|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มีนาคม 2550
|
|
"ศึกษิต หมายถึง ผู้มีการศึกษา เป็นคำของพระองค์เจ้ารัชนี แจ่มจรัส หรือ น.ม.ส. ซึ่งอาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ชอบ ก็เลยนำมาตั้งเป็นชื่อร้านหนังสือของตัวเอง ชื่อร้านนี้จึงแปลได้ว่า ปัญญาชนสยาม" วัลลภากล่าว
ร้านศึกษิตสยาม ก่อตั้งเมื่อปี 2510 ซึ่งกลายเป็นร้านหนังสือแห่งอุดมคติของ ส.ศิวรักษ์ที่อยากให้ปัญญาชนและนักอ่านได้มีแหล่งพบปะสังสรรค์ เสวนาทางความคิดร่วมกัน
เดิมร้านนี้ตั้งอยู่แถวสามย่าน ข้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จน 10 กว่าปีก่อน จุฬาฯ ได้ยกเลิกสัญญาเช่ายึดพื้นที่คืนเพื่อสร้างคอมเพล็กซ์ (ซึ่งก็ยังไม่แล้วเสร็จจนวันนี้) จนต้องย้ายมาตั้งอยู่บนถนนเฟื่องนครเช่นปัจจุบัน
ในยุคนั้น ร้านหนังสือแห่งนี้กลายเป็นที่พึ่งพิงของเหล่าปัญญาชน ในแง่ของการเสาะหาความรู้รอบด้าน และการหาทางเลือกทางความคิด หนังสือที่นำมาวางล้วนแต่เป็นหนังสือที่ผ่านการคัดเลือกจากคุณภาพเนื้อหา มีทั้งหนังสือทางเลือก หนังสือหายาก และหนังสือจากเมืองนอก
ในฐานะอดีตลูกค้าตัวยงของร้าน วัลลภากล่าวยกย่องว่า ร้านหนังสือแห่งนี้ได้จุดประกายให้คนในสังคมได้มีทางเลือก ขณะที่ ส.ศิวรักษ์ ก็เป็น "กลุ่มทางเลือก" ของยุคนั้น เพราะเป็นผู้นำพาความคิดและปรัชญาใหม่ๆ มาสู่สังคมไทย
"ร้านศึกษิตสยามเป็นร้านที่มีบรรยากาศแปลกใหม่มากสำหรับยุคนั้น เป็นต้นแบบอะไรหลายๆ อย่าง และกิจกรรมที่วิเศษที่สุดคือ ศึกษิตเสวนา" นิวัติ กองเพียร เคยกล่าวในงานครบรอบกว่า 30 ขวบปีของร้าน
ขณะที่ หรินทร์ สุขวัจน์ ให้คำนิยามว่าเป็น "ป้อมค่ายทางปัญญา"
ช่วงหลังที่ ส.ศิวรักษ์ เริ่มมีเวลาดูแลจัดการร้านน้อยลง ประกอบกับผู้จัดการร้านยุคนั้นขาดความรักและความรู้เรื่องหนังสืออย่างลึกซึ้ง แนวหนังสือในร้านเริ่มกลายเป็นจำพวกคู่มือเตรียมสอบเข้า คู่มือคอมพิวเตอร์ และหนังสือแนวตลาดทั่วไป ความนิยมในร้านจึงตกลง
จนกระทั่งเมื่อ 5 ปีก่อนที่วัลลภาได้กลับมายังร้านแห่งนี้อีกครั้ง แต่เป็นในฐานะเจ้าของร้าน
เธอยอมรับว่า ความศักดิสิทธิ์ในการเป็น "แหล่งรวมตัวของปัญญาชนสยาม" ของร้านศึกษิตสยามเริ่มถดถอยไปมาก
"เราโละแล้วคัดเลือกใหม่ทั้งร้าน เพื่อให้อยู่บนจุดยืนคือ คุณภาพ องค์ความรู้ที่หลากหลาย และการเป็นทางเลือก เพราะเราเชื่อว่าร้านหนังสือเป็นการแสดงปรัชญาว่า เราจะหยัดยืนอยู่เพื่ออะไร"
อีกเสน่ห์ "ศึกษิตสยาม" ที่ยังคงมีให้เห็นเป็นประจำทุกเดือน นั่นก็คือ เสวนาพูดคุยเรื่องหนังสือ
สิ่งที่เปลี่ยนไปก็คือ กลุ่มลูกค้า จากที่มักเป็นคนรุ่นใหม่ ปัญญาชน และผู้แสวงหาจุดยืนหรือทางเลือกของชีวิต มาเป็นลูกค้าวัยกว่า 30-80 ปี ที่ส่วนใหญ่ตามมาจากสามย่านและยังคงแวะเวียนมาเยี่ยมเยือน
แม้ว่าร้านศึกษิตสยามจะยังคงต้องวิ่งอยู่บนถนนที่ขับเคลื่อนโดยทุนนิยม ซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่ให้ความสนใจในประเด็นของความคิดอ่านและเนื้อหามาก แต่มาถึงวันนี้ วัลลภาก็รู้สึกดีใจที่ได้มีโอกาสกู้คืนและดำรงจิตวิญญาณของร้านหนังสือที่เธอรักเอาไว้ได้ด้วยมือของเธอเอง
|
|
|
|
|