Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์26 กุมภาพันธ์ 2550
แกะโมเดลธุรกิจ "ทีวีดาวเทียม" สารพัดอุปสรรครอคอยผู้ท้าทาย             
 


   
search resources

ยุวดี บุญครอง
TV




* "ทีวีดาวเทียม" ฝันหวาน ๆ ของคนอยากมีสื่อ

* แท้จริงคือธุรกิจแฝงสารพัดอุปสรรคขวางการเติบโต

* ผิดกฏหมาย - โฆษณาเมิน - เจาะไม่ถึงกลุ่มเป้าหมาย


เหมือนกับว่าวันนี้วงการสื่อ กำลังพานพบทะเลสีฟ้าครามผืนใหญ่ บลู โอเชียน อันเต็มไปด้วยโอกาสทางธุรกิจ ในชื่อของทีวีดาวเทียม ที่ทำให้เจ้าของคอนเทนท์น้อยใหญ่ต่างมุ่งหน้า เบนเป้าหมายเข้ามาหา

รูปแบบสื่อฟรีทีวี ที่มีข้อจำกัดมากมาย ต้นทุนการผลิตรายการที่ผู้ผลิตแต่ละรายลงทุนจำนวนมหาศาล แต่ต้องเผชิญความไม่แน่นอนของสัญญาเช่าเวลาของทุกสถานี ทั้งราคาค่าเช่าที่สูงขึ้นทุก ๆ ปี นโยบายผู้บริหารสถานีที่เปลี่ยนไป จนถึงเส้นสายที่เกาะเกี่ยวกันหาความมั่นคง มั่นใจไม่ได้ ผังรายการโทรทัศน์ถูกปรับเปลี่ยนปีต่อปี เป็นความสั่นคลอนของการทำธุรกิจ ที่ทำให้เกิดการมองหาเวทีใหม่ ๆ ซึ่งมาพร้อมกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

ทีวีดาวเทียม จึงกลายเป็นเวทีใหม่สำหรับผู้ผลิตรายการที่หาโอกาส หาความมั่นคงบนฟรีทีวีไม่ได้

ยุวดี บุญครอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเชีย เทเลวิชั่น แอนด์ มีเดีย จำกัด อดีตผู้บริหาร มีเดีย ออฟ มีเดียส์ เป็นคนแรก ๆ ที่กระโจนลงสู่บลูโอเชียนของวงการสื่อผืนนี้

ยุวดีกล่าวว่า ความไม่แน่นอนของผังรายการของฟรีทีวี มีการเปลี่ยนแปลงตลอด และไม่มีหลักประกันว่ารายการจะอยู่ได้ยาวนานเท่าใด บางครั้งรายการดีก็อยู่ได้ไม่นาน อีกทั้งต้นทุนการผลิตก็สูงขึ้นด้วย จึงทำให้ต้องมองหาธุรกิจใหม่เข้ามาเสริม

ตลอดเวลาที่ยุวดีเข้าสู่ธุรกิจผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ ในนามมีเดีย ออฟ มีเดียส์ รูปแบบรายการอันหลากหลายถูกนำเสนอผ่านสถานีโทรทัศน์หลัก 3 ช่อง คือ ททบ.5 ช่อง 7 สี และช่อง 9 อสมท หรือโมเดิร์น ไนน์ แต่ทุกปีรายการโทรทัศน์ของยุวดี ถูกขยับย้ายไปมา หรือหลุดหายไป ตลอดเวลา ไม่เว้นแม้กระทั่งรายการที่ได้ชื่อว่าเป็นรายการยอดนิยม และมีสาระสูงอย่าง ที่นี่ประเทศไทย ที่ถูก ททบ. 5 ปรับออกจากผัง โดยมีรายการลักษณะคล้ายกันที่ผลิตโดย อาร์เอส เข้ามาแทนที่ ท่ามกลางความตกตะลึง เป็นที่มาของการรวมกลุ่มผู้ผลิตรายการ เรียกร้องขอความเป็นธรรมจากผู้บริหารสถานี เมื่อ 2 ปีก่อน

