|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
กลางกระแสของการนำหลักของการจัดการองค์ความรู้ในองค์กร (Knowledge Management) หรือ KM ที่กำลังไหลแรงมายังเมืองไทย และหลายองค์กรไม่ว่าขนาดใดก็เริ่มขยับตัว เพื่อไม่ให้ตกยุค จึงไม่ยอมพลาดเครื่องมือตัวนี้ โดยมีแรงจูงใจเป็นผลกำไรงามเบื้องหน้า
ซึ่งพัฒนาการ KM ในเมืองไทยแม้จะดีดตัวกระเตื้องขึ้น แต่ความเข้าใจและการนำไปใช้ยังเกิดช่องโหว่รูใหญ่ที่ตลาดคนไทยเข้าไปไม่ถึง
ไตรรัตน์ ฉัตรแก้ว กรรมการผู้จัดการ บริษัท SSC Solution ผู้ดูแล Knowledge Management Professional Center Asia (KMPCA) กล่าวกับ “ผู้จัดการรายสัปดาห์”ว่า ความเข้าใจขององค์กรส่วนใหญ่ในเรื่อง KM ถือว่ายังน้อย แม้จะมีการตื่นตัวแล้วก็ตาม เหตุผลที่เป็นเช่นนี้ ด้วยเพราะคำนิยามหรือการนำแนวคิดการจัดการความรู้ในองค์กรเป็นเรื่องที่กว้างมาก ทุกส่วนสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้
ทั้งการจัดการด้วยไอที การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (HR) กระทั้งเรื่องการตลาด และทุกเรื่องมีความเกี่ยวโยงกันทั้งสิ้นว่าด้วยทฤษฎีของ KM มีมาจากหลายความคิด หลากผู้เชี่ยวชาญ จึงทำให้แตกเป็น 5 ทฤษฎีหลัก เช่น BA ของ Nonaka ว่าด้วยสร้างเวทีพบปะเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ในองค์กรเพื่อให้ได้นวัตกรรมสำหรับคิดโปรดักส์ใหม่ๆ และแต่ละเรื่องมีความยากในการนำไปประยุกต์ใช้
ดังนั้นปัญหาขององค์กรส่วนใหญ่ก็คือ ต้องการนำแนวคิดดังกล่าวไปใช้กับทุกส่วนขององค์กร และจับทฤษฎีมาใช้มั่วๆ โดยขาดการพิจารณาว่าเป้าหมายของบริษัทต้องการเป็นอะไร? มีพันธกิจ และเงื่อนไขวิสัยทัศน์อย่างไร?
"จึงขึ้นอยู่กับว่าแต่ละองค์กรมองอย่างไร ตลาดมองว่าจะเอาไปใช้อย่างไร โดยจะต้องรู้จักแต่ละทฤษฎีคืออะไร และแต่ละเรื่องพูดถึงอย่างไร และมีข้อแตกต่างในการนำไปใช้อย่างไรเพราะว่าตอนนี้ตลาดยังงงกับ KM อยู่มาก ฉะนั้นจะต้องจับหลักของ 5 ทฤษฎีให้มั่น แล้วค่อยดูไปเรื่อยๆ ว่าองค์กรของตัวเองเหมาะกับทฤษฎีใด และจะทำเรื่องอะไร เพราะไม่มีองค์กรใดจะเหมาะกับทุกทฤษฎี"
เมื่อองค์กรมีเป้าหมายแล้วและรู้ว่าจะใช้เครื่องมือหรือแนวคิดทางใดเป็นหลักแล้ว สิ่งที่อันตรายต่อมาก็คือว่า ผู้บริหารอยากจะทำขั้นเริ่มต้นทั่วทั้งองค์กรเพื่อหวังผลรายได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำเร็จได้ยาก หนทางก็คือต้องเลือกส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น เริ่มจาก HR การจัดการไอที หรือด้านการตลาด ก็ต้องเลือกเซ็นเตอร์ให้ได้เสียก่อน ซึ่งจะต้องกลับมามองวัตถุประสงค์ที่องค์กรต้องการก่อนว่าอยากจะเป็นอะไรในตลาด?
