|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
*ฮอนด้า ถ่ายทอดกลยุทธ์ CSR ภูมิสังคม สิ่งที่ต้องการและบริษัทช่วยอะไรได้บ้าง
*กะเทาะแก่นทำงาน after-process ปลุกจินตนาการผ่าน “อาซิโม”
*In-process ลดมลพิษรัดเข็มขัดการผลิตด้วยรีไซเคิลซึมซับจิตสำนึกพนักงาน
*พร้อมประยุกต์ปรัชญาพ่อหลวงลับคมคิดโรงเรียน ชุมชน
ขณะนี้หลายองค์กรที่คิดจะเริ่มวางแผนงานความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมหรือ CSR (Corporate Social Responsibility) ไม่ว่าจะเป็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติหรือส่งเสริมเยาวชนเพื่อการศึกษา ซึ่งหลายองค์กรที่เป็นบริษัทข้ามชาติกระทั้งหน่วยงานที่บริหารงานแบบไทยๆต่างนำมาใช้อย่างไม่คาดคิดถึงความเหมาะสมทางภูมิสังคม
“ฮอนด้า” เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่ฟูมฟักกระบวนการความคิด CSR โดยจะเป็นต้นแบบให้กับหลายองค์กรได้ปรับแนวคิดการบริหารตามสถาพสังคมวัฒนธรรมในประเทศ เพื่อไม่ให้เม็ดเงินและเวลาสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์
“ฮอนด้า”CSR เพื่อชุมชน
อดิศักดิ์ โรหิตะศุน รองประธานกรรมการบริหารอาวุโส บริษัท เอเชี่ยนฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด เล่าว่า การบริหารงานความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมหรือ CSR เป็นนโยบายที่ บริษัทฮอนด้าทั่วโลกต่างมีวิสัยทัศน์เดียวกันคือสร้างคุณค่าใหม่ (Value Creation) และนำวิสัยทัศน์สู่สากล (Globalization) รวมถึงพันธสัญญาต่อชนรุ่นหลัง (Commitment to the future) ซึ่งการทำภายใต้แนวคิดภูมิสังคมของกลุ่มเป้าหมายไม่ใช้สักแต่ทำโดยจะต้องถามสังคมก่อนว่าต้องการอะไรและบริษัทสามารถช่วยเหลือสังคมได้อย่างไร
จาการสำรวจความต้องการของสังคมไทยเพื่อทำCSRนอกกระบวนการผลิต (after-process) พบว่ามีความต้องการช่วยเหลือด้านการศึกษาบริษัทจึงพยายามจัดกิจกรรมจูงใจให้เยาวชนมีความอยากเรียนรู้และพัฒนาจินตนาการสู่แนวคิดที่เป็นรูปธรรมเช่น กิจกรรมหุ่นยนต์อาซิโมกับการรณรงค์เพื่อความสนในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยจัดการการแสดงให้กับเยาวชนทั่วประเทศและมีการประกวดโมเดลทางความคิดสร้างสรรค์จินตนาการเพื่อสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถเคลื่อนไหวได้ ซึ่งผู้ชนะเลิศจะได้ไปพบกับทีมงานผู้สร้างหุ่นยนต์อาซิโมที่ญี่ปุ่นโดยได้รับการตอบรับจากเยาวชนทั่วทุกภูมิภาคเช่น ผลงานจากเยาวชนภาคใต้ที่ประสบภัยสึนามิพยายามสร้างจินตนาการผ่านแบบจำลองที่ต้องการให้มีอุปกรณ์ตรวจวัดลักษณะคล้ายปลากระเบนสามารถส่งสัญญาณเตือนภัยเมื่อเกิดคลื่นสึนามิ ซึ่งอนาคตเด็กเหล่านั้นอาจนำไปสานต่อเพื่อให้เป็นจริง
