Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์5 มีนาคม 2550
"SHL" ที่ปรึกษาระดับโลกรุกไทยเปิดแบบทดสอบหาคนโดนใจองค์กร             
 


   
search resources

Consultants and Professional Services
เอสเอชแอล กรุ๊ป




พลิกรูปแบบสมัครงานแบบเดิมๆ ที่จดหมายแนะนำตัวอาจไม่สำคัญอีกต่อไป "SHL" ที่ปรึกษาด้านบุคลากร สบช่องช่วยลดเวลางาน HR แถมลดต้นทุนสบายๆ ด้วยข้อสอบออนไลน์ การันตีแบบทดสอบความสามารถและบุคลิกภาพจะช่วยหาคนที่เหมาะสมให้กับองค์กร แต่ไม่ฟันธงว่าคนจะอยู่ได้นานแค่ไหน เพราะปัจจัยภายในบริษัทจะเป็นตัวกำหนด

ในรูปแบบของการสมัครงานแบบเดิมๆ ที่ผู้สมัครงานต้องร่อนจดหมายสมัครงาน แล้ว HR ทำหน้าที่ร่อนตะกร้าเพื่อตะแคงหาคนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุด เพื่อจะมาทำงานในองค์กร จากนั้นก็สัมภาษณ์โดยอาจจะเดาหรือใช้คำถามคุณภาพก็ตามแต่จะเลือก หากโชคเข้าข้างก็จะได้ Talent อย่างที่หวัง แต่ถ้าหากคว้าน้ำเหลว นั่นก็แปลว่าทุกขั้นตอนจะต้องนับหนึ่งใหม่อีกครั้ง

นับว่าเป็นภาระที่หนักของ HR เมื่อผู้สมัครงานฉลาดมากขึ้น พวกเขาสามารถตกแต่งประวัติให้ดูดีได้อย่างไม่มีที่ติ ซึ่งบางคนยอมที่จะเข้าเทรนนิ่งเพื่อให้ได้งาน แต่ฝ่ายที่ตกที่นั่งลำบากก็คือองค์กร เพราะแม้จะได้คนที่มีประวัติแลดูดีแต่สุดท้ายก็ไม่เหมาะกับองค์กร

เทสต์หาคนโดนใจ

มร.อเล็กซ์ ลี ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอสเอชแอล (SHL) กรุ๊ป กล่าวว่า มีแบบทดสอบที่สามารถทำให้องค์กรต่างๆ รู้ว่าจะได้พนักงานเหมาะสมกับลักษณะของธุรกิจ และวัฒนธรรมขององค์กรหรือไม่? โดยใช้แนวคำถามในเชิงจิตวิทยา ซึ่งได้รับการพัฒนามาจากการฝนดินสอ การใช้ปากกา ตอบคำถามด้วยคอมพิวเตอร์จนกระทั่งเป็นระบบข้อสอบออนไลน์ ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในยุโรป อเมริกา เอเชียในแถบประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และกำลังจะเข้ามาในประเทศไทย

ทั้งนี้การพัฒนาของระบบการคัดเลือกบุคคลนี้เกิดขึ้นเพื่อหาคนที่ใช่และเหมาะสมกับองค์กรที่สุด ทั้งด้านศักยภาพการทำงาน บุคลิกภาพ และทัศนคติ และข้อสำคัญคือสามารถทำให้องค์กรย่นเวลาจากขั้นตอนเดิมๆ สู่วิธีการใหม่ที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายให้บริษัท

"SHL เข้ามาอุดช่องว่างที่ว่า HR ต้องค้นหาคนจากกองเอกสารมากมาย โดยเปลี่ยนเป็นประเมินผลคนที่มีความสามารถในการทำงาน ประกอบกับพิจารณาเรื่องCompetency ว่าสามารถทำงานกับองค์กรได้หรือไม่? โครงสร้างขององค์กรเป็นแบบนี้พนักงานสามารถทำงานได้หรือไม่? ด้วยแบบทดสอบออนไลน์"

โดยแบบประเมินแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ แบบทดสอบความสามารถและทดสอบบุคลิกภาพ ซึ่งทั้งสองภาคจะต้องแบ่งออกเป็นกลุ่มๆ อีกต่อหนึ่งตามประเภทของสายงาน และตำแหน่งงาน ทั้งนี้เพื่อที่จะสามารถทำการเปรียบเทียบกลุ่มได้อย่างยุติธรรม

