Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2538
อาทิตย์ดวงที่ 2 ของ Jack             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 


   
search resources

สหวิริยาโอเอ
แจ็ค มินทร์ อิงค์ธเนศ




" แจ๊ค มิน ซู ฮู" แห่งสหวิรินยาโอเอ กำลังพลิกหน้าประวัติศาสตร์ ของตัวเอง จากดาวรุ่ง ในวงการผู้ค้าคอมพิวเตอร์เมื่อ 14 ปีที่แล้ว เดินสู่ธุรกิจแนวใหม่ โทรคมนาคม -บริการ-ต่างประเทศ -เอ็ดดูเทนเม้นท อันเป็นสมรภูมิรบในระดับมหาภาค ที่แจ๊ค จะต้องต่อ " จิ๊กซอร์" เหล่านี้ให้เป็นภาพเดียวกันเพื่อหวังจะเกิด " พระอาทิตย์" ดวงใหม่ ทดแทนดวงเดิมคือที่มีแต่จะถดถอยลง

" ผมมีรถยนต์ ผมมีถนน ผมมีปั๊มน้ำมัน ผมมีเครือข่ายขนาดใหญ่ด้วย และจะขยายไปต่างประเทศ นอกจากนี้ชีวิตไม่ใช่การทำงานเท่านั้น ต้องมีการพักผ่อนด้วย

ประโยคที่แจ๊ค มิน ชุน ฮุน ประธานกรรมการบริหาร ใช้ในการเปรียบถึงธุรกิจในอนาคตของสหวิริยา ซึ่งจะครอบคลุมธุรกิจค้าอุปกรณ์ปลายทาง โทรคมนาคม ระบบสาธารณูปโภค การบริการ ธุรกิจต่างประเทศ และเอ็ดดูเทนเมนท์

สหวิริยา โอเอ เป็นหนึ่งในผุ้ค้าที่กำลังพลิกประวัติศาสตร์ตัวเองครั้งใหญ่ เพื่อรับกับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะตลาดคอมพิวเตอร์

การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ จึงไม่ใช่เรื่องธรรมดา เพราะนั่นหมายถึงการเปลี่ยนบทบาทของสหวิริยา ที่คร่ำหวอดในแนวธุรกิจซื้อมาขายไปตลอด 14 ปีที่ผ่านมา ไปสู่ธุรกิจแนวใหม่

เรียกว่า เป็นการพลิกโฉม จากการทำธุรกิจในระดับ" จุลภาค" เข้าไปสู่ ธุรกิจมหาภาค ที่สหวิริยายังไม่เคยจัดเจนมาก่อน การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จึงเป็นเรื่องท้าทายยอ่งสำหรับสหวิริยาโอเอ

ภายใต้โครงสร้างธุรกิจใหม่ของสหวิริยา แบ่งเป็น 5 กลุ่มธุรกิจ ( Strategic business unit) จะเห็นได้ว่า แจ๊คได้พยายามขยายขอบเขตไปสู่ธุรกิจแนวใหม่ เช่โทรคมนาคม และบริการสาธารณูบโภค ตลอดจนเอ็ดดูเทนเม้นท์ พร้อมทั้งเพิ่มบทบาทกลุ่มธุรกิจทางด้านซิสเดต็ม อินทริเกรชั่น และการค้าระหว่าประเทศให้มากขึ้น ในขณะที่ การจำหน่ายอุปกรณ์ปลายทางอันเป็นธุรกิจดั้งเดิมมารวมอยู่ภายใต้กลุ่มไอที เทอร์มินัล โปรดักส์

ทิศทางธุรกิจแนวใหม่ นอกจากการแสวงหารายได้ของธุรกิจแล้ว ยังเป็นการกระจายความเสี่ยงทางทางธุรกิจในอีกทางหนึ่ง เพราะหมดยุคแล้วที่จะขายคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียว ในช่วงที่ราคาเครื่องลดต่ำลงมาเช่นนี้

แจ๊ค กล่าวว่า แม้ว่าธุรกิจดั้งเดิมของสหวิริยาจะยังเติบโตได้ตลอดปี 30-40% แต่ในสภาวะการแข่งจันเช่นนี้ การจะให้โตเท่ากับ 100% เช่นในอดีต คงเป็นไปไม่ได้อีกแล้ว และหากสหวิริยายังกินบุญเก่า คงต้องเหลือแต่ชื่อแน่

