Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์26 กุมภาพันธ์ 2550
"ทวี ปิยะพัฒนา" กับการนำพา "PFP" ฝ่าวิกฤตค่าเงิน-ไฟใต้             
 


   
search resources

แปซิฟิคแปรรูปสัตว์น้ำ, บจก.
ทวี ปิยะพัฒนา




ท่ามกลางวิกฤตการณ์มากมายที่รุมเร้าอยู่ในขณะนี้ ทั้งที่เกิดจากภายในและนอกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นความผันผวนของค่าเงินบาท ภาวะขาดแคลนแรงงาน ขาดแคลนวัตถุดิบ อีกทั้งยังถมทับด้วยสถานการณ์ไฟใต้ แต่ "ทวี ปิยะพัฒนา" ในฐานะผู้กุมบังเหียนกลุ่มธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปครบวงจรเครือ PFP ที่มีฐานที่มั่นอยู่ในพื้นที่ชายแดนใต้ ก็สามารถนำพาอาณาจักรธุรกิจแห่งนี้ให้ก้าวพ้นนานาวิกฤตเหล่านั้นไปได้ด้วยดี แถมยังสามารถเผื่อแผ่ไปเล่นบทผู้นำภาคเอกชนช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาและคลี่คลายปัญหาให้กับผู้ประกอบการรายอื่นๆ ได้อย่างชนิดที่ต้องจับตามมองอีกด้วย

ทวี ปิยะพัฒนา กรรมการผู้จัดการเครือบริษัท แปซิฟิคแปรรูปสัตว์น้ำ จำกัด (PFP) เปิดเผยกับ "ผู้จัดการรายสัปดาห์" ถึงปัญหานานาชนิด ที่กำลังรุมกระหน่ำธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปโดยรวมอยู่ในขณะนี้ว่า มีมาจากหลากทิศหลายทาง ทั้งที่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นภายในประเทศเอง และเป็นปัญหาที่มีผลกระทบมาจากต่างประเทศ

ที่ต้องนับว่าเป็นปัญหาขั้นวิกฤตแล้วคือ ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ซึ่งประมาณว่าในภาคใต้มีตัวเลขสูงถึงประมาณ 3 แสนคน ปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ ที่กระทบหนักคือสัญญาจับสัตว์น้ำในน่านน้ำประเทศอินโดนีเซียของกองเรือประมงไทยได้หมดลงแล้ว อีกทั้งยังมีปัญหาการก่อความไม่สงบในพื้นจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปถึงปัจจัยอื่นๆ ด้วย

อย่างไรก็ตาม ในความเห็นของทวี ปัญหาสำคัญที่สุด คือความผันผวนของค่าเงิน อันเป็นผลมาจากเราถูกกองทุนการเงินนอกประเทศประเภทเฮดจ์ฟันเข้าโจมตี ส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัญหานี้ปรากฏชัดเมื่อช่วงไตรมาสที่สองของปี 2548 จากนั้นไตรมาสที่สามเป็นต้นมาก็ทวีความรุนแรงหนักขึ้นเรื่อยๆ โชคดี ที่รัฐบาลขยับตัวแก้ไขสถานการณ์ โดยออกมาตรการมาสกัดปัญหาได้ทันท่วงที

"ผมเชียร์มาตรการของแบงก์ชาติ ที่ให้สำรองเงินทุนนำเข้าจากต่างชาติ 30% เต็มที่ อยากจะให้กำลังในรัฐบาลเต็มที่ อาจจะมีเสียงค้านอยู่ก็จริง แต่ทำไมเราต้องยอมให้ฝรั่งต่างชาติมันข่มขู่เรา เรื่องนี้ผมรู้สึกโกรธมาก มาตรการนี้ในตอนนี้ถือว่าถูกต้อง ได้ผลและเหมาสมกับสถานการณ์ แต่พอถึงวันนี้เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไปก็มีการคลี่คลายไปแล้ว ซึ่งก็ถูกต้องอีกเช่นกัน"

ยอดขายโต แต่รายได้หดกว่า

ในส่วนของธุรกิจเครือ PFP ทวี กล่าวว่า แม้จะถูกวิกฤตปัญหาต่างๆ รุนเร้าเช่นเดียวกับผู้ประกอบการรายอื่นๆ แต่ PFP ก็สามารถฟันฝ่าวิกฤตเหล่านั้นมาได้ โดยเน้นการปรับตัวภายในองค์กรให้สอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ทำให้สามารถควบคุมปัจจัยของปัญหาต่างๆ ไม่ให้ส่งผลกระทบหนัก และมีการใช้มาตรการประกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นด้วย สิ่งเหล่านี้เองที่ทำให้ PFP ยังสามารถก้าวเดินไปข้างหน้าด้วยความมั่นคง แม้จะมีผลกระทบปรากฏให้เห็นบ้างก็ตาม