แต่ในปีต่อมา บริษัทที่ได้ชื่อว่ามีเส้นสายราชการที่ช่วยเอื้อธุรกิจแข็งแกร่งอย่าง อาร์เอส ก็ยังหนีไม่พ้นสภาพไร้ความมั่นคงของสื่อทีวีที่เล่นงานให้รายการโทรทัศน์หลายรายการถูกผลักออกจากผังของฟรีทีวี แม้ สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของอาร์เอส จะก้มหน้ายอมรับการตัดสินใจของผู้บริหารสถานี แต่ในความจริงก็ต้องยอมรับเช่นกันว่า ธุรกิจจะเผชิญอยู่กับสภาพความไม่แน่นอนเช่นนี้ตลอดไปไม่ได้ ทุกคนจึงวิ่งเข้าหา ทีวีดาวเทียม

เจ้าของคอนเทนท์แห่ผุดช่องเสรี

อาร์เอส - จีเอ็มเอ็ม - สยามสปอร์ต - โรสฯ หลังจากทิ้ง T Channel ทีวีผ่านดาวเทียมสถานีเพลงลูกทุ่ง ที่ไม่ประสบความสำเร็จในการทำตลาดมากนัก ไว้กับ มีเดีย ออฟ มีเดียส์ แล้วมาตั้งเอเชีย เทเลวิชั่น แอนด์ มีเดีย ขึ้น โครงการทีวีดาวเทียมก็ยังอยู่ในแผนงานลำดับแรก ๆ ของบริษัทใหม่นี้ ช่อง h+ Channel ถูกตั้งขึ้นด้วยงบประมาณ 300 ล้านบาทให้เป็นสถานีโทรทัศน์เพื่อสุขภาพช่องแรกในเมืองไทย

ยุวดี ซึ่งเคยผลิตรายการ Health Station ทางไอทีวี ทราบดีว่า รายการเพื่อสุขภาพมีแนวโน้มการรับชมสูงขึ้น จากเทรนของผู้บริโภคที่หันมาให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ แต่การผลิตรายการเพื่อสุขภาพที่ต้องยุ่งเกี่ยวกับยา และอาหาร ทางฟรีทีวี จะมีข้อจำกัดมากมายที่ภาครัฐจะเข้ามาควบคุม ปัญหานี้จะหมดไปหากรายการลักษณะนี้ไปออกอากาศบนทีวีดาวเทียม ที่การควบคุมของภาครัฐยังบินขึ้นไปไม่ถึง

h+Station ให้บริการรับชมฟรี เพียงมีจานรับสัญญาณดาวเทียม ไม่มีการเก็บค่าสมาชิกหรือค่าบริการ นอกเหนือจากการรับชมผ่านเคเบิลทีวีท้องถิ่น หรือผ่านอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ ทำให้ยุวดีมั่นใจว่าจะสามารถขยายฐานผู้ดูได้มากและรวดเร็ว รายได้จะมาจากการขายโฆษณาเป็นหลัก ช่วงแรกน่าจะเป็นสินค้าและบริการเกี่ยวกับสุขภาพที่มาลงโฆษณา ตรงกับรูปแบบรายการของเอชพลัสชาแนลที่เป็นรายการเกี่ยวกับสุขภาพ

ยุวดีมีความมั่นใจสูงว่าธุรกิจทีวีดาวเทียมจะสามารถสร้างรายได้ให้กับบริษัทฯในสัดส่วนที่ 30% หรือสูงเป็นอันดับที่สองรองลงมาจากการผลรายการป้อนฟรีทีวี โดยในอนาคตมีแผนจะเปิดช่องทีวีดาวเทียมเพิ่มเป็น 5 ช่อง เหมือนเธอกำลังพบช่องทางทางธุรกิจใหม่ ๆ ที่สดใสเหลือเกิน

