Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์26 กุมภาพันธ์ 2550
“GE Day”วันของ“จีอี อินเตอร์เนชั่นแนล”“ยึด-ครอบครอง-สร้างฐาน”บนโลกใหม่             
 


   
search resources

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
Financing




“จีอี” หรือ “ข่าน” นักรบผู้พิชิตบนโลกธุรกิจ และอีกบทบาทหนึ่งคือ “ร่างทรง” แบงก์กรุงศรีอยุธยา ของตระกูล “รัตนรักษ์” ใช้โอกาสช่วงที่เข้ายึดครองแบงก์ใหญ่ แนะนำอาณาจักรที่คนในท้องถิ่นยังไม่เคยได้สัมผัสลึกซึ้งในงาน “GE Day” ผ่านการบอกเล่าถึงกลยุทธ์และกระบวนการทำงานที่มีวัตถุประสงค์หลัก คือ การเข้ายึดพื้นที่ ครอบครอง และสร้างฐานลูกค้าให้ใหญ่ที่สุดเท่าที่จะทำได้...

นานิ เบคคัลลิ ฟาลโค ประธานและเจ้าหน้าที่บริหาร จีอี อินเตอร์เนชั่นแนล ผู้นำเบอร์ 2 ของ “จีอี” ใช้เวลาไม่ถึงชั่วโมง บรรยายถึง อาณาจักรขนาดใหญ่ของ “จีอี” และโลกใบใหม่ หรือ ตลาดแถบเอเชีย ที่กำลังหมายตาจะเข้ายึดครอง ภายหลัง “กองทัพ” ขนาดใหญ่ของจีอี ได้ระดมกำลังทรัพยากรบุคคล และเงินทุนเข้ามาลงทุนมูลค่าร่วม 2.2 หมื่นล้านบาท ผ่านการเข้าถือหุ้น 25% ในแบงก์กรุงศรีอยุธยาอย่างราบรื่น เมื่อต้นปีก่อน...

ตลาดใหม่ของจีอี เริ่มต้นนอกแผ่นดินอเมริกา คือ ยุโรปตะวันตก และตะวันออก รวมถึงแคนาดาและออสเตรเลีย จนขยายใหญ่ในแง่ภูมิศาสตร์ และรายได้ ก่อนที่จะหันหัวเรือมาที่แถบตะวันออกกลาง ละตินอเมริกา จีน อินเดียและประเทศแถบอาเซียน โดยมี “ไทย” เป็นศูนย์กลางการเติบโต

ว่ากันว่า ปีก่อนหน้านี้ “จีอี” มียอดขายร่วม 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐในตลาดเกิดใหม่ จากยอดรวมที่ 1.6 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เป็นยอดรายได้ที่มีเข้ามาใน 2 ส่วนธุรกิจใหญ่ คือ อินฟราสตรัคเจอร์ และธุรกิจให้บริการทางการเงิน

ผู้คนทั่วไปอาจจะรับรู้และสัมผัสถึงอิทธิพล “จีอี” ทั้งโดยตั้งใจและไม่ทันตั้งตัว จากการเป็นลูกหนี้หรือลูกค้าของ “จีอี” โดยเฉพาะ “ราชาเงินผ่อน” แต่การจัดงาน “GE Day” พร้อมกับการเปิดตัวธุรกิจใน "เครือจีอี" คราวนี้ .... “นานิ” กำลังจะอธิบายถึงการเปิดตัวอาณาจักรธุรกิจของจีอี ที่มีมากกว่านั้น และหลายคนก็ยังไม่มีโอกาสได้ทำความรู้จัก...

“ วัตถุประสงค์จริงๆก็คือ อยากให้ลูกค้าและพนักงาน รวมถึงภาครัฐ ได้เข้าใจธุรกิจหลากหลาย ทั้งในเชิงลึก และมุมกว้างของจีอีมากขึ้น”

สำหรับข้อมูลที่รับรู้กันอยู่ยังไม่มากพอ ก็ต้องดูยอดขายในแต่ละปีเฉลี่ยของ จีอี นอกอเมริกา ที่อยู่ระดับ 1.2-1.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งไม่เป็นรอง “ไนกี้” และ “บริติชแอร์เวย์”แม้แต่น้อย โดยต้นปีที่ผ่านมา จีอี มีการลงทุน ขยายธุรกิจด้านการบิน น้ำมันและก๊าซ รวมถึงธุรกิจด้านสุขภาพมูลค่ากว่า 1.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

