Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน26 กุมภาพันธ์ 2546
กลุ่มใหม่ฮุบรอยเนท คุมเข้มงบการเงินบจ.             
 


   
search resources

รอยเนท, บมจ.




ผู้ถือหุ้นใหญ่รอยเนทกว่า 10% เตรียมส่ง คนเสียบบอร์ดบริษัทแทนตระกูลเยาวพฤกษ์ พร้อมอัดฉีด 30 ล้านบาท ฟื้นธุรกิจบริษัท ขณะที่รายย่อยฟ้องอาญา รอยเนท และพวกรวม 12 ราย ข้อหาแต่งบัญชี-อินไซด์ หวังเป็นคดีตัวอย่าง ฝ่ายตลาดหลักทรัพย์ หลังบทเรียนแต่ง บัญชีรอยเนท เพิ่มมาตรการแขวนหุ้นบจ. ที่งบการเงินผู้สอบ บัญชีไม่แสดงความเห็น หรือแสดงความเห็นงบไม่ถูกต้อง เพื่อให้ผู้ลงทุนมีเวลาอ่านรายงานผู้สอบบัญชี และข้อมูลงบการเงินอย่างละเอียดก่อนลงทุน

ขณะที่นายกิตติพัฒน์ เยาวพฤกษ์ กรรมการผู้จัดการรอยเนท ที่ถูก ก.ล.ต. กล่าวโทษ โผล่หวังร่วม ประชุมผู้ถือหุ้นรอยเนทวานนี้ (25 ก.พ.) แต่ถูกสกัด ทนายยันลูกความเตรียมร่วมประชุมผู้ถือหุ้นศุกร์ 28 ก.พ.นี้ แฉนายกิตติพัฒน์ชิงส่งจดหมายขอรับมอบฉันทะจากผู้ถือหุ้น รายย่อยต่างจังหวัด เพื่อเข้าประชุมศุกร์นี้ ตัดหน้าศูนย์รับฝากฯ ขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ หลังบทเรียนแต่งบัญชีรอยเนท เพิ่มมาตรการแขวนหุ้น บจ. ที่งบการเงินผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็น หรือแสดงความเห็นงบ ไม่ถูกต้อง เพื่อให้ผู้ลงทุนมีเวลาอ่านรายงานผู้สอบบัญชี และข้อมูลงบการเงินอย่างละเอียดก่อนลงทุน

ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยวานนี้ (25 ก.พ.) สมาคมส่งเสริมนักลงทุนไทยร่วมมือกับตลาดหลักทรัพย์จัดหารือกลุ่มผู้ถือหุ้นรายย่อยบริษัท รอยเนท จำกัด (มหาชน) (ROYNET) ก่อนประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทศุกร์ 28 ก.พ. วานนี้ ผู้ถือหุ้นรอยเนท ร่วมประชุม 12 คน 6.03 ล้านหุ้น

3 วาระ คือวาระแรก พิจารณาถอดถอนกรรม การ 6 คน วาระที่ 2 พิจารณาแต่งตั้งกรรมการแทนกรรมการที่ถูกถอดถอน วาระที่ 3 พิจารณาแก้ไขกรรมการผู้มีอำนาจผูกพัน ซึ่งผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ วานนี้ เห็นด้วยกับการดำเนินการดังกล่าว

อย่างไรก็ดี นายมนตรี ฐีรโฆไท นายกสมาคม ส่งเสริมผู้ลงทุนไทย กล่าวว่าผู้ถือหุ้นรอยเนทกังวลว่า จะไม่สามารถปลดนายกิตติพัฒน์ เยาวพฤกษ์ จาก ประธานกรรมการบริษัทได้ เพราะก่อนหน้านี้ นาย กิตติพัฒน์ชิงส่งหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้น 15 ก.พ.

เพื่อมอบฉันทะให้ตนเองมีสิทธิ์ประชุมผู้ถือหุ้นได้ทันทีภายในวันเดียว ก่อนที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะส่งหนังสือเชิญประชุม โดยนายกิตติพัฒน์เน้นส่งเฉพาะนักลงทุนต่างจังหวัด ที่ไม่รับรู้เรื่องราวที่เกิดขึ้นกับรอยเนทมากนัก จึงเห็นชัดว่า นายกิตติพัฒน์มีเจตนาฉ้อฉล

ดังนั้น นายมนตรีจึงฝากนักลงทุนที่มอบฉันทะให้นายกิตติพัฒน์แล้ว ร่วมประชุมด้วยตนเองวันศุกร์ เพราะสิทธิ์ดังกล่าวจะเป็นโมฆะโดยปริยาย การจะปลดผู้บริหารกลุ่มเดิมได้ ต้องใช้เสียงเกินครึ่ง หรือ 3 ใน 4 ของจำนวนหุ้นที่ร่วมประชุม

