|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มีนาคม 2550
|
|
ลำดับเหตุการณ์ 100 ปี DHAS
2450 ดีลาเวอร์ ฮุสเซน อับดุลอะลี สยามวาลา (Mr.Dilawer Husain Abdulali Siamwalla) ก่อตั้งห้าง ดี เอช เอ สยามวาลา นำเข้าสินค้าเครื่องหนัง หัวน้ำหอม เครื่องเหล็กและกระดาษ ฯลฯ มาจำหน่ายในไทย
2454 ไฟไหม้คลังเก็บสินค้าของห้างสยามวาลาฯ จนหมดตัว แต่ได้รับความช่วยเหลือด้านเงินกู้จากธนาคารชาร์เตอร์และแบงก์สยามกัมมาจลอย่างไม่มีเงื่อนไข
2457 สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้น
2460 นายห้างดีลาเวอร์ริเริ่มการทำการตลาดด้วยการโฆษณาสินค้าในหน้าหนังสือพิมพ์ที่ลงท้ายว่า "ถ้าท่านประสงค์จะรับไปจำหน่ายหรือใช้ ขอเชิญมาชมที่ห้างข้าพเจ้าเสียก่อนที่จะไปซื้อที่อื่น"
2462 นายห้างดีลาเวอร์ถึงแก่กรรม มุฮซินและตาเฮอร์บุตรชายทั้งสองได้สืบทอดกิจการ
2470 เริ่มนำเข้ากระดาษพิมพ์เขียนและกระดาษหนังสือพิมพ์ ได้ทำตลาดจนเป็นผู้จำหน่ายรายใหญ่ 1 ใน 2 ราย
2472 เริ่มผลิตสมุดนักเรียนด้วยการว่าจ้างผู้รับเหมาช่วงเป็นผู้ผลิต และทำตลาดจนเป็นผู้จำหน่ายรายใหญ่ที่สุด
2476 ขยายกิจการโดยเซ้งห้องแถว ติดห้องแถวเดิม เพิ่มอีก 4 ห้อง เพื่อรองรับการขยายกิจการ
2478 เริ่มนำเข้าภาชนะอะลูมิเนียมสำหรับครัวเรือน ทำตลาดจนเป็นผู้จำหน่ายรายใหญ่ที่สุด
2479 เริ่มนำเข้าหม้อหุงข้าวอะลูมิเนียม ลักษณะคล้ายหม้อดิน โดยบริษัทฯ เป็นผู้ออกแบบ
2481 มุฮซินถึงแก่กรรม ตาเฮอร์รับช่วงกิจการโดยมีอนุมัด (อะหมัด) ผู้น้องเป็นหุ้นส่วน
2482 สงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ยุโรป
2485 จดทะเบียนเปลี่ยนจาก หจก.เป็นบริษัท ดี เอช เอ สยามวาลา ซึ่งปัจจุบันมีทุนจดทะเบียน 4.8 แสนบาท
2488 หุ้นส่วนทั้ง 2 ไม่ลงรอยกันอย่างหนักในหลักการธุรกิจ ตัดสินใจแยกทาง อนุมัด (อะหมัด) ประกาศขายหุ้นของตน ตาเฮอร์ตัดสินใจซื้อหุ้นดังกล่าวโดยได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนสนิทท่านหนึ่ง
2493 เกิดสงครามเกาหลี เศรษฐกิจไทยตกต่ำ
2496 ตาเฮอร์ถึงแก่กรรม มิตรและเอกรับช่วงกิจการ ในขณะนั้น DHAS ประสบการขาดสภาพคล่องทางการเงินอย่างรุนแรงที่สุด จำเป็นต้อง restructure หนี้กับเจ้าหนี้ มิตรและเอกสัญญาจะชำระหนี้ 100% ภายใน 5 ปี (แต่สามารถชำระครบถ้วนได้ภายใน 3 ปี มิตรตัดสินใจโฟกัสธุรกิจการค้าเครื่องเขียนเพียงอย่างเดียว)
2498 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์วิจิตรศิลป์ WINSOR & NEWTON ที่มีชื่อเสียงระดับโลก แต่เพียงผู้เดียว
2499 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนจำหน่ายปากกา CROSS แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย
2500 บริษัทคอนซูเมอร์ยักษ์ใหญ่ลงทุนในไทย เช่น Colgate, Coca-Cola ในปีนั้น บริษัทฯ ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นตัวแทนจำหน่ายดินสอมิตซูบิชิแต่เพียงผู้เดียว
2501 เริ่มแคมเปญเป็นการโฆษณาดินสอมิตซูบิชิทางสื่อทีวี นับเป็นครั้งแรกที่มีการใช้สื่อโทรทัศน์โฆษณาเครื่องเขียนในประเทศไทย
2502 เริ่มใช้เครื่องเจาะบัตร IBM เพื่อประมวลข้อมูลทางด้านจัดการและบัญชี