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ตัวแทนจำหน่ายของฮอนด้าในต่างจังหวัดมีการตื่นตัวกับการรับผิดชอบต่อสังคมภายในพื้นที่ของตนมากขึ้น เริ่มจากพยายามชี้แนะให้ลูกค้าที่ซื้อรถขับขี่อย่างปลอดภัยขณะเดียวกันก็ส่งเสริมองค์ความรู้ให้กับสถาบันการศึกษาภายในพื้นที่การมีส่วนร่วมกับกิจกรรมแข่งขันประดิษฐ์รถยนต์ประหยัดน้ำมัน ซึ่งสถาบันที่ไม่มีทุนซื้อเครื่องยนต์บริษัทจะสนับสนุนเครื่องยนต์เพื่อพัฒนาและให้เงินสนับสนุนส่วนหนึ่ง แต่การเข้าไปช่วยเหลือจะเป็นเพียงขั้นพื้นฐานในการสร้างนวัตกรรมซึ่งจะเน้นให้สถาบันช่วยเหลือตนเองเพื่อให้เกิดองค์ความรู้จะติดตัวนักศึกษาที่มีประโยชน์สามารถนำมาใช้ได้ในการประกอบอาชีพ เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมได้รับผลการตอบรับอย่างดีกว่า10ปีที่ผ่านมา
อดิศักดิ์ กล่าวถึง แนวทางการบริหารงานที่เน้นตามสภาพภูมิสังคมในแต่ละประเทศพบว่าบางประเทศสามารถนำนวัตกรรมจากการทำCSR มาปรับใช้ได้กับอีกประเทศที่มีภูมิศาสตร์คล้ายกัน ซึ่งบริษัทแม่ที่ญี่ปุ่นมีการจัดทำเอกสารการพัฒนานวัตกรรมของแต่ละประเทศเพื่อรักษาองค์ความรู้ให้คงอยู่กับองค์กรฮอนด้าทั่วโลก ขณะที่อนาคตอาจมีการจัดประชุมเพื่อเชื่อมโยงองค์ความรู้ของฮอนด้าให้มีความเข็มแข็งเชื่อมโยงกันยิ่งขึ้น เช่น ฮอนด้าในประเทศจีนประสบปัญหาจากฝุ่นที่พัดมาจากทะเลทรายแต่ค้นพบว่าการที่จะป้องกันต้องปลูกต้นไม้เพื่อป้องกันฝุ่น การค้นพบดังกล่าวอาจนำมาแลกเปลี่ยนความรู้กับประเทศแถบทะเลทรายให้เกิดการนำมาใช้อย่างเหมาะสมเพื่อไม่ให้สิ้นเปลืองเงินที่ต้องใช้ระยะเวลาในการวิจัยซ้ำ
CSR ตามพ่อหลวงเพื่อสิ่งแวดล้อม
อดิศักดิ์ กล่าว่า และสำหรับเรื่องสิ่งแวกดล้อมนั้นพบว่าสภาพแวดล้อมขณะนี้ได้รับผลกระทบอย่างมากจากการใช้อย่างไม่รู้คุณค่าบริษัทจึงได้จัดการประกวดโครงการโรงเรียนสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมดีเด่น เฉลิมพระเกียรติ ครั้งที่ 4 ภายใต้แนวคิดตามรอยเท้าพ่อ...กับฮอนด้า ส่งเสริมให้นำแนวพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมประเภทการจัดพลังงาน,น้ำเสีย,ขยะ นำไปปฏิบัติประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชุมชนอย่างพอเพียงตลอดจนเสริมสร้างความเข้มแข็งพัฒนาการเรียนบริหารจัดการให้เป็นศูนย์กลางและแหล่งเรียนรู้พร้อมรักษาความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่
ทั้งนี้ การเข้าร่วมโครงการในปีนี้มีโรงเรียนเข้าร่วม 627 โรงเรียนทั่วประเทศคิดเป็น 69.9% ไม่เคยเข้าร่วมโครงการกับฮอนด้าและอีก 30% เคยเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวและต้องการจะสานต่อความสำเร็จในการจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งกิจกรรมกำจัดขยะเป็นที่นิยมมากที่สุด รองลงมาคือการกำจัดน้ำเสียและพลังงานขณะนี้การดำเนินโครงการผ่านขั้นตอนคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบ 60 โรงเรียน เพื่อรับทุนสนับสนุนโรงเรียนละ 10,000 - 60,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 3 ล้านกว่าบาท รอบต่อไปโรงเรียนที่ผ่านคัดเลือกจะได้เรียนรู้การจัดการทรัพยากรธรรมชาติผ่านศูนย์พัฒนาตามแนวพระราชดำริในแต่ละภูมิภาค ตลอดจนรับความรู้จากวิทยากรของกระทรวงพลังงาน กระทรวงทรัพยากร กระทรวงเกษตรกรรม เพื่อคัดเลือกให้เหลือเพียง 3 โรงเรียนที่โดดเด่นในการจัดการแต่ละประเภท ซึ่งขั้นตอนสุดท้ายจะคัดเลือกเพียงหนึ่งโรงเรียนต้นแบบ
