Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2538
ศิวะพร ทรรทรานนท์ " คนที่น่าอิจฉา"             
 


   
search resources

ศิวะพร ทรรทรานนท์




คนบางคนมีชีวิต น่าอิจฉา เพราะสามารถถพูดเต็มปากว่า เกษียณ แต่เขาก็เป็นคนหนึ่งในคณะกรรมการการบินไทย ที่ได้รับความสามารถจากดร. วิชิต สุรพงษ์ ชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ว่าการกระทรวงและธารินทร์ นิมมานเหมินท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ไม่ต้องพูดถึงเรื่องเป็นประธานกรรมการบริษัทยูไนเต็ด ซูการ์ เทอร์มินอล ซึ่งครั้งหนึ่งในอดีตเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ศิวะพร เคยช่วยเหลือด้านการก็เงินให้กับกลุ่มน้ำตาล มิตรผล

ชีวิตหลังรีไทร์ของศิวะพร ปลดเปลื้องพันธนาการแห่งภารกิจการงานที่ร้อยรัดมาตลอด 23 ปี ได้อย่างดี แล้วให้รางวัล แก่ชีวิต ด้วยวิถีแห่งอิสรภาพ ที่มีผู้หญิง ของศิวพร ชื่อ "รจนา" ให้ความเข้าใจและอบอุ่น

ศิวะพร ทรรทานนท์ หรือที่คนใกล้ชิดเรียกกันติดปากว่า "คุณศิวะ" อดีตกรรมการผู้อำนวยการบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ทิสโก้ผู้ที่สร้างประวัติศาสตร์ ในวงการโดยประกาศให้โบนัส พนักงานเกิน 12 เดือนเป็นแห่งแรก ทุกวันนี้มีความสุขกับการควบขับมอเตอร์ ไซค์ ฮาร์เล่ย์ เดวิดสัน รุ่น FAT Boy 1,340 ซีซี 2 สูบ 4 จังหวะ หนึ่งในจำนวน 1,500 คัน ในโลกใบนี้ และศิวะพร เป็นสมาชิกคนหนึ่งในชมรม immortals Bangkok ซึ่งมีพิมล ศรีกรม์ เป็นประธาน

เจ้าม้าเหล็ก Fat Boy รุ่นหัวเหลือง นี้เป็นรถปี 1990 ที่มีความพิเศษ ฝาสูบคาดสีเหลืองจึงเรียกว่า " เจ้าหัวเหลือง" เพื่อระลึกถึงเครื่องบินรบญี่ปุ่น ในสงครามที่ตัวเครื่องคาดแถบสีเหลือง ก่อนหน้านี้ไม่เป็นที่นิยมมากนัก จนกระทั่งอาร์โนล์ ชวาเซเนกเกอร์ ในหนังเรื่อง " เทอร์มอมิเตอร์ภาค 2" ใช้ขี่ไล่ล่าผุ้ร้าย จึงเป็นทีนิยมกันมา ในเมืองไทย มีอยู่ 4 คัน เพราะสนนราคาสูงราว 6-7 แสนบาท

นอกจาก Fat Boy คันโปรดแล้ว ศิวะพร ชื่นชมกับความเร็ว แขนงอื่น เช่น speed boat เครื่องเมอร์คิวรี 200 แรงม้า ที่สามารถสร้างลำน้ำยาวกว่า 20 ฟุต เมื่อแล่นไปเต็ม ๆ หน้าเขื่อนศรีนครินทร์ฯ อีกทั้งรถยนต์พันธ์ดุและเถื่อน อย่างลัมเบอร์กินีสีแดง บาดตาอีกต่างหาก ไม่นับจำนวนอีกนับสิบหรับหลายหลากพันธ์ รวมถึงซิตี้คาร์ มาสด้า ที่ซื้อให้ลูกชายเมื่อลูกไม่อยุ่เพราะไปเรียนต่อปริญญาโทที่อเมริกา ศิวะพร ก็เอามาขับมิให้เครื่องเฉา จำนวน ยานยนต์ ชั้นเยี่ยม ทั้งรถและเรือเหล่านี้ ศิวะพร ได้สร้าง " บ้านทรงรถ" บนเนื้อที่อีก 180 ตารางวา ชิดรั้วบ้านเดิมให้รถอยู่

อันที่จริง ถือได้ว่า ศิวะพร เป็นคนที่สร้างตำนาน ให้กับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ทิสโก้และในทางกลับกันบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ทิสโก้ ก็มีส่วนสร้างตำนานให้กับธุรกิจในประเทศไทย เพราะพนักงานระดับบริหารรุ่นเดียวกับศิวะพร ต่างมีวิถีที่เขย่าวงการธุรกิจทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นชุมพล ณ ลำเลียง ผู้จัดการปูนซิเมนต์ไทย สุนทร อรุณานนท์ชัย นายรอง แห่งค่ายซีพี แม้จะเป็นเพื่อนร่วมก๊วนชีวิตกลางแจ้งกับ ธานินทร์-ศิรินทร์ นิมมานเหมินทร์ วิโรจน์ นวลแข โสภณ ธนะศิริ กิติ พัฒนพงศ์พิบูลย์ ฯลฯ แต่การได้รับการแต่งตั้ง ให้เป็นกรรมการการบินไทย ก็ไม่ได้หมายความว่า มีเส้นสายสัมพันธ์ หากแต่ว่าศิวะพร เองเรียนมาทางด้านวิศวเครื่องกลจาก RPM ( Rensselaer oolyechnicinstiture) ซึ่งเป็นสถาบันชั้นนำของนิวยอร์ก สหรัฐอเมิรกา ศิวะพร ชอบเครื่องบินมาตลอด ชอบออกแบบเครื่องบิน เพียงแต่ว่าไม่ถึงกับสร้างเพียงแค่ดีไซน์ เท่านั้น