2504 แผนพัฒนาแห่งชาติฉบับที่ 1 เกิดขึ้น ในปีเดียวกัน บริษัทฯ เริ่มใช้เครื่องจักรลงบัญชีอัตโนมัติ NCR เพื่อบันทึกบัญชี
2507 เปิดตึกสำนักงานใหญ่แห่งแรกที่ถนนสุริวงศ์ ในปีเดียวกันได้ก่อตั้ง "กองทุนตาเฮอร์สยามวาลาเพื่อการศึกษา ด้วยเงินทุน 100,000 บาท" ซึ่งต่อมาได้ยกฐานะเป็นมูลนิธิตาเฮอร์สยามวาลา เพื่อการศึกษาจนมีเงินทุนกว่า 30 ล้านบาท
2509 เริ่มใช้เครื่องประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติ (IBM 632) ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรกๆ ที่ใช้หลอดเป็น processor ในปีเดียวกันได้รับการแต่งตั้งเป็นตัวแทนจำหน่ายแผ่นอักษรลอก MECANORMA (MN)
2510 เริ่มเผยแพร่และส่งเสริมการออกแบบตัวอักษรภาษาไทย ในหมู่นักออกแบบ โดยการว่าจ้างออกแบบ ซึ่งเป็นการเพิ่มพูนความหลากหลายของอักษรไทยเป็นทวีคูณ และได้นำแบบเหล่านั้นไปผลิตตัวอักษรลอก MECANORMA (MN) เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการออกแบบสิ่งพิมพ์และโฆษณา และในปีเดียวกัน ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนจำหน่ายปากกาเขียนแบบ Rotring แต่เพียงผู้เดียว
2513 เริ่มมีการผลิตแฟ้มเอง ที่ด้านหลังสำนักงานใหญ่ที่ถนนสุริวงศ์
2519 บริษัทฯ นำคอมพิวเตอร์ NCR399 เข้ามาติดตั้งในที่ทำการ เพื่อประมวลผลข้อมูลธุรกิจ นับเป็นบริษัทฯ เครื่องเขียนแห่งแรกที่นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งาน
2521 พระยาไชยยศสมบัติ ประธานกรรมการได้พ้นจากตำแหน่งอันเกิดจากหัวใจวาย บริษัทเรียนเชิญศาสตราจารย์กิตติคุณ เติมศักดิ์ กฤษณามระ เป็นประธานกรรมการสืบทอดต่อมาจนถึงปัจจุบัน เปลี่ยนสัญลักษณ์โลโกบริษัท จากสิงห์โตเกาะโล่เป็นเครื่องหมายถูก โดยจ้างบริษัทลีโอเบอร์เนทท์ออกแบบ
2522 เปิดโรงงานนวนคร 1 บนเนื้อที่ 5 ไร่ เพื่อทำการผลิตแฟ้มด้วยเครื่องจักรกึ่งอัตโนมัติ
2526 เปิดตึกอาคารสำนักงาน DHAS อาคารที่ 2 ที่ถนนสุรวงศ์ บนเนื้อที่ 1 ไร่ 20 ตร.ว. เพื่อขยายงานบริหารที่เพิ่มขึ้น
2529 เริ่มผลิตแฟ้มกระดาษแข็งด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติเป็นรายแรกของประเทศ
2530 มีการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานครั้งที่ 1 เพื่อพัฒนาองค์กร โดยมีสถาบัน IMD เป็นที่ปรึกษา ในปีเดียวกันได้เปิด line การผลิตอุปกรณ์จับยึด (clip และกลไกเหล็กในแฟ้ม) ด้วยเทคโนโลยี progressive die เป็นรายแรกในประเทศ ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมให้ใช้สัญลักษณ์ มอก. เวลาต่อมา
2531 เปิดโรงงานนวนคร 2 เนื้อที่ 13 ไร่ เพื่อขยายการผลิต เริ่มผลิตสมุดด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ และผลิตสมุดฉีกที่ใช้ micronet เสริมสัน เป็นการยกมาตรฐานสมุดฉีกที่ใช้กันอยู่ในตลาดไทย
2532 วิจัยพัฒนา แม่พิมพ์แบบ progressive die ใช้ในโรงงานเองเป็นครั้งแรก
2533 เริ่มผลิตแผ่นพลาสติก polypropylene โดยใช้เทคโนโลยีจากญี่ปุ่น เป็นรายแรกของอุตสาหกรรมเครื่องเขียน ในปีเดียวกัน ได้จัดงานแสดงวัสดุอุปกรณ์ศิลป์ MEGA Art ซึ่งนับว่าเป็นงานชุมนุมแห่งแรกที่รวบรวมศิลปิน นักออกแบบ ผู้อุปถัมภ์งานศิลปะ เป็นครั้งแรกในประเทศ เพื่อแสดงวัสดุศิลป์ใหม่ๆ ที่บริษัทจำหน่าย