จากการดำเนินโครงการที่ผ่านมา 3 ปี โรงเรียนที่เข้าร่วมได้มีการบูรณาการสภาพแวดล้อมร่วมกับประชาชนในชุมชนเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนาโดยจะมีการประชุมร่วมกันอยู่เสมอ ซึ่งขณะนี้มีกว่า 540 โรงเรียนสามารถสร้างเครือข่ายที่ตระหนักถึงคุณภาพชีวิตเคียงข้างกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงโรงเรียนที่ผ่านโครงการสามารถเป็นต้นแบบให้กับโรงเรียนในเขตอำเภอตลอดจนจังหวัดในการนำไปเป็นต้นแบบของการพัฒนา
เทคโนโลยีสะอาดเพื่อสังคม
อดิศักดิ์ กล่าวว่า สำหรับ CSR ในกระบวนการ (In-Process) คือ การจัดการ CSR ภายในตั้งแต่ต้นน้ำขององค์กรก่อนออกสู่สังคม ตั้งแต่สวัสดิการพนักงาน การรีไซเคิลขยะ ฯลฯ และสำหรับฮอนด้านั้นได้นำผลิตภัณฑ์ไม่ได้คุณภาพมารีไซเคิลเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้งาน รวมถึงนำกล่องกระดาษและบรรจุภัณฑ์พลาสติกเหลือใช้กลับมาใช้งานใหม่เพื่อลดปริมาณขยะที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนค้นคว้าวกระบวนการผลิตเครื่องยนต์ที่มีความปลอดภัยต่อผู้ขับขี่และวิจัยเครื่องยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อลดมลพิษทางอากาศ
ด้านพนักงานบริษัทพยายามซึมซับความรับผิดชอบต่อสังคมเริ่มจากการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเอดส์ที่วัดพระบาตรน้ำพุทุกปี โดยส่งเสริมให้พนักงานที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีช่วยกันสร้างเตาเผาศพที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศพร้อมทั้งซึมซับความรับผิดชอบต่อสังคมให้เกิดภายในตัวพนักงาน เป็นผลให้พนักงานตื่นตัวโดยต่อมาได้จัดตั้งชมรมสื่อสัมพันธ์เพื่อตระเวนช่วยเหลือโรงเรียนที่ยากไร้ขาดแคลนอุปกรณ์การเรียนในชนบทเพื่อนำเงินจากการเรี่ยไรพนักงานในบริษัทและตัวแทนจำพหน่ายไปช่วยเหลือให้เกิดประโยชน์สูงสุด
“สำหรับชุมชนและโรงเรียนรอบโรงงานผลิตรถยนต์ของฮอนด้าทั้งโรงงานเดิมที่สมุทรปราการและรอบนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบังได้จัดกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ให้ความรู้ในการจัดการขยะอย่างถูกวิธีเพื่อปลูกฝังนิสัยอันดีต่อเยาวชนรุ่นหลัง และให้ทุนการศึกษาแก่โรงเรียนโดยรอบปีละ 13-14 โรงเรียนเป็นระยะเวลา15 ปีที่ดำเนินการ”
กระนั้นการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรไม่ว่าระดับพี่เบิ้มหรือระดับเล็กควรเริ่มจากกระบวนการผลิตภายในสายการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนใกล้เคียงมากกว่าเป็นการวางแผนงานสร้างมโนภาพลวงหลอกสังคม
เผยเคล็ดโรงเรียนในฝัน
