Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน12 พฤษภาคม 2548
แตกต่างกันด้วยหน้าที่… กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร             
 


   
search resources

โตชิบา ประเทศไทย, บจก.
กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร




อาคารสีแดงอิฐริมถนนวิภาวดี-รังสิต ของ บริษัท โตชิบา ประเทศไทย จำกัด ไม่ได้ปลูกสร้างขึ้นให้มีความสำคัญเพียงแค่การใช้เป็นออฟฟิศทำงาน แต่ตัวอาคารนั้นยังต้องการสื่อความหมายบอกแก่พนักงานทั้งหมดด้วยว่า ทุกๆคนต่างคืออิฐคนละก้อนที่มีขนาดเท่าๆกัน
………..
นับตั้งแต่ปี พ.ศ 2529 ที่ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของพนักงานโตชิบา ในตำแหน่งผู้จัดการแผนกโฆษณา จนถึงวันนี้ที่ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ทายาทคนที่สอง ของ ดร. กร และ ท่านผู้หญิงนิรมล สุริยสัตย์ บอกว่า ปัญหาและอุปสรรคที่ท้าทายที่สุดในชีวิตการทำงานของเธอนั่นก็คือเรื่องของการบริหารคน

“สมัยก่อนตอนที่เราเริ่มทำงานใหม่ๆ เราก็คิดว่าความรู้เราน้อย เพราะเราไม่ได้เรียนมาทางด้านนี้ เพราะฉะนั้นมันจะเป็นปัญหาด้านการตลาด ลงเงินไม่พอ บริษัทเราไม่มีอุปกรณ์ หรืออะไรต่ออะไร แต่พอเราเริ่มทำงานมาถึงจุดหนึ่ง เรารู้เลยว่าสิ่งสำคัญที่สุดและยากที่สุดคือ ศาสตร์ของคน

เราจะพยายามพูดกับพนักงานตลอดเลยว่าคนทุกคนคืออิฐสีแดง ไม่ว่าคุณจะอยู่ตรงส่วนไหนก็ตาม นับตั้งแต่คนขับรถ พนักงานทำความสะอาด มาเก็ตติ้ง วิศวกร กระทั่งประธานบริษัท ทุกคนคืออิฐกันคนละก้อน ไม่ได้มีใครเป็นก้อนใหญ่หรือเล็กกว่า แต่เป็นอิฐก้อนเท่าๆกัน ดังนั้นคุณค่าเท่ากันทุกก้อน แต่มันแตกต่างกันด้วยหน้าที่ ทุกหน้าที่มีคุณค่าเท่าๆกัน เพียงแต่ว่าหน้าที่ผู้บริหารคือการมีหน้าที่วางแผน ออกแบบ มอบหมายว่าให้อิฐก้อนไหนทำอะไร และสร้างแนวทางให้อิฐแต่ละก้อน เรียงตัวกันในทิศทางเดียวกัน เกิดเป็นงานสถาปัตยกรรมที่สวยงาม”

ดังนั้นเมื่อเรื่องของคนคือสิ่งที่เธอให้ความสำคัญ บรรยากาศการประชุมของทุกเช้าวันจันทร์ พนักงานทุกส่วนของบริษัทฯจะถูกเรียกให้เข้าประชุมรับฟังความเห็นด้วย

“ก่อนหน้านั้นมีคนบอกว่า เอาขึ้นมาประชุมทำไมพนักงานขับรถ เอาขึ้นมาทำไมแรงงานแบกหาม ไม่ต้องเอาขึ้นมา เอาเฉพาะปริญญาตรี แต่สำหรับดิฉันไม่ได้ คุณอยู่ตรงไหนก็ต้องมา”

เมื่อปีที่ผ่านมา กอบกาญจน์ ได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 13 นักธุรกิจสตรีชั้นนำระดับโลก ซึ่ง
หากว่าใครได้รับทราบถึงการทุ่มเทเวลาแทบทุกนาทีให้กับการทำงานของเธอ ก็จะเข้าใจว่าการที่เธอได้รับเลือกนั้นเป็นเรื่องที่เหมาะสมที่สุด

