บ้านปูยันต้อง การลงทุนโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหิน เพื่อเกื้อกูลธุรกิจหลัก เตรียมดึงพันธมิตรร่วมลงทุนที่จีนและอินเดียหลังศึกษาถึง
2 ปี แต่เบรกลงทุนในประเทศ ส่วนการขายโรงไฟฟ้าไอพีพีให้ RATCH คาดสรุป มิ.ย.ปีนี้
เผยขณะนี้แต่งตั้ง บริษัทหลักทรัพย์เอบีเอ็น แอมโร เอเซีย และบริษัทหลักทรัพย์
ฟินันซ่า ให้เป็นที่ปรึกษา ทางการเงิน ของโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี เพื่อระดมทุนประมาณ
1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อใช้ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า โวผลประกอบการปีนี้เพิ่มอีก
2.5 พันล้านบาท หลังงวดปี 45 ฟันกำไร1,449 ล้านบาท
นายชนินท์ ว่องกุศลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน)
หรือ BANPU เปิดเผยทิศทางการดำเนินธุรกิจ ไฟฟ้าของบ้านปู หลังจากบริษัทฯได้เซ็นสัญญาบันทึกความเข้าใจเบื้องต้น
ในการขาย 2 โรงไฟฟ้าไอพีพี คือ โรงไฟฟ้าไตรเอนเนอจี้ และโรงไฟฟ้า บีแอลซีพี ให้กับบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง
จำกัด (มหาชน) หรือRATCH เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2546 ว่า ในช่วงที่ผ่านมาบ้านปูได้มีการปรับโครงสร้างในกลุ่มธุรกิจไฟฟ้าใหม่
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและ ไม่ซับซ้อน โดยบริษัทฯยืนยันที่จะลงทุนในธุรกิจไฟฟ้าอยู่
แต่ต้องเป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง เพื่อเกื้อกูลธุรกิจหลักของบริษัทได้
ซึ่งการลงทุนในโรงไฟฟ้านั้น น่าจะเป็นการลงทุนโรงไฟฟ้าใหม่ที่มีแหล่งถ่านหินอยู่ใกล้เคียง
และเป็น การลงทุนในต่างประเทศโดยบริษัทฯ ได้ศึกษามานานถึง 2 ปีที่จะเข้าไปลงทุนในอินเดียและจีน
ในรูปแบบการ ร่วมทุนกับพันธมิตร โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องถือหุ้นใหญ่ คาดว่าจะเห็นบางโครงการในปีนี้
ส่วนดีลที่จะขาย 2 โรงไฟฟ้า ไอพีพีให้กับผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้งนั้น คาดว่าจะได้ข้อสรุปว่าจะมีการขาย
โรงไฟฟ้าเกิดขึ้นหรือไม่ ภายในเดือนมิถุนายนนี้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบสินทรัพย์
ซึ่งยังมีอีกหลายประการที่จะต้องหารือ ทั้งนี้ถ้าการเจรจาสามารถตกลงกันได้ บริษัทบ้านปู
ก็จะขายหุ้นโรงไฟฟ้าไตรเอนเนอจี้ ที่ถืออยู่ทั้งหมด 37.5% ส่วนโรงไฟฟ้าบีแอลซีพีนั้น
บ้านปูถืออยู่ในสัดส่วน 50% อาจจะมีการขายหุ้นไปบางส่วน เนื่องจาก RATCH จำเป็นต้องทำความเข้าใจใน
โครงการบีแอลซีพีอีก
สาเหตุที่ตัดสินใจจะขายหุ้นโรงไฟฟ้าดังกล่าวให้RATCHนั้น เนื่องจากบ้านปูเห็นว่า
RATCH เป็น บริษัทผลิตไฟฟ้าที่มีความแข็งแกร่ง ผู้บริหารดีและมีโอกาสที่พัฒนาไปได้ดีในอนาคต
โดยโรงไฟฟ้าไตรเอนเนอจี้ก็อยู่กับกับโรงไฟฟ้าราชบุรี ซึ่งน่าจะเกื้อกูลกัน อีกทั้งบ้านปูถือหุ้นอยู่ใน
RATCH จำนวน 14.99% และยังไม่ได้หารือว่าจะเพิ่มสัดส่วนการ ถือหุ้นหรือได้สิทธิเป็นกรรมการใน
RATCH แต่อย่างใด
นายชนินท์ กล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมาบริษัท ได้มีการขายหุ้นบริษัทอมตะเบียนหัว
ที่เวียดนาม ซึ่งบริษัทถืออยู่ในสัดส่วน 30% ให้กับนักลงทุนต่างประเทศไปแล้ว หลังจากก่อนหน้านี้ได้ขายหุ้นทั้งหมดในเดอะโคเจเนอเรชั่นไปให้กับแทรคเทอเบล
เราเน้นลงทุนในโรงไฟฟ้าใหม่ที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ส่วนโรงไฟฟ้าเดิมที่เราถือหุ้นอยู่
เรา ก็จะทำให้การถือครองกระชับขึ้น ส่วนโรงไฟฟ้า ทีพีไอนั้นขณะนี้บ้านปูไม่มีความสนใจที่จะเข้าไปลงทุน
อีกต่อไปแล้ว นายชนินท์กล่าว
ตั้งที่ปรึกษาระดมทุนโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี
