Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2538
" ดำริห์" ยอมยกธงขาว อนาคตยูนิคอร์ตจะดีขึ้น?             
 


   
search resources

ยูนิคอร์ด, บมจ.
ดำริห์ ก่อนันทเกียรติ
Economics




การปรากฏเป็นข่าว เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา พร้อมด้วยการชี้แจงจากยูนิคอร์ด ถึงการคลี่คลายวิกฤต ด้วยการปลดเปลื้องหนี้สินที่ก่อขึ้นจากผลกำดำเนินงานภายใต้บับเบิ้ลบี ซีฟู้ดส์ ที่ทำให้คิดไปว่ายูนิคอร์ด จะสามารถฟื้นสถานการณ์จากที่เลวร้ายมากมาก กลับมาหายใจโล่งอกและมีอนาคตได้อีก ครั้งนั้น แท้ที่จริงอาจเป็นเพียงความหวังที่ยังคงพร่ามัวอยู่เช่นเดิม ถ้าดำริห์ ก่อนันทเกีบรติ ยังไม่เอาบทเรียนอันเจ็บปวดมาปรับประบวนธุรกิจ

เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ บริษัทยูนิคอร์ด จำกัด (มหาชน) ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า

บริษัทได้ร่วมกับบริษัท บับเบิ้ลบี ซีฟู้ดส์ หรือ บีบีเอส ลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนง ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2538 กับกลุ่มผู้ลงทุน นำโดย เคมีคัล เวนเจอร์ พาร์ทเนอรส์ หรือ ซีวีพี ซึ่งจะจัดตั้งบริษัทขึ้นในรัฐเดลาแวร์ สหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อซื้อขายทรัพย์สินทางปัญญาและวินทรัพยืบางประเภทของบีบีเอส

ทรัพย์สินที่จะทำการซื้อขายคือ ทรัพย์สินที่ใช้ประโยชน์หรือเกี่ยวข้องกับธุรกิจด้านการขาย การตาดและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารทะเลกระป๋องบีบีเอส ประกอบด้วยทรัพย์สินทางปัญญาและค่าความนิยมเช่น เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ ลิขสิทธิ์ชื่อทางการค้า รวมทั้งบัญชี ลูกหนี้ทางการค้าและสินค้าสำเร็จรูปคงเหลือ

ส่วนทรัพย์สินที่ไม่ได้ซื้อขายตามข้อตกลงนั้น คือโรงงานผลิตปลากระป๋องทั้ง 3 แห่ง ซึ่งยังคงเป้นทรัพย์สินยบีบีเอส หรือยูนิคอร์ด และเปิดดำเนินกิจการต่อไป ซึ่งได้แก่ โรงงานที่ประเทศเปอร์โตริโก โรงงานที่ประเทศเอควาดอร์ และโรงงานที่แคลิฟอร์เนีย ในสหรัฐอเมริกา

การดำเนินการทำวสัญยาซื้อขายทรัพย์สินดังกล่าว คาดว่าจะเสร็จสิ้นได้ภายในเดือนนี้ ( เมษายน 2538) โดยมูลค่าทรัพยืสินที่จะซื้อขายรวมทั้งสิ้น 155 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 3,875 ล้านบาท

อย่างไรก็ดี แม้การตกลงยังไม่เสร็จสิ้น แต่คนในยูนิคอร์ค มั่นใจว่า การตกลงซื้อขายครั้งนี้ จะเกิดขึ้นจริง ต่างจากข่าวที่ออกมา 2-3 ปีก่อนหน้านี้ที่มีเพียงกระแสว่ายูนิคอร์ด จะต้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งกับบับเบิ้ลบี ซีฟู้ด แต่จนแล้วจนรอด ก็ยังเงียบจนปัญหาพอกพูนจนนถึงปัจจุบัน

" ถึงวันนี้ แม้ยังไม่มีการเซ็นสัญญารอย่างเป็นทางการ แต่มั่นใจว่า การตกลงครั้งนี้เกิดขึ้นแน่นอน ทุกอย่างเสร็จสิ้นไปแล้วกว่า 90% ถ้าจะทำให้การตกลงนี้ล้ม ก็น่าจะมาจากเหตุสุดวิสัยจริง ๆ "

เงินจำนวน 155 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 3,875 ล้านบาท นี้ จะทำให้สถานการณ์ด้านการเงิน ขอยูนิคอร์ดดีขึ้น แม้จะมีปัญหาด้านหนี้สินหมุนเวียนหรือขาดทุนสะสมอยู่บ้าง แจต่ยูนิคอร์ดก็ใช่จะหมดปัญหา ยังมีสิ่งที่ดูยากลำบากอย่างยิ่งรออยู่

บทเรียนของยูนิคอร์ดในอดีตที่มักจะประสบปัญหาเนื่องจากไม่มีตลาดที่เป็นแบรนด์เนมของตนเอง จึงเข้าซื้อกิจการของบับเบิ้ลบี ซีฟู้ด และเมื่อวันนี้จำต้องขายแบรนด์ เนมของบับเบิ้ลบีออกไป จะหมายความว่าอย่างไร หรือว่ายูนิคอร์ด จะต้องกลับมาประสบกับปัญหาเก่า ๆ

