|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
LPN เสริมความแกร่งสู่ยุคที่ 3 จับมือ KBANK เป็นพันธมิตรการเงินปล่อยสินเชื่อคอนโด 6 แสน งัดสารพัดวิธีรักษาลูกค้า ใช้บริการแบงก์เป็นตัวช่วยแก้ปัญหายอดปฏิเสธสินเชื่อบ้านพุ่ง
จากแนวคิด Blue Ocean ที่เน้นการทำตลาดที่มีผู้เล่นน้อย แต่มีดีมานด์สูง ซึ่ง LPN ยึดถือในการพัฒนาโครงการมาตลอด จนเมื่อหลายปัจจัยผลักดันให้เกิดกระแสคอนโดมิเนียมระดับกลางเฟื่องฟู เกิดคู่แข่งรายใหม่เข้าสู่ตลาดจำนวนมาก LPN จึงต้องรุกไปอีกก้าวด้วยการขยายฐานลงสู่ตลาดล่างระดับ C+ ที่มีรายได้ประมาณ 15,000 บาทต่อเดือน หรือราคายูนิตละ 6 แสนบาท ภายใต้แบรนด์ “ลุมพินี คอนโดทาวน์” ซึ่งจากการศึกษาตลาดแล้ว LPN มีความมั่นใจมากว่าเป็นเรียลดีมานด์ที่มีศักยภาพสูงและยังเติบโตได้ตลอดไป
นำร่องโครงการแรก “ลุมพินี คอนโดทาวน์ บดินทร์เดชา-รามคำแหง” บนที่ดิน 32 ไร่ ใน ซ.รามคำแหง 43/1 รวม 3,300 ยูนิต ซึ่งจะเป็นโครงการใหญ่ที่สุดเท่าที่ LPN เคยพัฒนามา จากการเปิดให้จองโครงการเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเพียง 2 วัน ได้รับการตอบรับจากตลาดเป็นอย่างดี สามารถกวาดยอดขายกว่า 65% มูลค่า 1,200 ล้านบาท หรือ 1,500 ยูนิต จากการเปิดขายทั้งหมด 2,292 ยูนิต ความสำเร็จดังกล่าวทำให้ LPN ปรับแผนเพิ่มการพัฒนาโครงการในแบรนด์ดังกล่าวเพิ่มอีก 2 โครงการในช่วงต้นไตรมาส 2 ปีนี้
ความสำเร็จดังกล่าว ทิฆัมพร เปล่งศรีสุข ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แอล.พี.เอ็น ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ( LPN) กล่าวว่าการพัฒนาโครงการภายใต้แบรนด์ลุมพินี คอนโดทาวน์ ด้วยการใช้กลยุทธ์ Cost Leadership ที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ขึ้นมาใหม่ให้มีต้นทุนการผลิตต่ำสุด โดยที่ยังคงคุณภาพไว้ได้ ถือเป็นการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันเป็นอย่างดี
นอกจากนี้ยังนำวิธีการใหม่ๆ ที่ได้จากการพัฒนาครั้งนี้กลับไปปรับปรุงต้นทุนของโครงการระดับ 1-2 ล้านบาท ที่เคยเป็นตลาดหลัก และภายในปีนี้บริษัทฯ คาดว่าจะพัฒนาโครงการระดับ 1-2 ล้านบาท ประมาณ 2 โครงการ เพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิม และโครงการคอนโดมิเนียมเพื่อเจาะกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งบริษัทฯ กำลังอยู่ระหว่างศึกษาตลาดอีก 1 โครงการ
แต่ปัญหาที่อาจจะตามมาสำหรับการทำตลาดระดับ C+ คือ วินัยและความสามารถในการผ่อนชำระของลูกค้า เนื่องจากลูกค้าบางรายอาจมีรายได้ไม่แน่นอน จนทำให้สถาบันการเงินปฏิเสธการปล่อยสินเชื่อ เพราะไม่แน่ใจว่าลูกค้ารายนั้นจะทิ้งดาวน์กลางคัน หรือผ่อนชำระไม่ไหวในอนาคตหรือไม่ ซึ่งจะกลายเป็นหนี้เสียและเป็นปัญหาของดีเวลลอปเปอร์ที่จะต้องนำห้องชุดออกขายซ้ำอีกครั้ง
โอภาส ศรีพยัคฆ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล.พี.เอ็น ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) มั่นใจว่าปัญหาดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้น เนื่องจากลูกค้ากลุ่มดังกล่าวเป็นเรียลดีมานด์ และมีวินัยทางการเงินที่ดี ซึ่งบริษัทฯ เคยประสบความสำเร็จในการทำตลาดกับกลุ่มนี้ในโครงการลุมพินี เซ็นเตอร์ มาแล้ว