"มาตรฐานที่ใช้กับทุกคนจะต้องเท่าเทียมกัน ยกตัวอย่างเช่น การเปรียบเทียบผลคะแนนกลุ่ม ของคนทำบัญชีหนึ่งคน เมื่อมีการทดสอบแล้วคะแนนที่ได้ในกลุ่มคนที่ทำบัญชีเหมือนกันอยู่ในระดับใด ซึ่งหากอยู่ในกลุ่มคนทั่วไปคะแนนอาจจะอยู่ในระดับสูง แต่เราสามารถบอกได้ว่าในระดับเดียวกัน เขาอยู่ในระดับใด"

มร.ลี กล่าวอีกว่า ภาพรวมใหญ่ในการพัฒนาบุคลากรในองค์กร คือ ถ้าหากเข้าใจว่าศักยภาพของพนักงานมีอะไรบ้างและผ่านขั้นตอนการทดสอบนี้ไปได้ก็ช่วยองค์กรได้มากทั้งด้านต้นทุน และปัจจัยต่อการเติบโต

ขั้นตอนในอดีตที่ผ่านมาของการคัดเลือกบุคลากรนั้น รอบตัดเชือก 5 คนสุดท้ายก่อนจะเข้าชิงเก้าอี้ทำงาน HR จะบอกและตัดสินใจว่าหนึ่งในไม่กี่คนนั้นเป็นคนที่ยอดเยี่ยม ระดับกลาง หรือใช้ไม่ได้ ซึ่งหากมีหัวกะทิมากกว่าหนึ่งก็จะส่งผลดีกับองค์กร แต่ถ้าหากอยู่ในกลุ่มสุดท้ายนั่นหมายถึงว่าบริษัทจะต้องกลับไปเริ่มต้นใหม่

"และหากบริษัทเทรนด์พนักงานหนึ่งคนขึ้นมา จนเป็นมืออาชีพในสายงานนั้นๆ แต่จู่ๆ ก็มีมือดีจากบริษัทอื่นฉกตัวไป นั่นแสดงว่าบริษัทจะต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่ แต่เราจะไปอุดช่องว่าตรงนั้นที่ว่า อยากได้ผู้จัดการแบบไหน พนักงานแบบไหน ละเอียด เป็นผู้นำ รักความสวยงามหรือไม่ ก่อนสัมภาษณ์ก็ต้องดูว่าใครคะแนนใกล้เคียงที่สุด แล้วเลือกคนๆ นั้นออกมา ในระดับความสามารถเท่ากันแต่ก็สามารถเลือกคนที่จะอยู่กับองค์กรได้นานหน่อย ไม่ใช่เทรนด์ได้ซักพักแล้วก็ลาออกไปซึ่งจะไม่เป็นผลดีกับองค์กร"

แต่ในบางกรณีนั้น แม้ว่าองค์กรจะได้คนที่ต้องการให้ร่วมงานด้วยแล้ว สิ่งที่ทำให้พนักงานเหล่านั้นอยู่ในองค์กรได้ไม่นานไม่ได้ขึ้นอยู่กับผลตอบแทน หรือความไม่รักองค์กรเท่านั้น เพื่อนร่วมงาน เจ้านาย เป็นปัจจัยที่ทำให้พนักงานลาออกได้เช่นกัน

ดังนั้นคำถามส่วนใหญ่เป็นจิตวิทยา ซึ่งบางส่วนบางชุดอาจจะเป็นคำถามที่ดูสวยงาม แต่บางชุดก็เลวร้าย แต่อย่างไรก็ต้องตอบเพื่อไปสู่หน้าต่อไป เพื่อบ่งบอกบุคลิกลักษณะนั้นซึ่งจะบอกลักษณะการตัดสินใจ ความเป็นผู้นำ การทำงานภายใต้แรงกดดัน และเรื่องของมนุษยสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและบุคคลภายนอก แต่หากมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับการตอบคำถามก็สามารถพิสูจน์ได้ ด้วยการประเมินผลที่มีระบบป้องกัน

"สมมติว่าผู้ทดสอบมีเพื่อนช่วยตอบคำถามผลก็จะปรากฏออกมาว่าผลไม่มีความสม่ำเสมอ คนตอบไม่มีความเสถียรของบุคลิกภาพของคนนั้นๆ เพราะในข้อที่มีคำถามที่มีลักษณะคล้ายกัน แต่ตอบไม่เหมือนกัน ผลก็จะแสดงความผิดปกติออกมา"

สิ่งที่ SHL ให้ก็คือผลประมวลของบุคคลที่องค์กรคาดหวังว่าจะได้เข้ามาทำงานด้วย ซึ่งแน่นอนว่าอาจจะต้องมากกว่าหนึ่งคน แต่คนสุดท้ายที่จะเลือกว่ารับหรือไม่รับคนเหล่านั้นก็คือบริษัท