เช่นเดียวกับเจ้าของคอนเทนท์บันเทิงรายใหญ่ 2 ราย อาร์เอส และจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ที่กำลังมองหาช่องทางใหม่ ๆ ในการระบายคอนเทนท์ในมือออกมาสร้างมูลค่าในตลาด ทีวีดาวเทียม เป็นช่องทางที่ทั้งเฮีย ทั้งกู๋ สนใจ

จากการเปิดเผยของ คำมุ่ย แก้วมณี ประธาน บริษัท เพ็ชรจำปา แอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด จากประเทศลาว เผยว่า เพ็ชรจำปา และอาร์เอส มีแผนการดำเนินธุรกิจร่วมกันที่จะตั้งสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมขึ้นในประเทศลาว เบื้องต้นจะให้บริการช่องกีฬา 2 ช่อง และบันเทิงอีก 1 ช่อง ออกอากาศ 24 ชั่วโมง จะแพร่ภาพไปกว่า 22 ประเทศ ผู้ชมสามารถรับชมได้ฟรี โดยรายได้จะมาจากโฆษณาเป็นหลัก

ขณะที่ ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานกรรมการ บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ทีวีดาวเทียม เป็น 1 ใน 3 ธุรกิจใหม่ที่จีเอ็มเอ็มฯ จะรุกหนักในปีนี้ โดยคาดว่าภายในปีนี้จะสามารถดำเนินการได้ ทั้งนี้บริษัทฯได้เตรียมความพร้อมด้านคอนเท้นท์แล้ว เหลือเพียงรอดูสถานการณ์ รวมถึงเงื่อนไขและการขอใบอนุญาต รวมถึงความถูกต้องของการขอสัญญาณ ซึ่งในขณะนี้มีการพูดคุยกันไว้แล้ว

"โทรทัศน์ดาวเทียม เป็นสิ่งที่บริษัทผู้ผลิตคอนเทนท์อย่างแกรมมี่ต้องมอง เพราะจะเป็นช่องทางที่จะทำให้คอนเทนท์ของเราไปสู่ผู้บริโภคให้มากที่สุด แต่เงื่อนไขของโทรทัศน์ดาวเทียมต้องไม่ลงทุนสูงเหมือนฟรีทีวี ทำได้ง่ายขึ้นด้วยเทคโนโลยี"

นอกจากนี้ ในส่วนของผู้บริหารคอนเทนท์รายอื่น ๆ อย่าง สยามอินเตอร์มัลติมีเดีย เจ้าของคอนเทนท์กีฬา ก็เตรียมเปิดช่องกีฬาผ่านทีวีดาวเทียม เช่นเดียวกับ โรส มีเดีย แอนด์ เอนเทอร์เทนเม้นท์ ผู้ถือคอนเทนท์การ์ตูนรายใหญ่ของประเทศไทย ที่เตรียมเปิดสถานีทีวีดาวเทียมช่องการ์ตูนขึ้นภายในปีนี้ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับ ทีวีดาวเทียมช่องเพลงอินดี้ ที่คลิค เรดิโอ จับมือกับค่ายเพลงสนามหลวงในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ตั้งเป้าออกอากาศภายในปีนี้เช่นกัน

เกิดเป็นข้อสงสัยว่า ฝันหวาน ๆ ในการยึดครองสื่อสถานีทีวีดาวเทียมมาไว้กับตัว จะสร้างความสำเร็จในการธุรกิจได้เหมือนที่ฟรีทีวีเป็นอยู่ ได้หรือ