อย่างไรก็ตาม ดูเหมือน “เอเชีย” รวมถึงแถบอาเซียนจะกลายเป็น “กล่องดวงใจ” ของจีอี ในการขยายอาณาจักรใน 6 ธุรกิจ ที่เกือบจะเรียกว่าครอบจักรวาล ไม่ใช่เพียงแค่ การแผ่บารมีเฉพาะโลกไฟแนนซ์ แต่จีอีเลือกจะใช้ฐานที่ยึดได้ขยายพื้นที่และสร้างฐานตลาดใหม่ในทุกธุรกิจที่มีอยู่ในมือจนครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น จีอีคอมเมอร์เชียล ไฟแนนซ์ จีอีเฮลธ์แคร์ จีอี อิดัสเทรียล จีอีอินฟราสตรัคเจอร์ จีอีมันนี่ และเอ็นบีซี ยูนิเวอร์เซิล

“ ในภูมิภาคนี้ มีการเปิดสายการบินใหม่ มีการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ รวมถึงมีความต้องการด้านการแพทย์ ซึ่งเป็นตลาดที่จีอีชำนาญและเชี่ยวชาญ”

นานิ บอกว่า ในอีก 3 ปี แถบเอเชียจะพองตัวโตเป็น “ดับเบิล” โดยจีอีจะให้น้ำหนักที่ 2 ส่วนคือ ด้านการเงิน รวมถึงธุรกิจเครื่องยนต์ การบิน พลังงาน น้ำมัน ก๊าซ การแพทย์ ธุรกิจไฟฟ้าและพลาสติค

ที่มองข้ามไปไม่ได้ก็คือ กระบวนการทำงานในแต่ละประเทศอาจจะแตกต่างกัน แต่กลยุทธ์จะออกมาเป็นโมเดลเดียวกัน นั่นคือ “ยึดพื้นที่ ครอบครอง และสร้างฐานลูกค้า" ที่ใหญ่โตกว้างขวาง

นานิอธิบายว่า การเจาะเข้าไปในแต่ละพื้นที่จะอาศัยความได้เปรียบด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ๆ ส่วนอีกวิธีคือ การเข้าซื้อกิจการ หรือหาพันธมิตร เพื่อสร้างโอกาสเติบโตทั้งในแง่ภูมิศาสตร์ และการตลาด

สำหรับประเทศไทย แบงก์กรุงศรีฯน่าจะเป็นตัวอย่างที่เห็นชัดเจน เพราะหลังการเข้าถือหุ้นใหญ่ ภาพของจีอี ก็ฉายแววโดดเด่นขึ้น...

ในจีน จีอีเข้าไปลงทุนในเซิ่นเจิ้น ผ่านการถือหุ้นกับ ดิเวลล็อปเม้นท์ แบงก์ ส่วนในอินเดียเริ่มต้นที่วิธีสร้างจากธุรกิจพื้นฐาน ก่อนจะขยับเต็มตัวเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายใหม่ในปี 2009

ขณะที่ “ไทย” ในปีที่ผ่านมา จีอี ทำรายได้จากธุรกิจที่เข้ามาลงทุนมากกว่า 40,000 ล้านบาท เป็นสัดส่วนที่สูงสุดในแถบนี้ คิดเป็น 35% ของรายได้ทั้งภูมิภาค โดยมีแบงก์กรุงศรีฯเป็นหุ้นส่วนธุรกิจที่จะเจาะเข้าถึงตลาดใหม่ๆได้อย่างง่ายดาย

เท่ากับว่า เวลาเกือบ 50 ปี ที่ “จีอี” หว่านเงินลงทุนในไทยไปแล้วราว 4 หมื่นล้านบาท กำลังสร้างรายได้ที่เป็นกอบเป็นกำให้กับ จีอี ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจในอุตสาหกรรมผลิตเม็ดพลาสติค ระบบการแพทย์ บริการทางเงิน และการผลิตส่วนประกอบเครื่องยนต์ อากาศยาน และบริการสนับสนุนต่างๆ

นานิบอกว่า ภายใน 5 ปี ย่านอาเซียนจะเติบโตเฉลี่ย 25% ทุกปี โดยปี 2550 จะขยายตัวใกล้เคียงกับปีที่แล้วคือ 20% ขณะเดียวกันก็มีโครงการลงทุนในธุรกิจหลักในไทยอย่างต่อเนื่อง

ดูเหมือนการเข้ามาอย่างเต็มตัวของ “จีอี” คราวนี้จะไม่มีอะไรหยุดยั้ง กองทัพที่มากด้วย อาวุธ ยุทโธปกรณ์ ที่เหนือชั้น ได้โดยง่ายๆ...

การเป็นร่างทรงแบงก์กรุงศรีฯ จึงไม่ต่างจากการระเบิดกำแพงเมือง เพื่อเปิดทางให้กับกองทัพเคลื่อนตัวเข้าไปยึดครองธุรกิจอื่นๆได้อย่างสะดวก ราบรื่น เพราะนี่น่าจะเป็น เป้าหมายสำคัญของ “จีอี มากกว่า...   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us