Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์26 มกราคม 2550
ธุรกิจประกันภัยสัตว์เลี้ยง ไม่ใช่ตลาดเล็กๆ             
 


   
search resources

Insurance
Pet & Animal




ธุรกิจการประกันภัยที่จัดโปรแกรมเพื่อดูแลสุขภาพและสิ่งไม่คาดหมายที่จะเกิดขึ้นกับสัตว์เลี้ยงแสนรัก เป็นหนึ่งในธุรกิจที่พัฒนามาหลายปีในสหรัฐฯ และแคนาดา และยอดการเอาประกันก็เพิ่มขึ้นในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความสนใจที่เพิ่มขึ้นในการทำประกันเพื่อสัตว์เลี้ยงของเจ้าของสัตว์เลี้ยง แต่กระนั้นก็ตาม นักการตลาดระดับโลกส่วนใหญ่ก็ยังเห็นว่าหนทางแห่งความสำเร็จของธุรกิจประกันภัยสำหรับสัตว์เลี้ยงยังอยู่อีกห่างไกลมาก ในอัตราไม่ถึง 10% เมื่อเปรียบเทียบกับความก้าวหน้าในอังกฤษ ซึ่งมีเจ้าของสัตว์เลี้ยงยอมทำประกันภัยถึง 25% หรือเทียบกับ 50% ในสวีเดน

สิทธิประโยชน์จากการเอาประกันภัยสัตว์เลี้ยง ดูเหมือนว่าจะแทบไม่แตกต่างจากการประกันภัยส่วนบุคคลของมนุษย์ เช่น ครอบคลุมกรณีที่เจ็บป่วยโดยไม่ทราบล่วงหน้า หรือประสบอุบัติเหตุ ไปจนถึงการดูแลสุขภาพประจำปีให้กับสัตว์เลี้ยง และมีแผนการทำประกันให้เลือกทั้งแบบวีพีไอ ซูพีเรียร์ และแบบเป็นครั้งเป็นคราว ไปจนถึงแบบมาตรฐาน โดยมีระยะเวลาในการคุ้มครองเฉลี่ยไม่เกิน 10 ปี

อย่างไรก็ตาม มีหลายเหตุผลหลักที่อยู่เบื้องหลังสถานการณ์ที่ไม่ค่อยประสบผลสำเร็จนักสำหรับธุรกิจประกันภัยสัตว์เลี้ยง มีหลายประการ ได้แก่ ประการแรก สภาพแวดล้อมของกฎหมาย ระเบียบในการดำเนินธุรกิจแต่ละตลาดมีความแตกต่างกัน จึงมีส่วนสนับสนุนหรือขัดขวางการเติบโตของธุรกิจประกันภัยสัตว์
เลี้ยงแตกต่างกัน

ประการที่สอง ความวิตกของเจ้าของสัตว์เลี้ยง ที่เกรงว่าการทำประกันภัยดังกล่าวจะจ่ายเงินไม่คุ้มค่ากับประโยชน์ที่จะได้รับ ทำให้ขนาดของตลาดยังมีฐานลูกค้าที่จำกัด และกระทบต่อค่าเบี้ยประกันภัยต่อกรมธรรม์ที่สูง

ประการที่สาม การแข่งขันที่สูงมากในตลาดประเภทนี้ ทั้งจากกิจการประกันภัยด้วยกันเอง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเปิดดำเนินงานบนตลาดออนไลน์ และจากผู้ให้บริการดูแลสัตว์เลี้ยง ที่มีโอกาสเข้าถึงลูกค้าที่เป็นเจ้าของสัตว์เลี้ยงโดยตรงบ่อยครั้งกว่า และยังมีการให้ส่วนลดที่จูงใจมากกว่า อีกทั้งยังเป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจและสนิทสนมกับลูกค้ามากกว่าบริษัทประกันภัยทั่วไป ที่ยังเป็นกลุ่มที่ลูกค้าส่วนหนึ่งรังเกียจและไม่อยากคบด้วย การเปิดการขายและการสร้างความสนใจจึงยากกว่ามาก อย่างเช่นบริษัท วีพีไอ ที่ถือว่าเก่าแก่ที่สุดในสหรัฐฯ เพิ่งจะสามารถทำกำไรเมื่อไม่กี่ปีนี้เอง หลังจากการประกอบการประสบกับการขาดทุนมานานกว่า 15 ปีติดต่อกัน โดยรายได้จากธุรกิจประกันภัยสัตว์เลี้ยงเริ่มมีอัตราเติบโต 40% มาตั้งแต่ปี 1997 นี้เอง

