ฮัทเปิดบริการโทรศัพท์มือถือระบบซีดีเอ็มเอ โชว์จุดขายใช้เทคโนโลยีระบบ มัลติมีเดียไร้สายความเร็วสูง
แต่มี วงจำกัดแค่กรุงเทพฯ กับภาคกลาง ก่อน ขายเครื่อง 1.7 หมื่นบาทพร้อม 3 แพกเกจโปรโมชั่นที่
เอไอเอสบอกว่าแรง แต่ยังไม่หวือหวา ด้านหมอเลี้ยบยันสิ้นเดือนมี.ค.รู้ผลโครงข่ายซีดีเอ็มเอในภูมิภาค
พร้อมย้ำไตรมาส 3 ซีดีเอ็มเอสามารถโรมมิ่งบริการกับ จีเอสเอ็ม ในช่วงเครือข่ายจำกัด
หากใครกีดกันไม่โรมมิ่งไอซีทีจัดการขั้นเด็ดขาด
เมื่อวานนี้ (27ก.พ.) บริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย บริษัทร่วมทุนระหว่างการสื่อสารแห่งประเทศไทย
(กสท.) กับบริษัท ฮัทชิสัน ไวร์เลส มัลติมีเดีย โฮลดิ้ง ประกาศเปิดให้บริการโทรศัพท์มือถือระบบซีดีเอ็มเอ
อย่างเป็นทาง การภายใต้ชื่อ HUTCH โดยมีน.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมว.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นประธานในงาน
ฮัทเปิดบริการด้วยการอาศัยจุดขายที่เทคโน โลยีระบบมัลติมีเดียไร้สายความเร็วสูง
พร้อมทั้งบริการที่หลากหลายภายใต้เทคโนโลยีใหม่ต่างจากการเปิดตัวของออเร้นจ์ในอดีตที่เป็นเทคโนโลยี
จีเอสเอ็ม ที่ยากจะเห็นความแตกต่างในเรื่องบริการ สิ่งที่ออเร้นจ์ทำได้ในช่วงต้นคือการขายเครื่องในราคา
ขาดทุน โปรโมชั่นล่อใจเพื่อสร้างฐานลูกค้าจำนวนมาก
แต่การเปิดตัวของฮัทเกิดขึ้นภายใต้ข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ให้บริการเพียงกรุงเทพฯ
และ 25 จังหวัดภาคกลาง ในขณะที่โครงข่ายในภูมิภาคอีกกว่า 50 จังหวัดที่เหลือชะตากรรมอยู่ในมือของรมว.ไอซีทีและบอร์ดกสท.เนื่องจากปัจจัยความสำเร็จในธุรกิจโทรศัพท์มือถือส่วนหนึ่งมาจากพื้นที่ให้บริการครอบ
คลุมทั่วประเทศ ซึ่งกลายเป็นมาตรฐานอุตสาหกรรม ไปแล้ว
"ภายในเดือนมีนาคมจะเห็นความชัดเจนว่า จะเดินหน้าโครงการต่ออย่างไร แต่เดินหน้าแน่นอน
ไอซีทีสนับสนุนให้ขยายโครงข่ายในภูมิภาค โดยอยู่บนพื้นฐานต้นทุนค่าใช้จ่ายโครงข่ายที่ไม่สูงเกินไปจนทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับรายอื่นได้"
น.พ.สุรพงษ์ กล่าว
โครงการขยายโครงข่ายซีดีเอ็มเอในภูมิภาค ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ด้านการเช่าโครงข่ายและการทำการตลาด
โดยผู้ชนะประมูลคือบริษัท เรียล ไทม์ที่เสนออุปกรณ์ของนอร์เทลในราคาประมาณ 3.2
หมื่นล้านบาทด้วยวิธีการเช่าโครงข่าย 12 ปี โครง การนี้ยังไม่ผ่านการพิจารณาอนุมัติเพราะน.พ.สุรพงษ์
มองว่าราคาแพงเกินไป ซึ่งสะท้อนถึงต้นทุนโครงข่ายที่สูงเกินไปด้วย ในขณะที่ผู้เข้าร่วมประมูลอย่างนอร์เทลมองว่าเป็นโครงการที่ผู้ประมูลต้องรับผิดชอบความเสี่ยงหลายอย่างโดยเฉพาะประเด็นด้านการตลาดที่ต้องรับประกันยอดผู้ใช้บริการประมาณ
9 แสนรายภายใน 4 ปีแรก หากทำไม่ได้ต้องเสียค่าปรับทำให้ตัวเลขต้องออกมาตามข้อเสนอ
ในขณะที่กสท.แทบจะไม่มีความเสี่ยงอะไร
ในขณะที่การขยายโครงข่ายในภูมิภาคต้อง รอความชัดเจนว่าจะเดินหน้าต่ออย่างไร ซึ่งหมาย
ความว่าอาจจะมีการเปลี่ยนรูปแบบการจัดการโครง การใหม่เพื่อทำให้ต้นทุนโครงข่ายถูกลงในระดับที่สามารถแข่งขันได้
น.พ.สุรพงษ์กล่าวถึงการโรมมิ่งข้าม โครงข่ายข้ามเทคโนโลยีว่าปัจจุบัน ภายในไตรมาส
3 ของปีนี้จะมีชิปรุ่นใหม่ที่ใช้ได้ทั้งระบบ CDMA/GSM/GPRS ทำให้คนใช้ซีดีเอ็มเอก็สามารถโรมมิ่งกับ