กลุ่มใหม่เสนอเสียบบอร์ดรอยเนท

ด้านตัวแทนกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่รอยเนท ประมาณ 10% คือกลุ่มนายสุรจิต สิงหโกศล โดยนายสุรจิตกล่าวว่า หากสามารถปลดกลุ่มผู้บริหารเดิม ได้ กลุ่มเขาจะเสนอตัวเป็นผู้บริหารแทน เพื่อยืนยันและแสดงความจริงใจบริหารบริษัท กลุ่มเขาจะเสนอตลาดหลักทรัพย์ กำหนดระยะเวลาห้ามขาย หุ้น (ไซเลนท์ พีเรียด)ผู้ถือหุ้นใหญ่รอยเนท 2 ปี ด้วยวิธี เพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจง(Private Placement-PP)

"หากวันประชุมผู้ถือหุ้น เราสามารถปลดผู้บริหารกลุ่มเดิมได้หมด แผนแรกจะเสนอกรรมการบริหาร 5 คน แต่หากไม่สามารถปลดผู้บริหารกลุ่มเดิมได้ จะเสนอกรรมการผู้บริหารเข้าไปใหม่ 10 คน ถ้าไม่สามารถดำเนินการใดๆได้เลย จะเรียกประชุมผู้ถือหุ้นรอยเนทอีกครั้งภายใน 30 วัน"

พร้อมอัดฉีด 30 ล้านบาท

นอกจากนั้น ปัจจุบันกลุ่มเขามีกลุ่มผู้ร่วมทุนเป็นนิติบุคคลคนไทยอีก 2 กลุ่ม ที่พร้อมใส่เงินให้รอยเนทประมาณ 20 ล้านบาท ขณะที่กลุ่มนายสุรจิต มีเงินทุนใส่ให้ 10 ล้านบาท ซึ่งเงินทุนประมาณ 30 ล้านบาท เขากล่าวน่าจะเพียงพอกับบริษัทขนาด เล็กอย่างรอยเนท

อย่างไรก็ดี การประกอบธุรกิจหลังอัดฉีดเงิน จะไม่ทำแค่ธุรกิจให้บริการอินเทอร์เน็ต (ไอเอสพี) เหมือนที่เป็นอยู่เพียงอย่างเดียว อาจมีธุรกิจต่อเนื่อง อื่นๆ ที่ทำรายได้มากกว่าไอเอสพี
ไม่ให้กิตติพัฒน์ร่วม

วานนี้ (25 ก.พ.) นายกิตติพัฒน์ ซึ่งถูก ก.ล.ต. กล่าวโทษต่อสำนักงานสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ (สศก.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ข้อหาตกแต่งบัญชี และใช้ข้อมูลภายในขายหุ้นรอยเนทเดินทางมาตลาด หลักทรัพย์เพื่อร่วมประชุมด้วย แต่กลุ่มผู้ถือหุ้น ไม่อนุญาตให้ร่วมประชุม

เพราะประเด็นที่หารือเกี่ยวข้องกับนายกิตติพัฒน์ โดยตรง ขณะที่นายกิตติพัฒน์ไม่ถือหุ้นในบริษัทตาม กฎหมายแล้ว นายกิตติพัฒน์กล่าวกับสื่อมวลชนว่า ตนเองชี้แจงกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ล่าสุด 21 ก.พ. เพิ่งทราบเรื่องถูกกล่าวโทษจากก.ล.ต. 24 ก.พ. ขณะนี้ยังไม่ทราบว่าจะทำอะไรต่อไป

ด้านทนายความนายกิตติพัฒน์กล่าวว่า นายกิตติพัฒน์มีสิทธิ์ร่วมประชุมผู้ถือหุ้นรอยเนท 28 ก.พ. เพราะยังดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัทอยู่ แต่นายกิตติพัฒน์จะมีโอกาสชี้แจงอะไรหรือไม่ ขึ้นกับที่ประชุมผู้ถือหุ้นวันนั้นจะให้โอกาส

รายย่อยชิงฟ้องอาญารอยเนท

พ.ต.ท. บรรจง ทรัพย์แก้วยอด ในฐานะผู้ถือหุ้นรายย่อยบริษัท รอยเนท เปิดเผยว่าตนยื่นฟ้องบริษัท รอยเนท และคณะกรรมการทั้งชุด รวมถึง กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ และบริษัทผู้สอบบัญชี เป็นจำเลยทั้งสิ้น 12 ราย คดีความอาญา