อย่างไรก็ตาม SHL จะไม่การันตีว่าจะได้พนักงานที่สามารถเพิ่มผลกำไรให้องค์กรได้ แต่สามารถให้ข้อมูลของคนที่องค์กรต้องการ และมีความเหมาะสมกับองค์กรมากที่สุด เพราะในบางตำแหน่งที่องค์กรต้องการไม่ใช่งานที่สามารถเพิ่มผลกำไรให้บริษัทได้เป็นกอบเป็นกำ แต่แบบทดสอบจะเป็นเหมือนกล้องส่องหาพนักงานที่เหมาะสม

'Talent' คนที่ใช่หรือชอบ

เมื่อเทียบกันแล้วระหว่างแบบทดสอบความสามารถในการทำงานกับแบบทดสอบบุคลิกภาพนั้นจะบ่งชี้ความสำคัญได้ต่างกัน กล่าวคือ บริษัทที่ต้องการพนักงานที่ต้องอาศัยทักษะความสามารถมากๆ เช่นในกลุ่มธุรกิจการเงิน การธนาคาร หรือกลุ่มที่ทำงานเฉพาะทางอย่างวิศวกร ก็จะเน้นที่แบบทดสอบความสามารถเป็นหลัก

แต่สำหรับสายอาชีพที่เน้นเรื่องบุคลิกภาพการทดสอบทัศนคติ และการใช้เหตุการณ์สมมติจึงเป็นสิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญมากกว่า

ดังนั้น Talent ในความหมายของแต่ละองค์กรจึงไม่ใช่คนแบบเดียวกัน ความสามารถเหมือนกัน โดยนัยยะทั่วไปจึงน่าจะเป็นคนที่เหมาะสมกับงานในตำแหน่ง และเหมาะสมกับองค์กรแล้วสามารถทำให้องค์กรเติบโตได้

ดังนั้นบริษัทที่อยากจะใช้แบบทดสอบที่ใช้ประเมินพนักงานดังกล่าวจะต้องกลับมาถามตัวเองก่อนว่าต้องการอะไร อยากได้พนักงานแบบไหน ขนาดขององค์กรอยู่ในระดับใด และพนักงานประเภทใดที่สามารถเข้ามาอยู่ในองค์กรแล้วกิจการเดินได้อย่างไม่สะดุด

มร.ลี ยอมรับว่า ตลาดในเมืองไทยยังใหม่อยู่ แต่การเกิดแบบทดสอบนี้ได้นั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าคือองค์กรต่างๆ ผลการตอบรับในเมืองไทยน่าจะเป็นไปได้ดี เนื่องจากยังไม่มีคู่แข่งทางตรง แต่ก็มีแหล่งที่เป็นทางอ้อมที่ใช้การเทสต์เป็นการวัดบุคลิกภาพ แต่ยังไม่มีการวัดความสามารถในการทำงานซึ่งตลาดการแข่งขันที่ดุเดือดยังอยู่ในแถบยุโรป อเมริกา

สำหรับความต้องการในการใช้บริการในแต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่นในประเทศสิงคโปร์ธุรกิจการเงิน การธนาคารจะเห็นความสำคัญกับการคัดเลือกพนักงานค่อนข้างมาก ในขณะที่ฝั่งยุโรปจะเลือกพนักงานด้านสินค้าอุปโภคบริโภค ธุรกิจน้ำมัน บริษัทยา และส่วนภาคราชการที่จะคัดโดยละเอียดผ่านแบบทดสอบของ SHL

เกี่ยวกับ SHL Group PLC

SHL เป็นผู้ให้บริการด้านการประเมินผลทางจิตวิทยา และให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาบุคลากรชั้นนำระดับโลกมานานกว่า 27 ปี โดยให้การสนับสนุนองค์กรต่างๆ ในการคัดเลือก จัดหาบุคลากร การเลื่อนตำแหน่ง การวางแผนเพื่อบรรลุความสำเร็จ และการพัฒนาความสามารถของแต่ละบุคลากรทุกระดับและทุกหน่วยงาน ตลอดจนการใช้การประเมินผลในที่ทำงาน

ปัจจุบันกำลังจะรุกเปิดตลาดในไทย ซึ่งมีการเปิดตัวแบบการประเมินผลที่เป็นภาษาไทยเมื่อเร็วๆ นี้ ทั้งยังทำงานร่วมกับนักจิตวิทยากว่า 250 คนทั่วโลก เพื่อออกแบบคำถามและประมวลผล   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us