|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มีนาคม 2550
|
|
ว่ากันว่าเรื่องร้ายๆ มักจะมาตอนที่ไม่ทันตั้งตัว วิชรัตน์ วิจิตรวาทการ ก็คงอยู่ในข่ายนี้ด้วยเหมือนกัน เพราะระหว่างที่ผู้คนในสังคมต่างเฝ้ารอการตรวจสอบและดำเนินคดีกับอดีตผู้มีอำนาจและผู้เกี่ยวข้องกับรัฐบาลชุดก่อนชนิดตาแทบไม่กะพริบ อยู่ๆ กรมสอบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอ ก็ไปขุดเอาเรื่องราวขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) เมื่อเกือบ 10 ปีก่อนมาสะสาง โดยการออกหมายเรียกวิชรัตน์ ในฐานะอดีตเลขาธิการ ปรส.มารับทราบข้อกล่าวหาชนิดที่ไม่มีเค้าลางมาก่อน เปรียบเหมือนฟ้าผ่ากลางแดดยังไงยังงั้น
นอกจากวิชรัตน์แล้วหมายเรียกดังกล่าวยังรวมไปถึงกองทุนรวมโกลบอลไทยพร็อพเพอร์ตี้และบริษัทเลแมน บราเดอร์ส โฮลดิ้งส์ อิงค์ ในข้อกล่าวหาฐานสนับสนุนให้เจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการ ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การ หรือหน่วยงานของรัฐและช่วยเหลือให้บริษัทเลแมนฯ หลีกเลี่ยงภาษีอากร
โดยให้วิชรัตน์เข้ารับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 22 ก.พ.ที่ผ่านมา ส่วนกองทุนรวมโกลบอลไทยพร็อพเพอร์ตี้เข้ารับทราบข้อกล่าวหาในวันถัดมาและเลแมนฯ ในวันที่ 26 ก.พ.
สำหรับมูลเหตุอันเป็นที่มาของการออกข้อกล่าวหาครั้งนี้ก็คือ เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2541 ทาง ปรส.ซึ่งในเวลานั้นมีวิชรัตน์ทำหน้าที่ เป็นเลขาธิการอยู่ได้ทำการประมูลขายสินเชื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งมูลค่าทาง บัญชีจำนวน 24,616 ล้านบาท และเลแมนฯ เป็นผู้ชนะการประมูลไปด้วยราคา 11,520 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ตามระเบียบของ ปรส.กำหนดให้มีการโอนสิทธิ ในสินเชื่อที่ขายภายใน 7 วัน หลังจากการประมูลคือภาย ในวันที่ 20 สิงหาคม 2541 แต่ ปรส.กลับขยายระยะเวลา การโอนสิทธิออกไป จนเลแมนฯ ไปดำเนินการจัดตั้งกองทุนรวมโกลบอลไทยพร็อพเพอร์ตี้และมาดำเนินการโอนสิทธิไปยังกองทุนดังกล่าวในวันที่ 1 ตุลาคม 2541 เพื่อหลีกเลี่ยงภาษี ซึ่งเป็นเหตุให้รัฐเสียประโยชน์ทั้งจากภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์
ข้อกล่าวหาที่วิชรัตน์โดนไปในครั้งนี้อาจเป็นเพียงแค่ปฐมบทหรือ episode 1 ที่อาจจะมีตามต่อเนื่องมาอีกหลายข้อกล่าวหาเพราะการดำเนินงานของ ปรส.ในเวลานั้นสร้างข้อกังขาให้กับสังคมไม่น้อย ไล่ไปตั้งแต่การเปิดประมูลสินเชื่อเช่าซื้อที่ ปรส.อ้างว่าประสบความสำเร็จด้วยราคา 47% ของมูลค่าสินทรัพย์ แต่กลับปรากฏ ในภายหลังว่าผู้ชนะการประมูลสามารถทำกำไรได้ถึงกว่า 500% หรือ การยอมให้เลแมนฯ เข้าประมูลสินเชื่อที่อยู่อาศัยทั้งๆ ที่สวมหมวกเป็นที่ปรึกษาให้กับ ปรส.อยู่ด้วย
ถ้าจะให้ดีควรเตรียมตัวไว้แต่เนิ่นๆ เพราะ "ข้อกังขา" เหล่านี้อาจแปรเปลี่ยนเป็น "ข้อกล่าวหา" เมื่อไหร่ก็ได้
|
|
|
|
|