"การทำ KM เกี่ยวกับองค์กรแห่งการเรียนรู้? หรือการเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมหรือไม่? คำตอบอาจจะไม่เกี่ยว แต่จะเกี่ยวกับระบบคิด (System Thinking) มากกว่า ก็เอาเรื่องมาจับ เราก็ไม่รู้เป้าหมายนี่คือจุดที่ตลาดยังไม่เข้าใจ และต้องยอมรับว่าข้อมูลที่องค์กรได้รับตอนนี้มีมากมาย และได้รับมาจากหลายทาง ซึ่งเกิดใหม่อยู่ตลอดเวลา สุดท้ายข้อมูลที่เต็มไปหมด แต่กลับคิดหาวิธีทำไม่ได้ ทำให้เป็นรูปธรรมไม่ได้"
ไตรรัตน์ กล่าวอีกว่า KMPCA ใช้เวลากว่า 3 ปี เพื่อเก็บเกี่ยวศึกษาและ ทำความเข้าใจในแต่ละทฤษฎี อีกทั้งยังหาวิธีที่จะทำอย่างไรให้เกิดการประยุกต์ใช้ให้เป็นรูปธรรม ในบริบทองค์กรวัฒนธรรมไทยๆ แม้ว่าปัจจุบันจะมีสถาบันการศึกษาให้ความสนใจและจัดแบ่งความรู้ในเชิงแนวคิดของ KM มีมากแล้ว แต่เป้าหมายของ KMPCA ก็คือ ต้องการให้องค์กรไทยรับรู้แนวคิดในระดับอินเตอร์เนชั่นแนล จึงจัดการสัมมนาขึ้นภายใต้หัวเรื่อง Intellectual Capital for Future Corporate Values ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ โรงแรมแกรนด์ไฮแอทเอราวัณ
"เราพูดถึง KM มานานแล้ว และถึงเวลาที่จะลงลึกในแต่ละเรื่องให้เห็นเป็นรูปธรรมเสียที และเริ่มจากเรื่องที่จะสามารถทำได้ง่ายๆ ก่อน คือ Intellectual Capital อันเป็นแนวคิดของ Leif Edvinson ซึ่งเป็นเรื่องที่จับต้องได้และใช้แล้วเห็นผลมากที่สุด
ภายในงานยังมี ไกรฤทธิ์ บุญยเกียรติ นักการตลาดชื่อดังของไทย คริสโตเฟอร์ ชาน เป็นศาสตราจารย์พิเศษให้กับมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เนล ซินแคร์ ผู้เชี่ยวชาญด้าน KM และแต่งหนังสือที่ขายดีชื่อ Stealth KM
สำหรับ Intellectual Capital โดยเนื้อหลักจะพูดถึง ทรัพยากรมนุษย์ เรื่องโครงสร้างองค์กร การสร้างเครือข่ายธุรกิจ ซึ่งจะไม่มีการพาดพิงในเรื่องต้นทุน เงินประกอบการ ที่องค์กรไทยมักใช้เป็นเครื่องวัดผลความสำเร็จ
"ฉะนั้นงานนี้จะทำให้องค์กรในประเทศไทยทำอย่างไรฟังแล้วนำไปใช้ หรือเป็นแนวคิดเพื่อปรับปรุงแต่ละจุดของตัวเอง งานนี้จะเป็นเชิงลึกในการทำ KM ให้เป็นรูปธรรมและนำไปปฏิบัติได้เลย"ไตรรัตน์กล่าว
อนึ่ง KMPCA เป็นส่วนที่แยกจากบริษัท SSC อันเป็นบริษัทให้คำปรึกษาองค์กรในด้านการบริหารจัดการซอร์ฟแวร์ ซึ่ง KM เป็นหนึ่งในวิสัยทัศน์ที่องค์กรเล็งเห็น เมื่อทำภายในบริษัทจนเข้าขั้น จึงผันตัวมาอยู่ในอีกส่วนหนึ่ง เพื่อให้บริการและเป็นศูนย์กลางระหว่างชุมชน KM ไทยและทั่วโลก แลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านวิชาการ และติดต่อผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการความรู้จากมุมโลก
เพราะไตรรัตน์เล็งเห็นแล้วว่าถ้าไม่มีชุมชนของ KM จริงๆ แล้ว สุดท้ายการจัดการความรู้ก็จะไปฝังตัวอยู่กับองค์กรที่ไม่ได้โฟกัสเรื่องนี้จริงจัง
|
|
|
|
|