Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน7 มีนาคม 2550
“พรานทะเล”สยายปีกสู่ตลาดจีนเปิดฟาสต์ซีฟู้ด-ลุยโมเดิร์นเทรด             
 


   
www resources

โฮมเพจ พรานทะเล มาร์เก็ตติ้ง

   
search resources

Food and Beverage
พรานทะเล มาร์เก็ตติ้ง, บจก.
ยูเนี่ยนโฟรเซนโปรดักส์, บจก.
อนุรัตน์ โค้วคาสัย




“พรานทะเล” ยกพลบุกประเทศจีน ขยายตลาดอาหาร ชูกลยุทธ์ร่วมทุนกับคนท้องถิ่นเปิดร้าน ฟาสต์ซีฟู้ด รับกระแส พร้อมแผนส่งสินค้าไปจำหน่ายในไต้หวัน ขณะที่แผนการตลาดในประเทศไทย เร่งเจาะกลุ่มรากแก้ว มั่นใจรายได้ปีนี้ทะลุ 1,000 ล้านบาท

นายอนุรัตน์ โค้วคาสัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาดและปฎิบัติการ บริษัท พรานทะเล มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ในเครือบริษัทยูเนียน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯได้เตรียมแผนขยายตลาดเข้าสู่ประเทศจีน โดยจะอยู่ในรูปแบบของการร่วมลงทุนกับนักธุรกิจในประเทศจีนโดยคาดว่าจะถือหุ้นในสัดส่วนที่เท่ากันคือ 5% เพื่อทำการ เปิดร้านจำหน่ายอาหารญี่ปุ่น หรือซูชิ ภายใต้แบรนด์พรานทะเล ฟาสต์ซีฟู้ด ในรูปแบบภัตตาคาร ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาตลาดและพฤติกรรมของผู้บริโภคคนจีนรวมทั้งการหาทำเลที่เหมาะสมด้วย

สำหรับเหตุผลที่บริษัทฯเลือกการเข้าทำตลาดในครั้งนี้ เพื่อสนองความต้องการของลูกค้าในจีน ที่ปัจจุบันกระแสการทานซูชิมาแรง และมียอดใช้จ่ายในการบริโภคอาหารญี่ปุ่นต่อหัวสูงถึง 1,500-2,500 บาทต่อคนต่อครั้ง ประกอบกับร้านอาหารญี่ปุ่นในจีนมีน้อย จึงเป็นโอกาสในการทำตลาดของพรานทะเล สร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักได้ง่ายขึ้น

ทั้งนี้ก้าวแรกสำหรับการเข้าเปิดตลาด บริษัทฯจะโฟกัสเข้าในปักกิ่งก่อนซึ่งคาดว่าจะมีความชัดเจนได้ช่วงสิ้นปีนี้ และคาดว่าน่าจะสามารถขยายได้เป็นจำนวนกว่า 10 แห่ง ภายใต้งบลงทุนรวม 100 ล้านบาท หรือเฉลี่ยออกการลงทุน 10 ล้านบาทต่อสาขา พื้นที่ 200 ตารางเมตร ซึ่งสามารถรองรับลูกค้าได้ 60-80 ที่นั่ง ซึ่งในการร่วมลงทุนในครั้งนี้บริษัทฯคาดถึงจุดคุ้มทุนภายใน 2 ปี

นอกจากนี้บริษัทฯมีแผนนำสินค้าขายผ่านช่องทางโมเดิร์นเทรดในต่างประเทศอีกด้วย ขณะนี้กำลังศึกษาส่งสินค้าไปยังประเทศไต้หวันอยู่ โดยสินค้าทุกประเทศที่บริษัทฯจะรุกทำตลาดไปในชื่อพรานทะเลทั้งหมด