มุมหนึ่ง ของบ้านที่ศิวะพร โปรดปราน คือการขับเครื่องบิน โบอิ้ง 747-400 และแอร์บัส หรือเครื่องบิน รบจำลอง สถานการณ์เหมือนจริงที่บรรจุไว้ในโปรแกรม คอมพิวเตอร์ ซึ่งในจอภาพฉายแผงควบคุมการบินจอเรดาร์ แผนที่โลกและเส้นทางการบิน ภายใต้ทัศนวิสัย ที่สามารถเลือกอุปสรรคที่ต้องฝ่าฟัน

"เดี๋ยวนี้พวกโปรกแกรม ค่อนข้างดีมาก เพราะฉะนั้น เราสามารถเลือกเครื่องบินก็ได้ เช่นนอยากขับโบอิ้ง 747-400 หรือ จะ ขับแอร์ บัสรุ่นไหนก็ได้ หรือเราจะเลือกเส้นทางบิน ก็ได้ โดยมี MAP ของโลก หรือ อยากให้มีสภาพอากาศแบบมีพายุ ลม ฝนฟ้าคะนอง เราสามารถจะจำลอง สถานการณ์ ก็เล่นไปเรื่อย ๆ เหมือนผมกลับมาเล่น ของ เล่น ใครอยากทำงานก็ทำงานไป เพราะผมทำงานมาตั้งแต่เรียนจบ

อย่างไรก็ตาม คนที่ใกล้ชิกับศิวะพร ก็บอกว่า สมัยที่อยู่ทิสโก้ เกมโปรดปราน ก็คือ " เตรติส" เลิกงานเมื่อไหร่หาตัวเจอได้ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ กับเกมที่นิยม คะแนนที่ได้ก็ไม่เลวเกิน 500 แท่งขึ้นไป

อารมณ์ สนุกสนาน ของศิวะพร แบบเด็ก ๆ ชวนขันในบางครั้ง ที่เขาสาธิตวิธีป้องกันโรคหัวล้าน ด้วยวิธีบริหารกระหม่อมแบบดาวตลกเทพ โพธิ์งาม หรือการบริหารกล้ามเนื้อดวงตา ที่มีปรัชญาเซน แฝงอย่างน่าทึ่ง

น้อยคนจะรู้ว่า ศิวะพร เป็นมนุษย์ พิเศษที่มีอัตราการเต้นของหัวใจเพียง 45 ครั้งต่อนาที ขณะที่คนปกติคนทั่วไป จอยู่ระหว่าง 78 ครั้งต่อนาที นอกจากนี้หมอประจำตัวของศิวะพร ยังเป็นกุมารแพทย์ ที่โรงพยาบาลสมิติเวช อีกด้วย

ยามว่าง ศิวะพร จะเดินเข้าร้านหนังสือเอเชียบุ๊ค แบบเป็นขาประจำ ที่พนักงานร้านจะปราดเข้าทักทายอย่างคุ้นเคย หนังสือหลากหลายสีสัน และเนื้อหาที่ศิวะพร ซื้อมาแทบจะไม่มีเล่มใดที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพเนื้อหาที่ศิวะพรซื้อมา ไม่น่าเชื่อว่าผู้ชายคนนี้จะอ่าน เช่น hair style ศิวะพร ซื้อเพราะเล่มนี้ภาพสวยงาม และที่รับรู้มาศิวะพร บอกว่า" ผมไม่อ่านหนังสือเดี่ยวกับงาน"

ความภูมิใจอย่างหนึ่งของศิวะพร นี่คือภาพวาดของอาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ ซึ่งเขียนในโรมประเทศ อิตาลี เมื่อสมัยที่อาจารย์เฟื้อได้รับทุนจากรัฐบาล ภาพนี้เป็นภาพโบสถ์ เซ็นปีเตอร์ ท่ามกลางหิมะตก ในโรมครั้งแรก ในรอบ 40 ปี อาจารย์เฟื้อ วาดภาพนี้เมื่อปี 2498 แต่ไม่ได้วาดจนสมบูรณ์ เนื่องจาก อีกวันหนึ่งหิมะน้อยใจไม่ยอมตกลงมาอีก แต่ภาพนี้ที่ original ก็อยู่ในความครอบครองของศิวะพร

" อาจารย์เฟื้อคงเก็บไว้โดยไม่คิดอะไรมาก เพระาภาพนี้ Unifini shed พอดีผมไปเห็นเข้าก็เลยซื้อสำหรับทิสโก้เพราะรู้สึกว่า มีความหลังและเก็บมานาน แม้จะ unifinishd ส่วนที่เป็น canvas ไม่มีสี จะมีคุณภาพพิเศษขึ้นมา

ศิวะพร ลืมเล่าอะไร ไปอย่างหนึ่ง สำหรับภาพหิมะตกในโรม เพราะวันนั้น เด็กชายศิวะพร ทรรทรานนท์ เองก็เพิ่งได้เห็นหิมะตก ในครั้งแรกด้วยเหมือนกัน!