" การเปลี่ยนแปลงของเรา ไมได้ทำเพราะมีปัญหา แต่เพื่อเตรียมองค์กรพรอ้มที่จะก้าวสู่ธุรกิจใหม่ เนื่องจากเวทีการค้าเปลี่ยนไปสุ่ต่างประเทศ และผู้ที่ปรับตัวได้เท่านั้น จึงจะอยู่รอดได้ " แจ๊ค ให้เหตุผลของการกำหนดโครงสร้างธุรกิจในครั้งนี้

ภารกิจของแจ๊ค นับจากนี้ คือการสร้างอาทิตย์ดวงใหม่ แทนดวงเก่า ซึ่งแจ็คเชื่อมั่นว่า ไม่เพียงแต่มุมมองที่ดีเท่านั้น แต่จะต้องมีความกล้าจะทำธุรกิจใหม่ได้ เช่นเดียวกับความกล้าของแจ๊ค ในการสร้างโอเอเซ้ฯเตอร์ในอดีต ที่ยังไม่มีใครกล้าทำมาก่อน

ธุรกิจไอที เทอร์มินัล โปรดักส์ จะรู้รับผิดชอบสินค้าอุปกรณ์ปลายทางทั้งหมด ตั้งแต่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล พรินเตอร์ แฟ๊กส์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ ซอฟท์แวร์ ที่เคยอยู่กระจัดกระจาย นำมาจัดรวมข้อมูลเพื่อเจาะขยายกลุ่มลูกค้าในระดับคอนซูเมอร์

เนื่องจากเป็นกลุ่มที่รับผิดชอบธุรกิจดั้งเดิม ซึ่งสินค้าที่โดดเด่นหลายชนิดที่ติดตลาดอยุ่แล้ว ทั้งซีพี เอเซอร์ พรินเตอร์ เครื่องแมคอินทอช ฐานรายได้ส่วนใหญ่ของสหวิริยาจึงมาจากกลุ่มนี้ หรือคิดเป็น 4,300 ล้านบาท ในขณะรายได้รวมวางไว้ 7,000 ล้านบาท

ทว่า การรักษาตำแหน่งทางการตลาดของสินค้าเหล่านี้ ไม่ใช่เรื่องง่ายดายนักโดย เฉพาะอย่างยิ่งความเส่ยงจากปัญหาการตัด ราคา และการล้าสมัยของสินค้า

วีระ อิงค์ธเนศ ซึ่งถูกโปรโมท จากู้รับผิดชอบธุรกิจซอวฟท์แวร์ ให้ขึ้นเป็นประธานกลุ่มธุรกิจไอที เทอร์มินัล โปรดักส์ ยอมนรับว่า สิ่งเหล่านี้คือปัญหาหลักของการทำธุรกิจประเภทนี้ วิธีแก้ปัญหาและสร้าง ความเป็นต่อ โดยจะทำอย่างไรให้สินค้าประกาสวางตลาดในต่างประเทศถึงมือลูกค้าในไทยให้เร็วที่สุดเป็นเป้าหมายสูงสุด จึงต้องเร่งดำเนินการ ส่วนวิธีการจะทำอย่างไรนั้นยังเป็นแค่การวางแผนเท่านั้น

ต้องนับว่าเป็นโชคดีของสหวิริยา ที่ให้ความสำคัญในเรื่องของช่องจำหน่ายมาตั้งแต่ต้น มินิโอเอ และสหวิริยาเซ็นเตอร์ ภารกิจจากนี้ จึงเป็นเรื่องของการขยายสาขา และการเพิ่มช่องทางจำหน่ายรูปแบบใหม่ ๆ เช่น ซุเปอร์สโตร์ แทนที่จะต้องเมาเริ่มนับหนึ่งใหม่

แต่แนวคิดการเปิดแฟรนไชส์ นับว่าแพร่หลายมาในปัจจุบัน ทำให้สหวิริยา ต้องหันมาเน้นในเรื่องการแต่งรูปแบบ ของช่องทางเหล่านี้ใหม่ด้วย

แจ๊ค ยอมรับว่า รูปแบบที่ดำเนินการอยู่นั้นเหมาะสม กับการดำเนินการธุรกิจ 5 ปี ที่แล้ว ดังนั้นจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงทางใหม่ โดยช่องทางจำหน่ายแต่ละประเภท ไม่ว่าจะเป็น วาร์ ดีลเลอร์ โอเอเซ้นเตอร์ มินิโอเอ ซุปเปอร์เซ้นเตอร์ จะต้องจับลูกค้าที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งช่องทางเหล่านี้จะต้องจำหน่ายสินค้าได้หลายชนิด

