|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
แบงก์ลุ้นกนง.ลดดอกเบี้ยอาร์พีต่ออีก 0.25-0.50% ระบุปัจจัยหลักแนวโน้มเศรษฐกิจส่อแววซบยาว และหวังผลเพิ่มส่วนต่างดอกเบี้ย-คุมเงินไหลเข้า-พยุงค่าบาท ขณะที่แนวโน้มดอกเบี้ยเงินฝากแบงก์ขยับลงต่อ ล่าสุด"ไทยพาณิชย์"ปรับลดดอกเบี้ยเงินฝากประจำอีก 0.25-0.50% แต่ยังลังเลลดดอกเบี้ยกู้ อ้างรอดูทิศทางอีกระยะ
นายระเฑียร ศรีมงคล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ทิศทางของอัตราดอกเบี้ยนโยบายขณะนี้ยังคงปรับลดลงต่อเนื่อง โดยในการประชุมกนง.ครั้งนี้ก็คงเป็นอย่างที่หลายๆคนคาดการณ์ไว้ว่าจะปรับลดลงในระดับ 0.25-0.50% ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องติดตามต่อไปว่ากนง.จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายซึ่งระดับที่สูงหรือต่ำแต่จะลดลงมากหรือน้อยขนาดไหน เป็นเรื่องที่ต้องติดตามต่อไป
"เท่าที่ประเมินดูแบงก์ชาติน่าจะยังลดดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปคือ 0.25% แต่ถ้าจะละ 0.50%ก็ไม่ผิดมีเหตุที่จะทำได้ทั้ง 2 อัตรา แต่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งนี้ นอกจากปัจจัยในเรื่องของอัตราดอกเบี้ยจะน่าลดความสำคัญลง ขณะที่ปัจจัยด้านการควบคุม Capital Inflow จะเข้ามาเป็นปัจจัยที่มีบทบาทมากขึ้น ซึ่งตรงนี้จะส่งผลเกี่ยวเนื่องกับค่าเงินบาทด้วย"นายระเฑียรกล่าว
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของธนาคารนครหลวงไทยนั้น ได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำลงอีกร้อยละ 0.25 เมื่อปลายสัปดาห์ก่อน โดยเป็นการปรับลดลงตามภาวะตลาดซึ่งเป็นทิศทางดอกเบี้ยขาลง ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้นั้น คงต้องรอดูทิศทางของตลาดก่อน เนื่องจากธนาคารไม่มีนโยบายที่จะเป็นผู้นำในการปรับลดดอกเบี้ย
"การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์นั้นจะปรับลดตามทิศทางตลาดเป็นหลัก ซึ่งที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ก็เริ่มมีการปรับลดดอกเบี้ยลงมาแล้ว ส่วนเราก็ปรับลดลงแล้ว และหากตลาดมีการปรับลดลงอีก เราก็ต้องปรับลดลงอีก ขณะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายนั้นเป็นไกด์ไลน์ของทิศทางดอกเบี้ย"ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ธนาคารนครหลวงไทยกล่าว
ด้านนายตรรก บุนนาค ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายบริหารเงิน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ในวันที่ 28 ก.พ.นี้เชื่อว่า กนง.จะมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (อาร์พี 1 วัน) ลงอีก 0.25% มาอยู่ที่ 4.50% จากเดิมที่ 4.75% โดยการปรับลดดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่ธปท.ส่งสัญญาณปรับลดมาตั้งแต่ครั้งที่แล้ว ประกอบกับที่ผ่านมา ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ส่งสัญญาณชัดเจนให้ลดดอกเบี้ยนโยบายลงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมทั้งเพื่อช่วยพยุงค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่ามากจนเกินไป อย่างไรก็ตามทั้งปีมองว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะปรับลดดลงมาอยู่ที่ 4.00%
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาจะเห็นว่าธนาคารพาณิชย์หลายแห่งเริ่มทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำลงเนื่องจากเพื่อเป็นการรักษาสภาพคล่อง รวมถึงกระตุ้นการปล่อยสินเชื่อ โดยในส่วนของธนาคารคงต้องมีการปรับลดลงเช่นกันเพื่อให้สอดคล้องกับธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ส่วนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้นั้นขณะนี้ยังไม่มีนโยบายพิจารณาปรับ โดยจะต้องรอการการประชุมคณะกรรมการธนาคารสัปดาห์นี้ก่อนว่าจะมีนโยบายออกมาอย่างไร
