|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มีนาคม 2550
|
|
ปัจจุบันตามประกาศของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ในเมืองไทยจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงเพียงกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1) ซึ่งค่อนข้างจะเกี่ยวข้องกับเงินลงทุนในพอร์ตของนักลงทุนรายย่อยมากกว่าที่เหลืออีก 3 กอง
กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1) หมายถึง กองทุนรวมที่บริษัทจัดการจัดตั้งขึ้น เพื่อนำเงินที่ได้จากการขายหน่วยลงทุนไป "ซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์" และบริหารอสังหาริมทรัพย์นั้นๆ โดยมุ่งเน้นเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนสม่ำเสมอในรูปค่าเช่า โดยมิได้ซื้ออสังหาริมทรัพย์มาเพื่อวัตถุประสงค์ในการพัฒนาและขายต่อเหมือนผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์โดยทั่วๆ ไป
ดังนั้น กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ในเมืองไทยนี้ จึงมีได้ทั้งประเภทที่เป็นกองทุนซึ่งเข้าไปซื้อตัวอสังหาริมทรัพย์ เพื่อให้กองทุนฯ มีฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นๆ แทนเจ้าของเดิมได้ ซึ่งกองทุนประเภทเรียกว่า Freehold โดยปัจจุบันกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์นิชดาธานี ถือเป็นกองทุนประเภท Freehold กองเดียวที่มีในตลาด
ส่วนกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์อีกประเภทหนึ่งนั้น ตลาดเรียกกันว่า กองทุนประเภท Leasehold ซึ่งเป็นกองทุนที่เช่าอสังหาริมทรัพย์ แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของตัวอสังหาริมทรัพย์นั้นๆ เหมือนกรณีของ Freehold
เนื่องจากสถานะแท้จริงของกองทุนประเภท Leasehold จะเป็นแค่เพียงผู้มีสิทธิในการใช้อสังหาริมทรัพย์นั้นๆ ได้แค่ภายในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่งตามที่กองทุนได้ตกลงไว้กับเจ้าของ ซึ่งอาจจะเป็น 20 ปีหรือ 30 ปีก็ได้ และราคามูลค่าหน่วยลงทุนในกองทุนรวมอสังหาทรัพย์ที่ลงทุนในสิทธิการเช่านั้นยิ่งระยะเวลาตามสัญญาเช่าเหลือน้อยลงเท่าใด ราคาสิทธิการเช่าก็จะน้อยลงตามไปด้วย ซึ่งจะมีผลให้ มูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุน หรือ NAV ต้องลดต่ำลงด้วย
เมื่อครบกำหนดเวลาสิ้นสุดการใช้สิทธิในพื้นที่แล้ว กองทุนจะต้องคืนอสังหา ริมทรัพย์นั้นให้แก่เจ้าของ แต่หากกองทุนไม่มีการลงทุนในทรัพย์สินใหม่อีก สุดท้ายกองทุนก็จะไม่มีทรัพย์สินอะไรเหลืออยู่ และราคามูลค่าหน่วยลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ลงทุนในสิทธิการเช่านั้น ยิ่งระยะเวลาตามสัญญาเช่าเหลือน้อยลงเท่าใด ราคาสิทธิการเช่าก็จะน้อยลงตามไปด้วย ซึ่งจะมีผลให้มูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุน หรือ NAV ต้องลดต่ำลงด้วย
ด้านผลตอบแทนหรือรายได้ที่ได้รับจากการบริหารอสังหาริมทรัพย์ทั้ง Freehold และ Leasehold จะถูกนำไปแบ่งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนในรูปของเงินปันผล โดยในกรณีที่กองทุนรวมมีกำไรสุทธิ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะต้องจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 90% ของกำไรสุทธิประจำปีนั้นๆ
|
|
|
|
|