กลุ่มซิส-เต็มส์ อินทิเกรชั่น คือกลุ่มธุรกิจที่สอง ที่มีเป้าหมายเพื่อตอบสนอง กลุ่มลูกค้าที่มีขนาดใหญ่ คือ องค์การขนาดใหญ่ ยุทธวิธี ทางธุรกิจจึงแตกต่างไปจากกลุ่มธุรกิจแรก โดยจะเป็นการเสนอขายระบบงานคอมพิวเตอร์ แบบครบวงจร ซึ่งจะครอบคลุมตั้งแต่การจำหน่ายการออกแบบและติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ ตลอดจนการฝึกอบรม ที่ต้องอาศัยความชำนาญเป็นพิเศษ

กนกวิภา วิริยะประไพกิจ ทายาทตระกูลวิริยะประไพกิจ ผู้บุกเบิกธุรกิจเอสไอ อันเป็นก้าวที่สองของสหวิริรยา ที่เริ่มเปลี่ยนจาการค้าฮาร์ตแวร์ไปสู่ ธุรกิจการค้าซอฟท์แวร์ และบริการ

กนกวิภา ยอมรับว่า ต้องใช้เวลาเรียนรู้ 9 ปี ในการก้าวมาจุดนี้ ได้เพราะไม่ใช่เรื่อง่ายเลย สำหรับบริษัทที่เชี่ยวชาญแต่เรื่องของพีซี และอุปกรณ์ต่อพ่วงอย่างสหวิริรยา จะก้าวไปเป็นเอสไอ ที่จะต้องเรียนรู้ตั้งแต่เครื่องขนาดใหญ่ เครื่องขนาดกลาง ระบบเครือข่าย และโซลูชั่น ตลอดจนทางด้านซอฟท์แวร์ และบริการ

เรียกว่า ต้องพลิกโฉมหน้าจากฐานธุรกิจฮาร์ดแวร์ มาสู่ธุรกิจซอฟท์แวร์และบริการกันเลยทีเดียว มาจนทุกวันนี้ กนกวิภา เชื่อมั่นว่า สหวิริยาพรอ้มแล้ว ที่จะเป็นเอสไออย่างเต็มตัว

ฮิตาชิ แทนเด็ม อีดีเอส สู้ผู้ผลิตและหนึ่งผู้เชี่ยวชาญ ทางด้านเอสไแอ จากต่างประเทศ คือซัพพลายเออส์ และพันธมิตรสำคัญของสหวิริยาตลอดมา

ทว่า การทำธุรกิจในแนวนี้ สหวิริยา ไม่สามารถยึดติดกับซัปพลายเออร์ รายใดรายหนึ่งได้ เราต้องหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่สุด สหวิริยาจึงต้องเปลี่ยนวิธีการเซ็นสัญญากับซัพลายเออร์ จากสัญญาในรูปการเป็นดิสทริบริเตอร์ มาเป็นในลักษณะของซิสเต็มส์ อินทริเกรเตอร์ ซึ่สหวิริยาไม่จำเป็นต้องผูกติดกับการทำตลาดอีกต่อไป

หลังจากผลงานการติดตั้งระบบงานคอมพิวเตอร์ให้กับธนาคาร ผสมผสานกับการมีโซลูชั่นสำหรับลูกค้าทางด้านไฟแนนเชียล ครบวงจร ทำให้สหวิริยาเชื่อมั่นว่า ไม่เป็นรองใคร แล้วสำหรับตลาดทางด้านธนาคาร และสถาบันการเงิน แม้กระทั่งไอบีเอ็ม ที่เป็นผู้ครองส่วนแบ่งตลาดมายาวนาน

" ปีนี้ เรามีสินค้าและบริการในด้านของไฟแนนเชียลครบวงจร พร้อมแล้วที่เราจะประกาศตัวเป็นไฟแนนเชียล"

ก้าวต่อไปของหสวิริยา คือการขยายลูกค้าทางด้าน โทรคมนาคม และด้านธุรกิจรักษาความปลอดภัย และค้าปลีก ซึ่งกนกวิภาได้ลงมือปรับโครงสร้างใหม่ให้รองรับกลุ่มลูกค้า ตลอดจนสินค้าและโซลุชั่นที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต

เป้าหมายของสหวิริยาในปีนี้ คือยอดรายได้ที่จะเติบโตเพิ่มขึ้น จากหลัก 100 ล้านบาท สู่พันล้านบาท

แม้ว่าธุรกิจในกลุ่มนี้จะดูสดใส แต่คู่แข่งขัน ที่มีเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ไม่ใช่สิ่งที่สหวิริยาจะต้องมองข้ามไปได้

