Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2538
" เอทีเอ็ม พูล" 24 ปี การต่อสู้ไม่สิ้นสุด             
โดย สุปราณี คงนิรันดรสุข
 

   
related stories

ตู้เอทีเอ็ม หมดยุคไอบีเอ็มกินรวบ

   
search resources

Electronic Banking




ปี 2514 - เครื่องเอทีเอ็มเครื่องแรก เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา โดยแบงก์ซิตี้เซนและเซาท์เธ่น เนชั่นแนล ในแลตแลนต้า ให้บริการรับฝากถอนเงินอัตโนมัติ

ปี 2526- แบงก์ไทยพาณิชย์เป็นแบงก์แรกในประเทศไทย ที่นำเครื่องเอทีเอ็มเข้ามาปฏิวัติโฉมหน้ารีเทลแบงก์กิ้ง ครั้งใหญ่ เพิ่มยอดจำนวนบัญชีเงินฝากของไทยพาณิชย์ในปี 2525 จาก 725,974 บัญชี เป็น 860,595 บัญชี ณ สิ้นปี 2526 หรือเท่ากับ 18.5 ความคิดเอทีเอ็มนี้ได้สร้างชื่อเสียงให้กับบรรณวิทย์ บุญญรัตน์ กลายเป็นดาวรุ่งที่ก้าวกระโดดขึ้นสู่ตำแหน่งนักบริหารระดับสูง

ปี 2527 - นโยบายแบงก์ชาติกำหนด แนวทางวางระบบเครือข่ายเอทีเอ็ม ร่วมไม่ต่ำกว่า 3 แบงก์ เพื่อลดปัญหาขาดทุนการค้า และแข่งขันนำเข้าเครื่องเอทีเอ็ม

ปี 2528 - แบงก์ยักษ์ใหญ่สามแบงก์ชาติต่างสร้างเครือข่ายกันขึ้นมา ประกอบด้วย " ไทยเน็ท" ซึ่งมีไทยพาณิชย์ มหานคร และ สหธนาคาร เครือข่าย " เงินสดทันใจ" เป็นการรวมตัวระหว่างแบงก์กสิกรไทย ทหารไทย กรุงศรีอยุธยา และธนาคารสยาม และเครื่องข่าย " แบงก์เน็ท" ที่มีแบงก์กรุงเทพ กรุงไทย ไทยทนุ นครธน แหลมทอง ศรีนคร และแบงก์เอเชีย

ปี 2529 -หัวเรือใหญ่สองแบงก์ คือ ไทยพาณิชย์ และกสิกรไทย รวมเครือข่ายไทยเน็ท และเครือข่ายเงินสดทันใจกันเป็น " สยามเน็ท" และจัดตั้งบริษัท " เครือข่ายธนไทย" หรือเรียกสั้น ๆ ว่า บริษัทเอส เอ็น เอส ทำการเชื่อมต่อเครือคอมพิวเตอร์ของธนาคารกลางทั้ง 7 แห่ง ขณะที่ เครือข่ายแบงก์เน็ทไม่มีบริษัทกลาง แต่รวมศูนย์ระบบคอมพิวเตอร์ที่แบงก์กรุงเทพ

ปี 2530- แบงก์สยามได้ลาออกจากสมาชิกสยามเน็ต เพราะยุติการดำเนินงาน

ปี 2531- แบงก์กรุงเทพและกสิกรไทยร่วมลงทุนจัดตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์สำรองในนาม " บริษัท ศูนย์ประมวลผล ( พีซีซี) ด้วยทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท โดยมีแบงก์กรุงเทพถือหุ้น 30% กสิกรไทย 30% ปูนซิเมนต์ไทย 20% และสหยูเนี่ยน 20% ปีนี้แบงก์นครหลวงไทยเพิ่ง ก้าวเข้ามาเป็นสมาชิกสยามเน็ต

ปี 2532- แบงก์ศรนคร ได้ย้ายจากลุ่มแบงก์เน็ตของแบงก์กรุงเทพเข้าร่วมสยามเน็ตด้วย มีการแข่งขันกันมาก จำนวนเครื่องเอทีเอ็ม ของสยามเน็ต 497 เครื่อง ขณะที่แบงก์เน็ต มี 458 เครื่อง

ปี 2533- บริษัท ศูนย์ประมวลผล จัดตั้งบริการศูนย์แลกเปลี่ยนเช็คระหว่างธนาคารกรุงเทพและกสิกรไทย ( เคลียริ่ง) โดยลงทุนไปประมาณ 265 ล้านบาท ในการสร้างระบบ

ปี 2534- แบงก์กรุงเทพพาณิชย์การ โดดเข้าร่วมสยามเน็ตเป็นขบวนสุดท้าย ทำให้เครือข่ายสยามเน็ตมีแบงก์ทั้งสิ้น 9 แห่งร่วมด้วย

ปี 2535- พลันที่ นโยบายแบงก์ชาติจัดตั้งและพัฒนาระบบการชำระเงินระหว่างแบงก์พาณิชย์( สวิตชิ่ง เซ็นเตอร์) เพื่อกรุยทาง ไปสู่ "พูลเอทีเอ็มแห่งชาติ" ออกมา ในวันที่ 19 สิงหาคม 2535 สองแบงก์ยักษ์ใหญ่ แบงก์กรุงเทพ และกสิกรไทย ก็ประกาศทดลองโยงระบบเอทีเอ็มฝากถอนร่วมกัน ซึ่งจุดชนวนความไม่พอใจให้กับแบงก์ไทยพาณิชย์แห่งกลุ่มสยามเน็ต และแบงก์กรุงไทยแบงก์เน็ทอย่างมาก ๆ

ปี 2536- กลุ่มเครือข่ายสยามเน็ทและแบงก์เน็ต ร่วมกันเป็น " พูลเอทีเอ็มแห่งชาติ" ( เนชั่นแนลพูล) โดยมีแกนกลางเป็นบริษัทเอทีเอ็ม

ปี 2537- นโยบายแบงก์ชาติเปิดเสรีเอทีเอ็มพูลให้กับแบงก์พาณิชย์ต่างชาติ ได้สร้างปรากฏการณ์เพิ่มยอดจำนวนเครื่องเอทีเอ็มชนิดก้าวกระโดด จากปีก่อนถึง 31% เพราะแบงก์ยักษ์ใหญ่ต่างยึดหัวหาดสำคัญๆ เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าแบบใกล้ตัวใกล้ใจ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us