สารพัดปัญหารอรับ
ไร้กฎหมายรองรับ - สถานีผิดกฎหมาย


ก่อนที่เทคโนโลยีทีวีดาวเทียมจะแพร่หลายเช่นวันนี้ ผู้ประกอบการในวงการโทรทัศน์ และวิทยุ ต่างรอคอยการเกิดขึ้นของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ หรือ กสช. ที่จะถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ดูแลและจัดสรรคลื่นความถี่ที่เกิดขึ้นใหม่จากเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ให้กับผู้ยื่นขอ ทั้งคลื่นวิทยุ และคลื่นโทรทัศน์ จนแล้วจนเล่า ปัญหาความไม่โปร่งใสทางการเมืองของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ก็ทำให้คณะกรรมการ กสช. ที่ตั้งขึ้นมากลับต้องล้มกระดาน และเก็บโครงการจัดตั้ง กสช.ลงลิ้นชัก เป็นเหตุให้เกิดสุญญากาศของการวงการสื่อ ที่เทคโนโลยีมาถึงแล้ว แต่ไม่มีหน่วยงานดูแลการใช้คลื่น

จนกระทั่งเกิดมีหัวหอกในการเข้าใช้สื่อทีวีดาวเทียมในการระบายคอนเทนท์ ที่ถูกปิดกั้นจากฟรีทีวีในยุคแรก ๆ อย่าง กลุ่มเนชั่น ที่เปิด Nation Channel และกลุ่มผู้จัดการ เจ้าของสถานีโทรทัศน์ ASTV แต่ก็เป็นการทำธุรกิจในสภาพที่ง่อนแง่น หากำไรไม่ได้ เช่นเดียวกับช่องทีวีลูกทุ่ง T Channel ที่มีเดีย ออฟ มีเดียส์ ในยุคยุวดี บุญครองเป็นผู้ให้กำเนิด

ส่วนหนึ่งที่ทำให้ช่องทีวีดาวเทียมที่มีรูปแบบรายการชัดเจนเหล่านี้ ไม่ประสบความสำเร็จในการทำกำไร มาจากการหาโฆษณาเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะวันนี้ สถานีทีวีดาวเทียมทั้งหมด ดำเนินงานโดยขาดกฎหมายรองรับการเปิดสถานี หรือกล่าวสั้น ๆ ว่า เป็นสถานีผิดกฎหมาย

ชลิต ลิมปนะเวช คณบดี คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และกรรมการในคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ (กกช.) กล่าวว่า สภาพที่เกิดขึ้นในเวลานี้คือช่องโหว่ของการควบคุมดูแล เนื่องจากไม่มีผู้ควบคุมดูแลอย่าง กสช. แต่ผู้ประกอบการกลับเลือกที่จะเปิดก่อน ชิงความได้เปรียบในการยึดครองสื่อ แต่ถ้าอนาคตเมื่อเกิด กสช.ขึ้น ปัญหาจะเกิดขึ้นหากรัฐยืนยันว่าเอกชนไม่สามารถเปิดสถานีทีวีดาวเทียมได้เอง ทุกช่องที่เปิดบริการจะต้องคืนคลื่นให้กับ กสช.

แต่อดีตว่าที่ กสช. สุพงษ์ ลิ้มธนากุล รองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ให้ความเห็นว่า สุดท้ายคงมีเป็นการพูดคุยกันระหว่าง กสช. กับผู้ประกอบการที่เปิดทีวีดาวเทียม เพื่อขอความร่วมมือในการผลิตรายการที่เหมาะสม อยู่ในกรอบที่ภาครัฐกำหนดไว้ มากกว่าจะมีการยึดคลื่นคืน

เช่นเดียวกับชลิต ลิมปนะเวช ที่เสนอว่า แม้ส่วนตัวจะมองว่าประเทศไทยยังไม่เหมาะที่จะให้เอกชนเปิดทีวีดาวเทียมกันอย่างเสรี เพราะยังไม่มีการควบคุมดูแลจากภาครัฐ แต่สุดท้ายแล้วเมื่อรัฐบาลหันมาดูแล ก็น่าจะเป็นการเรียกผู้ประกอบการมาพูดคุยขอให้มีการเสนอรายการที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ชม หรือต่อประเทศบ้าง