เส้นทางของ LPN ยุคแรกเติบโตจากการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทุกรูปแบบ ยุคที่ 2 หลังวิกฤติฟองสบู่แตก พัฒนาคอนโดมิเนียมระดับกลางเป็นหลัก จนก้าวเข้าสู่ยุคที่ 3 หรือยุคที่จะก้าวลงมาสู่การทำตลาดล่าง สิ่งที่จะมาเสริมความแกร่งของ LPN ในยุคนี้ คือ การสร้างพันธมิตร หลังจากก่อนหน้านี้ได้จับมือกับร้านสะดวกซื้อแฟมิลี่มาร์ท และตู้บริการน้ำดื่มวอเตอร์เน็ต ในการเข้าไปเปิดพื้นที่ขายในทุกโครงการของ LPN ซึ่งในอนาคต LPN จะมองหาพันธมิตรอื่นๆ เช่น คลินิก ร้านขายยา ฯลฯ และกันพื้นที่ชั้น 1 ทั้งหมดให้เป็นส่วนค้าปลีกของชุมชน เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครัน และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับโครงการ
อีกหนึ่งพันธมิตรสำคัญที่จะมาช่วยสร้างจุดแกร่งของ LPN ในการก้าวลงมาสู่ตลาดล่าง คือ พันธมิตรด้านการเงิน โดยจับมือกับธนาคารกสิกรไทยในการให้ความสนับสนุนทางการเงินในรูปแบบ Financial Solution Package ปล่อยสินเชื่อให้ลูกค้าของโครงการดังกล่าวในวงเงินสูงสุด 90-100% ของราคาซื้อขายด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษ คือ อัตราดอกเบี้ยคงที่ปีแรก 3.75% ต่อปี และใช้ MLR -0.5% ในปีต่อไปตลอดอายุสัญญา รวมทั้งไม่คิดค่าประเมินราคาหลักประกันและค่าธรรมเนียมการจัดการให้กู้
การตัดสินใจจับมือกับธนาคารกสิกรไทยครั้งนี้เป็นกลยุทธ์สู่การ Win-Win ทั้งสองฝ่าย นอกจากลูกค้าของ LPN จะได้กู้ในอัตราดอกเบี้ยพิเศษแล้ว ธนาคารยังได้ลูกค้าอีกจำนวนมากของ LPN เข้ามาเป็นลูกค้าของธนาคารด้วย เพราะหลังจากธนาคารดูประวัติการชำระเงินดาวน์ในช่วงผ่อนดาวน์ 12 เดือนเข้าบัญชีออมทรัพย์ที่เปิดไว้กับธนาคาร และเห็นว่าลูกค้ามีประวัติการชำระเงินที่ดี ตรงต่อเวลา ลูกค้ากลุ่มดังกล่าวก็จะผ่านการอนุมัติ และกลายมาเป็นลูกค้าของธนาคารในที่สุด
วิธีดังกล่าวแม้จะไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เพื่อรายย่อย ก็เคยนำร่องใช้ไปแล้ว แต่คาดว่าจะช่วยแก้ปัญหาสภาพคล่องที่ล้นระบบกว่า 450,000 ล้านบาทของธนาคารพาณิชย์ได้ หลังจากที่อัตราดอกเบี้ยปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบให้กำลังซื้อลดลง มียอดปฏิเสธสินเชื่อเพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ 10% ในปีที่แล้ว จนทำให้ลูกค้าของธนาคารหดหายตามไปด้วย แม้จะมีความเสี่ยงของอัตราดอกเบี้ยที่คาดว่าจะลดลงในอนาคต หรือการไม่บังคับให้ลูกค้า LPN จะต้องเลือกกสิกรไทยเท่านั้น ที่อาจจะผลักให้ลูกค้าไปขอสินเชื่อกับธนาคารอื่นแทน แต่คาดว่าลูกค้าจะต้องมองกสิกรไทยเป็นอันดับแรก เนื่องจากมีความสะดวก และให้เงื่อนไขที่ดีกว่า ซึ่งกสิกรไทยก็จะเป็นฝ่ายได้ประโยชน์
ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายสินเชื่อผู้บริโภค ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ปกติการยื่นขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยหลังจากวางเงินดาวน์ จะใช้เวลารอฟังผลอนุมัตินาน หากสุดท้ายธนาคารวิเคราะห์พบว่าฐานะการเงินไม่มั่นคงพอ จะทำให้ลูกค้าปรับตัวได้ไม่ทัน และถูกปฏิเสธสินเชื่อในที่สุด ดังนั้นธนาคารจะเข้าหาลูกค้าด้วยการเข้าไปช่วยวิเคราะห์ และให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิดตั้งแต่ช่วงก่อนผ่อนดาวน์ เพื่อให้ลูกค้าได้ปรับปรุงประวัติด้านการเงินจนเกิดความพร้อม และสามารถยื่นขอสินเชื่อได้ในเงื่อนไขที่ดีที่สุด ลดอัตราการปฏิเสธสินเชื่อ ซึ่งจะทำให้ทั้ง LPN และกสิกรไทยไม่ต้องเสียลูกค้าไป
|
|
|
|
|