|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มีนาคม 2550
|
|
ศาตราจารย์อัมมาร สยามวาลา หนึ่งในผู้ถือหุ้น DHAS ได้ให้มุมมองว่า การดำเนินกิจการของสยามวาลานั้นเพิ่งเริ่มก้าวเข้าสู่ระยะเริ่มแรกของการเป็นอุตสาหกรรม ขณะที่ภาพรวมของประเทศไทยนั้น ธุรกิจส่วนใหญ่ยังติดอยู่กับวัฒนธรรมของการค้า วัฒนธรรมของการตลาด
หัวหอกของสยามวาลาและธุรกิจค้าเครื่องเขียนทั้งหมด ยังติดอยู่ที่ความเป็นผู้นำที่เก่งด้านการสร้างตลาด แม้ระยะหลังๆ จะค่อยๆ แปรตัวเองกลายเป็นธุรกิจเชิงอุตสาหกรรม แต่ก็ยังคิดว่าตัวเองเป็นธุรกิจการค้ามากกว่า ในขณะที่ประเทศทางตะวันตกปัจจุบันได้วางตัวเองเป็นประเทศ ผู้บริโภคและภาคบริการ แล้วทำให้เอเชียกลายเป็นฐานการผลิตแทน
อาจารย์อัมมารได้อธิบายว่า
"ในวงการเครื่องเขียนก็มีลำดับชั้นของมัน (Distribution System) เริ่มจากซัปพลายเออร์บนสุด ลงมามีค้าส่งที่สำเพ็ง ค้าส่งชานเมือง และค้าปลีกในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ในต่างจังหวัดก็มีลำดับชั้นอีก แล้วการบริหารจัดการและการตลาดระดับบนจะมีบทบาทสูง มีการโฆษณามาช่วย ระดับล่างลงมาเป็นเพียงการซื้อมาขายไป แต่อาศัยจุดเด่นด้านทำเลและในระยะหลังก็มีบริการที่ให้กับลูกค้าผู้บริโภค เป็นตัวทำให้โต
อันนี้เป็นวิกฤติและเป็นการท้าทายที่กำลังเกิดขึ้น ทั้งยังเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างที่สุด ซึ่งกระทบสยามวาลาพร้อมๆ ไปกับส่วนต่างๆ ของประเทศ ตั้งแต่มีบริษัทใหญ่ๆ เกิดขึ้นในธุรกิจค้าปลีก ซึ่งมีอำนาจต่อรองกับซัปพลายเออร์สูงกว่าที่เป็นมา ทางออกอันหนึ่งที่สยามวาลาทำคือ หนีไปทำส่งออก
ถ้าจะว่าไปแล้วในช่วง 70 ปีแรกของรอบ 100 ปีนั้น สยามวาลาทำ Branding ให้ซัปพลายเออร์ต่างประเทศเป็น Brand Manager สร้างตลาดให้กับต่างประเทศ แต่เดี๋ยวนี้เริ่มสนใจที่จะมีความสามารถของตัวเอง ทำ Branding เอง แม้กระทั่งให้ต่างประเทศใช้แบรนด์ของเรา เพราะในที่สุดก็ได้พบว่าการทำแบรนด์ให้กับต่างประเทศได้อะไรไม่จีรัง"
|
|
|
|
|