|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มีนาคม 2550
|
|
เพิ่งจะเปิดโรงงานผลิตซูชิที่ร่วมทุนกับเคแอนด์ยู เอ็นเตอร์ไพรซ์ จากญี่ปุ่น เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว มาปีนี้ยูเนี่ยน โฟรเซ่นโปรดักส์ (ยูเอฟพี) เจ้าของแบรนด์ "พรานทะเล" เบนเข็มรุกไปทางตะวันออกกลาง ประเดิมด้วยการใช้ พี.ที.อินเตอร์ฟิชเชอรี่ บริษัทในเครือเข้าร่วมทุนกับชามิ อัล-ฮัสซานิ แอนด์ ซันส์ จากซาอุดีอาระเบีย ตั้งบริษัท สยาม แอนด์ ชามิ เรดซี เพื่อทำธุรกิจประมงน่านน้ำและแปรรูปสัตว์ในน่านน้ำตะวันออกกลาง
บริษัทดังกล่าวมีทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท แบ่งสัดส่วนการถือหุ้นฝ่ายละครึ่ง หนึ่ง โดยยูเอฟพีจะใช้ความเชี่ยวชาญที่มีอยู่ในด้านการจัดหาวัตถุ ดิบและแปรรูปอาหารทะเล ส่วนชามิฯ มีเครือข่ายธุรกิจที่ครอบคลุมหลายด้านและกว้างขวางในซาอุดีอาระเบีย จึงเป็นช่องทางการจำหน่ายที่สำคัญ
ชามิ อัล-ฮัสซานิ แอนด์ ซันส์ เป็นกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่จากประเทศซาอุดีอาระเบีย ทำธุรกิจหลายด้านด้วยกัน อาทิ เรียลเอสเตท ก่อสร้าง โรงพยาบาล โรงแรม ฟาร์มปศุสัตว์และสวนมะม่วง เป็นต้น
การร่วมทุนครั้งนี้เป็นการขยายการลงทุนออกต่างประเทศอย่างครบวงจรเป็นครั้งแรกของยูเอฟพี โดยเริ่มต้นจากการทำประมง ซึ่งจะเป็นโครงการเริ่มต้นของสยาม แอนด์ ชามิ เรดซี โดยจะใช้เรือ ประมงขนาด 300 ตัน จำนวน 2 ลำ และเรือประมงขนาด 60 ตันอีก 6 ลำ ทำการประมงในน่านน้ำทะเลแดงและบริเวณใกล้เคียง ผลผลิตที่ได้จะจำหน่ายในประเทศซาอุดีอาระเบียและส่งออกไปยังประเทศต่างๆ รวมถึงส่งกลับมาประเทศไทย โดยคาดว่าจะสามารถ จับผลผลิตได้ประมาณปีละ 8,000 ตัน คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 280 ล้านบาท
โครงการขั้นต่อไปจะเป็นการเข้าสู่ธุรกิจแปรรูปสัตว์น้ำ ซึ่งจะเริ่มทำการผลิตได้ประมาณปลายปีนี้ โดยในระหว่างนี้จะมีการศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ตรงกับความต้องการของตลาดมากที่สุด หลังจากนั้นจะรุกเข้าสู่ธุรกิจภัตตาคารอาหารทะเล โดยนำเอาประสบการณ์จากร้านพรานทะเลฟาสต์ซีฟู้ดเป็นต้นแบบ เริ่มต้นที่ซาอุดีอาระเบียและขยายออกสู่ประเทศอื่นๆ ในแถบตะวันออกกลาง โครงการสุดท้ายจะเป็นการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เพื่อทดแทนจำนวนสัตว์น้ำที่ลดจำนวนลง อีกทั้งยังช่วยรองรับความต้องการของผู้บริโภคอาหารทะเลที่มีเพิ่มขึ้นได้อีกทางหนึ่ง โดยทางชามิฯ เตรียมพื้นที่สำหรับโครงการนี้เอาไว้แล้วถึง 3,000 ไร่
การร่วมทุนครั้งนี้นอกจากจะทำให้สินค้าของพรานทะเลได้โอกาสวางขายในตะวันออกกลางแล้ว การได้พันธมิตรจากซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลกยังช่วยลดต้นทุนค่าน้ำมันลงได้อีกกว่าครึ่งเลยทีเดียว
|
|
|
|
|