจากสหรัฐอเมริกา คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 35-40% รองลงมา คือ ออสเตรเลีย อินเดีย ปากีสถาน และจีน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us