ทุกวันนี้ภาพเขียนดังกล่าวอยู่ที่บ้าน ศิวะพร เนื่องจากคณะกรรมการหรือพนักงานระดับบริหาร อาจจะทราบถึงความผูกพัน ระหว่างมนุษย์กับงานศิลปะ ดังนั้นในโอกาสที่ศิวะพรลาออกจากทิสโก้ภาพ จึงติดตามมา

ข้างหลังภาพ เขียนอย่างซาบซึ่งถึงการทำงานของศิวะพร ที่อุทิศกับทิสโก้นานนับ 23 ปี โดยเข้าถึงจิตวิญญาณแห่งความเป็นคาทอลิค ของศิวะพร ที่สืบสานต่อจากบรรพบุรุษชาติสเปนนานนานนับ 4 ศตวรรษ

" ผมประทับใจกับความหายที่ให้จิตภาพว่า โบสถ์เซนตืปีเตอร์ที่สถิตแห่งพระเยซู Like a rock นั้น สร้างบนแผ่นหินผา คำว่าหิน Rock ในภาษาละตินคือ แห่งนักบุญปีเตอร์ ซึ่งในลักษณะละติน เพียสโตร หรือ เพียสต้า"

สำหรับคนที่ ขอเรียกชื่อว่า ชื่นชมกับ การควบฮาร์เลย์ เดวิดสัน หรือลัมเบอร์กินี ไม่น่าเชื่อว่า ศิวะพร ยังชอบสะสมผ้าที่รู้กันอยู่ทุกผู้นาม นั่นคือ " ผ้าขาวม้า"

" ตอนไปแม่ฮ่องสอน ก็แวะกันที่หาดเสี้ยวสวรรคโลก ที่มีชื่อเสียงเรื่อง ผ้าขาวม้า ก็ซื้อมา ตอนเช้าเข้าป่า ต้องเอาไปเป็นประจำนอนกลางดินกินกลางทราย จำนวนนี้ เพิ่มไปแล้วเป็น 200 ผืน" ศิวะพร เล่าให้ฟัง

สำหรับผ้าขาวม้า นอกจากใช้คลุกดิน ป้องกันทรายแล้วประโยชน์อีกอย่างที่ศิวะพร เลือกใช้ ก็เอามาปูโต๊ะ แต่แบบว่าซื้อผืนใช้ผืน อีกผืนหนึ่งจะเก็บไว้ บางที คนรู้จักจะเอาผ้าขาวม้าไหมมาฝาก ซึ่งศิวะพร ก็รับไว้ด้วยใจ แต่เจ้าตัวยืนกรานว่าชอบของถูกเป็นฝ้าย ธรรมดาก็ appreciate แล้ว แต่ของขวัญพิเศษที่ศิวะพรยังหาถูกใจไม่ได้ก็คือ " หวี" ที่ถูกกับเส้นผม เรื่องแบบนี้ต้องใช้เวลาหน่อย

ศิวะพร ใช้ชีวิตวัยเด็ก ตั้งแต่สองขวบ ติดตามคุณพ่อ " ไพรัช" ซึ่งทำงานองค์การเอฟเอโอไปอยู่ที่อิตาลี ซึ่งมีชีวิตวัยรุ่นอยู่ในต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ ด้วยเหตุนี้ ถ้าใครฟังศิวะพูดภาษาอังกฤษ หากอยู่คนละห้อง ก็นึกว่าเจ้าของภาษามาเอง แม้แต่เจ้าของภาษาเองก็เถอะ เจอศิวะพรพูดก็ถึงงงงันไปเหมือนกัน ว่าหน้าตาชาวบ้านๆ แต่ฟุตฟิตฟอไฟน่าเชื่อถือ ความนี้ทราบกันดีในวงการ

แต่ที่อาจไม่ทราบก็คือศิวะพร จะเพราะด้วยอะไรก็แล้วแต่ ชอบเล่นพลุเป็นชีวิตจิตใจ

ตอนไปเที่ยวที่ดอยขุนตาน ก็เกือบจะถูกเจ้าหน้าที่ดอยขุนตานจับข้อหาวางเพลิง ไปจังหวัดกาญจนบุรี ก็เกือบจะเผากระต๊อบของศิรินทร์ นิมมานเหมินทร์

ชายคนนี้นอกจากน่าอิจฉาแล้ว ยังอันตรายจริง ๆ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us