ธุรกิจโทรคมนาคมและสาธารณูปโภค จัดเป็นธุรกิจสายใหม่ที่เกิดขึ้นภายใต้แนวคิดการสร้าง " ทางด่วนข้อมูล" เพื่อใช้เป็นทางผ่านใหม่ในการให้บริการและสินค้าใหม่ ๆ วิ่งผ่านถนนลงไปยังลูกค้าในระดับมวลรรวม

สหวิริยาเข้าสู่การให้บริการโทรคมนาคม ( โอปะเรเตอร์) มานานแล้ว แต่ต้องพลาดหวังจากการประมูลบริการสื่อสาร ข้อมูล ภาพ และเสียง ผ่านสถานีดาวเทียมขนาดเล้ก หรอืวีแซท และวิทยุติดตามตัว และโครงการอื่น ๆ ( กสท) เปิดเสรีให้เอกชนร่วมลงทุน จึงเป็นโอกาสทองของสหวิริยา

บริการวีเซท และบริการวิทยุคมนาคม คลื่นความถี่ยูเอชเอฟ และวีแอช เอฟ คือ 2 สัปทานจากกสท. จึงเป็นก้าวแรกของการเข้าสู่การเป็นผู้บริการอย่างแท้จริง

ในเวทีนี้ สหวิริยา นับว่ายังเป็นน้องใหม่ ที่ยังไม่จัดเจนเวที เท่าในธุรกิจคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะดีกรีการแข่งขันทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นตลอดเวลา

แต่แจ๊ค กลับไม่ได้วิตกในปัญหานี้ เพระาเขาเชื่อว่า เทคโนโลยีสามารถซื้อกันได้ขึ้นอยู่กับว่าจะคัดเลือก และจัดการอย่างไร เช่นในกรณีของวีแซท สหวิริยาได้วีดีเอส พันธมิตรคนสำคัญ ที่มีประสบการณ์ในเรื่องของธุรกิจคอนซัลติ้ง มาช่วยในการเลือกเทคโนโลยี

สอดคล้องกับแนวความคิดของอนันต์ วรธิติพงส์ ประธานกลุ่มโทรคมนาคมและสาธารณูปโภค ที่เชื่อมั่นว่า เทคโนโลยียังมีการพัฒนาตลอดเวลา จึงไม่มีคำว่าช้าเพราะว่ามีการพัฒนาตลอดเวลา จึงไม่มีคำว่าช้าเพราะการเริ่มต้นทำธุรกิจในวันนี้ อาจจะประสบความสำเร็จได้ดีกว่าผู้เริ่มทำธุรกิจมาก่อนหน้านี้ได้

ที่สำคัญ ด้วยความจำเป็น ที่ต้องมีโครงข่ายสื่อสารเป็นของตนเอง เพื่อประโยชน์ ในการเสนอระบบงานให้กับลูกค้าได้ครบวงจร ขณะเดียวกันเป็นจุดสร้างตลาดบริการ และสินค้าใหม่ ทำให้สหวิริยาต้องยื่นขอสัมปทานวีแซท ทั้งๆ ที่ต้องจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนถึง 2 พันล้านบาท ตลอดอายุสัมปทาน แม้แต่สามารถ เทลคอม และคอมพิวเตอร์ ยังต้องถอยออกมา

" หากกสท. ไม่เปิดเสร สหวิริยา คงไม่ได้วีแซทมา และสหวิริยา ต้องดิ้นหาทางอื่น แต่ไม่สามารถตอบได้ว่าจะหาทางใด เพราะธุรกิจมันอยู่ไม่ได้"

สหวิริยา ได้จับมือกับพันธมิตรรายใหญ่อย่างธนาคารกสิกรไทย เอเซอร์ เพือ่ดำเนินธุรกิจด้านอินฟอร์เมชั่น ซุปเปอร์ไอเวย์ และได้จัดตั้งบริษัทลูก ใช้ชื่อว่า " เวิลด์แซท" ขึ้นเพื่อยื่นเสนอสัมปทานวีแซทจากกสท

การเปิดโอกาส วีแซท ในเวลานี้ ทั้งที่มีคู่แข่งอยู่แล้ว 4 ราย อนันต์ กลับมองว่าไม่ใช่ปัญหา แต่เป็นจังหวะที่ดีเพราะการพัฒนาระบบวีแซท ตลอดจนอุปกรณ์ปลายทางได้พัฒนามาจนถึงจุดที่เหมาะสมทั้งในด้านของราคาและเทคโนโลยี ทำให้โอกาสที่จะขยายตลาดมีอยู่มาก