เธอบริหารชีวิตในแต่ละวัน ด้วยการตื่นแต่เช้าทุกวัน แม้นว่าจะต้องเข้านอนดึกขนาดไหนก็ตาม ประมาณ ตีห้าถึงตีห้าครึ่งเธอจะขับรถไปที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธใกล้บ้าน เพื่อไปออกกำลังกายด้วยการเดินขึ้นตึก 16 ชั้น เดินขึ้นเดินลงอยู่ 3 รอบ ก่อนจะกลับบ้านพร้อมกับร่างกายที่มีเหงื่อท่วมตัว
พนักงานรักษาความปลอดภัยรวมถึงแม่บ้านทำความสะอาด ไม่เคยสงสัยถึงพฤติกรรมของเธอ เพราะเธอปฎิบัติให้พวกเขาเห็นจนคุ้นตาอยู่ทุกเช้าว่าเธอมาทำอะไร หนำซ้ำยังให้พารถเข้าไปจอดได้โดยง่ายโดยไม่ต้องรับบัตร

“เมื่อก่อนนี้เป็นคนที่ไม่ค่อยออกกำลังกายเลย เมื่อายุขนาดนี้แล้ว ถ้าไม่ดูแลตัวเอง ก็ไม่มีใครช่วยเราได้ การเดินที่ดิฉันทำอยู่ มันอาจไม่ใช่การออกกำลังกายที่ดีที่สุด แต่ว่ามันเวิร์คที่สุดสำหรับตัวเอง สำหรับเวลาที่มีอยู่ เพราะว่ามันทำตอนเช้าได้ ใช้เวลาไม่มาก ไม่ถึงครึ่งชั่วโมงก็เสร็จ ตื่นเช้าขับรถออกไปเลยเพราะใกล้บ้าน ยามที่โรงพยาบาลเขาก็จำหน้าเราได้ เพราะว่าเราเป็นคนไข้ที่นี่เป็นประจำอยู่แล้ว ดังนั้นเวลาที่เราเป็นอะไรกระทันหัน ประวัติคนไข้ของเราก็อยู่ที่นี่ มันเซฟ

และสำหรับตัวเองการเดินขึ้นเดินลงมันเหมือนกับการทำสมาธิ จิตใจมันจะนิ่ง และบางทีจะทำให้นึกอะไรบางอย่างที่เราไม่ได้ตั้งใจนึกถึง ได้ทบทวนตัวเอง ไม่รู้ว่ามันมาได้ยังไงอาจเป็นเพราะว่าพอเราเริ่มมีสมาธิ มันก็มา “

กอบกาญจน์บอกว่าเธอมักจะทำอะไรที่มีความหมายกับตัวเอง แม้กระทั่งการเลือกเดินขึ้นตึก16 ชั้นนี้ด้วยเหมือนกัน

“เริ่มเดินตั้งแต่คุณแม่ป่วย คุณพ่อป่วย เราเคยไปเฝ้าไข้ทุกวัน เพราะฉะนั้นการที่เรานั่งอยู่เฉยๆ ไม่ได้ออกกำลังกาย มันไม่ดี และเผอิญด้วยว่าเวลาที่คุณแม่ป่วยคุณพ่อป่วยท่านก็จะพักอยู่ชั้น 16 ก็เลยคือสาเหตุว่าทำไมต้องเดินแค่ชั้น 16 ทั้งที่มันมีมากชั้นกว่านั้น”

เสร็จจากออกกำลังกาย เธอก็จะกลับบ้านอาบน้ำแต่งตัว เพื่อที่จะได้ขับรถไปส่งลูกที่โรงเรียนด้วยตัวเอง

“ทุกเช้าจะต้องส่งลูกไปโรงเรียนให้ได้ เนื่องจากว่าไม่ค่อยมีเวลามากนักที่จะอยู่กับเค้า มันเป็นช่วงที่เราสดใส เราสามารถที่จะคุยกับเค้าไปในรถ อาจจะคุยเรื่องงาน อาจจะคุยเรื่องการบ้านเค้า นึกคิดอะไร หรืออยากจะใส่อะไรเข้าไปในเค้า ว่ามุมมองของชีวิตเป็นยังไง ดังนั้นช่วงเช้าสำหรับตัวเองนี้จะสำคัญมาก”

กอบกาญจน์จบการศึกษาจาก Wellesley College รัฐแมสซาชูเซตส์ ก่อนที่จะร่ำเรียนด้านสถาปัตยกรรมที่ Rhode Island School of Design รัฐโรดไอแลนด์ สหรัฐอเมริกา ใช้ชีวิตครอบครัวกับ พ.ต.อ. ชนสิษฎ์ วัฒนวรางกูร มีลูกสาวและลูกชายรวมสองคนคือ เด็กชายภากร และ เด็กหญิงแพรวา วัฒนวรางกูร เวลานี้ เด็กชายภากร หรือ น้องไม้ไผ่ ลูกชายคนโต ถูกส่งไปเรียนที่อังกฤษเป็นปีแรก

