Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2550
Ember Restaurant รสชาติสุนทรีย์จากแดนสิงโต             
โดย สุภัทธา สุขชู
 


   
search resources

Restaurant
อภิสิทธิ์ เตชะนิธิสวัสดิ์
Ember Restaurant




สิงคโปร์ เมืองที่ขึ้นชื่อว่ามีความหลากหลายทางชนชาติมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก การผสมผสานทางวัฒนธรรมจึงเป็นสิ่งที่เห็นได้บ่อยครั้ง และหลายครั้งก็กลับกลายเป็นความกลมกลืนที่แสนงดงาม โดยหนึ่งในนั้น คงต้องนับรวมรสชาติสุนทรีย์ของอาหารสไตล์ยุโรปที่อบอวลด้วยกลิ่นอายแห่งเอเชีย จากร้าน Ember

บ้านสีขาว 3 ชั้นกลางซอยหลังสวน ดูนวลตาเมื่อถูกขับด้วยแสงไฟจากภายใน ยิ่งทำให้อาคารหลังนี้ดูโดดเด่นยิ่งขึ้น ที่นี่คือที่ตั้งของร้านอาหารสัญชาติสิงคโปร์ที่มีชื่อว่า Ember

จากการรีวิวถึงกิตติศัพท์ร้านแห่งนี้ ทำให้ทราบว่า ร้าน Ember ถือเป็น "Hip in Town" แห่งหนึ่งในเกาะสิงคโปร์ โดยเฉพาะในหมู่นักเที่ยวและนักธุรกิจไม่ว่าจะเป็นชาวสิงคโปร์หรือชาวต่างชาติ

"Ember ในสิงคโปร์มีชื่อเสียงก็เพราะ รสชาติอร่อย ราคาไม่แพง และคุณภาพดี" อภิสิทธิ์ เตชะนิธิสวัสดิ์ กล่าวในฐานะผู้อำนวยการและหุ้นส่วนของร้าน Ember สาขากรุงเทพฯ

จากนักธุรกิจในวงการประมงและขนส่งทางทะเล เจ้าของห้องแช่เย็นและเรือประมงจำนวน 45 ลำ แม้อภิสิทธิ์จะบอกว่า ไม่ได้ตั้งใจต่อยอดธุรกิจของตัวเองสู่อุตสาหกรรมอาหาร แต่รากฐานธุรกิจเดิมของเขาก็ทำให้มั่นใจได้ว่า ร้าน Ember จะไม่ขาดอาหารทะเลสดๆ ที่มีคุณภาพสูงที่สุดเท่าที่เรือประมงของเขาจะหาได้

แรงบันดาลใจอีกส่วนในการเปิดร้านอาหารของอภิสิทธิ์ อยู่ที่การเป็นคนชอบชิมและชอบเดินทางท่องเที่ยว จึงได้ชิมและประทับใจกับอาหารหลายประเภท โดยเฉพาะอาหารสไตล์ ยุโรปที่ได้กลิ่นเอเชียจ๋าอย่างร้าน Ember ที่สิงคโปร์

แต่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้อภิสิทธิ์ตัดสินใจเลือกร้าน Ember เข้ามาเปิดในประเทศไทย ท่ามกลางกระแสต่อต้านสิงคโปร์ของชาวกรุงเทพฯ บางกลุ่ม นั่นก็คือ ความเป็นเพื่อนสนิทกับ "ลอ ลิก แปง" ผู้อำนวยการโรงแรมและร้านอาหาร Ember ในสิงคโปร์ และเชฟเซบาสเตียน อึ้ง แห่งร้าน Ember สิงคโปร์

"ถ้าอยู่ดีๆ ให้เรามาทำร้านอาหารก็คงต้องคิดแล้วคิดอีก แต่นี่เรามีเพื่อนสนิทที่โตมาด้วยกันทำอยู่ และก็ทำได้ดีเสียด้วย เราก็ยิ่งมั่นใจ และพวกเขา (ลอ ลิก แปง และเซบาสเตียน) ชอบเมืองไทยอยู่แล้วด้วย เขาก็เลยมา" อภิสิทธิ์พูดราวยืนยันว่าโอกาสที่ร้าน Ember จะไปโผล่สาขาที่ประเทศอื่นอีกนั้น แทบไม่มี