เนื่องจากบริษัทตกแต่งบัญชี และใช้ข้อมูลภายในขายหุ้น ซึ่งขายหุ้นเกิน 5% โดยไม่ได้แจ้งสำนักงานก.ล.ต. และร่วมกันฉ้อโกงประชาชน ความผิดดังกล่าวจะมีโทษสูงสุดจำคุก 5-10 ปี ตามมาตรา 312 และ 306 แห่ง พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 รวมทั้งจะเรียกค่าเสียหาย 203,238 บาท เนื่องจากเป็นจำนวนเงินที่เสียหายจากการซื้อหุ้นรอยเนท

"ผมยื่นฟ้องต่อศาล ก่อนจะประชุมผู้ถือหุ้นครั้งที่แล้ว โดยฟ้องกรรมการบริษัททั้งชุด ซึ่งรวมถึงนายกิตติพัฒน์ เยาวพฤกษ์ นายสมชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการ และนายศิริชัย สาครรัตนกุล และผู้สอบบัญชี โดยศาลได้รับคำฟ้องเรียบร้อยแล้ว และนัดไต่สวนวันที่ 26 มีนาคมนี้"

สาเหตุที่เขายื่นฟ้อง เพื่อให้เป็นคดีตัวอย่างเพราะที่ผ่านมา ยังไม่เคยฟ้องร้องคดีลักษณะ ดังกล่าวเลย การที่ไม่ฟ้องร้องตลาดหลักทรัพย์และสำนักงาน ก.ล.ต. เนื่องจากเห็นว่า 2 หน่วยงาน ดังกล่าว ช่วยเหลือนักลงทุนรายย่อยอยู่แล้ว

ตลท.เข้ม บจ.ส่งงบการเงิน

นางภัทรียา เบญจพลชัย รองผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่าตลาด หลักทรัพย์จะเริ่มขึ้นเครื่องหมาย SP และ NP ห้าม ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ชั่วคราว และเพื่อเตือนผู้ลงทุนศึกษางบการเงินรายงานผู้สอบบัญชี และหมายเหตุประกอบงบการเงินบริษัทจดทะเบียน ที่ผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็น หรือแสดงความเห็นว่า งบการเงินไม่ถูกต้อง ตั้งแต่งบการเงินงวดสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2545 ซึ่งจะเริ่มทยอยส่งตลาดหลักทรัพย์ ตั้งแต่ปลายกุมภาพันธ์นี้เป็นต้นไป

บริษัทจดทะเบียนต้องระบุประเภทความเห็นผู้สอบบัญชีต่องบการเงินบริษัท ในแบบฟอร์มสรุปผลดำเนินงาน ที่แสดงตัวเลขกำไร (ขาดทุน) สุทธิ และกำไรต่อหุ้น (แบบ F-45) ที่ตลาดหลักทรัพย์ปรับปรุงใหม่ กรณีผู้สอบบัญชีมีความเห็น 3 ลักษณะ ได้แก่

(1) แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไข (Qualified Opinion) (2) ไม่แสดงความเห็น (Disclaimer of Opinion) และ (3) แสดงความเห็นงบการเงินไม่ถูกต้อง (Adverse Opinion) ตลาดหลักทรัพย์ส่งให้บริษัทจดทะเบียนทุกแห่ง และอบรมทำความเข้าใจบริษัทจดทะเบียนแล้ว

โดยทั่วไป ความเห็นผู้สอบบัญชีต่องบการเงิน จะมี 4 ประเภท คือแสดงความเห็นไม่มีเงื่อนไข แสดงความเห็นมีเงื่อนไข ไม่แสดงความเห็น และ แสดงความเห็นงบการเงินไม่ถูกต้อง

กรณีผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นมีเงื่อนไข บริษัทต้องระบุในแบบฟอร์มสรุปผลดำเนินงานที่ส่งตลาดหลักทรัพย์ เพื่อช่วยผู้ลงทุนทราบข้อสังเกตดังกล่าว และใช้ความระมัดระวังอ่านรายงานผู้สอบบัญชีอย่างรอบคอบ

แต่หากผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นหรือแสดงความเห็นงบการเงินไม่ถูกต้อง ตลาดหลักทรัพย์จะขึ้นเครื่องหมาย SP และ NPเพราะความเห็นประเภทดังกล่าวเป็นสัญญาณบ่งชี้สำคัญว่า ตัวเลขฐานะการเงินและผลดำเนินงานบริษัทที่ปรากฏในงบการเงินยังไม่ได้แสดงค่าแท้จริง