รายงานข่าวจากธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) แจ้งว่า ธนาคารได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป ลงร้อยละ 0.25-0.50 มีผลตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งจากการปรับลดดังกล่าวทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนของธนาคารปรับเป็นร้อยละ 3.25-4.25 จากเดิมร้อยละ 3.50-4.25 เงินฝากประจำ 6 เดือน ปรับเป็นร้อยละ 3.50-4.00 จากเดิมร้อยละ 3.75-4.50 เงินฝากประจำ 12 เดือน ปรับเป็นร้อยละ 3.50-4.00 จากเดิมร้อยละ 3.75-4.50 และเงินฝากประจำ 24 และ 36 เดือน ปรับเหลือร้อยละ 4.00 จากเดิมร้อยละ 4.25 ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารยังไม่เปลี่ยนแปลง โดยดอกเบี้ย MLR อยู่ที่ร้อยละ 7.75 อัตราดอกเบี้ย MOR อยู่ที่ร้อยละ 8.00 และ MRR อยู่ที่ร้อยละ 8.2
TMBประสานเสียงกนง.ลดดอกเบี้ย0.25%
ฝ่ายวิจัย ธนาคารทหารไทยคาดการณ์ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้ โดยคาดว่า กนง.จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องอีกร้อยละ 0.25 โดยปัจจัยสนับสนุนในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้มาจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อผ่อนคลายลง ซึ่งคาดว่าในไตรมาสแรกของปี 2550 อัตราเงินเฟ้อน่าจะชะลอลงอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นผลจากการปรับลดลงของราคาน้ำมันในตลาดโลก ทำให้การปรับลดอัตราดอกเบี้ยดำเนินไปได้โดยไม่ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเป็นลบ ขณะที่ความเสี่ยงด้านการขยายตัวของเศรษฐกิจมีมากขึ้น ซึ่งสะท้อนจากตัวเลขเศรษฐกิจในเดือนธันวาคม 2549 ขยายตัวในเกณฑ์ต่ำต่อเนื่อง จากการผลิตและการลงทุนภาคเอกชนชะลอตามอุปสงค์ในประเทศที่ชะลอตัว
และอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯมีแนวโน้มทรงตัวต่อไปอีกระยะหนึ่ง จากการที่อัตราเงินเฟ้อที่ยังไม่ลดลงสู่ระดับที่น่าพอใจ และตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯยังบ่งชี้ถึงการเติบโตทั้งด้านการผลิตและการบริโภค รวมถึงตลาดแรงงานยังคงเติบโตค่อนข้างดี แม้ว่าภาคอสังหาริมทรัพย์จะมีสัญญาณชะลอลงมากก็ตาม ดังนั้น เป็นไปได้ที่ FED ยังตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 5.25 ต่อไปอย่างน้อยที่สุดในครึ่งแรกของปี 2550 ขณะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยเริ่มปรับลดลงตั้งแต่ต้นปี ทำให้ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยไทยและสหรัฐฯเพิ่มขึ้น นำไปสู่การลดแรงจูงใจของเงินทุนไหลเข้า และชะลอการแข็งค่าขึ้นของเงินบาท ซึ่งเป็นผลดีต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ ปัจจัยดังกล่าวข้างต้นสนับสนุนให้กนง.สามารถดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายได้อย่างต่อเนื่องในการประชุมครั้งที่ 2 ของปี โดยปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงจากร้อยละ 4.75 สู่ระดับร้อยละ 4.50 และเชื่อว่ามีโอกาสปรับลดลงได้อีกร้อยละ 0.25-0.50 เพื่อกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศที่ชะลอลงมาก ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.0-4.25 ณ สิ้นปี
สำหรับอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ คาดว่าจะมีทิศทางเดียวกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หลังจากที่ธนาคารพาณิชย์ได้ทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลงร้อยละ 0.25-0.50 ตามความเหมาะสมและสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่ง แต่ยังไม่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ อย่างไรก็ดี หากมีสัญญาณว่าอุปสงค์ภายในประเทศเริ่มขยายตัว โดยเฉพาะด้านการลงทุน เพราะในปี 2549 พบว่าหลายอุตสาหกรรมมีการผลิตเต็มกำลังการผลิตแล้ว แต่สินเชื่อกลับชะลอตัวเพราะผู้ประกอบการยังไม่มั่นใจในสถานการณ์เศรษฐกิจว่าจะสามารถรองรับการลงทุนใหม่ได้หรือไม่ โดยฐานสินเชื่อในเดือนมกราคม 2550 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 1.2 ทั้งนี้ในไตรมาสแรกของปี 2550 คาดว่าสินเชื่อจะยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่องจากปัจจัยแวดล้อมด้านเศรษฐกิจและการเมืองที่ไม่เอื้ออำนวย และมีแนวโน้มที่ความต้องการสินเชื่อจะปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง หากเงื่อนไขทางเศรษฐกิจดีขึ้นและสามารถสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนและผู้บริโภค ซึ่งก็คาดว่า ธนาคารพาณิชย์จะทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงได้ เพื่อกระตุ้นการเติบโตของสินเชื่อ