ทั้งลูกสาวและลูกชายการที่เธอส่งพวกเขาให้เข้าเรียนโรงเรียนนาชาติ หรือว่าการส่งให้ไปเรียนในต่างแดน เธอว่ามันไม่ใช่เพราะเห็นว่าฝรั่งมีอะไรที่ดีกว่า แต่เพราะเธอต้องการให้ลูกได้เรียนรู้ในการอยู่บนโลกใบนี้ ซึ่งเป็นโลกที่เปิด

“เราต้องเข้าใจว่าแต่ละที่เป็นอย่างไร สามารถเข้าใจความคิดของคนทุกๆแห่งแต่สำคัญที่สุดยังไงเราต้องเป็นคนไทย อันนี้จะตอกย้ำเค้าเสมอว่า เราเป็นคนไทย เราทำทั้งหมดเพื่อจะต้องกลับมาช่วยประเทศเรา เพราะฉะนั้นเค้าลืมไม่ได้ว่าเค้าเป็นคนไทย”

หลังจากที่เสร็จภาระกิจจากการส่งลูกไปโรงเรียน เธอจะต้องรีบไปทำงานให้ทันเวลาแปดโมงเช้าทุกวัน เพื่อเข้าประชุมเช้ากับพนักงาน เธอว่าชีวิตการทำงานเป็นชีวิตที่ต้องทำงานร่วมกับคนอื่น จะตามใจตัวเองไม่ได้

“ตั้งแต่สมัยเรียน เป็นคนที่ชอบทำอะไรดึกๆ แต่ว่าตอนเช้าก็ต้องไปโรงเรียนให้ทัน เราเลือกที่จะนอนดึกเอง เราก็ต้องที่จะรับผิดชอบ

“ทุกเช้าวันจันทร์จะเป็นการประชุมกับพนักงานทั้งหมด ทุกระดับชั้น ตั้งแต่คนขับรถไปจนถึงประธานบริษัท เพื่อว่าเราจะได้พูดได้สื่อสารกัน พนักงานจะผลัดกันขึ้นมาพูด ดิฉันจะเป็นคนพูดคนสุดท้าย พูดในสิ่งที่เราฟังที่เค้าพูด หรือว่าเราอาจจะมีหัวข้อส่วนตัวที่เราคิดว่าจะต้องสื่อสารกับพนักงาน นอกจากนั้นวันอื่นๆ ก็จะเป็นการประชุมเช้ากับพนักงานแต่ละแผนก”

วันพุธเธอจะไม่เข้าออฟฟิศ แต่จะไปเยี่ยมคลังสินค้า เพราะปีนี้โตชิบาแยกคลังสินค้าไปอยู่ที่ศูนย์อุตสาหกรรมบางกระดี่ เธอจะไปที่นั่นอาทิตย์ละครั้งและประชุมเช้าที่นั่น

“เราต้องไปให้พนักงานเขาเห็นหน้าเรา ซึ่งนอกเหนือจากการประชุมเช้า ก็จะเป็นการเคลียร์งาน หรือมีอะไรที่เราต้องตามงาน เราก็ต้องเรียกพนักงานเข้ามาคุย หรือบางทีดิฉันก็จะเป็นคนเข้าไปคุยกับพวกเค้าที่โต๊ะเลย ให้เค้ามีความรู้สึกใกล้ชิดกับเรา ขณะเดียวกันเราก็จะได้เห็นว่าตลอดเวลาพนักงานของเราเขากำลังคิดและทำอะไรอยู่”

ช่วงสายๆบ่ายๆ เป็นช่วงเวลาที่เธอมีงานที่ต้องออกไปข้างนอก ไม่ว่าจะเป็นการประชุม ในฐานะกรรมการทางสังคมต่างๆทั้งที่เกิดขึ้นใหม่ หรือได้รับมอบหมายต่อจากท่านผู้หญิงนิรมล สุริยสัตย์ ผู้เป็นแม่ อาทิ กรรมการมูลนิธิวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพฯ ,กรรมการกีฬาสเปเชียลโอลิมปิคแห่งประเทศไทย,กรรมการมูลนิธิวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพฯ,ประธานฝ่ายหาทุน สมาคมนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย-กรุงเทพฯ ,กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยศิลปากร,กรรมการหอการค้าไทย ฯลฯ