กระนั้น สหวิริยา ต้องหารูปแบบบริการใหม่ ๆ เพื่อไม่ต้องเผชิญหน้ากับคู่แข่งโดยตรง

รูปแบบบริการของสหวิริยา ประกอบไปด้วย บริการเครือข่ายสื่อสารผ่านดาวเทียม ที่จะมีทั้งการส่งข้อมูลเพียงอย่างเดียว ข้อมูลผสมกับเสียงและข้อมูล ภาพ และเสียง

-บริการเชื่อมโยงเครือข่ายระบบเลน ที่อนันต์ ย่นยันว่า ไม่มีคู่แข่งให้บริการในลักษณะนี้

-บริการบรอดคาสติ้ง ดาต้า และวดีโอ เป็นบริการที่เหมาะสำหรับ กิจการเคเบิลทีวี โทรทัศน์ สำนักข่า

-บริการการศึกษาทางไกล จะเห็นบริการในการเรียนการสอน ผ่านดาวเทียม ที่ผุ้เรียนและผู้สอนสามรถตอบโต้กันได้ ( อินเตอร์แอคทีฟ) โดยกลุ่มลุกค้าเป้าหมายคือมหาวิทยาลัยที่มีสาขาในต่างจังหวัด

-บริการประชุมผ่านจอภาพ ที่จะให้บริการ ผู้ที่อยู่ต่างสถานที่กัน สามารถพูดจาโต้ตอบกันได้ การให้บิรการ จะมี 2 ลักษณะ คือ 1. ซื้ออุปกรณ์ไปติดตั้งเอง 2. เช่าใช้สสถานที่ โอเอเซ้นเตอร์ของสหวิรินยา ที่มีสาขามากว่า 50 แห่ง ทั่งวประเทศ นอกจะใช้ประโยชน์ในการประชุมทางไกล ในการวางจำหน่ายสินคาแล้ว ยังสามารถให้บริการเช่าแก่ลูกค้าได้ด้วย

- บริการ มัลติมีเดีย คอนฟอร์เรนซ์ เป็นการนำเอาอุปกรณ์มัลติมีเดีย มาต่อเชื่อมและติดต่อถึงกันโดยผ่านดาวเทียม

-บริการอิน-โฟร์ลิงค์ ประเภทความเร็วสูง จะเหมาะสำหรับใช้เป็นเครือข่ายเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์หลักระหว่างสำนักงานใหญ่ และสำนักงานเขตซึ่งต้องมีปริมาณการติดต่อสูง

ทั้งนี้สหวิริยา ต้องใช้เงินทุนในการวางโครงข่ายระยะแรก 300-400 ล้านบาท และคาดว่าจะใช้เวลา
ประมาณ 4 ปี ถึงจะคุ้มทุน

สำหรับวิทยุคมนาคม ระบบยูเอชเอฟ และวีเอชเอฟ เป็นโครงการที่สหวิริยาได้ร่วมทุนกับเทเลคอมโอลดิ้ง ในเครือข่ายทีเอ ร่วมกับ กสท. และพนักงาน กสท. ด้วย สัดส่วน 32:32:33:3 ตามลำดับ

กสท ได้เปิดให้บริการดังกล่าวมาร่วม 20 ปี แล้ว แต่หลังจากบริการโทรศัพทฺ มือถืวอระบบแอมป์ 8001 กำเนิดขึ้น บริการวิทยุ คมนาคม จึงลดความนิยมลงไปเรื่อย ๆ เนื่องจากข้อจำกัดของขนาดเครื่อง และการใช้งานไม่สะดวกต้องต่อผ่านโอปะเรเตอร์ เวลาจะติดต่อถึงกัน

แต่ สหวิริยา กลับมองโครงการนี้ น่าจะฟื้นขึ้นมาได้ เระาในต่างประเทศมีการพัฒนาระบบตลอดเวลชา จนถึงขั้นใช้เป็นวิทยุโทรศัพท์ ทีมีหมายเลขประจำเครื่องที่โทรเข้าออกได้โดยอัตโนมัติ เหมือนกับโทรศัพท์ทั่วไป ซึ่งเครืองลูกข่ายจะมี 2 ชนิด คือ 1. วิทยุโทรศัพท์ทั่วไป สามารถพูดสวนได้ปกติ 2. แบบเซมิดูเพล้กซ์ กดพูดและปล่อยฟัง

ขณะเดียวกันการติดตั้งเครือข่ายจะคล้ายคลึงกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบ 470 เพราะใช้คลื่นความถี่ช่วงเดียวกัน ย่าน 400 เมกกะเฮริทซื ทำให้รัศมีการให้บริการกินพื้นที่กว้างไกลมาก แต่ตัวเครื่องลูกจ่ายที่มีขนาดเท่ากับโทรศัพท์มือถือ โดยปกติ