อย่างไรก็ตาม นักการตลาดกิจการประกันภัยสัตว์เลี้ยงยังมองแนวโน้มของธุรกิจประเภทนี้ว่าน่าจะสดใสกว่าปัจจุบัน เพราะในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา การเติบโตของธุรกิจประกันภัยสัตว์เลี้ยงในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นในอัตราสูงมากถึง 342% ระหว่างปี 1998-2002 หรือเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยสะสม 45% ด้วยยอดการขายประกันกว่า 88 ล้านดอลลาร์

ธุรกิจประกันภัยสัตว์เลี้ยง มีวิวัฒนาการในตลาดโลกมากว่า 20 ปี แต่บริษัทที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในด้านการให้บริการในระดับโลกมีเพียง 3-4 ราย อย่างเช่น เวตเทอรินารี่ เพท อินชัวรัน หรือ วีพีไอ บริษัท แคนาดา เพทเฮลท์ และบริษัท ฮาร์ทวิลล์ กรุ๊ป นั่นอาจจะแปลได้ว่ายังมีเจ้าของสัตว์เลี้ยงอีกเป็นจำนวนมากที่ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีบริการการประกันภัยสัตว์เลี้ยงเปิดให้บริการในโลกนี้ หรือาจสะท้อนว่าเจ้าของสัตว์เลี้ยงยังเห็นว่าการลงทุนทำประกันภัยให้กับสัตว์เลี้ยง เป็นรายจ่ายที่สิ้นเปลืองไม่คุ้มค่า เพราะลำพังรายจ่ายประจำในการเลี้ยงดูก็มากโขอยู่แล้ว

แต่แนวโน้มที่ว่าจะดีขึ้นในตลาดโลก อาจมาจาก ประการแรก การที่ต้นทุนการดูแลเลี้ยงดูสัตว์เลี้ยงที่แพงขึ้นทุกวันๆ นี้เอง ที่ทำให้เจ้าของสัตว์เลี้ยงเกิดเปลี่ยนใจ และเห็นว่าการทำประกันภัยสัตว์เลี้ยง เป็นการโอนถ่ายความเสี่ยงจากการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูที่สูงขึ้นดังกล่าว

ประการที่สอง กิจการประกันภัยสัตว์เลี้ยง ก็คงต้องหาทางที่จะประชาสัมพันธ์ตนเอง ให้ลูกค้าเป้าหมายเริ่มเข้าใจ และคำนวณได้ว่าการทำประกันภัยสัตว์เลี้ยง ไม่ได้แพงกว่าการรับภาระรายจ่ายที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดหมาย และสัตว์เลี้ยงควรจะได้รับความคุ้มครองต่อความเจ็บป่วยไม่ต่างไปจากคน

ประการที่สาม ยิ่งมีแนวโน้มของภาวะเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ก็จะยิ่งมีผลทางบวกต่อกิจการประกันภัยสัตว์เลี้ยง เพราะจะทำให้การทำประกันภัยมีต้นทุนต่ำกว่าการรับภาระเอง ในการรักษาพยาบาลหรือตรวจสุขภาพของสัตว์เลี้ยงที่เลี้ยงอยู่

ประการสุดท้าย ยิ่งวิวัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ดีขึ้น อายุของสัตว์เลี้ยงก็จะยิ่งยาวนานขึ้น การทำประกันภัยที่ครอบคลุมถึง 10 ปีและอาจมากกว่านี้ในอนาคตน่าจะคุ้มค่ามากขึ้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us