คนในยูนิคอร์ด มองว่า เมื่อขายทรัพย์สินของบับเบิ้ลบี ซีฟู้ดไปแล้ว ดูเหมือนว่านิคอร์จะกลับมายืนอยู่ตรงจุดเดิม แต่ความเป็นจริงนั้นไม่ใช่ เพราะยูนิคอร์ดได้รับบทเรียนมากมาย และถ้าจะถามว่า แนวนดยบายของพวกเขาผิดพลาดมาตลอด 5 ปี ที่ผ่านมา ใช่หรือไม่

" พวกเราไม่ยอมรับว่าใช่ แต่สิ่งที่ทำให้เราล้มเหลว ก็เพราะ เราเข้าไปโดยไม่มีการศึกษาสังคมอย่างแท้จริง เราเข้าไม่ถึงตลาด เราเข้าไม่ถึงวัฒนธรรม ของชาวตะวันตกหรืออเมริกัน และทีสำคัญเราไม่มีเงินทุนเพียงพอในระยะยาว " แหล่งข่าวในยูนิคอร์ด กล่าว

แหล่งข่าว กล่าวว่า ยูนิคอร์ดพลาด เพราะกู้เงินไปซื้อบับเบิ้ลบี ประกอบกับธุกริจนี้เป็นธุรกิจที่มีกำไรต่อหน่วยต่ำ แต่มีปัญหามากมายทั้งการผลิตและคลาด บางช่วงมีวัตถุดิบแต่ไม่มีออเดอร์ บางช่วงออเดอร์มีแต่ไม่มีวัตถุดิบ หรือต้นทุนสูง และทีสำคัญตลาดเป็นของผู้ซื้อมากเกินไป ขณะที่ดอกเบี้ยเงินกู้ไม่ได้ลดตามภาวะเช่นนั้น ยูนิคอร์ดจึงไม่สามารถแบกรับภาระดอกเบี้ยได้ ทำให้ปัญหาพอกขึ้นทุกวัน ผู้บริหารรู้ปัญหานี้มานาน ก็พยามหาทางแก้ไข โดยที่ไม่ต้องตัดกิจการขาย เพราะคุณดำริห์ ไม่ต้องการเห็นอย่างนั้น

" คงเป็นนิสัยของนักอุตสาหกรรมที่ไม่อยากทิ้งสิ่งที่ตัวเองสร้างขึ้นมา ถ้าคุณดำริห์เป็นนักตกแต่งบริษัทให้ดูดีแล้วขายทำกำไร คงไม่รอให้ถึงป่านนี้ แต่ที่ตัดสินใจขายในวันนี้ เพราะเห็นว่า เป็นหนทางสุดท้ายแล้ว ไม่เช่นนั้น คงต้องล้มกันหมด"

ไม่ใช่เพียงเพื่อความอยู่รอดจึงต้องตัดใจขายทรัพย์สินบางส่วนของบับเบิ้ลบี ซีฟู้ด แต่เป็นทางออกของยูนิคอร์ด ที่ต้องปรับโครงสร้างของนักธุรกิจเสียใหม่

จากนี้ไปยูนิคอร์ด จะไม่เข้าไปทำตลาดในอเมริกาหรือแม้แต่ยุโรปด้วยตัวเอง แต่จะหาพันธมิตรในการเข้าเจาะตลาดนั้น ๆ โดยอาจจะให้บริษัทผู้ทำตลาดเข้าร่วมทุนในโรงงานของยูนิคอร์ด ที่จะไปตั้งในภูมิภาคต่าง ๆ ขณะที่ยูนิคอร์ดก็จะเข้าถือหุ้นในบริษัทผู้ทำตลาดในแหล่งนั้น ๆ เป็นการพึงพาและประสานความชำนาญของแต่ละฝ่าย

" ด้านการผลิตอาหารกระป๋อง เรามีเทคโนโลยีที่ถือว่าไม่เป็นรองใครในโลกแต่ความชำนาญด้านการตลาด ซึ่งอาจถือเป็นโฮาวน์นั้นเราต้องอาศัยผู้ที่ชำนาญพื้นที่มากว่าเข้าไปเจาะเอง การร่วมทุนจึงน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด" คนในยูนิคอร์ดกล่าวยืนยันทิศทางของบริษัทที่จะเปลี่ยนไป"

" เราจะเป็นโรงงานทำปลาทูน่าที่ใหญ่ที่สุดในโลก " ความหวังของดำริห์ ยังคงอยู่ เพียงแต่ต้องปรับแนวทางให้สอดคล้อง มิใช่ตัวเองเท่านั้นที่จะทำให้ตัวเองยิ่งใหญ่ ความยิ่งใหญ่บางครั้ง อาจต้องอาศัยผองเพื่อน

ตลอดระยะเวลา ปี ที่เข้ารุกกิจการอาหารกระป๋องปลาทูน่ากระป๋องอย่างครบวงจนในสหรัฐอเมริกา ด้วยแนวคิด " ข้ายิ่งใหญ่ที่สุด" นั้น ผลลัพธ์ออกมาเป็นดั่งที่เห็น สิ่งที่ได้ไม่คุ้มกับเวลาที่เสียไป ซึ่งดูเหมือนว่านักอุตสาหกรรมอย่างดำริห์ ก่อนันทเกียรติ จะซึมซับบทเรียนอันสาหัสนั้นแล้ว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us