BBLคาดจีดีพีไตรมาส4ชะลอต่อเนื่องโตแค่4.3%
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) คาดว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 จะขยายตัวร้อยละ 4.3 ชะลอลงจากร้อยละ 4.7 ในไตรมาสที่ 3 เนื่องจากอุปสงค์ของภาคเอกชนภายในประเทศที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชนที่คาดว่าจะขยายตัวต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา ประกอบกับการใช้จ่ายของรัฐบาลที่ปรับตัวลดลง เนื่องจากการจัดทำงบประมาณของปีงบประมาณ 2550 มีความล่าช้า เป็นปัจจัยที่ฉุดการขยายตัวของเศรษฐกิจให้ชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม การส่งออกที่แข็งแกร่งเกินคาดเป็นปัจจัยที่ช่วยค้ำจุนให้เศรษฐกิจไทยยังเติบโตได้ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ โดยรวมแล้วตลอดทั้งปี 2549 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้ในอัตราร้อยละ 5
ทั้งนี้ จากเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 แสดงให้เห็นว่าอุปสงค์ของภาคเอกชน ทั้งการบริโภคและการลงทุนยังคงอยู่ในภาวะซบเซาอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีการบริโภคภาคเอกชนและดัชนีการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวในอัตราต่ำเพียงร้อยละ 1.2 ซึ่งเป็นอัตราที่ใกล้เคียงกับในช่วง 3 ไตรมาสแรก ขณะที่ ในส่วนของการใช้จ่ายของรัฐบาลก็ไม่ได้ช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัว เนื่องจากการจัดทำงบประมาณของปี 2550 มีความล่าช้าเป็นเหตุให้ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2550 (หรือไตรมาสสุดท้ายของปี 2549) รัฐบาลต้องเบิกจ่ายเงินงบประมาณตามวงเงินของปีงบประมาณ 2549 ทำให้ยังไม่สามารถลงทุนในโครงการใหม่ๆ ได้ ส่งผลให้การใช้จ่ายของรัฐบาลหดตัวลงจากในระยะเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 17.4 แต่ในขณะเดียวกันรัฐบาลกลับสามารถจัดเก็บรายได้ได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 16 ซึ่งหมายความว่าการใช้จ่ายของรัฐบาลโดยสุทธิเป็นปัจจัยที่ฉุดให้การขยายตัวของเศรษฐกิจลดลงในไตรมาสสุดท้ายของปี 2549
ชี้ส่งออกตัวช่วยหลักพยุงเศรษฐกิจปี 49
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยหลักเพียงปัจจัยเดียวที่ช่วยขับเคลื่อนการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 (และตลอดทั้งปี 2549) ก็คือการการส่งออกสุทธิ เนื่องจากมูลค่าการส่งออกที่ขยายตัวได้สูงถึงร้อยละ 19.7 (ร้อยละ 6.7 ในรูปของเงินบาท) เร่งตัวขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 16.3 ในไตรมาสก่อน ในขณะเดียวกันมูลค่าการนำเข้าขยายตัวเพียงร้อยละ 7.2 (หดตัวร้อยละ 4.4 ในรูปของเงินบาท) ชะลอลงจากร้อยละ 12.2 ในไตรมาสก่อน ด้วยเหตุนี้ การส่งออกสุทธิจึงเป็นส่วนสำคัญที่สนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ซึ่งนอกจากจะช่วยชดเชยการชะลอตัวของอุปสงค์ของภาคเอกชนภายในประเทศแล้ว ยังเป็นปัจจัยที่ผลักดันให้เศรษฐกิจเติบโตสูงกว่าที่คาดอีกด้วย
ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย (กนง.) น่าจะมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันลงอีกในการประชุมครั้งที่ 2 ของปีในวันที่ 28 ก.พ.นี้ ซึ่งคาดว่า กนง.คงจะปรับอัตราดอกเบี้ยลดลงไม่ต่ำกว่าร้อยละ 0.25และอาจปรับลดได้ถึงร้อยละ 0.50 ถ้า กนง.ให้น้ำหนักในการกระตุ้นเศรษฐกิจมาก เนื่องจากสัญญาณทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มจะให้ภาพในเชิงลบมากขึ้น
|
|
|
|
|