เอกลักษณ์ที่สำคัญของร้าน Ember คงอยู่ที่การผสมผสานระหว่างการปรุงอาหารสไตล์ ยุโรปที่แต่งแต้มด้วยรสชาติและกลิ่นอายเอเชีย ซึ่งกว่าจะได้มาแต่ละเมนูที่มีเอกลักษณ์ทางรสชาติดังกล่าว อภิสิทธิ์เปรยว่า ทั้งหมดคงต้องยกนิ้วให้กับความสร้างสรรค์ของเชฟ

แม้จะไม่ได้มาประจำที่เมืองไทยด้วยตัวเอง แต่เชฟเซบาสเตียนก็วางใจส่งมอบให้เชฟมูฮัมมัด ไฮคัล โจฮารี เพื่อนสนิทมาดูแลครัวที่กรุงเทพฯ ภายใต้พื้นฐานเดียวกันนั่นก็คือความสร้างสรรค์ของเชฟในการปรุงเมนูต่างๆ ที่เข้าถึงอัตลักษณ์ของร้าน อันได้แก่ Modern European With Asian Touch

"เราต้องการเพิ่มทางเลือกให้คนต่างชาติที่อยู่ในเมืองไทย เพราะไม่ใช่ว่าชาวต่างชาติทุกคนจะชอบ หรือทานอาหารไทยได้ พวกเขา ก็จะมีทางเลือกเป็นอาหารที่มีพื้นฐานการปรุง แบบยุโรป แต่ผสมผสานด้วยเครื่องปรุงท้องถิ่น" อภิสิทธิ์อธิบายถึงรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ ของ Ember

เริ่มจาก Complimentary ที่เสิร์ฟเป็นแป้งโรตี (Nun-bread) กับดิปปิ้งซอส 3 ชนิด สู่หลากเมนูที่ส่งกลิ่นรสชาติเอเชีย เช่น ปูนิ่มทอดกรอบราสซอสวาซาบิ ปลาหิมะ ย่างราดซอสถั่วเหลืองและขิง ทอดมันเนื้อปูราดด้วยซอสมะเขือเทศปรุงรส ตับเป็ดทอดกรอบราดซอสลูกแพร์ และตับเป็ดทอดกรอบ กับซอสญี่ปุ่น ฯลฯ

เหล่านี้เป็นเพียงออร์เดิฟ ตัวอย่างเมนู สร้างสรรค์ของเชฟโฮคัล ที่ผ่านการ Mix & Match ระหว่างวัตถุดิบ เครื่องปรุงและเทคนิค การปรุง จนได้เมนูรสชาติกลมกล่อมที่แปลกและแตกต่าง จนหลายเมนูกลายเป็น Signa-ture Menu ที่หาชิมได้ก็เฉพาะที่ Ember

แต่กว่าจะได้มาซึ่งเมนูเหล่านี้ เชฟโฮคัลต้องใช้ทั้งเทคนิคการปรุงอาหารสไตล์ยุโรปที่ร่ำเรียน ผนวกกับประสบการณ์ปรุงอาหารชาติต่างๆ ที่สั่งสมมา พร้อมกับจินตนาการเพื่อการสร้างสรรค์เมนูให้เข้ากับวัตถุดิบท้องถิ่น รวมถึงถูกกับปุ่มรับอรรถรสของผู้ลิ้มรสที่เป็นสากล

เชฟโฮคัลยกตัวอย่าง เมนูปลากะพงย่างเตาถ่านราดด้วยซอส สมุนไพรและฟองดูมะเขือเทศ ซึ่งจานนี้เขาได้ไอเดียขณะที่ไปทานปลากะพงทอดน้ำปลาพร้อมน้ำจิ้ม ณ ร้านอาหารในกรุงเทพฯ

"ทานอาหารท้องถิ่นเยอะๆ จะช่วยให้เราเกิดไอเดียใหม่ๆ ที่จะพัฒนามาเป็นเมนูที่ร้าน" เชฟไฮคัลบอกแหล่งที่มาของความสร้างสรรค์ของเขา ซึ่งล้วนมาจากประสบการณ์ที่สะสม และจินตนาการ

