|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
จีอี มันนี่ตั้งเป้าเติบโต 10% พร้อมปรับโครงสร้างใหม่มุ่งสนองความต้องการของลูกค้า แต่งตั้งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่ายการตลาดและผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่ายขายและปรับศูนย์บริการ 70 แห่งทั่วประเทศให้เป็นวันสต็อปชอปเสนอผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เพื่อความสะดวกในการรับบริการของลูกค้า
นายพิริยะ วิเศษจินดา ประธาน จีอี มันนี่ ประเทศไทย เปิดเผยเป้าหมายธุรกิจในส่วนที่ไม่ใช่ธนาคาร (non-bank)ในปี 2550 ว่า จะเติบโตประมาณ 10% โดยธุรกิจในส่วนที่ไม่ใช่ธนาคารที่ปัจจุบันบริหารโดยจีอี มันนี่ ประเทศไทย ได้แก่ สินเชื่อรถยนต์ (สำหรับรถเก่า สินเชื่อรีไฟแนนซ์รถยนต์ และสินเชื่อรถมอเตอร์ไซค์) บัตรเครดิต สินเชื่อเพื่อการซื้อสินค้าแบบผ่อนชำระ และสินเชื่อส่วนบุคคล
“บริการทางการเงินสำหรับรถยนต์ต่างๆ ซึ่งรวมสินเชื่อสำหรับรถเก่า สินเชื่อรีไฟแนนซ์รถยนต์ และสินเชื่อรถมอเตอร์ไซค์คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 50% ของสินเชื่อที่จีอี มันนี่ปล่อยทั้งหมด ตามมาด้วยธุรกิจบัตรเครดิตคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 30% และธุรกิจสินเชื่อเพื่อการซื้อสินค้าแบบผ่อนชำระและสินเชื่อส่วนบุคคลซึ่งต่างมีสัดส่วนอย่างละประมาณ 10% ของมูลค่าสินเชื่อที่จีอี มันนี่ปล่อยทั้งหมด” นายพิริยะกล่าวและว่า ปี 2549 ที่ผ่านมานับเป็นปีที่ผู้ให้บริการสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคต่างได้รับแรงกดดันจากส่วนต่างของผลกำไรที่ลดลงและจำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับบรรยากาศในการทำธุรกิจที่เปลี่ยนไปสืบเนื่องจากกฎระเบียบใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น
เดือน ม.ค.2550 จีอีมันนี่บรรลุการลงทุนเชิงยุทธ์มูลค่า 22,000 ล้านบาท ในธนาคารกรุงศรีอยุธยา(BAY)โดยเมื่อเร็วๆ นี้ จีอี มันนี่ได้โอนทรัพย์สินและหนี้สินของธนาคารจีอี มันนี่ เพื่อรายย่อย ประกอบด้วย เงินฝาก สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อส่วนบุคคลที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกันให้กับ BAY เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และยังได้โอนธุรกิจสินเชื่อรถยนต์สำหรับรถใหม่ ซึ่งเคยบริหารโดยจีอี แคปปิตอล ออโต้ ลีส ให้แก่บริษัทอยุธยา แคปปิตอล ลีส ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของธนาคารกรุงศรีอยุธยา
นอกจากนี้จีอี มันนี่ยังได้เริ่มตั้งสำนักงานในระดับภูมิภาคเพื่อสนับสนุนงานประมวลและพิจารณาอนุมัติใบสมัครและงานบริหารความเสี่ยงต่างๆ "จากเดิมศูนย์บริการแต่ละแห่งจะมีพนักงานรับผิดชอบงานประมวลและพิจารณาอนุมัติใบสมัคร เราได้รวบรวมงานดังกล่าวไว้ที่สำนักงานระดับภูมิภาคซึ่งตั้งอยู่ในแต่ละภาคไว้เพียงแห่งเดียว โดยเราจะมีสำนักงานระดับภูมิภาคตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ซึ่งจะช่วยให้พนักงานที่ประจำอยู่ตามศูนย์บริการต่างๆ สามารถทำงานด้านการตลาดและการขายได้มากขึ้น ขณะเดียวกันก็เป็นการเพิ่มความรวดเร็วในการพิจารณาอนุมัติใบสมัครและเพิ่มประสิทธิภาพในส่วนงานบริหารความเสี่ยงได้ดียิ่งขึ้น"
จีอี มันนี่ยังได้ปรับช่องทางการให้บริการอันประกอบด้วยศูนย์บริการจำนวน 70 แห่ง ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ให้สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่หลากหลายที่จีอี มันนี่ให้บริการอยู่ จากเดิมที่มุ่งนำเสนอเพียงหนึ่งผลิตภัณฑ์เป็นหลัก ยกตัวอย่างเช่น การปรับจุดบริการควิกแคชบนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสและในศูนย์การค้าต่างๆ ให้เป็นศูนย์บริการสำหรับทุกผลิตภัณฑ์ที่จีอี มันนี่นำเสนอ
สำหรับการตั้งสำนักงานระดับภูมิภาค การปรับช่องทางการให้บริการเป็นวันสต็อปชอป และการปรับโครงสร้างใหม่ที่มีผู้บริหารระดับจัดการดูแลวางแผนกลยุทธ์งานทางด้านตลาดและงานด้านการขายนั้น เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ธุรกิจของจีอี มันนี่ในปี 2550 ที่มุ่งเน้น การปรับองค์กรและช่องทางในการให้บริการให้เรียบง่าย เพื่อเพิ่มความสามารถในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค อย่างรวดเร็วและประหยัดต้นทุนในการบริหารงาน
"วันนี้ (27 ก.พ.) จีอี มันนี่ ประเทศไทย ได้ประกาศปรับโครงสร้างองค์กรใหม่โดยเพิ่มตำแหน่งระดับบริหารใหม่ 2 ตำแหน่ง ได้แก่ มร. ฟิลลิป ตัน ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่ายการตลาด และนายไพโรจน์ ชื่นครุฑ ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่ายขาย โดยมีหน้าที่รับผิดชอบวางแผนกลยุทธ์การตลาดและการขายสำหรับผลิตภัณฑ์สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อเพื่อการซื้อสินค้าแบบผ่อนชำระ และสินเชื่อส่วนบุคคลที่จีอี มันนี่ให้บริการ โดยก่อนหน้านี้ แต่ละผลิตภัณฑ์ทางการเงินของจีอี มันนี่ต่างมีผู้บริหารดูแลงานด้านการตลาดและการขายแยกออกจากกันซึ่งอาจทำให้เกิดความซ้ำซ้อนในการทำงานและการตัดสินใจ”.
|
|
|
|
|