"ปกติเครือ PFP ของเราจะมีอัตราการเติบโตแต่ละปีเฉลี่ยประมาณ 10% พอช่วง 2-3 ปีที่วิกฤตหนักขึ้นอัตราการเติบโตอาจจะลดลงไปบ้าง แต่ก็ไม่เคยต่ำกว่า 5-6% ทว่าช่วงปี 2548 ที่เพิ่งผ่านมายอดขายโดยรวมของเครือเรายังคงเติบโตประมาณ 10% แต่พอเกิดภาวะเงินบาทแข็งตัว ตอลดปี 2548 รายได้ที่เป็นเม็ดเงินกลับลดลงถึงประมาณ 12% เพราะสินค้าของ PFP ส่วนใหญ่ส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ"

กรรมการผู้จัดการเครือ PFP กล่าวว่า ในช่วงปีที่ผ่านมาที่ไทยถูกโจมตีค่าเงิน เงินบาทเคยอยู่ที่เกือบ 40 บาท/ดอลลาร์ กลับแข็งตัวขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 35 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งเวลานี้ก็ยังเฉลี่ยอยู่ที่อัตรานี้ แต่หากค่าเงินบาทแข็งตัวขึ้นอีกเมื่อใด โดยไปอยู่ที่ประมาณ 32 บาท/ดอลลาร์ เชื่อว่าผู้ประกอบการธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปคงต่อสู้สักประมาณ 6 เดือน หลังจากนั้นจะต้องพังกันเป็นแถบไปเลย

ตั้งเป้ายอดขายปีนี้ 2.8 พันล้าน

ทวี กล่าวต่อไปว่า ในปี 2548 เครือ PFP มียอดขายโดยรวมอยู่ที่ประมาณ 2.3-2.4 พันล้านบาท ส่วนปี 2549 ที่เพิ่งผ่านมามียอดขายเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 2.5 พันล้านบาท แบ่งเป็นจากตลาดภายในประเทศประมาณ 8 ร้อยล้านบาท และจากตลาดต่างประเทศ 1.7 พันล้านบาท สำหรับปี 2550 นี้เครือ PFP ตั้งเป้าว่ายอดขายน่าจะเติบโตขึ้นได้ประมาณ 10% หรือมียอดตัวเลขอยู่ที่ประมาณ 2.8 พันล้านบาท โดยสัดส่วนของตลาดต่างประเทศก็น่าจะยังมากกว่าในประเทศในอัตราใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา

ส่วนจะทำยอดขายได้ตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่นั้น กรรมการผู้จัดการเครือ PFP ชี้ว่า ในเรื่องตลาดรองรับนั้นมีความแน่นอนอยู่แล้ว แต่ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ด้วย โดยเฉพาะการผันผวนของค่าเงินถือว่ามีความสำคัญมากที่สุด แต่ก็ได้มีการดำเนินประกันความเสี่ยงไว้แล้ว อีกทั้งบริษัทยังพยายามถือเงินในสกุลที่มีความหลากหลายตามประเทศที่เป็นเป้าหมายทางการตลาดด้วย ซึ่งนอกจากยูเอสดอลลาร์แล้วก็มีดอลลาร์ออสเตรเลีย ยูโร หรือแม้กระทั่งเงินริงกิตของมาเลเซีย และประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ายอดขายในปีนี้ไม่น่าจะผิดไปจากเป้าหมายที่วางไว้ เนื่องจากเชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะสามารถควบคุมค่าเงินบาทไม่ให้ผันผวนไปมากกว่านี้ เพราะหากปล่อยให้ค่าเงินแข็งตัวขึ้นอีก ไม่เฉพาะอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลเท่านั้นที่จะกระทบ แต่อุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบในประเทศมีอันจะต้องพังทั้งระบบแน่นอน แล้วจะกระทบถึงประชาชนทุกกลุ่มเป็นลูกโซ่ไปด้วย โดยเฉพาะราคาพืชผลทางการเกษตรจะต้องต่ำต่ำลงอย่างแน่นอน

จี้รัฐเพิ่มช่องต่อลมหายใจธุรกิจจ.ชายแดนใต้

นอกจากนี้ ทวี ในฐานะที่เป็นประธานสภาอุตสาหกรรมภาคใต้ ในบทบาทแกนนำภาคเอกชนที่เขาเล่นมาหลายปีแล้วนั้น ที่ผ่านมาเขาได้ร่วมผลักดันให้ภาครัฐออกมาตรการหนุนช่วยผู้ประกอบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มาอย่างต่อเนื่อง และเพิ่งจะเป็นผลเมื่อช่วงเดือนมกราคม 2550 นี้เอง โดยผ่านการประสานหน่วยงานพิเศษในพื้นที่ที่เพิ่งได้รับการฟื้นคืนชีพมาใหม่อย่าง ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จนเป็นผลไปบ้างแล้ว