โฆษณาเมิน - กลุ่มเป้าหมายไม่สน

ปัญหาสำคัญในขณะที่ทีวีดาวเทียมยังไม่มีกฎหมายรองรับ กระทบโดยตรงกับโฆษณาสินค้าหรือบริการที่จะเข้ามาสนับสนุน ให้เหมือนดังเช่นฟรีทีวี

การบังคับใช้กฎหมายในสหรัฐอเมริกา หากเรื่องใดที่ไม่ได้ระบุบังคับไว้เป็นกฎหมาย เรื่องนั้นถือว่าไม่ผิดกฎหมาย ต่างจากการตีความในกฎหมายของไทย ที่หากเรื่องใดไม่มีกฎหมายบทใดระบุไว้ เรื่องนั้นจะกลายเป็นเรื่องผิดกฎหมายทันที

ปราชญ์ ไชยคำ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สยามอินเตอร์มัลติมีเดีย กล่าวถึงปัญหาของสื่อสมัยใหม่ที่ยังไม่มีกฎหมายรองรับ ซึ่งบริษัทฯ บริหารอยู่ คลื่นวิทยุชุมชน 106.75 คือ การหาโฆษณาเป็นไปด้วยความยากลำบาก เมื่อสถานีถูกมองว่าเป็นช่องผิดกฏหมาย ก็ไม่มีสินค้าใดกล้ามาลงโฆษณา เพราะจะกระทบถึงการแสดงการใช้จ่ายของบริษัทนั้น ๆ ว่า มีการสนับสนุนเงินให้กับธุรกิจผิดกฎหมาย

เช่นเดียวกับทีวีดาวเทียม แม้วันนี้ Nation Channel หรือ ASTV ที่ได้รับการยอมรับจากผู้ชมในแนวกว้างถึงคอนเทนท์ที่ผลิตขึ้น แต่หากถามถึงรายได้จากการโฆษณา ก็ยังไม่อยู่ในระดับที่เลี้ยงธุรกิจได้เลย

ครั้นจะมองรายได้จากด้านสมาชิกผู้ชมรายการ ทั้งจากการขายจานดาวเทียม หรือการเก็บค่าสมาชิกในระบบ Direct to Home หรือแม้กระทั่งการเก็บเงินส่วนแบ่งจากการขายรายการให้กับเคเบิลทีวีท้องถิ่น ต่างก็มีจุดตายที่ไม่สามารถทำให้ธุรกิจเติบโตขึ้นได้

เมื่อครั้งมีเดีย ออฟ มีเดียส์ เกิดแนวคิดในการทำทีวีดาวเทียม ช่องเพลงลูกทุ่ง T Channel ขึ้นเพื่อเจาะผู้ชมที่เป็นกลุ่มรากหญ้า สร้างความแปลกใหม่ให้กับวงการสื่ออย่างมาก แต่เวลาต่อมา ชาลอต โทณะวนิก ที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยาส่งเข้าไปดูแลมีเดีย ออฟ มีเดียส์ ต่อจากกลุ่มยุวดี บุญครอง ที่จากไป พบว่า แนวคิดการทำทีวีดาวเทียมเจาะตลาดรากหญ้า ไปการตลาดที่ขัดแย้งกับความเป็นจริง ผู้บริโภคในตลาดล่างไม่สามารถซื้อหาจานดาวเทียมในระดับราคา 2,000 - 3,000 บาทได้

วันนี้ T Channel จึงต้องหันมาหาเคเบิลทีวีท้องถิ่น และทรู วิชั่นส์ ช่วยเจาะกลุ่มเป้าหมายให้ พร้อมหารายได้จากรายการโฮมช้อปปิ้ง เสมือนการโฆษณาของรายการ ในช่วงเวลาที่โฆษณาจากสินค้าทั่วไปยังกลัว ๆ กล้า ๆ จะเข้ามาสนับสนุน

