ผ้าไหม สำหรับคนอีสานไม่เพียงแต่ใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มเท่านั้น แต่ยังเป็นผ้า ที่ต้องใช้ประกอบงานพิธีกรรม
งานมงคลต่างๆ เป็นสัญลักษณ์แสดงออกถึงความรักความศรัทธา ที่มีต่อกัน แม่บ้านหรือหญิงสาวทุกครัวเรือนต้องถักทอผ้าไหมให้เป็น
นับเป็นวัฒนธรรม ที่สืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษ
ปัจจุบันแม้บทบาทของผ้าไหมในวิถีชีวิตของคนชนบทจะลดลงด้วยเงื่อนไขทางวัฒนธรรม ที่เปลี่ยนไป
แต่ผ้าไหมได้เข้ามามีบทบาทในทางเศรษฐกิจ และมีแนวโน้มทวีความสำคัญในด้านนี้มากขึ้น
คุณค่าทางสังคม และเศรษฐกิจของผ้าไหมอีสานพบจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในห้วงไม่กี่ปีมานี้เอง
เมื่อสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้รับชาวบ้าน ที่ผลิตผ้าไหมเข้ามาอยู่ในความดูแลของโครงการศูนย์ศิลปาชีพพิเศษบางไทร
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ส่งเสริมพัฒนาด้านการผลิต และรับซื้อนำไปจำหน่ายให้
ส่งผลให้ผ้าไหมอีสานได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย จนกลายเป็นสินค้าส่งออกขึ้นชื่อของประเทศในเวลาต่อมา
จุดเปลี่ยนผ้าไหมไทยได้เกิดขึ้นอีกครั้ง หลังจากเศรษฐกิจของชาติประสบวิกฤติอย่างหนัก
รัฐบาลได้ประกาศจุดยืนใหม่ หันมาให้ความสำคัญกับภาคเกษตรกรรมมากขึ้น ด้วยการส่งเสริมการเลี้ยงไหมให้เป็นอาชีพหลักอีกอาชีพหนึ่งของเกษตรกร
อย่างน้อยเป็นการบรรเทาปัญหาการว่างงานของคนต่างจังหวัด ที่ถูกเลิกจ้างจากภาคอุตสาหกรรมในเมืองใหญ่
ภาคอีสานคือ พื้นที่เป้าหมายหลัก ด้วยความพร้อม ที่มีประชากรวัยแรงงานจำนวนมาก
และเป็นพื้นที่ ที่มีเกษตรกรเลี้ยงไหมมากที่สุดในประเทศ แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ยังใช้วิธีเลี้ยงไหมแบบดั้งเดิม
รัฐจึงมีแผนรื้อโครงสร้างการผลิตไหมครั้งใหญ่ โดยแนะนำให้ใช้ไหมพันธุ์ใหม่ๆ
ที่ให้ผลผลิตเส้นไหมสูง ดูแลบำรุงอย่างถูกหลักวิชาการเกษตร พร้อมทั้งนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการผลิตมากขึ้น
เพื่อผลักดันให้ผ้าไหมเป็นสินค้าส่งออกระดับแถวหน้าในกลุ่มสินค้าเศรษฐกิจหลัก
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันแม้ไทยจะสามารถส่งออกผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมได้ปีละกว่า
800 ล้านบาท แต่วัตถุดิบ ที่เป็นเส้นไหมต้องนำเข้าจากต่างประเทศสูงกว่า 500
ล้านบาทต่อปี เพราะการผลิตเส้นไหมภายในประเทศได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ
คือ ผลิตได้เพียง 70% ของความต้องการจริงเท่านั้น อีก 30% ต้องสั่งนำเข้าจากประเทศจีน
เวียดนาม และอินเดีย
นโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการให้เกษตรกรหันมาปลูกหม่อนเลี้ยงไหมมากขึ้น โดยอาศัยแรงงาน ที่มีอยู่เป็นฐานกำลังในการเพิ่มผลผลิตเส้นไหม เพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ไหมส่งออก
นำเงินตราต่างประเทศเข้ามาเสริมกับการส่งออกพืชเศรษฐกิจตัวอื่นๆ นั้น อีกด้านหนึ่งก็ต้องการสร้างความได้เปรียบ
ในช่วงจังหวะ ที่ประเทศคู่แข่งส่งออกไหมคือ จีน กำลังประสบปัญหาแรงงาน เพราะภายหลังจีนเปิดประเทศแล้ว
แรงงานจีนจากพื้นที่ชนบทจำนวนไม่น้อยได้หันหลังให้กับงานภาคเกษตร เดินทางเข้าเมืองใหญ่รับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรมแทน
ทั้งนี้กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ของไทย ได้คาดหวังอัตราการเพิ่มผลผลิตไหมไทยไว้ในระดับอย่างน้อย
13.9% ต่อปี เพื่อเพิ่มปริมาณการส่งออกให้มากกว่าเดิม โดยหวังจะแซงคู่แข่งเช่นประเทศจีนให้ได้ในอนาคต
การสนับสนุนส่งเสริมการผลิตไหมของรัฐบาลไทยนั้น จะดำเนินงานภายใต้เครือข่ายศูนย์วิชาการ และศูนย์ไข่ไหมพันธุ์ดี
9 ศูนย์ทั่วประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ 48 จังหวัด ใน 9 ศูนย์ดังกล่าวจะตั้งอยู่ในพื้นที่ภาคอีสาน
5 ศูนย์ คือ ที่จังหวัดศรีษะเกษ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดขอนแก่น และร้อยเอ็ด
ที่เหลืออีก 4 ศูนย์อยู่ในจังหวัดชุมพร น่าน กาญจนบุรี และสระบุรี