สำนักงานก.ล.ตอาจสั่งการบริษัทแก้ไขงบการเงินบริษัท การขึ้นเครื่องหมาย SP และ NP ดังกล่าว จะทำให้ผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปมีเวลาจะพิจารณางบการเงินอย่างละเอียด และระมัดระวังมากขึ้น นางภัทรียากล่าว

กรณีผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นงบการเงิน (Disclaimer of Opinion) ตลาดหลักทรัพย์จะขึ้นเครื่องหมาย SP ห้ามซื้อหรือขายหลักทรัพย์ 1 วัน เพื่อให้ผู้ถือหุ้นและนักลงทุนทั่วไป มีเวลาพิจารณาความเห็นผู้สอบบัญชี ประกอบกับตัวเลขงบการเงินอย่างระมัดระวัง รวมทั้งรับทราบคำชี้แจงบริษัท ทั่วถึงก่อนหลังจากนั้นจะอนุญาตซื้อขายหลักทรัพย์วันทำการถัดไป และจะขึ้นเครื่องหมาย NP จนกว่าจะได้ข้อสรุปว่า บริษัทต้องแก้ไขงบการเงินหรือไม่

หากบริษัทได้รับคำสั่งแก้ไขงบการเงิน ตลาด หลักทรัพย์จะขึ้นเครื่องหมาย SP 1 วัน เพื่อให้ผู้ลงทุนทั่วไปรับทราบทั่วถึงว่า บริษัทต้องแก้ไขงบการเงิน จะเปิดให้ซื้อขายหลักทรัพย์วันทำการถัดไป แต่จะขึ้นเครื่องหมาย NP จนกว่าบริษัทจะส่งงบการเงินฉบับแก้ไขที่ผ่านการตรวจสอบ หรือสอบทาน จากผู้สอบบัญชี มาตลาดหลักทรัพย์ เพื่อเผยแพร่ผู้ลงทุนทั่วไป

ส่วนกรณีได้ข้อสรุปว่า บริษัทไม่ต้องแก้ไขงบการเงิน ตลาดหลักทรัพย์จะขึ้นเครื่องหมาย NR (Notice Received)เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบว่ามีข้อสรุป ชัดเจนแล้วว่าบริษัทไม่ต้องแก้ไขงบการเงินดังกล่าว

กรณีผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นว่า งบการเงิน ไม่ถูกต้อง (Adverse Opinion) ตลาดหลักทรัพย์จะขึ้นเครื่องหมาย SP เพื่อห้ามซื้อหรือขายหลักทรัพย์บริษัทชั่วคราว จนกว่าบริษัทจะส่งงบการเงินฉบับแก้ไขที่ผ่านการตรวจสอบ หรือสอบทานจาก ผู้สอบบัญชีมาตลาดหลักทรัพย์ เพื่อเผยแพร่ผู้ลงทุนทั่วไป หรือจนกว่าจะมีข้อสรุปชัดเจนว่า บริษัทไม่ต้องแก้ไขงบการเงินดังกล่าว

นอกจากนี้ หากงบการเงินบริษัทใดที่ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นไม่มีเงื่อนไข หรือมีเงื่อนไข แต่ปรากฏภายหลังว่า บริษัทถูกสั่งให้แก้ไขงบการเงิน ตลาดหลักทรัพย์จะขึ้นเครื่องหมาย SP 1 วัน วันที่ได้รับทราบข้อมูลดังกล่าว จะขึ้นเครื่องหมาย NP วันทำการถัดไป จนกว่าบริษัทจะส่งงบการเงินฉบับแก้ไข ที่ผ่านการตรวจสอบหรือสอบทานจากผู้สอบ บัญชีมาตลาดหลักทรัพย์

แนวทางดังกล่าว จะช่วยทำให้ผู้ลงทุนเพิ่มความ ระมัดระวังดูข้อมูลงบการเงินบริษัท ก่อนตัดสินใจลงทุนมากขึ้น ขณะเดียวกัน จะทำให้ผู้บริหารและคณะกรรมการบริษัทจดทะเบียนเพิ่มความระมัดระวังทำงบการเงินบริษัทมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ตลาดหลัก ทรัพย์แนะนำบริษัทจดทะเบียน ปรึกษาผู้สอบบัญชีบริษัทก่อนระบุประเภทความเห็นผู้สอบบัญชีที่จะส่งตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้ชัดเจนและความเข้าใจถูกต้อง ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ข้อมูลงบการเงินบริษัทได้รับข้อมูลถูกต้องด้วย นางภัทรียากล่าว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us