สำหรับตลาดในประเทศ บริษัทฯมีแผนขยายฐานลูกค้าเข้าไปยังกลุ่มที่อยู่ตามชุมชนเล็กๆ มากขึ้นหรือที่เรียกว่า รากแก้ว โดยขณะนี้กำลังทำการวิจัยตลาดรากแก้ว เพื่อออกผลิตภัณฑ์ใหม่ให้เหมาะสมกับความต้องการและกำลังซื้อ คาดเปิดตัวได้ในอีก 2-3 เดือนนี้ ซึ่งเป็นอาหารแช่แข็งพร้อมทานเมนูเฉพาะสำหรับตลาดดังกล่าว ซึ่งจะเน้นด้านราคาขายถูกประมาณ 25-28 บาท จากปัจจุบันราคาจำหน่ายของพรานทะเลอยู่ระหว่าง 32-50 บาท และยังคงใช้แบรนด์พรานทะเล พร้อมกันนั้น บริษัทฯเตรียมเพิ่มช่องทางทางจำหน่ายตามร้านค้าชุมชนอีก 500 จุดทั่วประเทศ จากปัจจุบันมี 850 จุด

ทั้งนี้ สาเหตุหนึ่งที่บริษัทหันมารุกตลาดรากแก้วมากขึ้น เนื่องมาจากในอนาคตคู่แข่งในตลาดจะต้องมีเพิ่มมากขึ้น การแข่งขันจะต้องมีความรุนแรงกว่าเดิม ดังนั้นบริษัทฯจึงได้เล็งเห็นถึงช่องทางทำตลาดให้มากขึ้นอีกทั้งการปรับและเปลี่ยนสินค้าสอดรับกับความต้องการของตลาดให้มากที่สุด เช่นเดียวกันบริษัทฯมองว่า ตลาดรากแก้วถือเป็นตลาดอนาคตสำคัญในการขยายรายได้เพิ่ม

ขณะเดียวกันบริษัทฯยังมีแผนออกสินค้าใหม่ในปี 2550 อีกประมาณ 100 รายการซึ่งจะส่งให้สินค้าทั้งหมดของบริษัทฯมีรวมแล้วกว่า 450 รายการ ล่าสุดได้ออกอาหารแช่แข็งพร้อมปรุง อาทิ กุ้งขาวแบบผ่าผีเสื้อ นอกจากนี้ยังได้ขยายสู่ตลาดใหม่ คืออาหารทะเลแบบแห้ง เช่น ปลาแห้ง กุ้งแห้ง และปลาหมึกแห้ง ราคา 80-120 บาท ต่อแพ็ค ซึ่งคาดเริ่มจำหน่ายใน 1-2 เดือนข้างหน้า เนื่องจากเป็นตลาดใหญ่ที่น่าสนใจ อีกทั้งจะเพิ่มจุดจำหน่ายสินค้าทั่วประเทศ จาก 5,700 จุด เพิ่มเป็น 6,700 จุด เพื่อให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายและสร้างยอดรายได้มากที่สุด

นายอนุรัตน์ กล่าวต่อว่า จากการรุกทำตลาดให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ในการขายมากขึ้น ส่งผลให้บริษัทฯมียอดขายรวมสิ้นปีนี้เติบโต 30% หรือมีรายได้กว่า 1,000 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาที่มีรายได้ 750 ล้านบาท โดยแบ่งสัดส่วนรายได้ออกเป็น อาหารทะเลแช่แข็งพร้อมปรุง 250 ล้านบาท อาหารทะเลแช่แข็งพร้อมทาน 230 ล้านบาท ซูชิ 250 ล้านบาท และอื่นๆอีก 20 ล้านบาท

“ในปี 2550 คาดการณ์ว่าตลาดโดยรวมยังคงเติบโตได้อีก 30-50% หรือมีมูลค่า 3,000 กว่าล้านบาท เนื่องจากผู้บริโภคสมัยใหม่นี้เริ่มที่จะเข้าใจในตัวสินค้าอาหารสำเร็จรูปแช่แข็งมากขึ้น ประกอบกับไลฟ์สไตล์คนในปัจจุบันมีเวลาจำกัดมากจึงต้องการความสะดวกสบายในการใช้ชีวิต”   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us