นายชนินท์ กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้บริษัทฯ ได้แต่งตั้ง บริษัทหลักทรัพย์เอบีเอ็น
แอมโร เอเซีย และบริษัทหลักทรัพย์ ฟินันซ่า ให้เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ของโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี
เพื่อระดมทุน โดยการกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์ทั้งไทยและต่างประเทศประมาณ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
ซึ่งคาดว่าจะกู้ภายในเดือนกรกฎาคมนี้ โดยเงินที่ได้จะนำไปใช้ในการก่อสร้าง โรงไฟฟ้า
โครงการดังกล่าวจะต้องใช้เงินทั้งสิ้น 1,334 ล้าน เหรียญสหรัฐ โดยที่เหลือ 334
ล้านเหรียญ จะเป็นเงินมาจาก ผู้ถือหุ้นของโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี
นายชนินท์ กล่าวถึงแผนการลงทุนในปี 2546 ว่า บริษัทจะมุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจถ่านหิน
และธุรกิจไฟฟ้า โดยมีเป้าหมาย ในการจำหน่ายถ่านหิน ทั้งที่ผลิตจากในประเทศไทยและอินโดนีเซียรวม
15 ล้านตัน แบ่งเป็น สัดส่วนที่ขายในประเทศ 30% ที่เหลืออีก 70% ส่งไปยังต่างประเทศ
โดยในปีนี้บริษัทจะใช้เงิน ลงทุนประมาณ 51 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งแบ่งเป็นการลงทุนในจูล่ง
2 ล้านเหรียญสหรัฐ และ ในอินโดโคล 38 ล้านเหรียญสหรัฐ และในธุรกิจ ไฟฟ้า (บีแอลซีพี)
11 ล้านเหรียญสหรัฐ
รายได้ปีนี้เพิ่มอีก 2.5 พันล้าน
ในปีนี้บริษัทฯคาดว่าจะมีรายได้ 13,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 2,500 ล้านบาท
เนื่องจาก ปริมาณถ่านหินที่ผลิตและขายได้ในปีนี้จะเพิ่มสูงขึ้น ผนวกกับราคาถ่านหินในปีนี้น่าจะดีขึ้นเพราะจะเลือก
ตลาดมากขึ้น แม้ว่าแนวโน้มราคาถ่านหินระยะยาวปีนี้จะต่ำลงกว่าปี 2545 แต่ในปีที่ผ่านมา
บริษัทหันมาส่งออกถ่านหินระยะสั้น (SPOT) ซึ่งมีราคาต่ำอยู่แล้ว ดังนั้นราคาถ่านหินที่จะต่ำลงจึงไม่กระทบต่อผลการดำเนินงานของบริษัทมากนัก
สำหรับตลาดส่งออกถ่านหินปีนี้บริษัทจะเน้นส่งออกไป เกาหลี ไต้หวัน โดยตลาดหลักจะอยู่ที่ญี่ปุ่นประมาณ
30% หรือคิดเป็น 4-5 ล้านตัน
สำหรับผลการดำเนินงานประจำปี 2545 มีผลกำไรสุทธิ 1,449 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว
665 ล้านบาท หรือร้อยละ 85 บริษัทฯ มียอดขายถ่านหินเติบโตขึ้นกว่าเท่าตัวเนื่องจากการลงทุนในเหมืองถ่านหินในสาธารณรัฐอินโดนีเซีย
ทำให้กำลังการผลิตรวมของบริษัทฯ จากแหล่งถ่านหินทั้งในประเทศไทยและสาธารณรัฐอินโดนีเซียเพิ่มจากเดิม
6 ล้านตัน เป็น 13 ล้านตัน
นอกจากนี้บริษัทฯ ยังมีรายได้จากการจำหน่าย แร่อุตสาหกรรมและบริการอื่นจำนวน
291 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3 ของรายได้รวม มีรายได้อื่นจำนวน 1,019 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากการขายทรัพย์สินที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก
ตลอดจนเงินปันผลบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) และอื่น ๆ
บริษัทฯ รับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทร่วม ซึ่งคิดตามสัดส่วนการลงทุนเป็นกำไรจำนวน
452 ล้านบาท โดยเป็นการรับรู้ผลกำไรของบริษัท ไตร เอนเนอจี้ จำกัด จำนวน 533 ล้านบาท
จำแนกเป็นผลกำไรจากการดำเนินงานจำนวน 430 ล้านบาท และกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน
103 ล้านบาท และรับรู้ผลขาดทุนจากการดำเนินงาน ของบริษัทร่วมอื่นรวมเป็นจำนวน 81
ล้านบาท
บริษัทฯ รับรู้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับงวดนี้ จำนวน 616 ล้านบาท เปรียบ
เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีผลกำไร 31 ล้านบาท เป็นผลมาจากค่าเงินรูเปียห์ของสาธารณรัฐอินโดนีเซียที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