สำหรับความช่วยเหลือผู้ประกอบการในพื้นที่ชายแดนใต้ ที่รัฐไฟเขียวให้แล้ว อาทิ ครม.รับรองให้จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ซึ่งได้มีการออกมาตรการช่วยเหลือต่างๆ แล้ว อาทิ ขยายเวลาเงินกู้ซอฟต์โลนอัตราดอกเบี้ยต่ำ ลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 30% เหลือ 3% อุดหนุนวงเงินประกันการก่อการร้าย ผ่อนคลายปัญหาแรงงานต่างด้าว เป็นต้น

ทวี กล่าวว่า ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2550 สภาอุตสาหกรรมภาคใต้จะร่วมกับแกนนำภาคเอกชนอื่นๆ ในนามคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) ผลักดันให้รับเพิ่มมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการในชายแดนใต้อีกระลอก โดยจะยื่นเป็นหนังสือให้กับรัฐบาลอย่างเป็นทางการ โดยเฉพาะใน 3 ประเด็นปัญหาที่ยังไม่ได้รับการดูแล ประกอบด้วย

1. ขยายพื้นที่เพิ่มในส่วนของมาตรการประกันการก่อการร้าย จาก 4+4 หรือแค่ 4 จังหวัดคือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาสและสตูล กับอีก 4 อำเภอของ จ.สงขลาคือ จะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย ให้ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือรวมพื้นที่ จ.สงขลาทั่งจังหวัด 2. ให้รัฐบาลงดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่มีถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่ชายแดนใต้เป็นเวลา 3 ปี และ 3. ให้รัฐบาลจัดงบประมาณจ่ายเงินค่าประกันสังคม 5% เข้ากองทุนประกันสังคมแทนลูกจ้างในพื้นที่ชายแดนใต้

"ถ้าทำได้ก็จะเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการภาคเอกชน และรวมถึงประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งหมดด้วย ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการดับไฟใต้อย่างแน่นอน อย่างน้อยการพัฒนาในส่วนของธุรกิจและเศรษฐกิจก็จะไปช่วยคลี่คลายปัญหาความรุนแรงในพื้นที่ อันจะนำไปสู่การดับไฟใต้ให้รวดเร็วขึ้นได้อีก" ทวี กล่าวและเสริมว่า

นอกจากนี้แล้ว ในฐานะประธานสภาอุตสาหกรรมภาคใต้ จึงยังอยากเสนอรัฐบาลที่มีแผนจะปัดฝุ่นโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ หรือโครงการเซาเทิร์นซีบอร์ดขึ้นมาใหม่ อยากให้มีการเลื่อนพื้นที่ที่จะทำโครงการจากภาคใต้ตอนบนลงมายังพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างแทน โดยเฉพาะให้มีท่าเรือเชื่อมฝั่งอ่าวไทยกับอันดามันที่สงขลาและสตูล เพราะจะถือเป็นอีกมาตรการความช่วยเหลือของรัฐบาลต่อการแก้ปัญหาไฟใต้ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อทั้งผู้ประกอบการธุรกิจ และประชาชนทั่วไปในพื้นที่ชายแดนใต้อีกด้วย

สำหรับเครือ PFP เกิดขึ้นในปี 2527 ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยในเขต อ.เมือง จ.สงขลา โดยเกิดบริษัท แปซิฟิคแปรรูปสัตว์น้ำ จำกัด เป็นแห่งแรก ผลิตเนื้อปลาบดแช่แข็ง หรือซูริมิ (Surimi) เพื่อการส่งออกเท่านั้น จากนั้นปี 2531 ตามด้วยบริษัท อุตสาหกรรมปลาป่นแปซิฟิค จำกัด ทำโรงงานผลิตปลาป่นใช้วัตถุดิบจากโรงงานผลิตซูริมิกำลังผลิตมากกว่า 1 หมื่นตันต่อปี

ปี 2535 เครือ PFP ขยายไลน์ผลิตอาหารสำเร็จรูปที่ใช้ซูริมิเป็นวัตถุดิบ หรืออาหารพร้อมปรุงประเภท คามาโบโกะ เช่น ปูอัด ชิกูว่า เต้าหู้ปลา ก้ามปูเทียม พร้อมขยายตลาดในประเทศ ส่งผลให้ในปี 2543 ต้องตั้งบริษัท พี.เอฟ.พี. เทรดดิ้ง จำกัด ขึ้นมาเพื่อรองรับการขยายตัวของตลาดภายในประเทศโดยเฉพาะ ปัจจุบัน PFP ถือเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทะเลแช่แข็งของไทย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us