แต่จะแตกต่างกันในเรื่องของระบบแฮนด์ออฟ ซึ่งในระบบนี้ เวลานี้ออกจากรัศมีของเซลล์ไซท์ไปแล้ว สัญญานจะขาดหายในขณะที่โทรศัพท์มือถือสัญญานจะไม่ขาดหาย

การลงทุนในระยะแรก สหวิริยาประเมิน ไว้ที่ 400 ล้านบาท โดยจะใช้ในการเปลี่ยนแปลงระบบเดิมให้เป็นเทคโนโลยีใหม่ทั้งหมด ประมาณ 130 สถานีฐาน ซึ่งจะทยอยเปลี่ยนแปลงเป็นทีละจุด

ส่วนอัตราค่าบริการ สหวิริยามองเป็นการเก็บแบบเหมารวมเป็นเดือน หากใช้เกินจะเสียเป็นนาที ซึ่งจะต่ำกว่าโทรศัพท์มือถือ สหวิริยาเชื่อว่า จะเป็นแรงจูงใจส่วนหนึ่งให้ผู้ใช้แรงงานเพราะผู้ใช้จะควบคุมค่าใช้จ่ายได้

อนันต์ ยืนยันว่า เป้าหมายไม่ได้ ต้องการแข่งขันกับมือถือ แต่ต้องเสริมจุดบอดของเซลลูลาร์เท่านั้น ซึ่งในปีแรก คาด ว่าจะว่าจะมียอดขายประมาณ 5,000 ราย และเพิ่มขึ้นสูงสุด 40,000 เครื่อง

" เราสามารถสร้างมูลค่าตลาดได้ถึง 40,000 เครื่อง ราคาเครื่องละ 4 หมื่นบาท รวมเป็น 1,600 ล้านบาท ตลาดจะใหญ่กว่าวีแซทเสียอีก"

สหวิริยา มองแล้วว่า นน่าจะมาเสริมจุดบอดของตลาดมือถือได้ แม้ว่าตจะไม่ได้เป็นูผู้ให้บริการมือถือโดยตรง แต่ก็ถือว่า เป็นการ " ชิมลาง" ก่อนเดินสุ่ธุรกิจโทรศัพท์มือถืออย่างแท้จริง

แต่อย่าลืมว่า สภาพการตัดราคาของตลาดโทรศัพท์มือถือ จนขนดที่ผ่านมาผ่านไปเพียง 2 เดือน ราคาของระบบดิจิตอล ที่เคยขายในราคาเกือบ 50,000 บาท หล่นลงมาเหลืออยู่ไม่ถึง 20,000 ก็ยังมี

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากโครงการสัมปทาน เป็นโครงการระยะยาว ต้องรอเวลาเก็บเกี่ยวรายได้ ในระหว่างนี้สหวิทยาจึงต้องหาธุรกิจที่จะสร้างรายได้ในระหว่างรอเก็บเกี่ยวรายได้จากสัมปทาน

ขอบข่ายของงานในปีนี้ จึงจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน 1. ทางด้านสัมปทาน 2. งานรับเหมาติดตั้งวางระบบ อาทิ เรด้าเรือ ไมโครเวฟลิงค์, 3. การรับออกและติดตั้งระบบอินเทลลิเจนท์บิลดิ้ง หรือระบบอาคารอัจฉริยะ โดยงานสองประเภท หลัง แม้ว่าจะมีขนาดเล็กกว่างานสัมปทานแต่จะเป็นส่วนทีทำรายได้หล่อเลี้ยง ในช่วงที่งานสัปทานยังไม่มีรายได้

เป้าหมายข้างหน้า คือการยื่นขอมีสัปทานสื่อสาร ทั้งประเภทไร้สาย และมีสาย อนันต์ ยอมรับว่าสหวิริยา คงไม่มีสิทธฺ์เลือก เพราะสัมปทานมีอยุ่จำกัด ดังนั้น เมื่อรัฐเปิดโอกาส สหวิริยา ต้องเสนอและขึ้นอยู่กับว่ารัฐจะเลือกหรือไม่

จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเห็นชื่อของสหวิริยา สนอตัวในโครงการสัมปทานหลายอีกหลายโครงการนับจากนี้

กลุ่มธุรกิจอินเดตอร์เนชั่นเทรด และแมนูแฟคเจอริ่ง จึงเป็นกลุ่มที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับกับโลกที่ไร้พรมแดน และเป็น " จิ๊กซอร์" อีกตัวที่สหวิริยาใช้ในการต่อภาพในการบุกต่างแดน

