|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ร.ฟ.ท.ปิดเกมสโลแกน “ถึงก็ช่าง...ไม่ถึงก็ช่าง”เดินเครื่องรถไฟฟ้าสายสีแดง ยันเปิดประกวดราคาเดือนเม.ย.นี้ ด้านรฟม.สวมบทเสือปืนไว เตรียมจ้างที่ปรึกษาสายสีม่วงและสายสีน้ำเงิน หวังเปิดให้บริการปี 2555
พลันที่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติแผนการก่อสร้างรถไฟฟ้า 5 เส้นทาง โดยมีกำหนดแล้วเสร็จทั้ง 5 เส้นทางภายในปี 2555 รวมระยะทาง 222 กม. มูลค่ากว่าแสนล้านบาท ทำให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ ทั้งการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ต่างก็เร่งรีบเตรียมพร้อมรองรับการลงทุนโครงการดังกล่าว หลังจากที่รอครม.ไฟเขียวมานาน
โครงการรถไฟฟ้าที่ครม.อนุมัติ ประกอบด้วย สายสีแดง รับผิดชอบโดยร.ฟ.ท.ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน จะเป็นสายแรกที่เปิดประกวดราคาในเดือน เม.ย นี้ และเริ่มก่อสร้าง ต.ค.2550 กำหนดแล้วเสร็จ มี.ค.2553 และช่วงบางซื่อ-รังสิต เริ่มประกวดราคา ต.ค.2550 เริ่มก่อสร้าง เม.ย.2551 กำหนดแล้วเสร็จ มี.ค.2555 และช่วงบางซื่อ-มักกะสัน-หัวหมาก เริ่มประกวดราคา ธ.ค.2550 เริ่มก่อสร้าง มิ.ย.2551 กำหนดแล้วเสร็จ พ.ย.2555
ส่วนสายสีม่วงและสีน้ำเงินอยู่ในความรับผิดบชอบของรฟม.โดยสายม่วงบางใหญ่-บางซื่อ จะประกวดราคา พ.ค.2550 เริ่มก่อสร้าง ธ.ค.2550 แล้วเสร็จปี 2554 และสายสีน้ำเงิน บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค เริ่มประกวดราคาก.ย.2550 เริ่มก่อสร้างเม.ย.2551 กำหนดแล้วเสร็จ พ.ย.2555 ส่วนสายสีเขียวหมอชิต-สะพานใหม่ แบริ่ง-สมุทรปราการ เริ่มประกวดราคา ธ.ค.2550 เริ่มก่อสร้าง มิ.ย.2551 กำหนดแล้วเสร็จ มี.ค.2554
ด้านแหล่งเงินทุนในการก่อสร้าง กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างศึกษาและเจรจา เพื่อกู้เงินจากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิค) หรืออาจจะใช้แหล่งเงินกู้อื่นๆ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ซึ่งในเบื้องต้นต้องการกู้เงินเพื่อก่อสร้างระบบโยธา
นอกจากนี้ ที่ประชุมครม.ยังกำหนดให้มีศูนย์กลางเชื่อมต่อการเดินทางอีก 2 แห่ง คือ ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน (บริเวณบางซื่อ) และศูนย์คมนาคมมักกะสัน (บริเวณมักกะสัน) เพื่อเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อการเดินทางจากพื้นที่ปริมณฑลและพื้นที่เมืองบริวารโดยระบบรถไฟชานเมือง และการเดินรถด้วยระบบรางเดียวกันจากเมืองในภูมิภาคโดยรถไฟทางไกล เชื่อมต่อการเดินทางกับระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนให้เป็นโครงข่าย
รฟท.ยันทีโออาร์ไม่มีปัญหา
ศิวะ แสงมณี ประธานคณะกรรมการ ร.ฟ.ท.กล่าวว่า การจัดทำร่างเงื่อนไขการประกวดราคาจัดซื้อจัดจ้าง (ทีโออาร์) ในสายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชันนั้นไม่มีปัญหา เพราะก่อนหน้านี้ ร.ฟ.ท.ได้ศึกษาและเตรียมความพร้อมเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเส้นทางรถไฟสายสีแดง จำเป็นต้องก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้ากลางบางซื่อด้วย จึงจะต้องทำร่างทีโออาร์แยกต่างหาก แต่งบประมาณที่จะใช้ในการก่อสร้างประมาณ 10,000 ล้านบาทนั้น จะรวมอยู่ในงบประมาณเดียวกันกับที่ใช้ในการก่อสร้างรถไฟสายสีแดง
รฟม.เสือปืนไวเตรียมจ้างที่ปรึกษา
ร.ต.ต.เกรียงศักดิ์ โลหะชาละ ประธานคณะกรรมการ รฟม. กล่าวว่า ที่ประชุมมีมติอนุมัติว่าจ้างบริษัท AEC เป็นที่ปรึกษาโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง วงเงิน 53.9 ล้านบาท และอนุมัติให้จ้างกลุ่มบริษัท BMTC (บีเอ็มทีซี) เป็นที่ปรึกษาสายสีน้ำเงิน วงเงิน 223.4 ล้านบาท โดย ทั้ง 2 บริษัท เคยเป็นที่ปรึกษาโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรก ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการเร่งรัดโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าที่มีคำรบลักขิ์ สุรัสวดี กรรมการ รฟม. เป็นประธาน
ขณะที่ประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการ รฟม. กล่าวว่า ที่ปรึกษาโครงการทั้ง 2 บริษัท จะใช้เวลาศึกษารายละเอียดการจัดทำแผนการก่อสร้างและวิธีการดำเนินงาน ทั้งสัดส่วนการลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน การจัดเก็บค่าโดยสารให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.ร่วมทุนให้เสร็จสิ้นภายใน 2 เดือน ก่อนเสนอต่อที่ประชุม ครม.อีกครั้ง เพื่อให้ทันเปิดประกวดราคาเส้นทางสายสีม่วงใน พ.ค. นี้ และจะเริ่มทำการก่อสร้างได้ในปลายปีนี้ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2554
|
|
|
|
|