เมนูเซตในวันวาเลนไทน์เป็นอีกตัวอย่างที่แสดง ถึงความสร้างสรรค์ของเชฟโฮคัลได้ดี

เขาได้สร้างสรรค์เมนูพิเศษสำหรับคู่รัก แบ่งเป็น For Her และ For Him เพราะเชื่อว่า เมนูของผู้หญิงควรเบากว่าของผู้ชาย ทั้งคู่จึงจะอิ่มพร้อมๆ กัน โดยในจานหลักเขายังได้คิดหาเมนูที่มีหอยนางรม (เชื่อว่าเป็นยากระตุ้นความต้องการทางเพศ) เป็นส่วนประกอบ

สนนราคาอาหารแต่ละจาน เริ่มตั้งต้นที่ 200 ปลายๆ จนถึงพันต้นๆ (รวม 10% ค่าบริการและภาษีแล้ว)

ราว 70% ของเมนูอาหารในร้าน Ember สิงคโปร์ จะหาทานได้ที่สาขากรุงเทพฯ และอีก 30% เป็นเมนูที่เชฟโฮคัลสร้างสรรค์ขึ้นมาเพิ่มเติมเฉพาะสาขากรุงเทพฯ หลังจากที่ได้เรียนรู้ว่า เมืองไทยของเรามี "อะไร" ดีพอที่จะใช้เป็นวัตถุดิบของร้านได้บ้าง

"ผมเชื่อว่าสิ่งหนึ่งที่ร้าน Ember สิงคโปร์ จะ สู้เราไม่ได้ก็คือ เมนูอาหารทะเล เพราะของเราคงสดกว่า และอีกหน่อยเราก็จะมีเมนูทูน่า (ครีบเหลือง) มาเสิร์ฟลูกค้าประจำ ซึ่งจะหาทานที่อื่นไม่ได้ เพราะ มีเรือผมลำเดียวในประเทศไทยที่จับ และผมก็จะส่งเฉพาะที่ร้านผม" อภิสิทธิ์เห็นลู่ทางเพิ่มมูลค่าสินค้าและธุรกิจชัดขึ้น

นอกจากเมนูและสไตล์การปรุงแบบ East Meets West อีกสิ่งที่อภิสิทธิ์ติดใจจนต้องนำมาจากร้าน Ember สิงคโปร์ นั่นก็คือ คอนเซ็ปต์ Chef Testing Menu ซึ่งเขาเชื่อว่าจะเป็นมิติใหม่ของวงการร้านอาหาร Fine Cuisine ในบ้านเรา

สำหรับคนที่ไม่เคยรับประทานอาหารที่นี่ Chef Testing Menu อาจจะเป็นอีกทางเลือก โดยทั้งเซตจะมี 6 คอร์ส (รวมของหวาน) แต่ละจานจะเสิร์ฟในปริมาณ ที่น้อยลง (กว่า A la carte menu) ซึ่งใน 6 จานนี้จะมีทั้งเมนูแนะนำประจำวัน และ Signature Menu ที่เชฟจะเลือกสรรปรุงมาเฉพาะลูกค้าแต่ละราย

แต่ข้อเสียของ Chef Testing Menu คงอยู่ที่สนนราคาที่สูงถึง 1,600 บาท และการรับประทานทานจนครบเซตอาจต้องใช้เวลานานกว่าชั่วโมงครึ่งเลยทีเดียว เพราะเชฟจะปรุงและเสิร์ฟอาหารสดๆ ร้อนๆ เท่านั้น ถ้าลูกค้ายังไม่จวนจะเสร็จจานที่รับประ ทานอยู่ เชฟก็อาจจะไม่เริ่มปรุงเมนูใหม่

แม้อภิสิทธิ์จะไม่ใช่ลูกค้าหน้าใหม่ แต่เขาก็ยังยินดีที่จะจ่ายทั้งเวลาและเงินจำนวนไม่น้อย สำหรับ Chef Testing Menu เพื่อที่จะได้กินอาหาร หลากหลายและเมนูใหม่ๆ ที่เชฟแนะนำ

"ผมเองจะชอบ Chef Testing Menu มาก เพราะเชฟจะช่วยนึกให้ว่าอะไรที่เรายังไม่ได้กิน และวันนี้ในครัวมีวัตถุดิบอะไรสดใหม่ แล้วก็สรรหา เมนูถูกใจมาให้เรา" อภิสิทธิ์เชิญชวนอย่างชวนเชื่อ ...ไม่ใช่เพราะบทบาทเจ้าของร้าน แต่เป็นในฐานะลูกค้าประจำที่ดูจะเอร็ดอร่อยกับทุกๆ เมนูของร้าน มากกว่าใครๆ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us