"เซ็นทรัลพัฒนา" รายได้ปีนี้โตไม่ต่ำ 40% จากการรับรู้รายได้ 3 ห้างใหม่ พื้นที่รวมกันสองแสนตารางเมตร
ดันมาร์เก็ตแชร์ยืนอันดับหนึ่ง 30% หลังปี 48 เวิลด์เทรด ตัวทำรายได้ หลัก 30%
ตั้งแต่ปีกระแสเงินสดไหลเข้าเฉลี่ย 1,050 ล้านบาท มั่นใจปัญหากับการรถไฟจบ ลงด้วยดี
แม้เลวร้ายที่สุดจะหลุดสัญญา แต่ไม่กระทบรายได้ เพราะเช่าต่อได้อีก 7 ปี เล็งปรับค่า
เช่าเป็นระยะสั้น สร้างรายได้เพิ่มคุมหนี้สินต่อทุนไม่เกิน 1:1 เท่า
นายนริศ เชยกลิ่น รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทเซ็นทรัลพัฒนา จำกัด(มหาชน)
หรือ CPN เปิดเผยว่า รายได้ของบริษัทในปีนี้จะเติบโตไม่ต่ำกว่า 40% จากปี 2545
ที่มีรายได้รวม 3,773 ล้านบาท กำไรสุทธิ 948 ล้านบาท ซึ่งเป็นการรับรู้รายได้ของศูนย์การค้าใหม่ที่เริ่มเปิดตัว
ตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมาจำนวน 3 แห่ง ประกอบด้วย เซ็นทรัล พลาซ่า พระราม2 เซ็นทรัล
แอร์พอร์ท เชียงใหม่ เฟส 2 และศูนย์การค้าเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ ซึ่งมีพื้นที่ให้เช่ารวมกัน
2 แสนตารางเมตร และทำให้ส่วนแบ่งการตลาด(มาร์เก็ตแชร์) ของบริษัทอยู่ในอับดับสูงสุดที่
30% ทั้งนี้ ในส่วนของการเติบโตของอัตรากำไรคงไม่สูงนัก เมื่อเทียบกับการเติบโตของรายได้
เนื่องจากในส่วนของเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ ไม่สามารถทำกำไร ได้ในปีนี้ แต่หลังจากปี
2548 ซึ่งการ ปรับปรุงพื้นที่ของศูนย์การค้าเวิล์เทรดฯแล้วเสร็จศูนยการค้าเวิลด์เทรดจะเป็นตัวที่ทำรายได้หลักให้
กับบริษัทในสัดส่วน 30% เพราะกระแสเงินสดจากทั้ง 3 โครงการจะส่งผลต่อกำไรสุทธิตั้งแต่
ปี 2547-2550 เฉลี่ยปีละ 1,050 ล้านบาท โครงสร้างรายได้ในปี 2548 จะมีการกระจายตัวมากขึ้น
จากเดิมที่โครงสร้างรายได้ กระจุกตัวอยู่ที่เซ็นทรัล ลาดพร้าว สัดส่วน 40% ของรายได้รวม
แต่จะลดลงเหลือ 20% ของรายได้รวม ขณะที่เซ็นทรัล พระราม 2 สัดส่วนรายได้เพิ่ม เป็น
15-16% ที่เหลือมาจากโครงการอื่นๆ
นายกอบชัย จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา กล่าวถึงกรณีปัญหาที่เกิดขึ้นกับการรถไฟแห่งประเทศไทย
ซึ่งเชื่อว่าปัญหาดังกล่าวจะจบลงได้ด้วยดี ในระยะ เวลาอันใกล้นี้ เพราะเป็นเพียงปัญหาระหว่างผู้เช่าและผู้ให้เช่า
ส่วนนายนริศ กล่าวให้ความเห็นว่า ในกรณีที่แย่ที่สุดมีความเป็น ไปได้ที่จะไม่ได้ต่อสัญญา
แต่ในระยะสั้นไม่กระทบกับเป้าหมายราย ได้ที่ตั้งไว้ในปี 2548 เพราะสัญญาเช่าระหว่างเซ็นทรัลกับการถไฟฯยังมีเวลาเช่าได้อีก
7 ปี
นายนริศ กล่าวถึงแผนการลงทุนในปีนี้จำนวนทั้งสิ้น 2,786 ล้านบาท เป็นส่วนของ
เซ็นทรัล พลาซ่า พระราม2 จำนวน 400 ล้านบาท เซ็นทรัล แอร์พอร์ท พลาซ่า เชียงใหม่
เฟส 2 จำนวน 440 ล้านบาท เซ็นทรัล ซิตี้ บางนา 250 ล้านบาท เซ็นทรัลเวิลด์ พลาซ่า(เวิลด์เทรด
เซ็นเตอร์) 1,696 ล้านบาท และโครงการอื่นๆ 100 ล้านบาท โดยศูนย์การค้าเวิลด์เทรด
เซ็นเตอร์ ซึ่งทำสัญญาเช่ากับสำนักทรัพย์สินส่วนพระ มหากษัตริย์เป็นระยะเวลา 30
ปี และสามารถ ต่อสัญญาเช่าได้อีก 30 ปี ใช้เงินลงทุนจำนวน 8,000 ล้านบาท แบ่งใช้ลงทุนในส่วนของชอปปิ้ง
เซ็นเตอร์ จำนวน 5,200 ล้านบาท แล้วเสร็จกลาง ปี 2548 ใช้ในการลงทุนอาคารสำนักงานจำนวน
2,400 ล้านบาท แล้วเสร็จกลางปี 2547 ซึ่งการลงทุนในส่วนของสำนักงานจะร่วมลงทุนกับพันธมิตร
40% ซึ่งนักลงทุนที่เข้ามาเจรจาส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนต่างประเทศ โดยตั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์
5,200 ล้านบาท จะระดมทุน 2,900 ล้านบาทในปีนี้ และ 2,300 ล้านบาทใน ระยะ 1-1.5
ปี
สำหรับอัตราการเช่าพื้นที่ในส่วนของ เวิลด์เทรดหากโครงการแล้วเสร็จสามารถปรับขึ้น
ได้ 30% จากปัจจุบันที่เก็บค่าเช่าที่อัตรา 1,400 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน และศูนย์การค้าเซ็นทรัล
ทุกสาขาสามารถขึ้นค่าเช่าเฉลี่ยปีละ 5% โดยบริษัทมีนโยบายที่จะปรับการให้เช่าเป็นระยะ
3 ปี จากการเช่าพื้นที่ระยะยาว เพื่อให้ง่ายกับการบริหารและควบคุมพื้นที่ได้ง่าย
บริษัทจะควบคุมไม่ให้หนี้สินต่อทุนไม่เกิน 1:1 เท่าจากปัจจุบันที่มีเงินกู้ยืม
7,539 ล้านบาท ขณะที่มีกระแสเงินสด 1,273 ล้านบาท และเมื่อวันที่ 5 มีนาคม ที่ผ่านมาบริษัทได้ออกเสนอขายกองทุนอสังหาริมทรัพย์กองใหม่
จำนวน 1,800 ล้านบาท สำหรับโครงการเซ็นทรัล บางนา เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ตั๋วใช้เงินระยะสั้น
(บีอี) ที่ออกมา 2,407 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้เหลือหนี้สินระยะสั้น 600 ล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นหนี้ระยะยาว