กท้ที่จริง สหวิริยา บุกเบิกตลาดอินโดจีนมาตั้งแต่ 4 ปีมาแล้ว แต่ยังถือว่าเป็นแค่เริ่มต้นเท่านั้น เพราธครงการร่วมลงทุนกับบริษัทเวียดนาม อิเล้คทรอนิค เซอร์วิส บริษัทท้องถิ่น ในเวียดนาม จัดตั้งบริษัทเอสวี อินฟอร์เมติก เพื่อขยายธุรกิจในเวียดนามตั้งแต่ 2 ปีที่แล้ว ยังไม่เริ่มลงมือ เพราะติดขั้นตอนทางกฎหมาย

แจ๊ค ชี้แจงว่า แม้ยังไม่ชัดเจน ในเรื่องของการลงทุน แต่ธุรกิจหยุดไม่ได้ สหวิริยาจึงหันมาใช้วิธีการตั้งตัวแทนจำหน่ายเพื่อกระจายสินค้าไปก่อน ซึ่งผลลัพทธ์ ที่ได้เกิดความคาดหมาย เพราะปีที่แล้วสหวิริยามีรายได้จาการขยายตลาดในครั้งนี้ถึง 10 ล้านเหรียญ หรือ 250 ล้านบาท แจ๊ค ยืนยันว่า นี่คือความสำเร็จ ตัวเลขขนาดนี้ยังมาก กว่าบริษัทค้าคอมพิวเตอร์หลายรายด้วยซ้ำไป

จากจุดนี้เอง จึงต้องเอาจริงกับธุรกิจต่างแดน ในครั้งนี้แล้ว เพราะ " โอกาสและความจำเป็น" ได้มาถึงแล้ว

" หากสหวิริยาไม่เริ่มต้นตั้งแต่วันนี้ จะต้องเป็นปลาเล็กที่ถูกปลาใหญ่กินแน่ เมื่อการแข่งขันเสรีมาถึงและสหวิริยาคงไม่สามารถเอ็นจอยได้ เหมือนกับ 10 ปีที่แล้ว ที่เคยเอ็นจอยกับธุรกิจไทย"

เวียดนาม พม่า ลาว และกัมพูชา คือ 4 ประเทศแรกที่สหวิริยาจะบุกขยายตลาดในปีนี้

เอกชัย ศิริจิระพัฒนา ลูกหมือเก่าแก่ ที่เคยบุกเบิกโอเอเซ้นเตอร์ ตลอดจนพรินเตอร์เอปซอน เป็นผู้รับภาระในครั้งนี้เพราะสหวิริยามองว่า การสร้างตลาดใน 4 ประเทศ เหล่านี้ คือการสร้างตลาดในไทยของสหวิริยาในอดีตเมื่อ 10 ปีที่แล้ว

เมื่อเทคโนโลยี ของสินค้าเท่าเทียมกันแล้ว การกระจายสินค้าจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ภาระต่อไปของกลุ่มนี้ จึงเป็นเรื่องของการตั้งโรงงานประกอบสินค้าแบบเคลื่อนที่ เพื่อกระจายสินค้าไปยังลูกค้าให้เร็วที่สุด

เป้าหมายของกลุ่มนี้ คือการนำสหวิริยาให้ก้าวเป็น 1 ใน 10 ในภูมิภาคนี้เช่นเดียวกับ เอ็นอีซี ฟูจิตสึ โตชิบา แจ๊ค เชื่อว่า หากไปไม่ถึงจุดนั้นแล้ว สหวิริยาคงเหลือแต่ชื่อแน่ เมื่อเขตการค้าเสรีมาถึง

หากจำกันได้ในช่วงปลายปี สหวิริยาได้ประกาศตัวสู่ธุรกิจเอ็ดดูเทนเม้นท์ ด้วยการเซ็นสัญญากับไอเวิร์คส เซ็นเตอร์ เทนเม้นท์ จำกัด จากสหรัฐอมริกา และอิโตซู คอร์ปอเรชั่น ผู้ผลิตระบบมัลติมีเดียจากญี่ปุ่นร่วมกันดำเนินธุรกิจ ภายใต้ชื่อ โครงการ " ไอเวิร์กส์ ซีเนโทร โพลิส ไฮเทค ธีมปาร์ค" ซึ่งจะเป็นศูนย์บันเทิงครบวงจร ภายใต้แนวคิดการนำเทคโนดลยีชั้นสูง มาผสมผสานให้เกิดความบันเทิงและการศึกษาให้กับประชาชนทั่วไป