เช่นเดียวกับ จิรัฐ บวรวัฒนะ รองประธานกรรมการ บริษัท โรส มีเดีย แอนด์ เอนเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด ที่เคยมีแนวคิดในการทำ Direct to Home เปิดช่องการ์ตูนให้สมาชิกรับชมในราคาเดือนละ199 บาท แต่เมื่อมองจากสิ่งที่มีอยู่ในตลาด ทรูวิชั่นส์ เสนอแพ็คเกจ 340 บาท ที่มีช่องรายการหลัก 7 ช่อง ผนวกกับช่องฟรีทีวี และช่องการศึกษา อีกกว่า 10 ช่อง ก็คงทำให้ช่องการ์ตูน DTH ของโรสฯ กลายเป็นของแพง เกิดขึ้นได้ยาก

ชลิต ลิมปนะเวช มองว่า ตลาดผู้ชมไม่น่าจะเติบโตได้มากนัก เพราะสถานีโทรทัศน์แต่ละสถานีที่เกิดขึ้น ผู้ชมจะต้องซื้อหาจานดาวเทียมมารับสัญญาณ กลายเป็นนิชมาร์เก็ต เป็นตลาดเฉพาะ ขายโฆษณาลำบาก คงไม่สามารถสร้างเป็นธุรกิจที่หากำไรได้ แต่ตนมองว่าค่ายเพลง หรือค่ายหนังรายใหญ่ อาจไม่ได้มองจุดนี้ เนื่องจากค่ายใหญ่มีวัตถุประสงค์ใช้เป็นช่องการในการระบายคอนเทนท์ เพื่อเป็นเครื่องมือในการสื่อสารสินค้าหรือบริการของตนเองสู่กลุ่มเป้าหมายมากกว่า

"ถ้าผมเป็นแกรมมี่ ผมก็ต้องทำทีวีดาวเทียม เปิดเพลงของผมเองทั้งหมด เพลงไหนยอดขายตก ก็เปิดถี่หน่อย แล้วส่งไปเชื่อมต่อกับเคเบิลท้องถิ่นให้ฉายฟรี ต่อยอดให้ธุรกิจหลักคือการขายเพลงเติบโต"

ทางออกของธุรกิจ จิรัฐ กล่าวว่า ช่วงแรกของการเปิดสถานีการ์ตูน จะส่งในระบบซีแบนด์ให้เคเบิลท้องถิ่นที่มีสมาชิกกว่า 2.5 ล้านครัวเรือน เป็นจำนวนผู้ชมกว่า 12.5 ล้านคน กระจายอยู่ทั่วประเทศ เป็นตัวสร้างแบรนด์ของช่องให้แข็งแกร่งโดยใช้เวลาประมาณ 1-2 ปี โดยในแง่รายได้ต้องมองธุรกิจอย่างครบองค์ ทั้งการส่งให้เคเบิลทีวีท้องถิ่นที่จะมีรายได้เข้ามาส่วนหนึ่ง ขณะเดียวกันอาจมีการดึงรายการโฮมช้อปปิ้งเข้ามาร่วมในสถานีด้วย เมื่อแบรนด์ทีวีดาวเทียม ช่องการ์ตูนของโรสฯ แข็งแกร่งแล้ว จึงจะปรับส่งสัญญาณผ่านเคยูแบนด์ ปูทางสู่ธุรกิจ Direct to Home ที่เคยวางแผนไว้อีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม จิรัฐ กล่าวว่า เมื่อเทคโนโลยีการส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมมาถึง ส่งผลให้ผู้ประกอบการต่างเข้ามายึดครองคลื่น แม้จะยังไม่มีใครทำผิดกฏหมายในเวลานี้ แต่ก็ไม่มีใครทำถูกระเบียบเช่นกัน ดังนั้น คาดหวังว่า กสช. จะถูกจัดตั้งขึ้นมาในระยะเวลาอันใกล้ เพื่อจัดระเบียบทีวีดาวเทียมให้ถูกต้อง เป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนต่อไป   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us