จีเอสเอ็มได้ ทำให้ซีดีเอ็มเอสามารถใช้นอกพื้นที่ 25 จังหวัดที่เปิดบริการตอนนี้ได้
"ถ้าผู้ประกอบการรายเดิมไม่ยอมให้โรมมิ่ง ไอซีทีจะ Take Action" น.พ.สุรพงษ์กล่าวเสียงแข็ง
เมื่อถูกถามกรณีผู้ประกอบการรายเดิมไม่ยอมให้ฮัททำการโรมมิ่ง เพราะจะทำให้เกิดการกีดกันในการ
ให้บริการ การ Take Action ของไอซีทีจะทำผ่านหน่วยงานในสังกัดอย่างบริษัททศท คอร์ปอเรชั่นที่เป็นคู่สัญญาร่วมการงานกับเอกชนในขณะที่คณะกรรมการโทรคมนาคมแห่งชาติหรือกทช.ยังไม่เกิด
น.พ.สุรพงษ์กล่าวถึงประโยชน์ของระบบซีดีเอ็มเอว่าจะเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนนโยบาย
5e รัฐบาลอย่างกรณีการเชื่อมโยงห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบมัลติมีเดียไร้สายในราคาที่ยอมรับได้
"รัฐบาลอยากเห็นคนติดต่อรัฐบาลผ่านโทรศัพท์มือถือขำระค่าสาธารณูปโภคต่างๆ หรือแม้กระทั่งการจดทะเบียนสมรสผ่านโทรศัพท์มือถือ"
นายสตีเฟ่น ซัน กรรมการผู้จัดการและประธาน เจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ฮัทชิสัน
ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย ซึ่งเป็นผู้ทำตลาดฮัทกล่าวว่าตลาดเป้าหมายของ ฮัทชัดเจนมาก
คือคนที่ต้องการข้อมูล สาระ และความบันเทิงเหมือนคอมพิวเตอร์แลปท้อปที่สามารถ ใช้งานเชิงธุรกิจหรือใช้เป็นอุปกรณ์เพื่อความบันเทิงได้
ฮัทเปิดตัวด้วยโทรศัพท์มือถือ 2 รุ่นพร้อม ดาต้าการ์ด เซียร์ร่า ไวร์เลส 1X คือซันโย
ราคา 17,900 บาท และซัมซุงราคา 16,900 บาท ในส่วนค่าบริการ ในช่วงแรกมี 3 แพ็คเก็จคือ
1. Hutch Xplore ค่าบริการ 880 บาทไม่มีโทรฟรี ค่าโทรนาทีละ 1.50 บาท ทั่วประเทศและคิดเป็นวินาที
แต่บริการเสริมมากมาย เช่นส่งโฟโต เมล์,อีเมล์ ,เอ็มการ์ด 200 ครั้ง ดาวน์โหลดโลโก
ริงโทร วอล์เปเปอร์ 200 ครั้ง ส่ง SMS 200 ครั้ง 2. Hutch Extra ค่าบริการ 1,490
บาทและ 3. Hutch Xtreme 1,980 บาท สำหรับดาต้าการ์ดจะมีให้เลือก 2 แบบคือ Hutch
Experien ความเร็ว 300 เมกกะไบต์และ Hutch Xcite ความเร็ว 500 เมกกะไบต์
นายอาทร เตชะตันติวงศ์ ผู้จัดการฝ่ายการ ตลาดบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิสหรือเอไอเอส
กล่าวว่าดูจากแพ็กเก็จโปรโมชันหรือบริการเสริมต่างๆ ถือว่ายังไม่หวือหวามากในตอนนี้
หากแยกพูดเป็น 2 ด้านในการโปรโมชันคือด้านวอยซ์หรือการโทรฟรี กับด้านบริการเสริมอย่างการส่ง
SMS ส่งภาพ
ด้านเสียงก็ถือว่าแรงมากอย่างกรณีจ่าย 1,480 บาทโทรได้ 2,000 นาทีเท่ากับนาทีละไม่ถึง
1 บาท แต่เอไอเอสเชื่อว่ากลุ่มลูกค้าที่ใช้โทรศัพท์มือถือมากๆ หรือ Heavy User
ก็คงไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายหลักหรืออาจไม่ได้รับการตอบรับจากลูกค้ากลุ่มนี้ เพราะหากเทียบกับโอเปอเรเตอร์
อีกรายที่จ่าย 300 บาทโทรได้ 4,000 บาทถือว่าแรงกว่ามาก แต่ก็ยังไม่ได้รับการตอบรับจากตลาดมากนัก
เพราะบริการโทรศัพท์มือถือลูกค้าจะคำนึงเรื่องการครอบคลุมของเครือข่ายและคุณภาพของเครือข่ายเป็นหลัก
"ส่วนบริการเสริมต่างๆ ผมว่าต้องอาศัยเวลาในการให้ความรู้ตลาดยกเว้นการส่ง SMS
ถือ เป็นเรื่องทั่วไปเหมือนวอยซ์แล้ว ไม่ถือเป็นความ ได้เปรียบ แต่อย่างใด อีกอย่างราคาตัวเครื่องที่สูงเกือบ
2 หมื่นบาทก็น่าจะเป็นปัญหาในการทำตลาดพอสมควร"