เอ็ดดุเทนเมนท์ จึงเป็น " จิ๊กซอร์" ตัวสุดท้าย ที่แจ๊ค ต้องการมีไว้ในรูปแบบของการพักผ่อน เพราะชีวิตไม่ได้มีเพียงแค่ธุรกิจเท่านั้น แต่ยังต้องมีการพักผ่อนและเอ็นเตอร์เทนเมนท์ จึงเป็นอีกพื้นที่ที่สหงวิริยาจะต้องสานต่อ

วีระ อิงคธเนศ ผู้รับผิดชอบโครงการในเบื้องต้น เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ไอเวิร์ค มีการเปลี่ยนแปลงภายใน ทำให้สัญญาที่เซ็นกันไว้ ต้องนำมาพิจารณาใหม่ โดยจะต้องมาประสานงานในเรื่องของรายละเอียดการทำธุรกิจร่วมกันทั้งในเรื่องของการลงทุน การแบ่งผลกำไร

ดังนั้น โครงการเดิม ที่จะทำเป็นศูนย์บันเทิงแบบครบวงจร ที่จะมีโรงภาพยนตร์ตาง ๆ อาทิ โรงภาพยนตร์จอยักษ์ ระบบภาพ 3มิติ โรงภาพยนต์จอ 360 องศา โรงภาพยนตร์แบบเทอร์โบ ทัวร์ ซิมูเลชั่น เธียเตอร์ ซึ่งสหวิริยาได้เตรียมจองเช่าพื้นที่ไว้แล้ว วีระ กล่าวว่า อาจจะเริ่มต้นด้วยการให้บริการแบบใดแบบหนึ่ง ก่อนก็เป็นได้

ในขณะที่สหวิริยา ยังอยู่ในขั้นฟักบริการ แต่ธุรกิจ ต้องเดินหน้าไป โดยเฉพาะคู่แข่งขัน จะเห็นได้ว่าโรงภาพยนตร์รูปแบบดังกล่าว รวมทั้งบริการทางด้านเอ็ดดูเทนเม้นท์ เริ่มผุดขึ้นเป็นระลอก จึงไม่ใช่เรื่องง่ายหากเอ็ดูเทนเม้นท์ของสหวิริยายังไม่เริ่มต้นเสียที

ภายใต้โครงการธุรกิจใหม่ แจ๊ค ได้พยายามกระจายอำนาจการบริหารงานออกไปมากขึ้น โดยได้ถ่ายเทการบริหารงานให้ประธานของแต่ละกลุ่มเป็นผู้ดูแลส่วนตัว แจ๊ค พยายามลดบทบาทเป็นผู้กำหนดนโยบาย และทิศทางธุรกิจเท่านั้น

เพราะนับจากนี้ แจ๊ค จะต้องรับผิดชอบธุรกิจใหม่ ๆ ที่สหวิริยาโอเอ โฮลดิ้ง ที่กำลังขยายบทบาทเข้าไปลงทุนในธุรกิจทางด้านโครงการขนาดใหญ่ ตลอดจนด้านการศึกษา อันประกอบ ไปด้วย 4 กลุ่ม คือกลุ่มทรานสปอร์ต เทชั่น กลุ่มซุปเปอร์อินฟาวสตรัคเจอร์ กลุ่มบอร์คคาสสติ้ง แอนแมสมีเดีย และกอ่ตั้งเป็นเป็นรูปบริษัท ใช้ชื่อว่า core & Peak จำกัดขึ้น และยังมีมีแผนขยายไปทำธุรกิจป้ายบิลบอร์ค ทั่วกรุงเทพฯ เช่นเดียวกับ บริษัทไทยสนเทศ เทคโนโลยี ประกอบธุรกิจอบรม และถ่ายทอดความรู้ ได้ถูกโอนมาอยู่ภายใต้กลุ่มเอ็ดดูเคชั่น ได้ถูกหมายในการวิจัยและศึกษาระบบงานเทคโนโลยี และระบบงานด้านการเรียนการสอนทางไกล ผ่านดาวเทียม

กลุ่มธุรกิจใหม่ ๆ ทั้งหมด จึงเป็น " จิ๊กซอร์" ที่แจ๊คกำลังใช้เวลาทั้งหมดนับจากนี้ ในการต่อให้เกิดเป็นรูปภาพขึ้น ตามที่แจ๊คหวังไว้ว่า จะเป็นดวงอาทิตย์ดวงใหม่ ที่จะส่องแสงให้กับสหวิริยาโดยไม่ต้องหวังพึ่งอาทิตย์ดวงเดียวต่อไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us