2536 เริ่มผลิตสมุดริมลวด โดยใช้ลวดโลหะเป็นรายแรกในประเทศ ทำให้สมุดประเภทนี้เริ่มมีมาตรฐานคุณภาพใหม่ ทำให้ตลาดเริ่มนิยมสมุดประเภทนี้อย่างกว้างขวาง ในปีเดียวกัน เริ่มผลิตสติ๊กเกอร์ที่ใช้กับเครื่องพิมพ์คอมพิวเตอร์เป็นรายแรกในประเทศ และยังคงความเป็นผู้นำตลาดอยู่จนถึงทุกวันนี้
2538 มีการ redesign Logo บริษัทใหม่ เพื่อสะท้อนการพัฒนาองค์กรใหญ่ครั้งที่สอง ซึ่งเริมขึ้นโดยมีบริษัท Coopers & Lybrand เป็นที่ปรึกษา นอกจากนั้นทางโรงงานได้เริ่มผลิตเครื่องจักรใช้เองในโรงงานเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นต้นแบบในการพัฒนาเครื่องจักรหลักๆ ที่สำคัญ ใช้เองตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
2539 เปิดคลังและศูนย์กระจายสินค้ากิ่งแก้ว เนื้อที่ 13 ไร่ โดยคลังใหม่นี้มีชั้นเก็บสูงถึง 16 เมตร ช่วงห่างแคบและมีการดึง pallet เข้าออก ควบคุมโดยคอมพิวเตอร์สามารถเก็บสินค้าได้ 10,000 pallets
2540 มิตร สยามวาลา วางมือจากธุรกิจและแต่งตั้งให้เอก สยามวาลา เป็นประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร ยิ่งศักดิ์ สยามวาลา ลูกชายคนโตเป็นกรรมการผู้จัดการ สุรเดช สุจฉายา และวันชัย กาญจนบูรณ์ เป็นรองกรรมการผู้จัดการ ประสบกับเป็นช่วงวิกฤติเศรษฐกิจไทย
- เริ่มขยายธุรกิจ วัสดุอุปกรณ์งานศิลป์ MASTER ART เช่น ดินสอสี ดินสอเทียน ฯลฯ
2541 ออกงานแสดงสินค้าเครื่องเขียนที่ นคร Frankfurt ประเทศเยอรมนี (Frankfurt Paperworld) เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นการเปิดตัวและเปิดประตูเข้าสู่ตลาดโลกจนเป็นผู้นำอย่างชัดเจนในปัจจุบัน
2542 คิดค้นสูตรผลิตปก (หุ้มแฟ้ม) ที่ทำด้วย Polyolefin เป็นรายแรกใน Asia ในปีเดียวกัน ได้ส่งผลงานของศิลปินไทย ไปร่วมงานประกวดภาพเขียน World-wide Millenium Painting Competition จัดขึ้นโดยบริษัท WINSOR & NEWTON ประเทศอังกฤษ งานประกวดนี้มีผู้เข้าร่วมการประกวดมากที่สุดในโลก ตามหลักฐานที่ปรากฏใน Guiness Book of Record ศิลปินไทยติด 1 ใน 12 อันดับแรกของศิลปินผู้ได้รับรางวัล
2545 บริษัทฯ ได้ขยายธุรกิจไปสู่ธุรกิจ IT โดยแยกหน่วยธุรกิจใหม่ คือ ICE (IT Cutting Edge) SOLUTION ให้บริการธุรกิจ Software แบบ Open-source
2547 ได้รับการแต่งตั้งเป็นตัวแทนจำหน่ายกระดาษวิจิตรศิลป์ Fabriano แต่เพียงผู้เดียว ออกแบบและจดทะเบียนสิทธิบัตร clip แฟ้มแบบ superstrong ซึ่งมีนวัตกรรมใหม่
2548 เริ่มวางตลาด ปากกา QuanTum Gelobal เริ่มจำหน่ายปลายปี
2549 ได้พัฒนาและเสนอคอนเซ็ปต์การค้าปลีก DHASquare เพื่อเปิดทางเลือกให้ธุรกิจเครื่องเขียนปลีกขนาดเล็กได้ชะลอการรุกของห้างค้าปลีกใหญ่
2550 - ครบรอบ 100 ปีของบริษัท DHAS
- เปิดโรงงานแห่งที่ 3 ที่โรจนะอุตสาหกรรม จังหวัดอยุธยา ที่ลงทุนกว่า 300 ล้านบาท
- ยกเครื่องระบบคอมพิวเตอร์กลาง (BPI)
- ได้รับสัญลักษณ์ ISO 9001 : 2000 นับเป็นบริษัทเครื่องเขียนไทยแห่งแรกที่ได้รับเครื่องหมายนี้ โดยครอบคลุมทั้งองค์กร
|
|
|
|
|