ถ้าไม่เช่นนั้นอีกกรณีหนึ่งเธออาจเดินทางออกไปเยี่ยมลูกค้าทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด

“สมัยก่อนไปต่างจังหวัดดิฉันจะค้างหลายคืน เดินสายเลย แต่เดี๋ยวนี้พอเริ่มลูกก็ค้างยาวๆไม่ได้ อาจจะค้างสักคืนสองคืน เวลาไปเยี่ยมก็จะพยายามเยี่ยมให้ได้เยอะๆ ด้วยความที่เราอยู่ในวงการที่ค้าขายเครื่องใช้ไฟฟ้า ยังไงสิ่งสำคัญที่สุด เราต้องรู้ว่าตลาดคืออะไร ผู้ขาย ผู้บริโภคของเราเขาคิดอะไรอยู่ เขามีปัญหาอะไร ปกติเราอาจจะรับฟังโดยการมีเซลล์ มีแผนกการตลาด มาอธิบายให้ฟังว่าเป็นยังไง แต่มันไม่สำคัญเท่าการที่เราได้ไปรู้ไปเห็นเอง

แม้กระทั่งว่าเสาร์และอาทิตย์ ที่ปกติเธอจะต้องพาลูกไปทำกิจกรรม ไปทานข้าวกับคุณพ่อคุณแม่ของสามี เธอก็มักจะแวะไปที่ห้าง พาลูกไปไว้ที่จุดหนึ่ง อาจจะเป็นร้านหนังสือ แล้วเธอก็จะวิ่งไปตรงจุดขายเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อไปคุยกับซีพี

“มันสำคัญว่าเราต้องรู้สึกเสมอว่าอะไรเกิดขึ้น ดีที่สุดคือการได้คุยกับเขา เค้าก็จะคุยว่าขายดี ขายไม่ดี และก็เดินไปดูสินค้าออกใหม่บ้างจะเป็นลักษณะอย่างนี้”

จากยุคที่บริหารงานโดยคุณแม่ ท่านผู้หญิงนิรมล สุริยสัตย์ มาจนถึงยุคของเธอ กอบกาญจน์บอกว่า โดยรากฐานนั้นหลายๆอย่างยังคงเหมือนเดิม เพราะปรัชญาในการทำงานที่สำคัญคือการนำสิ่งที่ดีสู่ชีวิต

“มันเป็นความเชื่อ ไม่ใช่แฟชั่น ไม่ใช่การตลาด ไม่ใช่ช่วงนี้เขามีอะไรอินเราก็เปลี่ยน ปรัชญาก็คือปรัชญา มันเปลี่ยนไม่ได้ เพราะฉะนั้นการนำสิ่งที่ดีสู่ชีวิตมันไม่ใช่gimmickเล็กๆน้อยๆที่ฟังแล้วดูดี แต่เราเชื่อว่าเราจะต้องนำสิ่งที่ดีสู่ทุกคน และคนที่เราพูดถึงก็คือ ไม่ใช่แค่พนักงาน แต่หมายถึงผู้บริโภค เราต้องค้าขายความนึกคิดนี้ตลอดเวลา ไม่ได้ค้าขายเพื่อกำไร แต่เราก็ต้องมีกำไรเพื่อที่จะดำเนินกิจการต่อ ต้องทำอะไรให้สังคมมีชีวิตที่ดีขึ้น

ดังนั้นสินค้าเราต้องมีคุณภาพ ต้องคำนึกถึงสิ่งแวดล้อม ต้องยุติธรรม กับผู้บริโภค อาจจะไม่ได้ขายแพงที่สุด และอาจจะไม่ถูกที่สุด เพราะว่าเราไม่ได้เน้นทำยอดขาย แล้วคุณภาพเป็นยังไงก็ช่าง แต่เราเน้นเทคโนโลยี เพื่อตอบสนองความต้องการให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อย่างสินค้าประหยัดไฟ เราไม่ได้เพิ่งมาฮิต แต่เราเป็นอย่างนี้มาตลอด ซึ่งของพวกนี้มันจะเกิดขึ้นได้มันต้องมีเทคโนโลยีและก็ความซื่อสัตย์ของผู้ผลิต”

ถึงบรรทัดนี้คนที่น่าตอบได้ดี ก็เห็นจะเป็นลูกค้าของโตชิบาโดยตรง ว่ามีสิ่งที่ดีสิ่งไหนบ้าง ที่โตชิบาได้นำสู่ชีวิตของพวกเขาแล้ว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us