|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
คลังรั้งท้ายปรับเป้าจีดีพีปี 50 ลดเหลือ 4.0% ชี้เศรษฐกิจปีหมูไม่หมูอีกต่อไป เจอเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าชะลอตัวซ้ำเติม "การใช้จ่าย–บริโภค–ลงทุนภาคเอกชน"ฟื้นตัวไม่เต็มที่ แต่ยังให้ความหวังหากเบิกจ่ายงบปี 50 ได้ไม่ต่ำ 93% ผนวกกับรัฐวิสาหกิจลงทุนได้ถึง 85% อาจกระตุ้นให้ภาคเอกชนขยับตัวได้บ้าง ฟุ้งนโยบายการคลังภาครัฐจะยังเป็นปัจจัยหลักกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ
นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2550 โดยคาดว่าอัตราผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) จะขยายตัวอยู่ที่ประมาณ 4.0-4.5% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 4.0-5.0% เนื่องจากจากปริมาณการส่งออกและบริการ ซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักในปีก่อน มีแนวโน้มชะลอตัวลงตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า มาอยู่ที่ 6.4-7.4% ต่อปี ลดลงจากปีก่อนที่อยู่ที่ 9.1% ต่อปี ประกอบกับการใช้จ่ายภาคเอกชนทั้งการบริโภคและการลงทุนยังฟื้นตัวไม่เต็มที่
ทั้งนี้ หากภาครัฐสามารถเร่งเบิกจ่ายงบประมาณได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 93% ของกรอบวงเงินงบประมาณปี 2550 รัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายงบลงทุนได้ตามเป้าหมายที่ 85% ของงบลงทุนทั้งหมด และอัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับลดลงเพียงพอที่จะเอื้อต่อการฟื้นตัวของการลงทุนภายในประเทศ รวมถึงการดูแลค่าเงินบาทให้อยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ ก็คาดว่าจะส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัว 3.5-3.9% ต่อปี และการลงทุนภาคเอกชนขยายตัว 5.1-5.4% ต่อปี
“จีดีพีในปี 2550 จะขยายได้มากเท่าใดนั้น ขึ้นอยู่กับการลงทุนและการบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก ซึ่งคาดว่าจะขยายตัวสูงขึ้นจากปี ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ที่มีแนวโน้มลดลง ดังนั้น เชื่อว่าปัจจัยดังกล่าวจะผลักดันให้จีดีพีในปีนี้ขยายตัวได้ 4.5% มากกว่าจะขยายตัวในกรณีต่ำ 4%”นางพรรณีกล่าว
โดยคาดว่าการบริโภครวมในปี 2550 จะอยู่ที่ 3.9-4.8% เพิ่มขึ้นจากปี 2549 ที่อยู่ที่ 3.2% แบ่งเป็นการบริโภคภาคเอกชนประมาณ 3.5-3.9% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ขยายตัว 3.3% ต่อปี การบริโภคภาครัฐประมาณ 6-10% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ขยายตัว 2.9% ต่อปี ด้านการลงทุนรวมในปี 2550 คาดว่าจะอยู่ที่ 4.2-6.4% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่อยู่ที่ 3.5% แบ่งเป็นการลงทุนภาคเอกชน 5.1-5.4% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่อยู่ที่ 3.7% และการลงทุนภาครัฐอยู่ที่ 1.7-10.1% ลดลงจากปีก่อนที่อยู่ที่ 3% ขณะที่ปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการจะอยู่ที่ 7.8-8.9% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่อยู่ที่ 1.7%
นอกจากนี้ เสถียรภาพภายในประเทศปี 2550 มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไป จะขยายตัวอยู่ที่ 2.5-3% ลดลงจากปี 2549 ที่อยู่ที่ 4.7% ซึ่งเป็นผลมาจากราคาต้นทุนการผลิตที่ถูกลงตามการปรับลดของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก และค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น โดยราคาน้ำมันดิบดูไบจะเฉลี่ยอยู่ที่ 54-58 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ลดลงจากราคาเฉลี่ยในปี 2549 ที่อยู่ที่ 61.5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันในตลาดโลกปรับลดลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
ขณะที่ค่าเงินบาทจะอยู่ที่ 35.5-36.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งแข็งค่าขึ้นจากปี 2549 ที่เฉลี่ยอยู่ที่ 37.9 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากปัญหาพื้นฐานของการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด และดุลการคลังของสหรัฐฯ ยังคงกดดันให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น ซึ่งจะส่งผลให้เงินทุนเคลื่อนย้ายจากต่างประเทศ เข้ามาลงทุนในภูมิภาคเอเชียมากขึ้น ส่วนอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยคาดว่าจะอยู่ที่ 3.75-4.25% ได้
สำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดคาดว่าจะเกินดุล 0.7-1.5% ของจีดีพี เทียบกับปี 2549 ที่เกินดุล 1.6% ของจีดีพี โดยการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2550 จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของการใช้จ่ายภายในประเทศโดยในกรณีที่การใช้จ่ายภายในประเทศเร่งตัวขึ้นจะทำให้มูลค่าการนำเข้าเร่งตัวขึ้นตาม ซึ่งจะส่งผลให้ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลประมาณ 1.4 และ 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ แต่หากการใช้จ่ายภายในประเทศฟื้นตัวช้า จะส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าขยายตัวต่ำ ซึ่งจะส่งผลให้ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 3.1 และ 3.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ
คาดดอกเบี้ยนโยบายเหลือ4.0%
นายคณิศ แสงสุพรรณ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง (สวค.) กล่าวว่า เศรษฐกิจปี 2550 จะขยายตัวมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับนโยบายภาครัฐเป็นสำคัญ เพื่อที่จะกระตุ้นการลงทุนและการบริโภคภาคเอกชน โดยนโยบายการคลังและการเงินจะต้องประสานใกล้อย่างใกล้ชิด เพื่อให้เศรษฐกิจโตได้ตามเป้าในระดับสูง เพราะในส่วนของนโยบายการคลังตั้งเป้าการเบิกจ่ายงบประมาณ 93% เบิกจ่ายงบลงทุนรัฐวิสาหกิจให้ได้ 85% ก็จะทำให้เศรษฐกิจโตได้ 4.5% แต่หากเบิกจ่ายได้ต่ำกว่านั้นจีดีพีก็จะโตได้ไม่ถึง 4.5%
ดังนั้น ในส่วนของนโยบายดอกเบี้ยของธปท.จะต้องเข้ามาช่วย เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อปี 2550 จะอยู่ในระดับ 2.5-3% ซึ่งไม่เป็นแรงกดดันอัตราดอกเบี้ยอีกต่อไป โดยคลังมองว่าอัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาลง และต้องการให้แบงก์ชาติลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างรวดเร็ว ไม่ใช่ครั้งละ 0.25% เพราะจะทำให้เกิดการเก็งกำไร
ด้านนายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการกลุ่มวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค สศค. กล่าวว่า ภายในปีนี้เชื่อว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะปรับลดลดอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน (อาร์พี) ลงเหลือ 4% ปัจจุบันที่ 4.75%
|
|
|
|
|