ประชุม จำปานิล ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดประชุมชน จังหวัดสุพรรณบุรี เล่าถึงความสำเร็จที่ได้รับคัดเลือกเป็นหนึ่งใน60โรงเรียนที่เข้ารอบโครงการโรงเรียนสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมดีเด่น เฉลิมพระเกียรติ ครั้งที่ 4 โดยดำเนินงานโครงการธนาคารขยะที่นักเรียนทุกคนต้องเป็นสมาชิกของธนาคารเพื่อนำขยะมาฝากและแลกเปลี่ยนเป็นเงิน ซึ่งตอนเริ่มโครงการโรงเรียนจะเรียกประชุมทำความเข้าใจกับครูทุกเพื่อวางแผนวิสัยทัศน์ร่วมกัน หลังจากนั้นจะมีการเข้าค่ายพักแรมของนักเรียนอบรมการจัดการสิ่งแวดล้อม
ขณะเดียวกันก็ได้รับความร่วมมือจากองค์การบริหารส่วนตำบลให้ทุนสนับสนุนในการอบรมชาวบ้านในพื้นที่ให้มีการบริหารจัดการขยะเพื่อนำมาสร้างมูลค้าเป็นปุ๋ยชีวภาพ โดยประชาชนในพื้นที่ทำอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่จะเป็นประโยชน์ให้ไม่ต้องเสียเงินซื้อปุ๋ยเคมีที่มีราคาแพง
โดยหลังจากได้รับเงินทุนของฮอนด้าจะนำไปสร้างธนาคารขยะเพื่อรองรับกับการขยายาตัวตามแนวพระราชดำริที่จะให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมมากซึ่งจะมีการจัดค่ายรักษาสิ่งแวดล้อมครอบครัวขึ้น โดยจะสร้างรากฐานครอบครัวในชุมชนให้ตระหนักถึงการจัดการขยะให้เกิดชุมชนที่เข็มแข็ง
จากโครงการจัดการสิ่งแวดล้อมของฮอนด้าทั้งการกำจัดขยะ น้ำเสีย และพลังงาน เป็นผลหลายโรงเรียนตื่นตัวที่จะสร้างนวัตกรรมจัดการสภาพแวดล้อมซึ่งควรที่จะมีสื่อซีดี หรือเอกสารเพื่อเผยแพร่ความรู้ให้กับโรงเรียนทั่วประเทศที่สนใจในการต้อยอดความรู้
“เราไม่มีอะไรตอบแทนให้นอกจากความสุขที่จะร่วมกัน ในการทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น”
พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เมื่อครั้ง ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล รับใช้เบื้องพระยุคลบาตร
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุลประธานมูลนิธิอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ให้ทรรศนะการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีควรเริ่มจากชุมชนตลอดจนโรงงานอุตสาหกรรมไม่ควรเห็นประโยชน์ส่วนตนเป็นใหญ่ แต่ควรที่จะพัฒนาจิตสำนักต่อส่วนรวมในกระบวรการผลิตตลอดจนพนักงานผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งปัจจัยการจัดการองค์ความรู้เป็นส่วนสำคัญที่ต้องควบคู่กับการใช้ปัญญาอย่างสอดคล้องภายใต้ภูมิสังคมขณะเดียวกันปัจจุบันประเทศไทยพยายามใช้เทคโนโลยีทันสมัยนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อจัดการด้านสิ่งแวดล้อมส่งผลให้เกิดการสิ้นเปลืองเห็นได้ว่าประเทศเราพลังงานกว่า 90% โดยไม่หันกลับมามองกระบวนการจัดการโดยธรรมชาติ
อย่างไรก็ตาม กระบวนจัดการทรัพยากรธรรมชาติภายในชุมชนจำเป็นอย่างยิ่งที่ชุมชน วัด และโรงเรียน ซึ่งเป็นแหล่งบ่มเพาะความรู้ให้กับประชาชนภายในท้องถิ่นผ่านกระบวนการปฏิสัมพันธ์เพื่อให้รู้ต้นสายปลายเหตุของการจัดการธรรมชาติตลอดจนทำอย่างมีฉันทะคือความรักที่จะสร้างความสามัคคีภายในชุมชนที่ยังผลต่อความยั่งยืน
|
|
|
|
|